5 เรื่องจริง ก่อนส่งเด็กเรียน "อินเตอร์" #จากประสบการณ์จริง
คุณพ่อ คุณแม่ สมัยนี้คงเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบุตรหลานของท่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดคงไม่พ้นเรื่องของการศึกษา ในสมัยปัจจุบันโรงเรียนอินเตอร์ หรือที่เรียกว่า โรงเรียนนานาชาติ คงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับผู้ปกครองที่มีกำลังส่งลูกหลานของตน ค่าเทอมที่สูง อีกทั้งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองต้องจ่าย เพื่อหวังว่าลูกหลานจะสามารถพูดภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาที่สาม และได้อย่างคล่องแคล่ว แต่เหมือนนักมวยที่ยังไม่เคยลงสนาม ผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านก็เลยชกลม ชกผิด ลองผิดลองถูก กับการเลือกโรงเรียน และ การเตรียมลูกหลาน เพื่อเข้าเรียนโรงเรียนอินเตอร์
เพื่อน ของแอดมินหลาย ๆ ท่าน หลายคน ย้ำว่าหลายคน เปลี่ยนโรงเรียนลูก ไม่ต่ำกว่า 3-4 โรงเรียน ในช่วงเวลา ที่น้อง ๆ อายุยังไม่ถึง 5-6 ขวบ ด้วยซ้ำ เลยอยากนำประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงนี้มา 9 ปี อาจจะไม่ได้ดีที่สุดแต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ปกครองที่กำลังเลือก โรงเรียนอินเตอร์ ให้กับคนที่สำคัญที่สุดในครอบครัวครับ (อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้นครับ)
1. เด็กเล็ก ที่เข้าโรงเรียนอินเตอร์ หลาย ๆ คน เกิดปัญหา Languange Shock !!!
มีพ่อแม่จำนวนมาก นำลูกของตนเข้าเรียน โรงเรียนอินเตอร์ตั้งแต่ระดับชั้น เตรียมอนุบาล (2-3 ขวบ) และหลายคน เอาลูกเข้าเรียนตอนระดับอนุบาล 2 หรือ
อนุบาล 3
ผมเองไปเรียนเรื่องการฝึกเด็กสองภาษา ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ ตอนลูกคลอดผมก็ประเดประดัง อัดภาษาอังกฤษให้ลูกแบบทุกสื่อเท่าที่จะหาได้ เหมือนคนบ้าคนนึง เพราะลูกไม่ตอบอะไรเลย
ผมเองเอาลูกเข้าเรียนโรงเรียนอินเตอร์ แถวเอกมัย ตั้งแต่เตรียมอนุบาล ประมาณ 2 ขวบครึ่ง ครูเป็นฝรั่งพูดชัด ผมก็คิดว่าสบายละ เพราะเจ้าของภาษาสอน เด็กในห้องมีประมาณ 10 กว่าคน แต่ ช่วงไม่กี่เดือนแรก ก็ไปถามครูว่าลูกเราเป็นไงบ้าง เขาก็บอกว่าเริ่มพูดแล้ว แต่ ช่วง ๆ แรก ๆ ใช้สายตาในการเรียนเป็นหลัก เพราะ ไม่พูดเลย !!!
แต่เนื่องจากเตรียมลูก ตามคอร์สที่ไปเรียนมาแบบจัดเต็มลูกเลยใช้เวลาไม่นานในการปรับตัวพอผ่านไป 6 เดือนก็เริ่มเล่นกับเพื่อนในชั้น เป็นภาษาอังกฤษ อย่าสบายใจ ไปเรา
พอลูกขึ้นอนุบาล 1 และ อนุบาล 2 ก็ถามว่ามีเพื่อน ๆ ชื่ออะไรบ้าง ลูกกลับมาเล่าให้เราฟังที่บ้านตลอดว่ามีเพื่อนจากที่อื่นเข้ามาเรียนในชั้นเดียวกัน (4-5 ขวบ) แต่เขาเงียบมาก ไม่พูดเลย ครูเลยจับให้เด็กที่พูดได้ทั้งไทย และ อังกฤษ นั่งข้าง ๆ คอยช่วยให้เพื่อนใหม่ปรับตัวเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสาร
เด็ก ๆ ใหม่ที่เข้ามาตอน 4-5 ขวบ ส่วนมาก พูดภาษาได้แล้ว (ไทย) แต่พอมาเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่มีใครใช้ภาษาไทยเลย สิ่งที่เขาทำคือ เงียบ และ ไม่พูด เด็กส่วนมาก Shock กับสภาพแวดล้อมใหม่ จนขาดความมั่นใจ และ กลายเป็นเด็กเงียบ บางคนก็ปรับตัวได้ก็ดีไป แต่บางคนก็ใช้เวลานานในการปรับตัว ซ้ำร้าย คุยแต่ภาษาไทยกับเพื่อน อีกต่างหาก ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ
2. สำเนียงดีไม่ได้เกิดจากการฝึก Phonics
ช่วงแรกก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมเด็กบางคนที่เรียน ด้วยกันกับลูกเรา สำเนียงไม่ดี บางคนก็สำเนียงดี เห็นผู้ปกครองหลายคนเอาลูกไปเรียนกับฝรั่งเป็น คอร์ส Phonics ซึ่งแน่นอนเด็กต้องฝึกออกเสียง เช่นลงท้ายด้วย K ก็ต้องออกเสียง "คึอ" แบบนี้ และ แน่นอนต้องรู้จักศัพท์ ต้องสะกดเป็นถึงจะออกเสียงถูก
แอดมินเลยไปศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัย เรื่องของสำเนียง เขาบอกว่า คนบางชาติ จะออกเสียงบางเสียงไม่ได้ เช่นรุ่น ป๊า ม้า เราที่เป็นคนจีน ครอบครัวไหนมาจากซัวเถาเลย ก็จะพูดไม่ชัดบางคำ ป๊า ของแอดมินออกเสียง "แกงจืด" ว่า "แกงจุก" เราเลยคิดว่าเป็นภาษาจีน เอาไปสอนเพื่อนตั้งแต่ระดับประถม ยัน มัธยมปลาย มารู้อีกทีตอนไปเรียนภาษาจีนตอนเรียนจบ ป ตรี แล้ว ว่าเราเข้าใจผิดมาตลอด
อีกอันนึง แอดมินไป สั่งข้าวมันไก่ พอ เด็กสับไก่ส่งข้าวให้เขาถามว่าพี่คับ เอา "น้ำส้วม" ไหมคับ ผมพอจะเข้าใจความหวังดีของเขาเลยบอกว่า เอา "น้ำส้วม" มาที่นึง
ผู้อ่านอาจจะตลกนะครับ แต่เวลาเราพูดภาษาต่างชาติสำเนียงแปลก ๆ ก็ไม่ต่างกับที่เราไปถามคนต่างชาติว่าเอา "น้ำส้วม" ไหม แทนที่จะพูดสวย ๆ ว่า เอา "น้ำซุป" ไหมนั่นแหละครับ
มีพ่อแม่บางกลุ่มชอบบอกว่า ขอให้พูดได้แต่สำเนียงไม่ซีเรียส ผมก็ขอบอกว่าความเป็นจริง สำเนียงถ้าเราฝึกได้ก็ดีกว่าครับ เพราะแก้ยาาาก มาก ครับ ต่อไปเด็กไทยจะพูดภาษาอังกฤษได้เยอะมาก แต่นั่นอีกแหละครับ คนที่พูดสำเนียงดีถูกต้อง ไพเราะ ก็จะถูกแยกไปทำงานอะไรที่ดีกว่า แน่ ๆ ครับ เป็นต้นทุนชีวิตของลูกเรา
แอดมินไปอ่านงานวิจัยเกี่ยวกับ การฝึกสำเนียง เขาบอกว่าจะให้ได้ผลจริง ๆ เด็กจะออกเสียงได้ชัดก็เพราะเขาเคยได้ยินเสียงนั้น ๆ ในภาษานั้น มาตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ซึ่งเด็กนั้นจะพัฒนาสมองส่วนนี้ ในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่เกิน 2 ขวบ
หมายความว่า ถ้าอยากให้ลูกเราสำเนียงดี ๆ เราต้องฝึกเขาให้ได้ยินเสียงภาษานั้น ๆ ตั้งแต่เกิด ให้เขาชินกับเสียงนั้น พอเริ่มออกเสียงเขาก็จะออกเสียงได้ พูดง่าย ๆ ยิ่งอายุเยอะมาก ก็จะยิ่งยากในการฝึกสำเนียงครับ วีธี Phonics เป็นการฝึกภาษาโดยใช้สมองซีกที่ เป็นเหตุเป็นผล เพราะต้องดูว่า สะกดว่าอะไร แล้วต้องออกเสียงว่าอะไร แต่เหนื่อยกว่ากันเยอะครับ
3. โรงเรียนอินเตอร์ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จในการฝึกภาษาเสมอไป
โรงเรียนอินเตอร์ มีหลายแบบจริง ๆ ครับ ตั้งแต่โรงเรียน ที่ค่าเทอม 6 หลักปริ่ม ๆ 7 หลัก โรงเรียนอินเตอร์แบบนี้ส่วนมากนักเรียนจะเป็นอินเตอร์จริง ๆ และ จะคัดคนเข้าเรียนด้วย ถ้าผู้ปกครองมีความสามารถส่งได้
คงไม่ค่อยผิดหวังกับเรื่องภาษา เพราะเจ้าของภาษาเต็มโรงเรียน จะหาคนไทยคุยด้วยคงยากพอสมควร
แต่ผู้ปกครองที่อาจจะไม่อยากเสียเงินมากขนาดนั้น เวลาเลือกโรงเรียนอินเตอร์ เราก็จะเจอโรงเรียนอินเตอร์ที่มีปริมาณของคนไทยมากขึ้น แต่ผมเองมีจุดสังเกตบางเรื่องที่อยากนำเสนอนะครับ
โรงเรียนส่วนมาก ในยุคที่คนมีลูกน้อยลง ก็พยายามปรับตัวเปลี่ยนเป็นโรงเรียนธรรมดาเป็น EP Program หรือ เปลี่ยนเป็น โรงเรียนอินเตอร์ แต่คำว่า โรงเรียนนานายถึงมีคนหลากชาติ หลากวัฒนธรรม มาเรียนด้วยกัน กลุ่มคนเหล่านี้ส่วนมากมาทำงานในบริษัทสาขาในไทย หรือ มาตั้งรกราก เลยนำบุตรหลานมาเรียนในไทย แต่คนเหล่านี้มีปรัชญาการศึกษาที่ไม่เหมือนกับเรา โรงเรียนที่เขาเลือกเรียนนั้น หลายครั้งก็จะเป็นโรงเรียนที่ เราไม่ได้เลือกเรียน
บางโรงเรียนแม้จะมีแต่เด็กไทย 90% ในห้อง แต่ครูเป็นต่างชาติ และโรงเรียนก็ห้ามเด็กคุยภาษาไทยในโรงเรียน สิ่งเหล่านี้น่าจะช่วยให้ลูกเราพูดภาษาเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
แต่ความเป็นจริง จากประสบการณ์ในวงการ บางโรงเรียนจะมีที่พักผู้ปกครอง เวลาพ่อแม่ที่ลูกอยู่ห้องเดียวกันมารอรับลูกด้วยกัน พอเริ่มสนิทกัน ก็จะเริ่มชวนกันไปทำกิจกรรมกันในวันหยุด ไปเที่ยวด้วยกัน เวลาที่ลูกเราอยู่ในที่โรงเรียน เขาก็พูดภาษาอังกฤษกัน
แต่พอไปเที่ยวกันนอกโรงเรียน แน่นอนส่วนมากลูกเราส่วนมากในครอบครัวก็จะพูดภาษาไทยกันกับเรา
เวลาเขาไปเที่ยวกับเพื่อนในโรงเรียนในวันหยุด นอกโรงเรียนไม่มีใครบังคับเขา เขาก็จะเลือกพูดภาษาที่เขาสบายใจ และแน่นอนส่วนมากก็จะพูดภาษาไทยกัน ปกติถ้าลูกเราเลือกหน้านี้ว่าพูดภาษาไหน เขาจะพูดภาษานั้นกับคนนั้นตลอด เหมือนพ่อแม่จบอเมริกา พูดภาษาอังกฤษเป็นไฟ แต่ก็จะพูดภาษาไทยกันเพราะสบายใจและถนัดกว่า ถึงแม้จะพูดภาษาอังกฤษได้ก็ตาม
ลูกเรากับเพื่อนของเขา ถ้ามีโอกาสก็จะพูดภาษาที่เขาสบายใจ และถ้าลูกเรากับเพื่อนเขาเลือกจะพูดภาษาไทยกัน เขาก็จะพูดภาษาไทยกันตลอดที่เขามีโอกาส ทำให้อาจจะขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพอสมควร
4. การฝึกภาษาตั้งแต่เล็ก ๆ ภาษานั้น ๆ ก็จะกลายเป็นภาษาแม่ ไม่ใช่ภาษาต่างชาติ
ตามหลักของ Montessori นั้น เด็กทั่วไปจะรู้ความตอนหลัง 3 ขวบขึ้นไป (Conscious) ภาษาที่เราฝึกให้เด็กก่อน 3 ขวบนั้น จะเป็นการฝึกษาแบบ (Unconscious) คือถ้าเราฝึกถูกวิธี เด็กจะพูดภาษานั้น ๆ ได้ไปเลยเหมือนเป็นภาษาแม่ของเขาเอง โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม ;)
5. เจ้าของภาษา ส่วนมากไม่เข้าใจ วิธีในการฝึกภาษา ที่สอง หรือที่สาม
เหมือนเราเองไม่เข้าใจว่าเราพูดภาษาไทย ได้อย่างไร ตอนไหน คงไม่ต่างกับคนต่างชาติ บางคนก็ ไม่เข้าใจว่าเขาเองพูดภาษาของเขาเองได้อย่างไร
เวลาคนต่างชาติมาสอนลูกเราก็ใช้วิธีที่ต้องอาศัย เวลาและความถี่ สูงมากในการฝึกเด็กพูดภาษาของเขา
เพราะฉนั้นไม่ใช่คนต่างชาติทุกคนที่จะเข้าใจวิธีการในการฝึกภาษา ของเขาเองให้กับลูกของเรา
วิธีที่ถูกต้องในการฝึกภาษานั้น ควรมาจากพื้นฐานของงานวิจัยที่ได้ผลจริง ๆ
ระบบที่เลียนแบบการฝึกภาษาจากธรรมชาติ นั้นได้ผลที่สุดครับ
5 เรื่องจริง ก่อนส่งเด็กเรียน "อินเตอร์"
คุณพ่อ คุณแม่ สมัยนี้คงเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบุตรหลานของท่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดคงไม่พ้นเรื่องของการศึกษา ในสมัยปัจจุบันโรงเรียนอินเตอร์ หรือที่เรียกว่า โรงเรียนนานาชาติ คงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับผู้ปกครองที่มีกำลังส่งลูกหลานของตน ค่าเทอมที่สูง อีกทั้งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองต้องจ่าย เพื่อหวังว่าลูกหลานจะสามารถพูดภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาที่สาม และได้อย่างคล่องแคล่ว แต่เหมือนนักมวยที่ยังไม่เคยลงสนาม ผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านก็เลยชกลม ชกผิด ลองผิดลองถูก กับการเลือกโรงเรียน และ การเตรียมลูกหลาน เพื่อเข้าเรียนโรงเรียนอินเตอร์
เพื่อน ของแอดมินหลาย ๆ ท่าน หลายคน ย้ำว่าหลายคน เปลี่ยนโรงเรียนลูก ไม่ต่ำกว่า 3-4 โรงเรียน ในช่วงเวลา ที่น้อง ๆ อายุยังไม่ถึง 5-6 ขวบ ด้วยซ้ำ เลยอยากนำประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงนี้มา 9 ปี อาจจะไม่ได้ดีที่สุดแต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ปกครองที่กำลังเลือก โรงเรียนอินเตอร์ ให้กับคนที่สำคัญที่สุดในครอบครัวครับ (อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้นครับ)
1. เด็กเล็ก ที่เข้าโรงเรียนอินเตอร์ หลาย ๆ คน เกิดปัญหา Languange Shock !!!
มีพ่อแม่จำนวนมาก นำลูกของตนเข้าเรียน โรงเรียนอินเตอร์ตั้งแต่ระดับชั้น เตรียมอนุบาล (2-3 ขวบ) และหลายคน เอาลูกเข้าเรียนตอนระดับอนุบาล 2 หรือ
อนุบาล 3
ผมเองไปเรียนเรื่องการฝึกเด็กสองภาษา ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ ตอนลูกคลอดผมก็ประเดประดัง อัดภาษาอังกฤษให้ลูกแบบทุกสื่อเท่าที่จะหาได้ เหมือนคนบ้าคนนึง เพราะลูกไม่ตอบอะไรเลย
ผมเองเอาลูกเข้าเรียนโรงเรียนอินเตอร์ แถวเอกมัย ตั้งแต่เตรียมอนุบาล ประมาณ 2 ขวบครึ่ง ครูเป็นฝรั่งพูดชัด ผมก็คิดว่าสบายละ เพราะเจ้าของภาษาสอน เด็กในห้องมีประมาณ 10 กว่าคน แต่ ช่วงไม่กี่เดือนแรก ก็ไปถามครูว่าลูกเราเป็นไงบ้าง เขาก็บอกว่าเริ่มพูดแล้ว แต่ ช่วง ๆ แรก ๆ ใช้สายตาในการเรียนเป็นหลัก เพราะ ไม่พูดเลย !!!
แต่เนื่องจากเตรียมลูก ตามคอร์สที่ไปเรียนมาแบบจัดเต็มลูกเลยใช้เวลาไม่นานในการปรับตัวพอผ่านไป 6 เดือนก็เริ่มเล่นกับเพื่อนในชั้น เป็นภาษาอังกฤษ อย่าสบายใจ ไปเรา
พอลูกขึ้นอนุบาล 1 และ อนุบาล 2 ก็ถามว่ามีเพื่อน ๆ ชื่ออะไรบ้าง ลูกกลับมาเล่าให้เราฟังที่บ้านตลอดว่ามีเพื่อนจากที่อื่นเข้ามาเรียนในชั้นเดียวกัน (4-5 ขวบ) แต่เขาเงียบมาก ไม่พูดเลย ครูเลยจับให้เด็กที่พูดได้ทั้งไทย และ อังกฤษ นั่งข้าง ๆ คอยช่วยให้เพื่อนใหม่ปรับตัวเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสาร
เด็ก ๆ ใหม่ที่เข้ามาตอน 4-5 ขวบ ส่วนมาก พูดภาษาได้แล้ว (ไทย) แต่พอมาเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่มีใครใช้ภาษาไทยเลย สิ่งที่เขาทำคือ เงียบ และ ไม่พูด เด็กส่วนมาก Shock กับสภาพแวดล้อมใหม่ จนขาดความมั่นใจ และ กลายเป็นเด็กเงียบ บางคนก็ปรับตัวได้ก็ดีไป แต่บางคนก็ใช้เวลานานในการปรับตัว ซ้ำร้าย คุยแต่ภาษาไทยกับเพื่อน อีกต่างหาก ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ
2. สำเนียงดีไม่ได้เกิดจากการฝึก Phonics
ช่วงแรกก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมเด็กบางคนที่เรียน ด้วยกันกับลูกเรา สำเนียงไม่ดี บางคนก็สำเนียงดี เห็นผู้ปกครองหลายคนเอาลูกไปเรียนกับฝรั่งเป็น คอร์ส Phonics ซึ่งแน่นอนเด็กต้องฝึกออกเสียง เช่นลงท้ายด้วย K ก็ต้องออกเสียง "คึอ" แบบนี้ และ แน่นอนต้องรู้จักศัพท์ ต้องสะกดเป็นถึงจะออกเสียงถูก
แอดมินเลยไปศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัย เรื่องของสำเนียง เขาบอกว่า คนบางชาติ จะออกเสียงบางเสียงไม่ได้ เช่นรุ่น ป๊า ม้า เราที่เป็นคนจีน ครอบครัวไหนมาจากซัวเถาเลย ก็จะพูดไม่ชัดบางคำ ป๊า ของแอดมินออกเสียง "แกงจืด" ว่า "แกงจุก" เราเลยคิดว่าเป็นภาษาจีน เอาไปสอนเพื่อนตั้งแต่ระดับประถม ยัน มัธยมปลาย มารู้อีกทีตอนไปเรียนภาษาจีนตอนเรียนจบ ป ตรี แล้ว ว่าเราเข้าใจผิดมาตลอด
อีกอันนึง แอดมินไป สั่งข้าวมันไก่ พอ เด็กสับไก่ส่งข้าวให้เขาถามว่าพี่คับ เอา "น้ำส้วม" ไหมคับ ผมพอจะเข้าใจความหวังดีของเขาเลยบอกว่า เอา "น้ำส้วม" มาที่นึง
ผู้อ่านอาจจะตลกนะครับ แต่เวลาเราพูดภาษาต่างชาติสำเนียงแปลก ๆ ก็ไม่ต่างกับที่เราไปถามคนต่างชาติว่าเอา "น้ำส้วม" ไหม แทนที่จะพูดสวย ๆ ว่า เอา "น้ำซุป" ไหมนั่นแหละครับ
มีพ่อแม่บางกลุ่มชอบบอกว่า ขอให้พูดได้แต่สำเนียงไม่ซีเรียส ผมก็ขอบอกว่าความเป็นจริง สำเนียงถ้าเราฝึกได้ก็ดีกว่าครับ เพราะแก้ยาาาก มาก ครับ ต่อไปเด็กไทยจะพูดภาษาอังกฤษได้เยอะมาก แต่นั่นอีกแหละครับ คนที่พูดสำเนียงดีถูกต้อง ไพเราะ ก็จะถูกแยกไปทำงานอะไรที่ดีกว่า แน่ ๆ ครับ เป็นต้นทุนชีวิตของลูกเรา
แอดมินไปอ่านงานวิจัยเกี่ยวกับ การฝึกสำเนียง เขาบอกว่าจะให้ได้ผลจริง ๆ เด็กจะออกเสียงได้ชัดก็เพราะเขาเคยได้ยินเสียงนั้น ๆ ในภาษานั้น มาตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ซึ่งเด็กนั้นจะพัฒนาสมองส่วนนี้ ในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่เกิน 2 ขวบ
หมายความว่า ถ้าอยากให้ลูกเราสำเนียงดี ๆ เราต้องฝึกเขาให้ได้ยินเสียงภาษานั้น ๆ ตั้งแต่เกิด ให้เขาชินกับเสียงนั้น พอเริ่มออกเสียงเขาก็จะออกเสียงได้ พูดง่าย ๆ ยิ่งอายุเยอะมาก ก็จะยิ่งยากในการฝึกสำเนียงครับ วีธี Phonics เป็นการฝึกภาษาโดยใช้สมองซีกที่ เป็นเหตุเป็นผล เพราะต้องดูว่า สะกดว่าอะไร แล้วต้องออกเสียงว่าอะไร แต่เหนื่อยกว่ากันเยอะครับ
3. โรงเรียนอินเตอร์ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จในการฝึกภาษาเสมอไป
โรงเรียนอินเตอร์ มีหลายแบบจริง ๆ ครับ ตั้งแต่โรงเรียน ที่ค่าเทอม 6 หลักปริ่ม ๆ 7 หลัก โรงเรียนอินเตอร์แบบนี้ส่วนมากนักเรียนจะเป็นอินเตอร์จริง ๆ และ จะคัดคนเข้าเรียนด้วย ถ้าผู้ปกครองมีความสามารถส่งได้
คงไม่ค่อยผิดหวังกับเรื่องภาษา เพราะเจ้าของภาษาเต็มโรงเรียน จะหาคนไทยคุยด้วยคงยากพอสมควร
แต่ผู้ปกครองที่อาจจะไม่อยากเสียเงินมากขนาดนั้น เวลาเลือกโรงเรียนอินเตอร์ เราก็จะเจอโรงเรียนอินเตอร์ที่มีปริมาณของคนไทยมากขึ้น แต่ผมเองมีจุดสังเกตบางเรื่องที่อยากนำเสนอนะครับ
โรงเรียนส่วนมาก ในยุคที่คนมีลูกน้อยลง ก็พยายามปรับตัวเปลี่ยนเป็นโรงเรียนธรรมดาเป็น EP Program หรือ เปลี่ยนเป็น โรงเรียนอินเตอร์ แต่คำว่า โรงเรียนนานายถึงมีคนหลากชาติ หลากวัฒนธรรม มาเรียนด้วยกัน กลุ่มคนเหล่านี้ส่วนมากมาทำงานในบริษัทสาขาในไทย หรือ มาตั้งรกราก เลยนำบุตรหลานมาเรียนในไทย แต่คนเหล่านี้มีปรัชญาการศึกษาที่ไม่เหมือนกับเรา โรงเรียนที่เขาเลือกเรียนนั้น หลายครั้งก็จะเป็นโรงเรียนที่ เราไม่ได้เลือกเรียน
บางโรงเรียนแม้จะมีแต่เด็กไทย 90% ในห้อง แต่ครูเป็นต่างชาติ และโรงเรียนก็ห้ามเด็กคุยภาษาไทยในโรงเรียน สิ่งเหล่านี้น่าจะช่วยให้ลูกเราพูดภาษาเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
แต่ความเป็นจริง จากประสบการณ์ในวงการ บางโรงเรียนจะมีที่พักผู้ปกครอง เวลาพ่อแม่ที่ลูกอยู่ห้องเดียวกันมารอรับลูกด้วยกัน พอเริ่มสนิทกัน ก็จะเริ่มชวนกันไปทำกิจกรรมกันในวันหยุด ไปเที่ยวด้วยกัน เวลาที่ลูกเราอยู่ในที่โรงเรียน เขาก็พูดภาษาอังกฤษกัน
แต่พอไปเที่ยวกันนอกโรงเรียน แน่นอนส่วนมากลูกเราส่วนมากในครอบครัวก็จะพูดภาษาไทยกันกับเรา
เวลาเขาไปเที่ยวกับเพื่อนในโรงเรียนในวันหยุด นอกโรงเรียนไม่มีใครบังคับเขา เขาก็จะเลือกพูดภาษาที่เขาสบายใจ และแน่นอนส่วนมากก็จะพูดภาษาไทยกัน ปกติถ้าลูกเราเลือกหน้านี้ว่าพูดภาษาไหน เขาจะพูดภาษานั้นกับคนนั้นตลอด เหมือนพ่อแม่จบอเมริกา พูดภาษาอังกฤษเป็นไฟ แต่ก็จะพูดภาษาไทยกันเพราะสบายใจและถนัดกว่า ถึงแม้จะพูดภาษาอังกฤษได้ก็ตาม
ลูกเรากับเพื่อนของเขา ถ้ามีโอกาสก็จะพูดภาษาที่เขาสบายใจ และถ้าลูกเรากับเพื่อนเขาเลือกจะพูดภาษาไทยกัน เขาก็จะพูดภาษาไทยกันตลอดที่เขามีโอกาส ทำให้อาจจะขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพอสมควร
4. การฝึกภาษาตั้งแต่เล็ก ๆ ภาษานั้น ๆ ก็จะกลายเป็นภาษาแม่ ไม่ใช่ภาษาต่างชาติ
ตามหลักของ Montessori นั้น เด็กทั่วไปจะรู้ความตอนหลัง 3 ขวบขึ้นไป (Conscious) ภาษาที่เราฝึกให้เด็กก่อน 3 ขวบนั้น จะเป็นการฝึกษาแบบ (Unconscious) คือถ้าเราฝึกถูกวิธี เด็กจะพูดภาษานั้น ๆ ได้ไปเลยเหมือนเป็นภาษาแม่ของเขาเอง โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม ;)
5. เจ้าของภาษา ส่วนมากไม่เข้าใจ วิธีในการฝึกภาษา ที่สอง หรือที่สาม
เหมือนเราเองไม่เข้าใจว่าเราพูดภาษาไทย ได้อย่างไร ตอนไหน คงไม่ต่างกับคนต่างชาติ บางคนก็ ไม่เข้าใจว่าเขาเองพูดภาษาของเขาเองได้อย่างไร
เวลาคนต่างชาติมาสอนลูกเราก็ใช้วิธีที่ต้องอาศัย เวลาและความถี่ สูงมากในการฝึกเด็กพูดภาษาของเขา
เพราะฉนั้นไม่ใช่คนต่างชาติทุกคนที่จะเข้าใจวิธีการในการฝึกภาษา ของเขาเองให้กับลูกของเรา
วิธีที่ถูกต้องในการฝึกภาษานั้น ควรมาจากพื้นฐานของงานวิจัยที่ได้ผลจริง ๆ ระบบที่เลียนแบบการฝึกภาษาจากธรรมชาติ นั้นได้ผลที่สุดครับ