#นวะโลหะ นวะแปลว่า 9 ... การผสมนวะโลหะแบบเต็มสูตรคือ การนำโลหะต่างๆ 9 ชนิดมาผสมกันตามตำราโบราณ เพื่อนำมาจัดสร้างวัตถุมงคล พระเครื่อง หรือวัตถุอาถรรพ์ต่างๆ เมื่อผสมแล้วจะได้น้ำหนักโลหะรวมกัน 45 บาท หรือ 684 กรัม ส่วนผสมแบบเต็มสูตรนี้ประกอบด้วย
1.ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) หนัก 1 บาท
2.จ้าวน้ำเงินหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
3.เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4.บริสุทธิ์ หนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
5.ปรอท หนัก 5 บาท
6.สังกะสี หนัก 6 บาท
7.ทองแดง หนัก 7 บาท
8.เงิน หนัก 8 บาท
9.ทองคำหนัก 9 บาท
.. เมื่อผสมกันดังนี้ก็จะได้โลหะซึ่งเรียกว่า"นวะโลหะ" ซึ่งมีความเชื่อกันว่า นวะโลหะก็เป็นเหล็กไหลชนิดหนึ่ง มีอิทธิฤทธิ์ในตัวแม้จะไม่ได้ปลุกเสกก็ตาม สามารถช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล ขับไล่ภูติผีปีศาจ สามารถแก้และล้างอาถรรพ์ได้ .. แต่ถ้าได้รับการปลุกเสกจากครูบาอาจารย์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยศีลและพุทธาคมด้วยแล้ว พุทธคุณจะยิ่งยวดขึ้นไปอีกเรียกว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว..
#นวะโลหะกลับ นอกจากการผสมนวะโลหะแบบเต็มสูตรแล้ว ยังมีการผสมนวะโลหะไม่เต็บสูตรอีกแบบหนึ่งหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า"นวะกลับ" เพื่อเป็นการลดต้นทุนการจัดสร้าง เนื่องจากทองคำมีราคาสูง ซึ่งการผสมโลหะแบบนี้ ก็มีความเชื่อว่าอิทธิฤทธิ์ของนวะโลหะที่ได้รับการผสมเช่นนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่วนผสมของนวะโลหะแบบไม่เต็มสูตรหรือ"นวะกลับ"มีดังนี้
1.ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) หนัก 9 บาท
2.จ้าวน้ำเงินหนัก 8 บาท (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
3.เหล็กละลายตัว หนัก 7 บาท
4.บริสุทธิ์ หนัก 6 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
5.ปรอท หนัก 5 บาท
6.สังกะสี หนัก 4 บาท
7.ทองแดง หนัก 3 บาท
8.เงิน หนัก 2 บาท
9.ทองคำหนัก 1 บาท
#นวะโลหะต่อชนวน เนื่องจากเนื้อนวะโลหะกลับสูตรยังมีต้นทุนสูงอยู่ จึงได้มีการพลิกแพลงทำเป็นนวโลหะต่อชนวนขึ้นมา โดยการนำช่อชนวนที่เหลือจากการหล่อพระเนื้อนวโลหะกลับสูตร มาหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆ กลายเป็นเนื้อนวะโลหะต่อชนวนชั้นที่ 1 ครั้งต่อไปก็นำช่อชนวนจากชั้นนี้ไปหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆ กลายเป็นนวโลหะต่อชนวนชั้นที่ 2 ทำอย่างนี้หลายๆครั้งจนไม่รู้ว่าเป็นชั้นที่เท่าไร เนื้อนวโลหะเจือจางเหลืออยู่เท่าใด แต่ในแต่ละครั้งเขาจะมีการเพิ่มเงิน เพิ่มจ้าวน้ำเงิน(พลวง) หรือโลหะอื่นๆทุกครั้ง เพื่อให้ได้สีผิวตามที่ต้องการและตามต้นทุนที่คำนวณไว้แล้ว แต่ไม่เป็นไปตามสูตรโบราณ ดังนั้นเนื้อนวโลหะเต็มสูตรจริงๆจะมีมูลค่าและคุณค่าสูงกว่าเนื้อเงินทั่วไปมาก แม้นวะกลับสูตรก็ยังสูงกว่า แต่สำหรับเนื้อนวโลหะต่อชนวนเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่ามีมูลค่าหรือคุณค่าเท่าไร เพราะต้องดูจากองค์ประกอบหลายๆอย่าง อีกอย่างหนึ่งเนื้อนวโลหะจะใช้สร้างพระหล่อประเภทกริ่งหรือรูปหล่อเหมือนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการสร้างเหรียญเนื้อนวโลหะ ก็จะใช้วิธีหล่อแล้วเท แล้วรีดเป็นแผ่นก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูปหน้าหลัง จากนั้นก็ปั๊มตัดขอบ ก็จบกระบวนการ
#นวะโลหะปัจจุบัน เหรียญเนื้อนวโลหะ ที่เรียกกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ผสมด้วยโลหะ๙ ชนิดแบบสมัยก่อน อย่างเช่น จ้าวน้ำเงิน ก็ไม่มีใครทราบว่าเป็นโลหะอะไร มีลักษณะแบบไหน ถามหาผู้รู้ก็ไม่มีใครทราบ
...นอกจากนี้ส่วนผสมหลัก คือ ทองคำ ก็มีราคาแพงมาก เวลาทำเหรียญเนื้อนวโลหะโดยทั่วไปจึงไม่มีใครใส่ทองคำกันอีก
...ดังนั้นทุกวันนี้เหรียญเนื้อนวโลหะส่วนมากจะมีส่วนผสมเพียง๓ อย่างเท่านั้น คือ ทองแดง ๘๕ เปอร์เซ็นต์ เงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ สังกะสี ๕ เปอร์เซ็นต์ หรือหากนอกเหนือจากนี้ ก็อาจจะมีการ ลด เพิ่ม โลหะบางชนิดที่หาได้ง่ายและสะดวกในการจัดสร้าง
#สัตตโลหะ สัตตะ แปลว่า 7 ....เป็นการผสมโลหะหลายอย่างเข้าด้วยกันคล้ายๆกับนวะโลหะ แต่สัตตโลหะผสมโลหะเพียง 7 ชนิดประกอบด้วย..
1.จ้าวน้ำเงิน (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
2.เหล็กละลายตัว
3.ปรอท
4.สังกะสี (บางตำราใช้บริสุทธิ์หรือทองแดงบริสุทธิ์)
5.ทองแดง
6.เงิน
7.ทองคำ
สัดส่วนการผสมและกรรมวิธีการผสมไม่มีกฏตายตัวแน่นอน แล้วแต่ตำราและความต้องการของผู้สร้าง โดยความเชื่อเรื่องฤทธิคุณของสัตตโลหะก็คล้ายๆกับนวะโลหะ ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ...ในสมัยก่อน ศิษย์ของหลวงปู่เอี่ยมคนหนึ่ง(วัดสะพานสูง) ได้ใช้มีดสัตตโลหะเข้าต่อสู้กับศัตรูที่ขึ้นชื่อว่าอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งมีอยู่ถึง 3 คน จนศัตรูขอยอมแพ้ เพราะโดนมีดสัตตโลหะจนเลือดตกยางออกไปตามๆกัน และตามตำนานพญาชาละวันของเมืองพิจิตรนั้น ไกรทองได้ปราบพญาจระเข้ผู้มากด้วยฤทธิ์ลงได้ ก็ด้วยหอกสัตตโลหะนี้เอง
#เบญจโลหะ เบญจะ แปลว่า 5 ...เบญจโลหะ หรือ ปัญจโลหะ ตามรูปศัพท์แปลว่า โลหะ ๕ ชนิด เรื่องนี้ น.ส.บุหลง ศรีกนก ได้อธิบายไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตสถานเล่ม ๑๗ ว่า ได้แก่ เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน และทองคำ ซึ่งนำมาเป็นส่วนผสมสำคัญในการหล่อพระพุทธรูป และทำอาวุธของนักรบในสมัยก่อน อัตราส่วนของเบญจโลหะที่ใช้หล่อพระพุทธรูปในสมัยโบราณคือ
1.เหล็ก 1 ส่วน
2.ปรอท 2 ส่วน
3.ทองแดง 3 ส่วน
4.เงิน 4 ส่วน
5.ทองคำ 5 ส่วน
ส่วนที่ใช้ทำอาวุธนั้นสัดส่วนผสมไม่ทราบแน่นอน
การนำเบญจโลหะมาเป็นส่วนสำคัญในการหล่อพระพุทธรูปนั้น สันนิษฐานว่าเป็นความคิดความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เพราะสร้างพระพุทธรูปในลักษณะที่เป็นเครื่องรางของขลัง แทนที่จะเป็นรูปเคารพธรรมดา เช่น พระกริ่ง หล่อเป็นพระไภษ์ชยคุรุพุทธเจ้า
การใช้เบญจโลหะหล่อพระพุทธรูปนี้ ต่อมานิยมนำไปหล่อพระพุทธรูปบูชาทั่วไป ซึ่งนอกจากใช้เบญจโลหะแล้ว ยังใช้สัตตโลหะและนวโลหะด้วย
#รัตนะโลหะ รัตนะโลหะมีที่มาจากคำว่า รัตนะตรัย ซึ่งแปลว่าแก้ว 3 ประการ คือการผสมโลหะ 3 ชนิดเข้าด้วยกัน อาจเป็น ทองแดง เงิน ทองคำ หรือ สังกะสี เงิน ทองคำ หรือการผสมโลหะ 3 ชนิด จากโลหะทั้งหมด 9 ชนิด ดังที่กล่าวมาแล้วในกลุ่มโลหะของนวะโลหะ มักนำมาใช้หล่อพระพุทธรูป รูปหล่อหรือเหรียญคณาจารย์ต่างๆ ซึ่งนิยมกันมากในปัจจุบัน ซึ่งสะดวกรวดเร็วและหาได้ง่าย....
*** #รัตนะโลหะ นิยามคำนี้ เป็นคำส่วนตัวซึ่งผู้เขียนเรียบเรียงได้คิดขึ้นมาเอง เพื่อง่ายต่อการแบ่งแยกประเภทของโลหะ หากผู้อ่านมีความเห็นแตกต่างในประการใด ก็สุดแล้วแต่จะเห็นสมควรครับ.....
***เรียบเรียงโดย "ตู่ พิจิตร" 10/10/2561
นวะโลหะและสัตตโลหะ
1.ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) หนัก 1 บาท
2.จ้าวน้ำเงินหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
3.เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4.บริสุทธิ์ หนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
5.ปรอท หนัก 5 บาท
6.สังกะสี หนัก 6 บาท
7.ทองแดง หนัก 7 บาท
8.เงิน หนัก 8 บาท
9.ทองคำหนัก 9 บาท
.. เมื่อผสมกันดังนี้ก็จะได้โลหะซึ่งเรียกว่า"นวะโลหะ" ซึ่งมีความเชื่อกันว่า นวะโลหะก็เป็นเหล็กไหลชนิดหนึ่ง มีอิทธิฤทธิ์ในตัวแม้จะไม่ได้ปลุกเสกก็ตาม สามารถช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล ขับไล่ภูติผีปีศาจ สามารถแก้และล้างอาถรรพ์ได้ .. แต่ถ้าได้รับการปลุกเสกจากครูบาอาจารย์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยศีลและพุทธาคมด้วยแล้ว พุทธคุณจะยิ่งยวดขึ้นไปอีกเรียกว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว..
#นวะโลหะกลับ นอกจากการผสมนวะโลหะแบบเต็มสูตรแล้ว ยังมีการผสมนวะโลหะไม่เต็บสูตรอีกแบบหนึ่งหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า"นวะกลับ" เพื่อเป็นการลดต้นทุนการจัดสร้าง เนื่องจากทองคำมีราคาสูง ซึ่งการผสมโลหะแบบนี้ ก็มีความเชื่อว่าอิทธิฤทธิ์ของนวะโลหะที่ได้รับการผสมเช่นนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่วนผสมของนวะโลหะแบบไม่เต็มสูตรหรือ"นวะกลับ"มีดังนี้
1.ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) หนัก 9 บาท
2.จ้าวน้ำเงินหนัก 8 บาท (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
3.เหล็กละลายตัว หนัก 7 บาท
4.บริสุทธิ์ หนัก 6 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
5.ปรอท หนัก 5 บาท
6.สังกะสี หนัก 4 บาท
7.ทองแดง หนัก 3 บาท
8.เงิน หนัก 2 บาท
9.ทองคำหนัก 1 บาท
#นวะโลหะต่อชนวน เนื่องจากเนื้อนวะโลหะกลับสูตรยังมีต้นทุนสูงอยู่ จึงได้มีการพลิกแพลงทำเป็นนวโลหะต่อชนวนขึ้นมา โดยการนำช่อชนวนที่เหลือจากการหล่อพระเนื้อนวโลหะกลับสูตร มาหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆ กลายเป็นเนื้อนวะโลหะต่อชนวนชั้นที่ 1 ครั้งต่อไปก็นำช่อชนวนจากชั้นนี้ไปหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆ กลายเป็นนวโลหะต่อชนวนชั้นที่ 2 ทำอย่างนี้หลายๆครั้งจนไม่รู้ว่าเป็นชั้นที่เท่าไร เนื้อนวโลหะเจือจางเหลืออยู่เท่าใด แต่ในแต่ละครั้งเขาจะมีการเพิ่มเงิน เพิ่มจ้าวน้ำเงิน(พลวง) หรือโลหะอื่นๆทุกครั้ง เพื่อให้ได้สีผิวตามที่ต้องการและตามต้นทุนที่คำนวณไว้แล้ว แต่ไม่เป็นไปตามสูตรโบราณ ดังนั้นเนื้อนวโลหะเต็มสูตรจริงๆจะมีมูลค่าและคุณค่าสูงกว่าเนื้อเงินทั่วไปมาก แม้นวะกลับสูตรก็ยังสูงกว่า แต่สำหรับเนื้อนวโลหะต่อชนวนเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่ามีมูลค่าหรือคุณค่าเท่าไร เพราะต้องดูจากองค์ประกอบหลายๆอย่าง อีกอย่างหนึ่งเนื้อนวโลหะจะใช้สร้างพระหล่อประเภทกริ่งหรือรูปหล่อเหมือนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการสร้างเหรียญเนื้อนวโลหะ ก็จะใช้วิธีหล่อแล้วเท แล้วรีดเป็นแผ่นก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูปหน้าหลัง จากนั้นก็ปั๊มตัดขอบ ก็จบกระบวนการ
#นวะโลหะปัจจุบัน เหรียญเนื้อนวโลหะ ที่เรียกกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ผสมด้วยโลหะ๙ ชนิดแบบสมัยก่อน อย่างเช่น จ้าวน้ำเงิน ก็ไม่มีใครทราบว่าเป็นโลหะอะไร มีลักษณะแบบไหน ถามหาผู้รู้ก็ไม่มีใครทราบ
...นอกจากนี้ส่วนผสมหลัก คือ ทองคำ ก็มีราคาแพงมาก เวลาทำเหรียญเนื้อนวโลหะโดยทั่วไปจึงไม่มีใครใส่ทองคำกันอีก
...ดังนั้นทุกวันนี้เหรียญเนื้อนวโลหะส่วนมากจะมีส่วนผสมเพียง๓ อย่างเท่านั้น คือ ทองแดง ๘๕ เปอร์เซ็นต์ เงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ สังกะสี ๕ เปอร์เซ็นต์ หรือหากนอกเหนือจากนี้ ก็อาจจะมีการ ลด เพิ่ม โลหะบางชนิดที่หาได้ง่ายและสะดวกในการจัดสร้าง
#สัตตโลหะ สัตตะ แปลว่า 7 ....เป็นการผสมโลหะหลายอย่างเข้าด้วยกันคล้ายๆกับนวะโลหะ แต่สัตตโลหะผสมโลหะเพียง 7 ชนิดประกอบด้วย..
1.จ้าวน้ำเงิน (แร่ชนิดหนึ่งสีน้ำเงิน มีพลวงเป็นส่วนประกอบหลัก)
2.เหล็กละลายตัว
3.ปรอท
4.สังกะสี (บางตำราใช้บริสุทธิ์หรือทองแดงบริสุทธิ์)
5.ทองแดง
6.เงิน
7.ทองคำ
สัดส่วนการผสมและกรรมวิธีการผสมไม่มีกฏตายตัวแน่นอน แล้วแต่ตำราและความต้องการของผู้สร้าง โดยความเชื่อเรื่องฤทธิคุณของสัตตโลหะก็คล้ายๆกับนวะโลหะ ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ...ในสมัยก่อน ศิษย์ของหลวงปู่เอี่ยมคนหนึ่ง(วัดสะพานสูง) ได้ใช้มีดสัตตโลหะเข้าต่อสู้กับศัตรูที่ขึ้นชื่อว่าอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งมีอยู่ถึง 3 คน จนศัตรูขอยอมแพ้ เพราะโดนมีดสัตตโลหะจนเลือดตกยางออกไปตามๆกัน และตามตำนานพญาชาละวันของเมืองพิจิตรนั้น ไกรทองได้ปราบพญาจระเข้ผู้มากด้วยฤทธิ์ลงได้ ก็ด้วยหอกสัตตโลหะนี้เอง
#เบญจโลหะ เบญจะ แปลว่า 5 ...เบญจโลหะ หรือ ปัญจโลหะ ตามรูปศัพท์แปลว่า โลหะ ๕ ชนิด เรื่องนี้ น.ส.บุหลง ศรีกนก ได้อธิบายไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตสถานเล่ม ๑๗ ว่า ได้แก่ เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน และทองคำ ซึ่งนำมาเป็นส่วนผสมสำคัญในการหล่อพระพุทธรูป และทำอาวุธของนักรบในสมัยก่อน อัตราส่วนของเบญจโลหะที่ใช้หล่อพระพุทธรูปในสมัยโบราณคือ
1.เหล็ก 1 ส่วน
2.ปรอท 2 ส่วน
3.ทองแดง 3 ส่วน
4.เงิน 4 ส่วน
5.ทองคำ 5 ส่วน
ส่วนที่ใช้ทำอาวุธนั้นสัดส่วนผสมไม่ทราบแน่นอน
การนำเบญจโลหะมาเป็นส่วนสำคัญในการหล่อพระพุทธรูปนั้น สันนิษฐานว่าเป็นความคิดความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เพราะสร้างพระพุทธรูปในลักษณะที่เป็นเครื่องรางของขลัง แทนที่จะเป็นรูปเคารพธรรมดา เช่น พระกริ่ง หล่อเป็นพระไภษ์ชยคุรุพุทธเจ้า
การใช้เบญจโลหะหล่อพระพุทธรูปนี้ ต่อมานิยมนำไปหล่อพระพุทธรูปบูชาทั่วไป ซึ่งนอกจากใช้เบญจโลหะแล้ว ยังใช้สัตตโลหะและนวโลหะด้วย
#รัตนะโลหะ รัตนะโลหะมีที่มาจากคำว่า รัตนะตรัย ซึ่งแปลว่าแก้ว 3 ประการ คือการผสมโลหะ 3 ชนิดเข้าด้วยกัน อาจเป็น ทองแดง เงิน ทองคำ หรือ สังกะสี เงิน ทองคำ หรือการผสมโลหะ 3 ชนิด จากโลหะทั้งหมด 9 ชนิด ดังที่กล่าวมาแล้วในกลุ่มโลหะของนวะโลหะ มักนำมาใช้หล่อพระพุทธรูป รูปหล่อหรือเหรียญคณาจารย์ต่างๆ ซึ่งนิยมกันมากในปัจจุบัน ซึ่งสะดวกรวดเร็วและหาได้ง่าย....
*** #รัตนะโลหะ นิยามคำนี้ เป็นคำส่วนตัวซึ่งผู้เขียนเรียบเรียงได้คิดขึ้นมาเอง เพื่อง่ายต่อการแบ่งแยกประเภทของโลหะ หากผู้อ่านมีความเห็นแตกต่างในประการใด ก็สุดแล้วแต่จะเห็นสมควรครับ.....
***เรียบเรียงโดย "ตู่ พิจิตร" 10/10/2561