เมื่อพูดถึงแบรนด์อันเลอค่าด้วยประวัติศาสตร์ซึ่งมีการออกแบบและเป็นงานแฮนด์เมดที่มีความวิจิตรตระการตาและคู่ควรกับราคาอันสูงลิ่วที่จะยิ่งทวีคูณเมื่อเวลาผ่านไป หลายคนคงนึกถึงชุดโอต์ กูตูร์จากห้องเสื้อฝรั่งเศส หรือกระเป๋าหนังลูกวัวในท้องจระเข้ โดยหารู้ไม่ว่า แบรนด์เนมระดับนี้ มีอยู่ที่บ้านท่าสว่าง ในจังหวัดสุรินทร์ของไทยนี่เอง...
“จันทร์โสมา” คือชื่อของแบรนด์ที่ก่อตั้งโดยอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้ซึ่งถือกำเนิดในตระกูลช่างทอผ้าที่สืบทอดวิชาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ย้อมสีธรรมชาติ และทอเป็นผืนผ้ามาหลายชั่วอายุคน โดยมีจุดเด่นพิเศษกว่าที่อื่น ตรง “ไหมน้อย” ที่ละเอียดนุ่มนวล สาวและทอได้ยากยิ่ง จนเริ่มจะเลือนหายไป แทบไม่มีใครทราบว่าช่างที่นี่ทอไหมน้อยได้จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9ทรงมีพระราชปรารภว่า“สมัยก่อนผ้าไหมไทยมีความนุ่ม เนียน แน่น มากทำอย่างไรจึงจะได้ผ้าชนิดนั้นคืนกลับมา”เหล่าข้าราชบริพารก็ออกเสาะหา จนได้พบผ้าทอไหมน้อยที่ท่าสว่าง เมื่อทอขึ้นทูลเกล้าฯถวายเป็นที่พอพระทัย จึงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ สร้างโรงทอผ้าตามรูปแบบราชสำนักโบราณขึ้นที่บ้านท่าสว่างแห่งนี้
การทอไหมน้อยยากอย่างไร เริ่มตั้งแต่สาวไหมเส้นละเอียดมาฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสี คือ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแล และสีครามจากเมล็ดคราม ซึ่งสีครามนี้ย้อมได้ยาก สมัยก่อนต้องไปย้อมที่บ้านหมอคราม และวิชาก็สูญไปหมด ต้องทดลองฟื้นฟูกันขึ้นมาใหม่ เมื่อได้เส้นไหมย้อมสีแล้ว ยังต้องทำไหมทอง ปั่นเส้นด้ายควบกับเส้นเงินแท้ เพื่อทอเป็นผ้ายกทอง
ด้วยลวดลายที่ซับซ้อน จึงต้องใช้ตะกอจำนวนมาก ตั้งแต่ร้อยถึงเป็นพัน ผ้าไหมน้อยยกทองผืนงามที่สุดใช้ถึง 1,416 ตะกอ แขวนลงมาบนกี่ทอหลังใหญ่ที่ออกแบบพิเศษ ต้องขุดหลุมบริเวณที่ตั้งกี่ลึกลงไป 2-3 เมตรเพื่อรองรับความยาวของตะกอ มีช่างทอคนหนึ่งอยู่ในหลุม คอยสอดตะกอ ใช้ช่างทอถึง 4 คนต่อหนึ่งผืน ทอได้วันละ 4-5 เซนติเมตร ใช้เวลานานกว่าจะออกมาเป็นลวดลายอย่างราชสำนักประยุกต์ มาเป็นลายเทพนม ลายหิ่งห้อยชมสวน ลายก้านขดเต้นรำ ลายครุฑยุดนาค ผสานกับลายผ้าพื้นเมืองสุรินทร์
ผลงานผ้าไหมยกทองบ้านท่าสว่าง สร้างชื่อระดับนานาชาติ เมื่อได้รับเลือกเป็นผ้าตัดเสื้อและทำผ้าคลุมไหล่ให้กับผู้นำและคู่สมรส เมื่อครั้งไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคเมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้รับความไว้วางใจจัดทำผ้าคลุมพระอังสาสำหรับพระราชอาคันตุกะที่เสด็จมาร่วมงานพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ตลอดจนการทอผ้าสำหรับเครื่องแต่งกายในโครงการ "โขนพระราชทานศาสตร์และศิลป์ของแผ่นดิน" เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
ด้วยชื่อเสียงและความมหัศจรรย์ของผ้ายกทองจันทร์โสมา บ้านท่าสว่างจึงมีแขกมาเยือนมากมาย ที่นี่มีบ้านพักรับรองแบบโฮมสเตย์สะดวกสบายไว้สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เวลาศึกษาใกล้ชิด และถึงจะเป็นแบรนด์เนมไฮเอนด์ ก็ไม่ต้องกลัวว่าราคาจะสูงเกินเอื้อมจนต้องกลับบ้านมือเปล่า ผ้าไหมบ้านท่าสว่างเนื้อละเอียดนุ่มแน่นชนิดจับต้องได้และใช้ในชีวิตประจำวันก็มีให้เลือก นอกจากนี้ยังมีชุดไทยงดงามไว้ให้เช่าสำหรับเจ้าสาวและงานพิธีสำคัญด้วย
รายละเอียดการเดินทาง
บ้านท่าสว่าง อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ 10 กิโลเมตร ใช้ถนนสายเกาะลอย-เมืองลิง (ทางหลวงชนบท สร.4026)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กลุ่มทอผ้ายกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง โทร. 089-202-7009, 04-455-8489-90
บริการที่พักแบบโฮมสเตย์คุณสุทิตย์ยิ้วว่อง โทร. 087-871-4449, คุณสุพจน์ โสฬส โทร. 087-379-6090 และคุณปราณี ติดใจดี โทร. 087-509-9507
“บ้านท่าสว่าง” จ.สุรินทร์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ถูกขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” จากการที่รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกันภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างแท้จริง เพื่อสร้างรอยยิ้ม คืนความสุข เพื่อคนไทยทุกคน และหากใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมแบบไทย ๆ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://nawatwithi.com/ หรือ
www.facebook.com/nawatwithi
[Advertorial]
กี่พันตะกอ ทอไหมทองที่ท่าสว่าง
เมื่อพูดถึงแบรนด์อันเลอค่าด้วยประวัติศาสตร์ซึ่งมีการออกแบบและเป็นงานแฮนด์เมดที่มีความวิจิตรตระการตาและคู่ควรกับราคาอันสูงลิ่วที่จะยิ่งทวีคูณเมื่อเวลาผ่านไป หลายคนคงนึกถึงชุดโอต์ กูตูร์จากห้องเสื้อฝรั่งเศส หรือกระเป๋าหนังลูกวัวในท้องจระเข้ โดยหารู้ไม่ว่า แบรนด์เนมระดับนี้ มีอยู่ที่บ้านท่าสว่าง ในจังหวัดสุรินทร์ของไทยนี่เอง...
“จันทร์โสมา” คือชื่อของแบรนด์ที่ก่อตั้งโดยอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้ซึ่งถือกำเนิดในตระกูลช่างทอผ้าที่สืบทอดวิชาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ย้อมสีธรรมชาติ และทอเป็นผืนผ้ามาหลายชั่วอายุคน โดยมีจุดเด่นพิเศษกว่าที่อื่น ตรง “ไหมน้อย” ที่ละเอียดนุ่มนวล สาวและทอได้ยากยิ่ง จนเริ่มจะเลือนหายไป แทบไม่มีใครทราบว่าช่างที่นี่ทอไหมน้อยได้จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9ทรงมีพระราชปรารภว่า“สมัยก่อนผ้าไหมไทยมีความนุ่ม เนียน แน่น มากทำอย่างไรจึงจะได้ผ้าชนิดนั้นคืนกลับมา”เหล่าข้าราชบริพารก็ออกเสาะหา จนได้พบผ้าทอไหมน้อยที่ท่าสว่าง เมื่อทอขึ้นทูลเกล้าฯถวายเป็นที่พอพระทัย จึงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ สร้างโรงทอผ้าตามรูปแบบราชสำนักโบราณขึ้นที่บ้านท่าสว่างแห่งนี้
การทอไหมน้อยยากอย่างไร เริ่มตั้งแต่สาวไหมเส้นละเอียดมาฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสี คือ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแล และสีครามจากเมล็ดคราม ซึ่งสีครามนี้ย้อมได้ยาก สมัยก่อนต้องไปย้อมที่บ้านหมอคราม และวิชาก็สูญไปหมด ต้องทดลองฟื้นฟูกันขึ้นมาใหม่ เมื่อได้เส้นไหมย้อมสีแล้ว ยังต้องทำไหมทอง ปั่นเส้นด้ายควบกับเส้นเงินแท้ เพื่อทอเป็นผ้ายกทอง
รายละเอียดการเดินทาง
บ้านท่าสว่าง อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ 10 กิโลเมตร ใช้ถนนสายเกาะลอย-เมืองลิง (ทางหลวงชนบท สร.4026)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กลุ่มทอผ้ายกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง โทร. 089-202-7009, 04-455-8489-90
บริการที่พักแบบโฮมสเตย์คุณสุทิตย์ยิ้วว่อง โทร. 087-871-4449, คุณสุพจน์ โสฬส โทร. 087-379-6090 และคุณปราณี ติดใจดี โทร. 087-509-9507
“บ้านท่าสว่าง” จ.สุรินทร์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ถูกขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” จากการที่รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกันภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างแท้จริง เพื่อสร้างรอยยิ้ม คืนความสุข เพื่อคนไทยทุกคน และหากใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมแบบไทย ๆ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://nawatwithi.com/ หรือ www.facebook.com/nawatwithi
[Advertorial]