รบกวนช่วยอธิบายความสัมพันธ์ของ Bond Yield, เงินเฟ้อ, แล้วก็ระบบเศรษฐกิจโลกหน่อยครับ

พอดีผมตามๆข่าวเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นของสหรัฐ แล้วมีผลต่อตลาดหุ้นโดยรวมที่ติดลบอย่างวันนี้
แต่ผมไม่ทราบถึงสาเหตุหรือความสัมพันธ์ที่แท้จริงของมันว่ามีผลกระทบต่อกันอย่างไร เม็ดเงินมันโยกไปมาแบบไหน และส่งผลต่อตลาดอย่างไรบ้าง
คำถามที่ผมสงสัยอย่างเช่น...

- พวก Bond Yield มันมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างไรบ้าง ในกรณีที่ปรับขึ้นหรือลดลง
- มีผลต่อเงินเฟ้ออย่างไรจากกรณีที่ทรัมป์ออกมาต่อว่าธนาคารกลางว่ายังไม่ควรปรับอัตราดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อยังไม่ได้สูงมาก
(ไม่แน่ใจว่าการที่เงินเฟ้อมากๆ รัฐบาลจะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น เพื่อที่คนจะได้เอาเงินเก็บใช่รึเปล่าครับ)
- แล้วก็การเปลี่ยนแปลงของ Bond Yield สหรัฐ มันส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกได้อย่างไร
(ผมเข้าใจว่านักลงทุนก็จะปรับพอร์ตลดสัดส่วนไปที่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งได้ผลตอบแทนสูงขึ้นจากเดิมอย่างงี้รึเปล่าครับ
รวมถึงนักลงทุนรายใหญ่ๆที่ไปลงทุนต่างชาติกลับมาถือ Bond สหรัฐมากขึ้น อย่างงี้ถูกรึเปล่าครับ)

รบกวนอธิบายแบบง่ายๆก็ได้ครับ ขอบคุณมากครับ


อันนี้เป็นตัวอย่างข่าวที่ผมเจอมา


คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
Bond Yield หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เป็นผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวังจากการถือครองพันธบัตรรัฐบาลอายุต่างๆ สำหรับ Bond Yield ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจคือ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (10-year Treasury Yield)

เมื่อ Bond Yield หรืออัตราผลตอบแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ความกังวลของนักลงทุนว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรง โดยก่อนที่ Bond Yield จะทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2561 เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง แต่เมื่อ Bond Yield ทำ New High นักลงทุนเริ่มมองกันว่า ในปีนี้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 4 ครั้ง
            สำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้น หากอัตราดอกเบี้ยค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น เพราะเศรษฐกิจมีการขยายตัวที่ดี กรณีนี้ถือว่า เป็นข่าวบวกสำหรับนักลงทุน แต่เมื่อไรที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แทนที่จะสะท้อนถึงเศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี จะเป็นตัวบั่นทอนการขยายตัวของกำไรบริษัทต่างๆ เพราะต้นทุนในการกู้ยืมเพื่อทำธุรกิจจะสูงขึ้น

            นอกจากนี้ ในสายตาของนักลงทุน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนตราสารหนี้สูงขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น หากการลงทุนหุ้นยังให้ผลตอบแทนโดยรวมไม่ต่างจากเดิม แต่การลงทุนตราสารหนี้กลับมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จึงทำให้เสน่ห์หรือความน่าสนใจของการลงทุนในตลาดหุ้นลดลงไป

            สิ่งที่นักลงทุนควรทำเพื่อรับมือกับสถานการณ์ Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้น คือ ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินว่า การปรับเพิ่มขึ้นของ Bond Yield จะส่งผลกระทบทางลบกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ โดยหากกำไรของบริษัทฯ ยังมีทิศทางขยายตัวในระดับที่ไม่แตกต่างจากเดิม หรือมากขึ้นจากเดิม การเพิ่มขึ้นของ Bond Yield ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล แต่เป็นตัวสะท้อนว่า เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ในทิศทางที่ดี

             นอกจากนี้ เมื่อ Bond Yield ของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลของประเทศต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นตาม (เพื่อป้องกันไม่ให้เงินลงทุนไหลออกจากประเทศของตนเองไปยังสหรัฐฯ) ส่งผลให้ราคาของตราสารหนี้ต่างๆ ปรับลดลง
            เมื่ออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลของไทยสูงขึ้นตาม Bond Yield ของสหรัฐฯ ราคาของตราสารหนี้ของไทยที่ซื้อขายกันในตลาดตราสารหนี้จึงปรับตัวลดลง ผู้ที่ลงทุนกองทุนตราสารหนี้จึงมีโอกาสพบกับสถานการณ์ที่ราคา NAV ของกองทุนปรับตัวลงในช่วงที่ Bond Yield สูงขึ้น แต่เมื่อลงทุนไประยะหนึ่งซึ่งกองทุนได้รับดอกเบี้ยจากการลงทุนตราสารหนี้เข้ามา จะช่วยให้ผลตอบแทนโดยรวมของกองทุนกลับมาเป็นบวกได้ ดังนั้นผู้ที่ลงทุนกองทุนตราสารหนี้ จึงไม่ควรตกใจหรือรีบเทขายกองทุน เมื่อ Bond Yield ปรับเพิ่มสูงขึ้น


         การลงทุนในตราสารหนี้ ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Risk)

    คือ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการลดลงของอำนาจซื้อ โดยปกติอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่มีการกำหนดเอาไว้คงที่ ซึ่งผลของเงินเฟ้อจะลดค่าของเงินลงทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดและเงินต้นที่จะได้รับคืนในงวดสุดท้าย

    การปรับตัวสูงขึ้นของ Bond Yield สหรัฐฯ ทำให้เกิดการยกระดับ Bond Yield ทั่วโลกให้สูงขึ้นโดยคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นราว 8%บางประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้นมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทย Bond Yield 10 ปีปรับขึ้น 6 bps. ในช่วงเดือนเมษายน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเพียง 2%แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะมีการขายสุทธิออกมาก็ตามกว่า 32,782 ล้านบาท จึงถือได้ว่า Bond Yield ไทยอายุ 10 ปี มีการปรับขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจาก Bond Yieldระยะยาวของไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงตาม Bond Yield สหรัฐฯเท่านั้น ซึ่งอาจจะต้องรอปัจจัยสนับสนุน เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหรือแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าน้อยลง Bond Yield ระยะยาวของไทยจึงจะปรับตัวขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ

                 ตลาดหุ้นยังปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ เงินเริ่มหาสินทรัพย์อื่น เพราะหุ้นแพงเกินไป ว่าแล้วก็เหลือบไปเห็นตลาด Commodity ซึ่งเทรดบนอนุพันธ์เป็นหลัก ยังมูลค่าถูกอยู่ ว่าแล้ว Fund Flow ก็อาจไล่ไปลงทุนในตลาดนี้ จนทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นนี้ อันตรายครับ เพราะอาจไปทำให้เกิดเงินเฟ้อแบบ Cost push inflation เมื่อนั่น เหตุผลที่เหล่าธนาคารกลางทั่วโลกจะกดดอกเบี้ยให้ต่อไป ก็จะน้อยลง เพราะเงินเฟ้อมาก และต้องขยับดอกเบี้ยขึ้นตามเงินเฟ้อ (รึเปล่า) และถ้าขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ เงินก็จะไหลออกจากตลาดพันธบัตรแน่นอน เหตุการณ์หลังจากนั้น ผมยังจินตนาการไม่ออกครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น รู้แต่ว่า เป็นความเสี่ยงมหันต์เลยทีเดียวถ้าจำตอนปี 2007-2008 ได้ ช่วงนั้น มีมือมืดลากราคาน้ำมัน และทำให้ Commodity ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนจะจบด้วยการเทขายรุนแรงตามมา















[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่