สถานีกลางบางซื่อและศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ศูนย์กลางรถไฟไทยและเมืองใหม่สำหรับคนกรุง

หลังจากที่ รฟท.ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และจะทำการย้ายสถานีต้นทางรถไฟทางไกล มาไว้ที่สถานีกลางบางซื่อเมื่อแล้วเสร็จ
ทำให้พื้นที่รอบๆสถานีกลางบางซื่อซึ่งเป็นของการรถไฟฯจากเดิมที่เป็นที่ดินว่างเปล่า กลายเป็นทำเลทองตามแนวคิดการพัฒนา TOD ขึ้นมาทันที
จึงได้มีศึกษา พัฒนาให้สถานีกลางบางซื่อ กลายเป็นฮับรถไฟและเมืองใหม่ไปในตัว
จนออกมาเป็น ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ที่เชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆรอบสถานีกลางบางซื่อมาใช้งานร่วม

ว่าด้วยสถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีรถไฟกลางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (เมื่อเปิดให้บริการ) เป็นสถานีเริ่มต้นของรถไฟทุกประเภทได้แก่
1.รถไฟชานเมือง 2.รถไฟทางไกล 3.รถไฟความเร็วสูง
และเชื่อมต่อโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ) มีชานชลาทั้งหมด 24 ชานชลา
เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดใช้งาน จะมีผู้ใช้งานสถานีทั้งจากผู้ใช้บริการรถไฟทางไกลเดิม จากสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) และผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อน ที่จะเปิดให้บริการในช่วงแรก บางซื่อ-รังสิต บางซื่อ-ตลิ่งชัน และผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ทำให้สถานีกลางบางซื่อ อาจมีผู้ใช้บริการสูงถึงหลายแสนคนต่อวัน
( ขอขอบคุณภาพจากเพจ Render Thailland https://www.facebook.com/RenderThailand/ )








ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ทำให้พื้นที่รอบสถานีรถไฟไม่ร้างอีกต่อไป
ประเทศไทย ขาดแนวคิดการพัฒนาพื้นที่มาเนิ่นนาน ไม่มีใครสนใจ จึงจะเห็นได้ว่า พื้นที่รอบๆศูนย์การคมนาคม ไม่มีสิ่งที่รองรับการใช้งานผู้ใช้บริการได้ ตัวอย่างเช่น สถานีมักกะสันของแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่ที่ดินโดยรอบโดนดองไว้ ไม่สามารถพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานของสถานีได้ ผู้โดยสารโดยเฉพาะชาวต่างชาติต่างพากันงงงวย ลงจากสถานีมา ไม่สามารถหาพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ช็อปปิ้งใดๆได้ ต้องเดินไปรถไฟฟ้าเพื่อเข้าเมือง หรือแบกกระเป๋าข้ามถนนหาที่พักที่เที่ยว ด้วยบทเรียนของสถานีมักกะสัน สถานีกลางบางซื่อจึงไม่เจริญรอยตาม จะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ความสำคัญ คือ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ในต่างประเทศ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีมีความสำคัญมาก เพื่อ เป็นทั้งการหารายได้ การรองรับผู้ใช้บริการรถไฟ และพัฒนาเมือง ดังนั้น ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน จึงไม่ใช่แค่การสร้างสถานีรถไฟขึ้นมา หากแต่เป็นการสร้างเมืองย่อมๆเพื่อรองรับคนที่ใช้บริการ เช่น โรงแรม สำนักงาน ศูนย์การประชุม ห้างสรรพสินค้า และที่พักอาศัย ในพื้นที่นี้จะมีทุกสิ่งที่คนอยู่อาศัยหรือมาใช้บริการต้องการ

สถานีมักกะสันอันอุดมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้าและหมาแมว แบบอย่างของความล้มเหลวที่ละเลยการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ทำให้ผู้ใช้บริการต้องลากกระเป๋าเชื่อมต่อขนส่งรูปแบบอื่นๆ เพื่อไปยังพื้นที่อื่น

สถานีโอซาก้าในประเทศญี่ปุ่น สถานีที่ไม่ใช่แค่สถานีรถไฟ แต่เป็นสถานีที่รองรับความต้องการของผู้ใช้บริการกอย่างครบครัน แบบอย่างที่นำมาพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ


พัฒนาพื้นที่รองรับการใช้งานเต็มรูปแบบ

พื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน นอกจากพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ อาคารซ่อมบำรุงรถไฟ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง อุทยานสวนจตุจักร พื้นที่โดยรอบจะได้รับการพัฒนาดังภาพ แบ่งออกเป็น
1.แปลง A ศูนย์ธุรกิจทันสมัย เน้นที่โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานและพื้นที่ใช้งานร่วม (Coworking Space)
2.แปลง B ศูนย์การพาณิชย์และธุรกิจแห่งอาเซียน
3.แปลง C ศุนย์การประชุมและนิทรรศการ (สถานีขนส่งหมอชิต ย้ายกลับไปที่เดิมภายใต้โครงการ Bangkok Terminal)
4.แปลง D พื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ (อาจคงรูปแบบตลาดจตุจักรไว้ตามเดิม แต่พัฒนาให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น)
5.แปลง E ศูนย์ราชการ
6.แปลง F ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า
7.แปลง G พัฒนาพื้นที่พักอาศัย
8.แปลง H พื้นที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน
9.แปลง I พัฒนาพื้นที่พักอาศัย
โดยแบ่งแผนพัฒนาพื้นที่ เป็น 3 ระยะ
ระยะสั้น สมบูรณ์ในปี2565 ได้แก่ แปลง A แปลง E และแปลง D ส่วนที่1 โดยก่อนปี2565ก็จะมีการทยอยเปิดบางพื้นที่ก่อน เช่นแปลง A ที่อยู่ติดกับสถานีเพื่อรองรับผู้ใช้บริการรถไฟ
ระยะกลาง สมบูรณ์ในปี2570 ได้แก่ แปลง C แปลง F และแปลง G
ระยะยาว สมบูรณ์ในปี2575 ได้แก่ แปลง B แปลง D2-4 แปลง H และแปลง I
โดยแบ่งตามความสำคัญและความยากง่ายในการเข้าพื้นที่ รวมถึงจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟและผู้อยู่อาศัยโดยรอบ เพราะถ้าลงทุนสร้างหมดแต่แรก พื้นที่ต่างๆอาจกร่อย ไม่มีผู้ใช้บริการได้

เข้าถึงง่ายด้วยรถไฟฟ้าหลากสี

บริเวณศูนย์คมนาคมพหลโยธิน มีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่เชื่อมต่ออยู่หลายสถานี ดังต่อไปนี้
1.MRTบางซื่อ ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีกลางบางซื่อ ขณะนี้กำลังขุดเจาะทางเชื่อมอยู่
2.BTSหมอชิต และ MRTสวนจตุจักร จะมีการก่อสร้างทางเดินยกระดับ เชื่อมเข้ากับสถานีกลางซื่อ
3.สถานีรถไฟฟ้าอื่นๆโดยรอบ สถามารถลงที่สถานีนั้นๆและขึ้นรถBRT เพื่อเข้ามายังสถานีกลางบางซื่อได้

แก้ปัญหาจราจรในพื้นที่ด้วยระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)


ปัญหาเดิมๆของการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ คือ ปัญหารถติดหรือปัญหาที่ต้องเดินเท้าไกลๆเพื่อเชื่อมไปยังสถานีที่ต่างๆ สำหรับศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ได้ออกแบบวิธีแก้ปัญหา โดยการสร้างระบบรถBRT เพื่อวิ่งให้บริการ จากพื้นที่รอบๆศูนย์คมนาคมฯกว่า 2พันไร่ เชื่อมเข้ากับสถานีกลางบางซื่อ ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องขับรถเข้ามาในพื้นที่หรือเดินจนขาลาก สามารถลงรถไฟฟ้า รถเมล์ รถแท็กซี่ รถส่วนตัว ฯลฯ แล้วมารอรถBRT ตามจุดจอดทั้ง 15 จุดรอบพื้นที่ และขึ้นรถBRT ที่มีเลนเป็นของตัวเอง ก็ให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการเข้ามาในพื้นที่

ไม่ได้มีแต่ตึกจนรกตา ชูจุดเด่นพื้นที่ด้วยสวนขนาดใหญ่ "ในญี่ปุ่นยังไม่เคยมี"

คณะทำงานของไจก้า(องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) ได้มาเยี่ยมชมพื้นที่ และออกความเห็นทันทีว่า ในญี่ปุ่นยังไม่เคยมีสวนขนาดใหญ่รอบพื้นที่ศูนย์การขนส่ง สวนต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ จะเป็นจุดแข็งของสถานีกลางบางซื่อและศูนย์คมนาคมพหลโยธิน เป็นพื้นที่สีเขียวที่ให้คนมาพักผ่อนหย่อนใจและทำกิจกรรมร่วมกันได้ และในปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างรวมสวนและปรับปรุงสวนทั้ง 3 สวนเข้าด้วยกัน คือ สวนวชิรเบญจทัศ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และสวนจตุจักร ให้กลายเป็น อุทยานสวนจตุจักร

ความคืบหน้า
ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี2562 และเปิดให้บริการพร้อมกับระบบรถไฟฟ้าชานเมืองได้ในช่วงสิ้นปี2563-ต้นปี2564



การพัฒนาพื้นที่แปลงต่างๆ ขณะนี้อยู่รับฟังความคิดเห็นและเตรียมเปิดประมูลแปลง A
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่