ตีทะเบียนหมา-แมว กฏหมาย! ยังไม่บังคับใช้ยังต้องรับฟังความเห็น – เข้าสนช. อาจจะไม่ต้องจ่ายค่าลงทะเบียนก็ได้
ขึ้นทะเบียนหมาแมว อาจไม่เสียเงิน – 11 ต.ค. นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เพิ่งอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอนั้น ครม.ให้ ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็น เรื่องด่วน
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณานั้น ในรายละเอียดของกฏหมายกำหนดให้เจ้าของสัตว์ ซึ่งเบื้องต้นจะใช้กำกับดูแล หมา กับ แมวไปก่อน นำสัตว์ไปขึ้นทะเบียน โดยอัตราค่าขึ้นทะเบียนรวมประมาณ 450 บาท/ตัว
สาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่กรมปศุสัตว์เสนอ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 วัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการทอดทิ้งสัตว์ในที่สาธารณะ และการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับความปลอดภัยด้านสุขอนามัย รวมถึงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
ในระหว่างนี้ กรมปศุสัตว์ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการชี้แจงให้ ร่างพระราชบัญญัตินี้ มีความเหมาะสม และเป็นไปตามความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ อย่างรอบคอบ และสามารถปฏิบัติได้จริงให้ดีที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าปรับ การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการขึ้นทะเบียนสัตว์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และอื่นๆ ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอยืนยันว่า จะรับฟัง รวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะทั้งหมดของประชาชน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลชี้แจงในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และขั้นตอนการประชุมของ สนช. ต่อไป
“กฏหมายนี้เบื้องต้นไปเพียงร่าง ยังต้องไปพิจารณา หารือกัน อีกหลายขั้นตอน จนกว่าจะถึงขึ้นเข้าสภานิติบัญญัติ อาจมีการพิจารณาลดค่าธรรมเนียมลงอีก หรือ อาจจะไม่เก็บเลยก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับการหารือก่อนการประกาศใช้เป็นกฏหมายและมีผลบังคับ การกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าปรับ การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการขึ้นทะเบียนสัตว์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และอื่นๆ
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอยืนยันว่า จะรับฟัง รวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะทั้งหมดของประชาชน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลชี้แจงในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และขั้นตอนการประชุมของ สนช. ต่อไป”
นายสรวิศ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมฯกรมปศุสัตว์เป็นผู้เสนอ สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมฯ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
ดังนั้น กรมปศุสัตว์ จึงได้จัดทำและเสนอ ร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นมาประกบกับร่างพระราชบัญญัติฯ ที่เสนอโดยคณะกรรมการฯ ของ สนช. ตามขั้นตอนทั่วไป
ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับของกรมปศุสัตว์นั้น เมื่อผ่านมติ ครม. แล้ว จะต้องส่งไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาควบคู่กับฉบับ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ ของคณะกรรมการฯ ของ สนช. หากผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จะต้องเข้าสู่ที่ประชุม สนช. อีก 3 วาระ จึงจะออกมาเป็นกฏหมายเพื่อบังคับใช้
ทุกคนชาวกระทู้คิดยังไงกับ การลงทะเบียน สุนัขและแมว ตัวละ 450 บาท!
ขึ้นทะเบียนหมาแมว อาจไม่เสียเงิน – 11 ต.ค. นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เพิ่งอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอนั้น ครม.ให้ ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็น เรื่องด่วน
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณานั้น ในรายละเอียดของกฏหมายกำหนดให้เจ้าของสัตว์ ซึ่งเบื้องต้นจะใช้กำกับดูแล หมา กับ แมวไปก่อน นำสัตว์ไปขึ้นทะเบียน โดยอัตราค่าขึ้นทะเบียนรวมประมาณ 450 บาท/ตัว
สาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่กรมปศุสัตว์เสนอ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 วัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการทอดทิ้งสัตว์ในที่สาธารณะ และการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับความปลอดภัยด้านสุขอนามัย รวมถึงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
ในระหว่างนี้ กรมปศุสัตว์ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการชี้แจงให้ ร่างพระราชบัญญัตินี้ มีความเหมาะสม และเป็นไปตามความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ อย่างรอบคอบ และสามารถปฏิบัติได้จริงให้ดีที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าปรับ การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการขึ้นทะเบียนสัตว์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และอื่นๆ ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอยืนยันว่า จะรับฟัง รวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะทั้งหมดของประชาชน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลชี้แจงในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และขั้นตอนการประชุมของ สนช. ต่อไป
“กฏหมายนี้เบื้องต้นไปเพียงร่าง ยังต้องไปพิจารณา หารือกัน อีกหลายขั้นตอน จนกว่าจะถึงขึ้นเข้าสภานิติบัญญัติ อาจมีการพิจารณาลดค่าธรรมเนียมลงอีก หรือ อาจจะไม่เก็บเลยก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับการหารือก่อนการประกาศใช้เป็นกฏหมายและมีผลบังคับ การกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าปรับ การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการขึ้นทะเบียนสัตว์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และอื่นๆ
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอยืนยันว่า จะรับฟัง รวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะทั้งหมดของประชาชน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลชี้แจงในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และขั้นตอนการประชุมของ สนช. ต่อไป”
นายสรวิศ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมฯกรมปศุสัตว์เป็นผู้เสนอ สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมฯ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
ดังนั้น กรมปศุสัตว์ จึงได้จัดทำและเสนอ ร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นมาประกบกับร่างพระราชบัญญัติฯ ที่เสนอโดยคณะกรรมการฯ ของ สนช. ตามขั้นตอนทั่วไป
ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับของกรมปศุสัตว์นั้น เมื่อผ่านมติ ครม. แล้ว จะต้องส่งไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาควบคู่กับฉบับ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ ของคณะกรรมการฯ ของ สนช. หากผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จะต้องเข้าสู่ที่ประชุม สนช. อีก 3 วาระ จึงจะออกมาเป็นกฏหมายเพื่อบังคับใช้