ทำไมคนไทยเรียกรถประจำทางว่า รถเมล์ ครับ

รถประจำทางภาษาอังกฤษเรียกว่า Bus (รถบัส) ป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางก็เขียนชัดเจนว่า Bus stop แล้วคำว่า "รถเมล์" มาจากไหน มีที่มาจากภาษาอะไร  ทำไมคนไทยเรียกแบบนี้  นอกจากนี้แล้วยังเรียกเรือโดยสารประจำทางว่าเรือเมล์อีกด้วย สงสัยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
รถเมล์/เรือเมล์  แต่เดิมใช้แค่ส่งจดหมาย ส่งเอกสาร เริ่มจากวงการฑูตสมัย ร.4 ต่อเนื่องกันมาเรื่อย ต่อเรือเมล์ใหญ่ขึ้นให้คนโดยสารกับบรรทุกสินค้า หลังตัด New Road (ถนนเจริญกรุง) ให้รถม้าขนเมล์วิ่งส่งจดหมาย ก็เลยต่อรถเมล์ใหญ่ขึ้น วิ่งรับ ส่งคนกับขนของไปด้วย คำว่าเมล์ ก็เลยเรียกติดปากต่อกันมาโดยไม่ค่อยตรงความหมายเท่าไหร่นัก
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ตามนั้นครับ คือสมัยก่อนมีการฝากถุงไปรษณีย์ (ถุงเมล์) ไปกับเรือโดยสารประจำทางด้วย เลยเรียกกันติดปากว่า เรือเมล์

ต่อมาเมื่อมีรถโดยสารประจำทางมาแทนเรือ ก็เลยพลอยเรียกรถโดยสารประจำทางไปด้วยว่า "รถเมล์" จนชินปาก

ทุกวันนี้ถ้าเรียก "รถบัส" คนไทยจะนึกถึงรถคันใหญ่ ๆ ที่ให้เช่าสำหรับเดินทางเป็นหมู่คณะ

ส่วนรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด จะเรียกเป็น "รถทัวร์" แทน

ก็ดีไปอย่างคือเรียกแยกกันไปเลยจะได้ไม่ต้องขยายความอีกว่า รถบัสอะไร รถบัสวิ่งในเมือง รถบัสเช่า หรือรถบัสวิ่งระหว่างจังหวัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่