เปิด 18 รายชื่อหุ้น SET ราคาดิ่งนรก! 9 เดือนนักลงทุนเจ๊งเกิน 40%
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.)กลุ่ม SET ในรอบ 9 เดือนปี 2561 โดยเทียบราคาหุ้นปิด ณ วันที่ 29 ธ.ค.60-28 ก.ย.61 และคัดเลือกราคาหุ้นที่ปรับลงแรงสวนภาวะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้น 0.15% โดยเทียบจากดัชนียืนอยู่ที่ระดับ 1753.71 จุด (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 1756.41 จุด ( 28ก.ย.61) หรือบวกเพิ่มขึ้น 2.70 จุด
สำหรับทิศทางดัชนี SET ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาถือว่าอ่อนตัวลงแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.จะเห็นว่าดัชนีอ่อนตัวหลุดจากระดับ 1800 จุด และในช่วงเดือนมิ.ย.61 ดัชนีอ่อนตัวไม่หยุด และหลุดแนวรับทั้ง 1700 จุด และ 1600 จุด จากนั้นในช่วงก.ค.-ก.ย.ดัชนีเริ่มฟื้นตัวกลับมายืนเหนือระดับ 1700 จุดได้อีกครั้ง
สำหรับหุ้นกลุ่มหุ้น SET ที่ปรับตัวลงแรงตามทิศทางตลาดครั้งนี้ได้คัดเลือกมานำเสนอ 18 อันดับ โดยคัดเลือกเฉพาะหุ้นที่ราคาปรับตัวลงแรงเกิน 40% ซึ่งครั้งนี้จะขอเลือกนำเสนอข้อมูลประกอบเพียง 5 อันดับแรกของตารางคือ MALEE,PE,SCI,JMART,ICHI
อันดับ 1 บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MALEE ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 60.52% โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับ 38.25 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 15.10 บาท (28 ก.ย.61) ราคาหุ้นร่วงหนักในรอบ 9 เดือน ส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนผิดหวังผลการดำเนินงานปี 60 ที่ประกาศออกมาในช่วงดังกล่าว อีกทั้งผลงานครึ่งแรกปี 2561 พลิกขาดทุน 5.41 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 179.84 ล้านบาท ยิ่งทำให้ราคาหุ้นร่วงหนัก
ด้านนางสาวรุ่งฉัตร บุญรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า บริษัทยังต้องลุ้นผลประกอบการปีนี้ออกมามีกำไร หลังจากช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีผลขาดทุนราว 5 ล้านบาท โดยเป็นผลหลักมาจากการรับรู้ค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาทางการเงินและที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย 22 ล้านบาท และยอดขายที่ปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทจะเน้นการบริหารจัดการต้นทุน และผลักดันให้ยอดขายมีการเติบโต
ทั้งนี้ บริษัทได้ปรับลดเป้าหมายรายได้ลงเหลือใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 5,987.94 ล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะมีการเติบโต 30% หลังจากช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้ 2,719.55 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนราว 7% แต่ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทมั่นใจว่ารายได้จะมีการเติบโตจากการรับรู้รายได้เต็มไตรมาสของบริษัท Long Quan Safe Food JSC (LQSF) ในประเทศเวียดนาม ที่ MALEE เข้าไปถือหุ้นราว 65%
พร้อมกันนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทยังมีแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าใหม่ 3-4 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของการบริโภคทั้งโลก โดยเชื่อว่าจะเข้ามากระตุ้นยอดขายของบริษัทให้มีการเติบโตขึ้น
นางสาวรุ่งฉัตร กล่าวอีกว่า บริษัทเชื่อว่าจะเห็นการฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนในปี 62 เนื่องจากบริษัทได้ลงทุนในโครงการที่รองรับการเติบโตในอนาคตไปครบแล้ว ประกอบกับเชื่อว่าสินค้าในกลุ่มใหม่จะเห็นผลช่วยกระตุ้นยอดขายได้อย่างชัดเจนขึ้น ประกอบกับการใช้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรใหม่จะเข้าสู่จุดที่เหมาะสมมากขึ้นด้วย
อันดับ 2 บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) หรือ SCI ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 49.18% โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับ 6.10 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 3.10 บาท (28ก.ย.61) คาดนักลงทุนทยอยขายหุ้นตลอด 9 เดือน เนื่องจากผิดหวังผลการดำเนินงานมีกำไรถดถอยต่อเนื่องนับตั้งปี 2558 มีกำไร 187.05 ล้านบาท ส่วนปี 2559 มีกำไร 162.52 ล้านบาท และปี 2560 มีกำไรสุทธิ 20.50 ล้านบาท และผลงานครึ่งปีแรก 2561 ขาดทุนสุทธิ 2.17 ล้านบาท
ทั้งนี้แม้บริษัทจะมอง แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะเติบโตจากปีก่อนหน้า หลังจากโรงงานผลิตเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงและเสาสื่อสารโทรคมนาคมกำลังการผลิตเสาที่ 7,500 ตันต่อปี และโรงงานชุบสังกะสีหรือชุบกัลป์วาไนซ์กำลังการผลิตที่ 2.4 หมื่นตันต่อปี ในประเทศเมียนมา เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยโรงงานดังกล่าวมีมูลค่าลงทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 66 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามปีนี้บริษัทคาดจะมีรายได้อย่างน้อย 3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 60 ที่คาดว่าจะทำได้ลดลงมากเมื่อเทียบจากปี 59 ขณะที่ในปีนี้มีโอกาสที่จะพลิกมีกำไรได้ ซึ่งจะเร็วกว่าแผนที่คาดว่าจะกลับมามีกำไรในปี 62 หลังจากเปลี่ยนธุรกิจจำหน่ายมือถือ มาเป็นธุรกิจ Digital Trunked Radio และให้เช่าเสาสัญญาณ Co-Tower ในเขตอุทยานแห่งชาติ ที่จะเริ่มรับรู้รายได้ปีนี้ โดยบริษัทได้ลงทุนโครงข่ายรองรับ Digital Trunked Radio จำนวน 1,000 สถานี วงเงิน 2.5 พันล้านบาท สามารถครอบคลุมทั่วประเทศ
ทั้งนี้คาดว่าปีนี้จะมีลูกค้า 50,000 -100,000 ราย และคาดว่าจะได้เพิ่มอีก 1 แสนราย จากหน่วยงานราชการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอขั้นตอนการอนุมัติ และตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าเป็น 3-4 แสนรายภายในปี 63 โดยบริษัทจะมีรายได้จากค่าใช้บริการรายเดือนๆละ 800 บาทต่อเครื่อง และรายได้จากการจำหน่ายเครืองลูกข่ายวิทยุคมนาคมระบบดิจิทัล (Digital Trunked Radio) ราคาเครื่องละ 2-6 หมื่นบาท ขณะเดียวกันการลงทุนเสาสัญญาณ มีวงเงิน 2.5 พันล้านบาท ซึ่งทยอยลงทุนในช่วงปลายปี 60 และจะลงทุนในปีนี้อีก 200-300 ต้น
อันดับ 3 บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 49.17% โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับ 18.00 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 9.15 บาท (28ก.ย.61) คาดนักลงทุนทยอยขายหุ้นตลอด 9 เดือน เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับตัวธุรกิจนับตั้งแต่มีบทวิเคราะห์ปรับลดราคาเป้าหมายในช่วงไตรมาส 1/61
โดย บล. เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ยังคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเหมาะสมใหม่ 19.00 บาท อิงวิธี SOTP จากเดิมแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 23.00 บาท เนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงาน และสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จาก NPLs, ลูกหนี้ปรับโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองเพื่อรองรับ TFRS9 แม้บริษัทจะมีรายได้จากธุรกิจมือถือ และธุรกิจรับจ้างติดตาม และบริหารหนี้เพิ่มขึ้นก็ตาม
นอกจากนี้ยังมองว่าสินเชื่อของ J-FinTech จะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 19% ภายใต้แรงกดดันจาก NPLs และลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาด NPLs ที่ 7.8% ส่งผลให้ตั้งสำรองเพื่อรองรับ IFRS9 เพิ่มขึ้น 74% เราจึงปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ลดลงมาอยู่ที่ 605 ล้านบาท
ต่อมาราคาหุ้นยังร่วงต่อ เนื่องจากผลการดำเนินงานไตรมาส 1/61และไตรมาส2/61 ออกมาไม่สดใสทำให้ผลการดำเนินงานงวดครึ่งแรกปี 61 พลิกขาดทุน 142.72 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 263.29 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามนายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 4/61 คาดว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรสุทธิ เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ และการเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ของ Apple ปลายปีนี้ ที่จะเข้ามากระตุ้นยอดขาย หลังจากไตรมาส 3/61 มีสต๊อกสินค้าคงค้างค่อนข้างมาก เละกำลังซื้อชะลอตัว ทำให้มีผลขาดทุนในสต๊อกที่เหลือ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะดำเนินการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติงบไตรมาส 3/61 ในช่วงกลางเดือนพ.ย.61
บริษัทยังคงเป้าหมายรายได้ในปี 61 จะทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 1.32 หมื่นล้านบาท และพลิกกลับมามีกำไรสุทธิ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกสามารถทำรายได้ไปแล้ว 6.49 พันล้านบาท แต่มีผลขาดทุนสุทธิ 142.72 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงไตรมาส 1/61 มีการตั้งสำรองจากบริษัทลูก ได้แก่ บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) ผู้ประกอบการธุรกิจติดตามหนี้ และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ และบมจ.ซิงเกอร์ ประเทศไทย (SINGER) ผู้ประกอบการเช่าซื้อ รวมถึงไตรมาส 3/61 เป็นช่วงโลว์ซีซั่นและยังมีสต๊อกสินค้าคงค้างค่อนข้างมาก
ขณะที่บริษัทยังเดินหน้าขยายสาขาร้านเจมาร์ท และเจคาเมร่า อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการรวม 206 สาขา และช่วงที่เหลือของปีนี้จะทยอยเปิดอีก 10 สาขาในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก วางงบลงทุนเฉลี่ย 2 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งจะส่งผลให้ภายในสิ้นปี 61 มีสาขาเปิดให้บริการรวม 216 สาขา
อันดับ 4 บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 48.35% โดยราคาหุ้นปรับตัวลงจากระดับ 9.10 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 4.70 บาท (28 ก.ย.61) เนื่องจากผิดหวังผลการดำเนินงานมีกำไรถดถอยลงจากปี2557 อยู่ที่ 1,078.76 ล้านบาท ปี 2558 อยู่ที่ 812.74 ล้านบาท ปี 2559 อยู่ที่ 368.48 ล้านบาท ปี 2560 อยู่ที่ 315.09 ล้านบาท และงวดครึ่งปี 2561 อยู่ที่ 2.54 ล้านบาท นอกจากนี้โบรกฯยังแนะนำขายทำให้หุ้นอ่อนตัวตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา
บล.ทิสโก้ ยังคงคำแนะนำ “ขาย” จากการคาดกำไรสุทธิ 1H18F คิดเป็น 25% ของกำไรทั้งปี 2018 มีโอกาสปรับประมาณการลงจากแนวโน้มผลประกอบการยังไม่ฟื้นตัว จากปัจจัยกดดันหลายด้านยังคงมีความเสี่ยงจากตลาดในประเทศที่ยังมีการแข่งขันรุนแรง การเพิ่มขึ้นของภาษีน้ำตาลและสรรพสามิตกดดันผลประกอบการ แม้ว่าจะมีการส่งออกที่เริ่มเพิ่มขึ้นจากแผนการเข้าตลาดในกลุ่ม CLMV เป็นหลัก ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 5.1 บาท อ้างอิง PER เฉลี่ยในอดีตอยู่ที่ 26X ราคาหุ้นปัจจุบันมี PER18F ที่ 25X มากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 21.3X
อันดับ 5 บริษัท แฟนซีวู๊ด อินดัสตรีส จำกัด (มหาชน) หรือ FANCY ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 47.98% โดยราคาหุ้นปรับตัวลงจากระดับ 1.73 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 0.90 บาท (28ก.ย.61)ราคาหุ้นอ่อนตัวลงแรงช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นผลมานักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรหุ้นเล็กทำให้ง่ายต่อการดันราคาระยะสั้น ทำให้ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงมีแรงเทขายออกมาแรงเช่นกัน เนื่องจากหุ้นรายนี้มีพื้นฐานไม่แข็งแกร่งโดยเห็นได้จากผลงานขาดทุนตั้งแต่ปี 2558 จนถึงงวดครึ่งแรกปี 2561
*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน
https://www.kaohoon.com/content/257058
เพื่อนๆชาวสินธรมีความเห็นอย่างไรกันบ้างจ๊ะ
เปิด 18 รายชื่อหุ้น SET ราคาดิ่งนรก! 9 เดือนนักลงทุนเจ๊งเกิน 40% (ที่มา kaohoon.com)
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.)กลุ่ม SET ในรอบ 9 เดือนปี 2561 โดยเทียบราคาหุ้นปิด ณ วันที่ 29 ธ.ค.60-28 ก.ย.61 และคัดเลือกราคาหุ้นที่ปรับลงแรงสวนภาวะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้น 0.15% โดยเทียบจากดัชนียืนอยู่ที่ระดับ 1753.71 จุด (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 1756.41 จุด ( 28ก.ย.61) หรือบวกเพิ่มขึ้น 2.70 จุด
สำหรับทิศทางดัชนี SET ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาถือว่าอ่อนตัวลงแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.จะเห็นว่าดัชนีอ่อนตัวหลุดจากระดับ 1800 จุด และในช่วงเดือนมิ.ย.61 ดัชนีอ่อนตัวไม่หยุด และหลุดแนวรับทั้ง 1700 จุด และ 1600 จุด จากนั้นในช่วงก.ค.-ก.ย.ดัชนีเริ่มฟื้นตัวกลับมายืนเหนือระดับ 1700 จุดได้อีกครั้ง
สำหรับหุ้นกลุ่มหุ้น SET ที่ปรับตัวลงแรงตามทิศทางตลาดครั้งนี้ได้คัดเลือกมานำเสนอ 18 อันดับ โดยคัดเลือกเฉพาะหุ้นที่ราคาปรับตัวลงแรงเกิน 40% ซึ่งครั้งนี้จะขอเลือกนำเสนอข้อมูลประกอบเพียง 5 อันดับแรกของตารางคือ MALEE,PE,SCI,JMART,ICHI
อันดับ 1 บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MALEE ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 60.52% โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับ 38.25 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 15.10 บาท (28 ก.ย.61) ราคาหุ้นร่วงหนักในรอบ 9 เดือน ส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนผิดหวังผลการดำเนินงานปี 60 ที่ประกาศออกมาในช่วงดังกล่าว อีกทั้งผลงานครึ่งแรกปี 2561 พลิกขาดทุน 5.41 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 179.84 ล้านบาท ยิ่งทำให้ราคาหุ้นร่วงหนัก
ด้านนางสาวรุ่งฉัตร บุญรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า บริษัทยังต้องลุ้นผลประกอบการปีนี้ออกมามีกำไร หลังจากช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีผลขาดทุนราว 5 ล้านบาท โดยเป็นผลหลักมาจากการรับรู้ค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาทางการเงินและที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย 22 ล้านบาท และยอดขายที่ปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทจะเน้นการบริหารจัดการต้นทุน และผลักดันให้ยอดขายมีการเติบโต
ทั้งนี้ บริษัทได้ปรับลดเป้าหมายรายได้ลงเหลือใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 5,987.94 ล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะมีการเติบโต 30% หลังจากช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้ 2,719.55 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนราว 7% แต่ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทมั่นใจว่ารายได้จะมีการเติบโตจากการรับรู้รายได้เต็มไตรมาสของบริษัท Long Quan Safe Food JSC (LQSF) ในประเทศเวียดนาม ที่ MALEE เข้าไปถือหุ้นราว 65%
พร้อมกันนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทยังมีแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าใหม่ 3-4 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของการบริโภคทั้งโลก โดยเชื่อว่าจะเข้ามากระตุ้นยอดขายของบริษัทให้มีการเติบโตขึ้น
นางสาวรุ่งฉัตร กล่าวอีกว่า บริษัทเชื่อว่าจะเห็นการฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนในปี 62 เนื่องจากบริษัทได้ลงทุนในโครงการที่รองรับการเติบโตในอนาคตไปครบแล้ว ประกอบกับเชื่อว่าสินค้าในกลุ่มใหม่จะเห็นผลช่วยกระตุ้นยอดขายได้อย่างชัดเจนขึ้น ประกอบกับการใช้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรใหม่จะเข้าสู่จุดที่เหมาะสมมากขึ้นด้วย
อันดับ 2 บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) หรือ SCI ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 49.18% โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับ 6.10 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 3.10 บาท (28ก.ย.61) คาดนักลงทุนทยอยขายหุ้นตลอด 9 เดือน เนื่องจากผิดหวังผลการดำเนินงานมีกำไรถดถอยต่อเนื่องนับตั้งปี 2558 มีกำไร 187.05 ล้านบาท ส่วนปี 2559 มีกำไร 162.52 ล้านบาท และปี 2560 มีกำไรสุทธิ 20.50 ล้านบาท และผลงานครึ่งปีแรก 2561 ขาดทุนสุทธิ 2.17 ล้านบาท
ทั้งนี้แม้บริษัทจะมอง แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะเติบโตจากปีก่อนหน้า หลังจากโรงงานผลิตเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงและเสาสื่อสารโทรคมนาคมกำลังการผลิตเสาที่ 7,500 ตันต่อปี และโรงงานชุบสังกะสีหรือชุบกัลป์วาไนซ์กำลังการผลิตที่ 2.4 หมื่นตันต่อปี ในประเทศเมียนมา เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยโรงงานดังกล่าวมีมูลค่าลงทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 66 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามปีนี้บริษัทคาดจะมีรายได้อย่างน้อย 3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 60 ที่คาดว่าจะทำได้ลดลงมากเมื่อเทียบจากปี 59 ขณะที่ในปีนี้มีโอกาสที่จะพลิกมีกำไรได้ ซึ่งจะเร็วกว่าแผนที่คาดว่าจะกลับมามีกำไรในปี 62 หลังจากเปลี่ยนธุรกิจจำหน่ายมือถือ มาเป็นธุรกิจ Digital Trunked Radio และให้เช่าเสาสัญญาณ Co-Tower ในเขตอุทยานแห่งชาติ ที่จะเริ่มรับรู้รายได้ปีนี้ โดยบริษัทได้ลงทุนโครงข่ายรองรับ Digital Trunked Radio จำนวน 1,000 สถานี วงเงิน 2.5 พันล้านบาท สามารถครอบคลุมทั่วประเทศ
ทั้งนี้คาดว่าปีนี้จะมีลูกค้า 50,000 -100,000 ราย และคาดว่าจะได้เพิ่มอีก 1 แสนราย จากหน่วยงานราชการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอขั้นตอนการอนุมัติ และตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าเป็น 3-4 แสนรายภายในปี 63 โดยบริษัทจะมีรายได้จากค่าใช้บริการรายเดือนๆละ 800 บาทต่อเครื่อง และรายได้จากการจำหน่ายเครืองลูกข่ายวิทยุคมนาคมระบบดิจิทัล (Digital Trunked Radio) ราคาเครื่องละ 2-6 หมื่นบาท ขณะเดียวกันการลงทุนเสาสัญญาณ มีวงเงิน 2.5 พันล้านบาท ซึ่งทยอยลงทุนในช่วงปลายปี 60 และจะลงทุนในปีนี้อีก 200-300 ต้น
อันดับ 3 บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 49.17% โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับ 18.00 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 9.15 บาท (28ก.ย.61) คาดนักลงทุนทยอยขายหุ้นตลอด 9 เดือน เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับตัวธุรกิจนับตั้งแต่มีบทวิเคราะห์ปรับลดราคาเป้าหมายในช่วงไตรมาส 1/61
โดย บล. เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ยังคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเหมาะสมใหม่ 19.00 บาท อิงวิธี SOTP จากเดิมแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 23.00 บาท เนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงาน และสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จาก NPLs, ลูกหนี้ปรับโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองเพื่อรองรับ TFRS9 แม้บริษัทจะมีรายได้จากธุรกิจมือถือ และธุรกิจรับจ้างติดตาม และบริหารหนี้เพิ่มขึ้นก็ตาม
นอกจากนี้ยังมองว่าสินเชื่อของ J-FinTech จะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 19% ภายใต้แรงกดดันจาก NPLs และลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาด NPLs ที่ 7.8% ส่งผลให้ตั้งสำรองเพื่อรองรับ IFRS9 เพิ่มขึ้น 74% เราจึงปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ลดลงมาอยู่ที่ 605 ล้านบาท
ต่อมาราคาหุ้นยังร่วงต่อ เนื่องจากผลการดำเนินงานไตรมาส 1/61และไตรมาส2/61 ออกมาไม่สดใสทำให้ผลการดำเนินงานงวดครึ่งแรกปี 61 พลิกขาดทุน 142.72 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 263.29 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามนายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 4/61 คาดว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรสุทธิ เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ และการเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ของ Apple ปลายปีนี้ ที่จะเข้ามากระตุ้นยอดขาย หลังจากไตรมาส 3/61 มีสต๊อกสินค้าคงค้างค่อนข้างมาก เละกำลังซื้อชะลอตัว ทำให้มีผลขาดทุนในสต๊อกที่เหลือ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะดำเนินการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติงบไตรมาส 3/61 ในช่วงกลางเดือนพ.ย.61
บริษัทยังคงเป้าหมายรายได้ในปี 61 จะทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 1.32 หมื่นล้านบาท และพลิกกลับมามีกำไรสุทธิ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกสามารถทำรายได้ไปแล้ว 6.49 พันล้านบาท แต่มีผลขาดทุนสุทธิ 142.72 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงไตรมาส 1/61 มีการตั้งสำรองจากบริษัทลูก ได้แก่ บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) ผู้ประกอบการธุรกิจติดตามหนี้ และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ และบมจ.ซิงเกอร์ ประเทศไทย (SINGER) ผู้ประกอบการเช่าซื้อ รวมถึงไตรมาส 3/61 เป็นช่วงโลว์ซีซั่นและยังมีสต๊อกสินค้าคงค้างค่อนข้างมาก
ขณะที่บริษัทยังเดินหน้าขยายสาขาร้านเจมาร์ท และเจคาเมร่า อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการรวม 206 สาขา และช่วงที่เหลือของปีนี้จะทยอยเปิดอีก 10 สาขาในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก วางงบลงทุนเฉลี่ย 2 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งจะส่งผลให้ภายในสิ้นปี 61 มีสาขาเปิดให้บริการรวม 216 สาขา
อันดับ 4 บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 48.35% โดยราคาหุ้นปรับตัวลงจากระดับ 9.10 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 4.70 บาท (28 ก.ย.61) เนื่องจากผิดหวังผลการดำเนินงานมีกำไรถดถอยลงจากปี2557 อยู่ที่ 1,078.76 ล้านบาท ปี 2558 อยู่ที่ 812.74 ล้านบาท ปี 2559 อยู่ที่ 368.48 ล้านบาท ปี 2560 อยู่ที่ 315.09 ล้านบาท และงวดครึ่งปี 2561 อยู่ที่ 2.54 ล้านบาท นอกจากนี้โบรกฯยังแนะนำขายทำให้หุ้นอ่อนตัวตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา
บล.ทิสโก้ ยังคงคำแนะนำ “ขาย” จากการคาดกำไรสุทธิ 1H18F คิดเป็น 25% ของกำไรทั้งปี 2018 มีโอกาสปรับประมาณการลงจากแนวโน้มผลประกอบการยังไม่ฟื้นตัว จากปัจจัยกดดันหลายด้านยังคงมีความเสี่ยงจากตลาดในประเทศที่ยังมีการแข่งขันรุนแรง การเพิ่มขึ้นของภาษีน้ำตาลและสรรพสามิตกดดันผลประกอบการ แม้ว่าจะมีการส่งออกที่เริ่มเพิ่มขึ้นจากแผนการเข้าตลาดในกลุ่ม CLMV เป็นหลัก ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 5.1 บาท อ้างอิง PER เฉลี่ยในอดีตอยู่ที่ 26X ราคาหุ้นปัจจุบันมี PER18F ที่ 25X มากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 21.3X
อันดับ 5 บริษัท แฟนซีวู๊ด อินดัสตรีส จำกัด (มหาชน) หรือ FANCY ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 47.98% โดยราคาหุ้นปรับตัวลงจากระดับ 1.73 บาท (29 ธ.ค.60) มาอยู่ที่ระดับ 0.90 บาท (28ก.ย.61)ราคาหุ้นอ่อนตัวลงแรงช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นผลมานักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรหุ้นเล็กทำให้ง่ายต่อการดันราคาระยะสั้น ทำให้ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงมีแรงเทขายออกมาแรงเช่นกัน เนื่องจากหุ้นรายนี้มีพื้นฐานไม่แข็งแกร่งโดยเห็นได้จากผลงานขาดทุนตั้งแต่ปี 2558 จนถึงงวดครึ่งแรกปี 2561
*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน
https://www.kaohoon.com/content/257058
เพื่อนๆชาวสินธรมีความเห็นอย่างไรกันบ้างจ๊ะ