เกิดโชคลาภ และและโชคลาภ มีกี่สาย กี่ประเภท
สายหลักของโชคลาภ
ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๔) ให้ความหมายของคำว่า "โชค" แปลว่า "น. สิ่งที่นำผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น โชคดี โชคร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.
อาจารย์เปลื้อง ณ นคร. (๒๕๕๔) ให้ความหมายของคำว่า "โชค" แปลว่า "น. เคราะห์ดีมีลาภ."
ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า "ลาภ" แปลว่า "[ลาบ] น. สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้, การได้, กำไร)." ลูกคำของ "โชค" คือ โชคชะตา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) (๒๕๕๐ : ๓๔๗) ให้ความหมายของคำว่า "ลาภ" แปลว่า "ของที่ได้, การได้"
โชคลาภ (fortune) ภาษาบาลี เรียกว่า "ลักขี" ซึ่งโชคลาภนี้มีสายหลักดังนี้
โชคลาภสายรูปธรรม
๑. ถูกหวย คือ เราซื้อหวย ลอตเตอรี่ สลากกินแบ่ง มะก่องถี่ แล้วเราถูกรางวัล
๒. เก็บของได้ คือ ใครทำของตกไว้กลางถนนแล้วเก็บของได้ หรือแม้แต่เราไปหาของป่ามาขาย แล้วเราหาได้มาก เป็นต้น
๓. เขารักเราแล้วเอาของมาให้เรา คือ มีใครสักคนหนึ่งที่มีความรัก ความห่วงใยเรา แล้วไปซื้อของ หรือนำสิ่งของมาให้เรา
๔. เล่นการพนันได้ เล่นได้
๕. อยู่ดีๆก็มีคนเอาของมาให้ แล้วเราได้เงิน
๖. อยู่ดีๆ เขานึกถึงความดีของเราได้ แล้วตอบแทนบุญคุณ
โชคลาภสายนามธรรม
๗. ได้รับยกย่องมีชื่อเสียง คือ เรามีชื่อเสียง ได้รับเกียรติยศ มีคนสรรเสริญ ยกย่องเรา นับถือเราเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ
๘. ชื่นชม อยากให้เราสอน คือ มีบุคคลที่ชื่นชมในความดี ความสามารถของเรา ให้อยากให้เราสอนธรรมะ หรือสอนวิชาการต่างๆ เป็นต้น
๙. ช่วยแก้ทุกข์ คือ มีทุกข์ ช่วยให้แก้ทุกข์เขาได้ แล้วเขาก็นำสิ่งของมีเงินทอง เป็นต้น มาให้เรา
๑๐. ทุกข์หนักหาทางออกได้ คือ เขาถึงทางตัน มืดแปดด้าน แล้วเราช่วยหาทางออกให้กับเขาได้
๑๑. หมดหนทางอยากให้เราช่วยให้รอด
๑๒. เราขอบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ คือ มีคนที่ตกทุกข์ได้ยากมาขอให้เราช่วย แล้วเราขอบารมีจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือผู้มีบารมี ผู้มีบุญญา เจ้าพ่อ ผู้อุปการะ อุปถัมภ์ให้เขาอยู่รอดได้
ฉะนั้น เมื่อเรามีโชคลาภก็อย่าหลงระเริงกับโชคลาภของเรา เราต้องหมั่นสร้างเหตุดีไว้สม่ำเสมอ เราจะได้มีโชคลาภอย่างต่อเนื่อง
รายการอ้างอิง
เปลื้อง ณ นคร. ๒๕๕๔. พจนานุกรม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๔๔. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : นานมี บุคส์เซ็นต์เตอร์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุโตโต). ๒๕๕๐. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ ๑). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เกิดโชคลาภ และและโชคลาภ มีกี่สาย กี่ประเภท
สายหลักของโชคลาภ
ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๔) ให้ความหมายของคำว่า "โชค" แปลว่า "น. สิ่งที่นำผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น โชคดี โชคร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.
อาจารย์เปลื้อง ณ นคร. (๒๕๕๔) ให้ความหมายของคำว่า "โชค" แปลว่า "น. เคราะห์ดีมีลาภ."
ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า "ลาภ" แปลว่า "[ลาบ] น. สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้, การได้, กำไร)." ลูกคำของ "โชค" คือ โชคชะตา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) (๒๕๕๐ : ๓๔๗) ให้ความหมายของคำว่า "ลาภ" แปลว่า "ของที่ได้, การได้"
โชคลาภ (fortune) ภาษาบาลี เรียกว่า "ลักขี" ซึ่งโชคลาภนี้มีสายหลักดังนี้
โชคลาภสายรูปธรรม
๑. ถูกหวย คือ เราซื้อหวย ลอตเตอรี่ สลากกินแบ่ง มะก่องถี่ แล้วเราถูกรางวัล
๒. เก็บของได้ คือ ใครทำของตกไว้กลางถนนแล้วเก็บของได้ หรือแม้แต่เราไปหาของป่ามาขาย แล้วเราหาได้มาก เป็นต้น
๓. เขารักเราแล้วเอาของมาให้เรา คือ มีใครสักคนหนึ่งที่มีความรัก ความห่วงใยเรา แล้วไปซื้อของ หรือนำสิ่งของมาให้เรา
๔. เล่นการพนันได้ เล่นได้
๕. อยู่ดีๆก็มีคนเอาของมาให้ แล้วเราได้เงิน
๖. อยู่ดีๆ เขานึกถึงความดีของเราได้ แล้วตอบแทนบุญคุณ
โชคลาภสายนามธรรม
๗. ได้รับยกย่องมีชื่อเสียง คือ เรามีชื่อเสียง ได้รับเกียรติยศ มีคนสรรเสริญ ยกย่องเรา นับถือเราเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ
๘. ชื่นชม อยากให้เราสอน คือ มีบุคคลที่ชื่นชมในความดี ความสามารถของเรา ให้อยากให้เราสอนธรรมะ หรือสอนวิชาการต่างๆ เป็นต้น
๙. ช่วยแก้ทุกข์ คือ มีทุกข์ ช่วยให้แก้ทุกข์เขาได้ แล้วเขาก็นำสิ่งของมีเงินทอง เป็นต้น มาให้เรา
๑๐. ทุกข์หนักหาทางออกได้ คือ เขาถึงทางตัน มืดแปดด้าน แล้วเราช่วยหาทางออกให้กับเขาได้
๑๑. หมดหนทางอยากให้เราช่วยให้รอด
๑๒. เราขอบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ คือ มีคนที่ตกทุกข์ได้ยากมาขอให้เราช่วย แล้วเราขอบารมีจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือผู้มีบารมี ผู้มีบุญญา เจ้าพ่อ ผู้อุปการะ อุปถัมภ์ให้เขาอยู่รอดได้
ฉะนั้น เมื่อเรามีโชคลาภก็อย่าหลงระเริงกับโชคลาภของเรา เราต้องหมั่นสร้างเหตุดีไว้สม่ำเสมอ เราจะได้มีโชคลาภอย่างต่อเนื่อง
รายการอ้างอิง
เปลื้อง ณ นคร. ๒๕๕๔. พจนานุกรม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๔๔. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : นานมี บุคส์เซ็นต์เตอร์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุโตโต). ๒๕๕๐. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ ๑). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์