ความเกียจคร้านไม่ใช่เรื่องง่าย? เมื่อความขี้เกียจของ ‘สลอธ’ คือพรสวรรค์จากวิวัฒนาการ
.
‘สลอธ’ (Sloth) เป็นสัตว์ที่มีชีวิตค้างคาใจหลายๆ คน และถูกเข้าใจผิดมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มันถูกสร้างภาพลักษณ์เป็นสัตว์ ‘ขี้เกียจ’ ที่สุดในอาณาจักรสิ่งมีชีวิต แต่ทำไมสลอธถึงมีชีวิตรอดในโลกที่ขับเคี่ยวอย่างรุนแรงได้เล่า?
.
หากคุณอยากจะขี้เกียจแบบสลอธบ้าง คุณสามารถเป็นเช่นมันได้หรือเปล่า?
.
คำตอบคือน่าจะเลียนแบบยาก! เพราะชีวิตของสลอธถูกขนามนามว่าเป็นความสำเร็จทางวิวัฒนาการ (evolutionary success) ที่ยาวนานกว่า 64 ล้านปี จนเป็นดั่งพรสวรรค์ที่น่าศึกษา
.
หากบางครั้งโลกเดินเร็วเกินไป คุณก็ไม่จำเป็นต้องเร็วให้ทันคนอื่น สลอธเป็นผู้รอดชีวิตที่ผ่านการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ๆ มาแล้ว 2 ครั้งในช่วงเวลา 64 ล้านปี วิวัฒนาการได้ปรับปรุงชีวิตของมันให้ใช้พลังงานเพียง 10% หากเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน และสามารถดำรงชีวิตโดยมีพลังงานเพียง 160 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือเทียบเท่ากับนมจืดเพียง 1 กล่อง
.
แต่ความขี้เกียจเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบที่ทำให้มันเป็นนักปรับตัว เพราะลักษณะทางกายภาพของสลอธสอดรับกับวิถีชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพที่สิ่งมีชีวิตอื่นยากจะเลียนแบบ
.
1. กรงเล็บ
สลอธเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางในวงศ์สลอธสองนิ้วเท้า (Megalonychidae) และสลอธสามนิ้วเท้า (Bradypodidae) มันสามารถห้อยหัวท้าทายแรงโน้มถ่วงโดยอาศัยกระดูกนิ้วเท้าที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เชื่อมติดกันเหมือนขอเกี่ยว (hook) ทำให้ห้อยหัวโดยไม่ต้องออกแรงให้สูญเสียพลังงาน
.
2. กล้ามเนื้อ
สลอธมีวิวัฒนาการกล้ามเนื้อที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เรียกว่า ‘กล้ามเนื้อรีแทรกเตอร์’ (retractor muscle) คล้ายกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ด้านหน้าต้นแขนของคุณ กล้ามเนื้อนี้จะเคลื่อนไหวช้า ลดการสูญเสียพลังงาน แต่มีประสิทธิภาพในการยกและไต่ขึ้นที่สูง
.
3. ท้อง
อาหารของสลอธคือใบไม้ที่มีอยู่ชุกชุมในป่าดิบชื้น แต่ใบไม้เหล่านี้แฝงความร้ายกาจไม่เบา เนื่องจากอุดมด้วยสารพิษและกากใยย่อยสลายยาก เพื่อต่อกรกับอาหารที่ไม่เอื้ออำนวยนี้ กระเพาะของสลอธจึงแบ่งเป็น 4 ช่องคล้ายสัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างวัว พึ่งพาแบคทีเรียในกระเพาะให้ช่วยย่อยสลาย แต่ก็ทำอย่างเชื่องช้า ใบไม้เพียงใบเดียวอาจใช้เวลาย่อยเป็นเดือน อันเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่สุดแล้ว เพราะหากแบคทีเรียย่อยเร็วไปกว่านี้ สารพิษในใบไม้อาจทำให้สลอธป่วยได้
.
4. คอ
สลอธมีข้อกระดูกคอถึง 10 ข้อ มากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป (ยีราฟที่คอยาวมากๆ มีเพียง 7 ข้อเท่านั้น) ในปี 2010 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cambridge พบว่า ข้อกระดูกคอนี้มาจากวิวัฒนาการของกระดูกชายโครง (ribcage) ที่ค่อยๆเปลี่ยนรูปทรงมาเรื่อยๆ ผ่านกาลเวลา ทำให้สลอธสามารถหันได้ถึง 270 องศา โดยที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวส่วนอื่นๆ ของร่างกายเลย
.
5. อุณหภูมิร่างกาย
จะถูกรักษาไว้ต่ำเพียง 28 – 32 องศาเซลเซียส ขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ รักษาไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส ดังนั้นแทนที่จะทำให้ร่างกายตัวเองอบอุ่นเหมือนเครื่องยนต์ดีเซล มันกลับรักษาให้ต่ำลงโดยอาศัยขนหนาๆ ราวสัตว์ขั้วโลก เมื่อแสงอาทิตย์สาดส่อง มันจะผึ่งแดดรับพลังงานแสงคล้ายกิ้งก่า และแม้ว่าอุณหภูมิภายนอกจะสวิงไปมาแค่ไหน สลอธก็จะสามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายไว้ได้ค่อนข้างคงที่
.
6. อำพรางตัว
วิ่งไม่ทัน ก็ต้องนิ่งจนไม่สังเกต สลอธเคลื่อนที่เต็มสปีดได้เพียง 0.3 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น มันเลือกที่จะอยู่นิ่งๆ นิ่งจนถึงขนาดที่ว่าสาหร่ายและเห็ดราขึ้นตามตัวได้เลย ขนที่ปกคลุมสลอธสามารถโอบอุ้มน้ำไว้ได้ราวสวนผัก ‘ไฮโดรโปนิกส์’ ที่อนุญาตให้ มอส สาหร่าย และเห็ดราขึ้นตามลำตัว มีการสำรวจว่า สลอธ 1 ตัวอาจมีสาหร่ายและเห็ดรามากถึง 80 ชนิดเกาะตามตัวทีเดียว ทำให้เจ้าสลอธมีหน้าตาเหมือนขอนไม้ชื้นๆ ผุๆ จนนักล่าไม่ทันสังเกตเพราะกลืนไปกับฉากหลังได้อย่างเนียนสนิท
.
7. ซี่โครง
ระหว่างซี่โครงของสลอธจะมีเนื้อเยื่อบางๆ ที่ตรึงกระเพาะอาหารไว้เพื่อรับน้ำหนัก กระเพาะอันเป็นเอกลักษณ์นี้มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากถึง 3 ใน 4 ของร่างกายเพื่อจุใบไม้ที่ยังไม่ย่อยสลายไว้ ซี่โครงที่มีพังผืด ทำให้สลอธหายใจได้ช้าลงและสงวนพลังงานได้ถึง 13% ขนาดหายใจยังสงวนพลังงานเลยคิดดู
.
ทุกอย่างในชีวิตสลอธเอื้ออำนวยให้มันมีชีวิตที่ ‘ขี้เกียจ’ แต่เป็นความขี้เกียจที่ล้วนผ่านการเคี่ยวกรำของวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน
.
อย่าขี้เกียจไปเลย หากคุณไม่ได้ถูกสร้างมาแบบสลอธ
.
https://thematter.co/…/the-evolutionary-success-of-la…/62759
อ้างอิงข้อมูลจาก
Sloth biology: an update on their physiological ecology, behavior and role as vectors of arthropods and arboviruses
http://www.scielo.br/scielo.php…
Arboreal lifestyle drives slow pace
https://www.nsf.gov/discoveries/disc_summ.jsp…
#laziness #sloth #evolution #TheMATTER
เมื่อความขี้เกียจของ ‘สลอธ’ คือพรสวรรค์จากวิวัฒนาการ
ความเกียจคร้านไม่ใช่เรื่องง่าย? เมื่อความขี้เกียจของ ‘สลอธ’ คือพรสวรรค์จากวิวัฒนาการ
.
‘สลอธ’ (Sloth) เป็นสัตว์ที่มีชีวิตค้างคาใจหลายๆ คน และถูกเข้าใจผิดมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มันถูกสร้างภาพลักษณ์เป็นสัตว์ ‘ขี้เกียจ’ ที่สุดในอาณาจักรสิ่งมีชีวิต แต่ทำไมสลอธถึงมีชีวิตรอดในโลกที่ขับเคี่ยวอย่างรุนแรงได้เล่า?
.
หากคุณอยากจะขี้เกียจแบบสลอธบ้าง คุณสามารถเป็นเช่นมันได้หรือเปล่า?
.
คำตอบคือน่าจะเลียนแบบยาก! เพราะชีวิตของสลอธถูกขนามนามว่าเป็นความสำเร็จทางวิวัฒนาการ (evolutionary success) ที่ยาวนานกว่า 64 ล้านปี จนเป็นดั่งพรสวรรค์ที่น่าศึกษา
.
หากบางครั้งโลกเดินเร็วเกินไป คุณก็ไม่จำเป็นต้องเร็วให้ทันคนอื่น สลอธเป็นผู้รอดชีวิตที่ผ่านการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ๆ มาแล้ว 2 ครั้งในช่วงเวลา 64 ล้านปี วิวัฒนาการได้ปรับปรุงชีวิตของมันให้ใช้พลังงานเพียง 10% หากเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน และสามารถดำรงชีวิตโดยมีพลังงานเพียง 160 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือเทียบเท่ากับนมจืดเพียง 1 กล่อง
.
แต่ความขี้เกียจเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบที่ทำให้มันเป็นนักปรับตัว เพราะลักษณะทางกายภาพของสลอธสอดรับกับวิถีชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพที่สิ่งมีชีวิตอื่นยากจะเลียนแบบ
.
1. กรงเล็บ
สลอธเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางในวงศ์สลอธสองนิ้วเท้า (Megalonychidae) และสลอธสามนิ้วเท้า (Bradypodidae) มันสามารถห้อยหัวท้าทายแรงโน้มถ่วงโดยอาศัยกระดูกนิ้วเท้าที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เชื่อมติดกันเหมือนขอเกี่ยว (hook) ทำให้ห้อยหัวโดยไม่ต้องออกแรงให้สูญเสียพลังงาน
.
2. กล้ามเนื้อ
สลอธมีวิวัฒนาการกล้ามเนื้อที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เรียกว่า ‘กล้ามเนื้อรีแทรกเตอร์’ (retractor muscle) คล้ายกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ด้านหน้าต้นแขนของคุณ กล้ามเนื้อนี้จะเคลื่อนไหวช้า ลดการสูญเสียพลังงาน แต่มีประสิทธิภาพในการยกและไต่ขึ้นที่สูง
.
3. ท้อง
อาหารของสลอธคือใบไม้ที่มีอยู่ชุกชุมในป่าดิบชื้น แต่ใบไม้เหล่านี้แฝงความร้ายกาจไม่เบา เนื่องจากอุดมด้วยสารพิษและกากใยย่อยสลายยาก เพื่อต่อกรกับอาหารที่ไม่เอื้ออำนวยนี้ กระเพาะของสลอธจึงแบ่งเป็น 4 ช่องคล้ายสัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างวัว พึ่งพาแบคทีเรียในกระเพาะให้ช่วยย่อยสลาย แต่ก็ทำอย่างเชื่องช้า ใบไม้เพียงใบเดียวอาจใช้เวลาย่อยเป็นเดือน อันเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่สุดแล้ว เพราะหากแบคทีเรียย่อยเร็วไปกว่านี้ สารพิษในใบไม้อาจทำให้สลอธป่วยได้
.
4. คอ
สลอธมีข้อกระดูกคอถึง 10 ข้อ มากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป (ยีราฟที่คอยาวมากๆ มีเพียง 7 ข้อเท่านั้น) ในปี 2010 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cambridge พบว่า ข้อกระดูกคอนี้มาจากวิวัฒนาการของกระดูกชายโครง (ribcage) ที่ค่อยๆเปลี่ยนรูปทรงมาเรื่อยๆ ผ่านกาลเวลา ทำให้สลอธสามารถหันได้ถึง 270 องศา โดยที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวส่วนอื่นๆ ของร่างกายเลย
.
5. อุณหภูมิร่างกาย
จะถูกรักษาไว้ต่ำเพียง 28 – 32 องศาเซลเซียส ขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ รักษาไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส ดังนั้นแทนที่จะทำให้ร่างกายตัวเองอบอุ่นเหมือนเครื่องยนต์ดีเซล มันกลับรักษาให้ต่ำลงโดยอาศัยขนหนาๆ ราวสัตว์ขั้วโลก เมื่อแสงอาทิตย์สาดส่อง มันจะผึ่งแดดรับพลังงานแสงคล้ายกิ้งก่า และแม้ว่าอุณหภูมิภายนอกจะสวิงไปมาแค่ไหน สลอธก็จะสามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายไว้ได้ค่อนข้างคงที่
.
6. อำพรางตัว
วิ่งไม่ทัน ก็ต้องนิ่งจนไม่สังเกต สลอธเคลื่อนที่เต็มสปีดได้เพียง 0.3 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น มันเลือกที่จะอยู่นิ่งๆ นิ่งจนถึงขนาดที่ว่าสาหร่ายและเห็ดราขึ้นตามตัวได้เลย ขนที่ปกคลุมสลอธสามารถโอบอุ้มน้ำไว้ได้ราวสวนผัก ‘ไฮโดรโปนิกส์’ ที่อนุญาตให้ มอส สาหร่าย และเห็ดราขึ้นตามลำตัว มีการสำรวจว่า สลอธ 1 ตัวอาจมีสาหร่ายและเห็ดรามากถึง 80 ชนิดเกาะตามตัวทีเดียว ทำให้เจ้าสลอธมีหน้าตาเหมือนขอนไม้ชื้นๆ ผุๆ จนนักล่าไม่ทันสังเกตเพราะกลืนไปกับฉากหลังได้อย่างเนียนสนิท
.
7. ซี่โครง
ระหว่างซี่โครงของสลอธจะมีเนื้อเยื่อบางๆ ที่ตรึงกระเพาะอาหารไว้เพื่อรับน้ำหนัก กระเพาะอันเป็นเอกลักษณ์นี้มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากถึง 3 ใน 4 ของร่างกายเพื่อจุใบไม้ที่ยังไม่ย่อยสลายไว้ ซี่โครงที่มีพังผืด ทำให้สลอธหายใจได้ช้าลงและสงวนพลังงานได้ถึง 13% ขนาดหายใจยังสงวนพลังงานเลยคิดดู
.
ทุกอย่างในชีวิตสลอธเอื้ออำนวยให้มันมีชีวิตที่ ‘ขี้เกียจ’ แต่เป็นความขี้เกียจที่ล้วนผ่านการเคี่ยวกรำของวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน
.
อย่าขี้เกียจไปเลย หากคุณไม่ได้ถูกสร้างมาแบบสลอธ
.
https://thematter.co/…/the-evolutionary-success-of-la…/62759
อ้างอิงข้อมูลจาก
Sloth biology: an update on their physiological ecology, behavior and role as vectors of arthropods and arboviruses
http://www.scielo.br/scielo.php…
Arboreal lifestyle drives slow pace
https://www.nsf.gov/discoveries/disc_summ.jsp…
#laziness #sloth #evolution #TheMATTER