Q – ลูกชอบแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน พอพี่หยิบของเล่นชิ้นไหนน้องก็จะแย่งชิ้นเดียวกัน มีวิธีแก้ปัญหายังไงไม่ให้ลูกทะเลาะกัน ?
A - ความจริงแล้วมนุษย์เรามีความเคยชินอย่างหนึ่งนั่นก็คือการเปรียบเทียบฉันมีอันนี้เธอมีอันนี้ ของเธอใหญ่กว่า ของเธอสวยกว่า กรณีที่มีของเล่นชิ้นหนึ่งพี่หรือน้องได้ไป ก็เกิดการเปรียบเทียบชัดเจนเลยว่าทำไมเขามีชิ้นนี้แต่เราไม่มี ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้คำแนะนำ หรือใช้วิธีการแก้ปัญหาผิดจุด เช่น ลูกแย่งลูกบอลกันคุณพ่อคุณแม่บอกว่าให้น้องไปก่อน เดี๋ยวซื้ออันใหม่ให้พี่ นี่คือการแก้ปัญหาที่ผิดจุด
เราห้ามเด็กไม่ให้เปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่วิธีที่จะแก้ไขสถานการณ์นั้นเรากำหนดได้ ต้องดูตามสถานการณ์ว่าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้หรือไม่ ถ้าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้อย่างเช่น ฟุตบอล ไม่น่าแก้ไขด้วยกันให้ใครคนใดคนหนึ่งก่อน อาจพูดคุยกับลูกว่าการเล่นคนเดียวแค่เดาะบอล แต่เล่นด้วยกันมีการรับส่งจะสนุกกว่าไหม แบบนี้พี่น้องก็จะไม่ทะเลาะกัน ถ้าเป็นของเล่นที่จะต้องเล่นคนเดียว เช่น รถแทรกเตอร์ น้องเล่นอยู่พี่มาแย่ง คุณแม่ลองชวนลูกสร้างเรื่องราวจินตนาการเช่น ชวนให้พี่เล่นเป็นเจ้าของบริษัท จ้างรถแทรกเตอร์ให้ไปขุดดิน ลูกก็จะเล่นด้วยกันได้
คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ลูก หรือเบี่ยงเบนความสนใจ และคิดหากิจกรรมเพื่อให้ลูกเล่นด้วยกันโดยไม่ต้องทะเลาะกันค่ะ
เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย
พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com
Facebook : Mother&Care : Raising Happy Children with "Kru Kate" Live
อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ :
https://motherandcare.com/fight-over-toy-kids-solving
แก้ปัญหาพี่น้องแย่งของเล่นยังไงดี ?
Q – ลูกชอบแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน พอพี่หยิบของเล่นชิ้นไหนน้องก็จะแย่งชิ้นเดียวกัน มีวิธีแก้ปัญหายังไงไม่ให้ลูกทะเลาะกัน ?
A - ความจริงแล้วมนุษย์เรามีความเคยชินอย่างหนึ่งนั่นก็คือการเปรียบเทียบฉันมีอันนี้เธอมีอันนี้ ของเธอใหญ่กว่า ของเธอสวยกว่า กรณีที่มีของเล่นชิ้นหนึ่งพี่หรือน้องได้ไป ก็เกิดการเปรียบเทียบชัดเจนเลยว่าทำไมเขามีชิ้นนี้แต่เราไม่มี ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้คำแนะนำ หรือใช้วิธีการแก้ปัญหาผิดจุด เช่น ลูกแย่งลูกบอลกันคุณพ่อคุณแม่บอกว่าให้น้องไปก่อน เดี๋ยวซื้ออันใหม่ให้พี่ นี่คือการแก้ปัญหาที่ผิดจุด
เราห้ามเด็กไม่ให้เปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่วิธีที่จะแก้ไขสถานการณ์นั้นเรากำหนดได้ ต้องดูตามสถานการณ์ว่าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้หรือไม่ ถ้าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้อย่างเช่น ฟุตบอล ไม่น่าแก้ไขด้วยกันให้ใครคนใดคนหนึ่งก่อน อาจพูดคุยกับลูกว่าการเล่นคนเดียวแค่เดาะบอล แต่เล่นด้วยกันมีการรับส่งจะสนุกกว่าไหม แบบนี้พี่น้องก็จะไม่ทะเลาะกัน ถ้าเป็นของเล่นที่จะต้องเล่นคนเดียว เช่น รถแทรกเตอร์ น้องเล่นอยู่พี่มาแย่ง คุณแม่ลองชวนลูกสร้างเรื่องราวจินตนาการเช่น ชวนให้พี่เล่นเป็นเจ้าของบริษัท จ้างรถแทรกเตอร์ให้ไปขุดดิน ลูกก็จะเล่นด้วยกันได้
คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ลูก หรือเบี่ยงเบนความสนใจ และคิดหากิจกรรมเพื่อให้ลูกเล่นด้วยกันโดยไม่ต้องทะเลาะกันค่ะ
เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย
พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com
Facebook : Mother&Care : Raising Happy Children with "Kru Kate" Live
อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ : https://motherandcare.com/fight-over-toy-kids-solving