คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
บรรยง พงษ์พานิช
Capital Gains Tax Debate…
มีผู้หยิบยกข้อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ยกเลิกการยกเว้นการเก็บภาษีผลได้จากทุน (Capital Gains Tax) ที่มีมาเกือบสี่สิบปีแล้วเสีย แล้วกลับมาจัดเก็บใหม่โดยเท่าเทียมกัน
การยกเว้นภาษีนี้ เป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (43)
ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้สองตอน เมื่อเดือน ตุลาคม 2556
ตอนแรก…ภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น Capital Gains Tax เขียนเมื่อ 8 ต.ค. 2556 ว่า…
เมื่อไม่กี่วันก่อน ได้รับหนังสือ “การสํารวจองค์ความรู้ภาษีผลได้จากทุน ในตลาดหุ้น และข้อเสนอสําหรับประเทศไทย” ที่เขียนโดย ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่านเป็นเพื่อนกับผมด้วย) ซึ่งอยู่ในชุด “การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” จัดทำโดย สำนักงานปฏิรูป
สรุปข้อความในหนังสือได้ว่า การที่เรายกเว้นภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น ให้กับบุคคลธรรมดาที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น (ต่อไปผมจะขอเรียก Capital Gains Tax อย่างย่อๆ ว่า CGT นะครับ) เป็นการยกเว้นให้กับกลุ่มคนที่รวยที่สุดในประเทศ ทำให้ระบบภาษีไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ (ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของไทย) คนรายได้สูงกลับได้รับยกเว้นภาษีทางตรง ขัดกับหลักการที่จะใช้ภาษีช่วย Redistribution ลดความเหลื่อมล้ำ
ข้อเสนอของการศึกษาเห็นว่า เราควรทบทวนการยกเว้นนี้ แล้วกลับมาเริ่มเก็บภาษีนี้ โดยอาจเริ่มทีละน้อย แล้วค่อยเพิ่มจนเท่ากับอัตราภาษีเงินได้ทั่วไป (อัตราก้าวหน้า)
ถ้าใครสนใจรายละเอียดไปอ่านได้ตามที่แนบมานะครับ
ในฐานะที่เป็นคนตลาดทุนมา 36 ปีเศษ และได้รับประโยชน์จากการยกเว้นนี้มาตลอด ผมขอวิจารณ์แบบยาวๆ หน่อยนะครับ
1. มีข้อโต้แย้งมากมายว่า ในทางทฤษฎีแล้ว “ควร” หรือ “ไม่ควร” มีการเก็บ CGT จากหุ้น (ไม่เฉพาะในหรือนอกตลาดด้วย) ที่ว่าควรเก็บก็บอกว่า เพราะเป็นรายได้ และส่วนใหญ่ตกเป็นของคนรวยอีกต่างหาก แต่อีกด้านก็โต้แย้งว่า ถ้าเก็บ จะเป็นการเก็บภาษีซ้อน เพราะกำไรของกิจการโดนภาษีไปแล้ว (Corporate Income Tax) ราคาหุ้นคือ present value ของเงินปันผล ถ้าเก็บภาษีทั้งจากกำไรบริษัท จากปันผล และ CGT เท่ากับว่า เก็บภาษีสามครั้งจากเงินได้เดียวกัน (ผิดทฤษฎี ที่ไม่ควรแม้แต่จะเก็บซ้ำ)
การเก็บ CGT จึงเป็นการเพิ่ม Cost of Capital ทำให้มีปัญหาในการแข่งขัน เพราะการพัฒนาหมายถึงต้องลงทุน (โดยเฉพาะใน Capital Intensive Investments) ซึ่งข้อโต้แย้งเรื่อง “เก็บภาษีซ้อน” นี้ดูจะสำคัญกว่า เรื่อง Lock-in Effect กับ Capitalization Effect แต่ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงข้อโต้แย้งนี้เลย
2. มีประเทศจำนวนมาก ที่ไม่มีการเก็บ CGT (จากเหตุผลในข้อที่แล้ว) ในกลุ่ม OECD ก็มีถึง 11 จาก 34 ประเทศ ในประเทศใกล้เคียงที่ต้องแข่งขันแย่งชิงเงินทุนกับไทย เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย. ฮ่องกง, เกาหลีใต้, อินเดีย ก็ไม่เก็บ CGT และส่วนใหญ่ ไม่เก็บ Dividend Tax ด้วย ฟิลิปปินส์ก็เก็บแค่ 6% ถ้าเราเก็บก็จะมีปัญหา อย่างน้อยก็การแข่งขันแย่งชิงเงินทุน (เลยต้องให้ BOI เป็นการใหญ่ บิดเบือนกันไปทั้งระบบ)
ที่น่ากลัวกว่าก็คือ ในที่สุดจะเกิด Capital Flight คือเมื่อตลาดการเงินเชื่อมโยงกันมากๆ คนจะลงทุนในไทยก็จะไป Base ในประเทศที่ไม่เก็บ คนไทยเอง (ที่มีศักยภาพ…เช่นพวกผม) ก็ขนเงินไปลงทุนมาจากนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่เก็บ และมีสนธิสัญญาทางภาษี (ไม่เก็บซ้อน) เหลือแต่คนชั้นกลาง ที่เก็บหอมรอมริบสร้างเนื้อสร้างตัวอยู่เท่านั้นที่ต้องโดนเก็บ
3. ประสิทธิภาพการจัดเก็บก็เป็นปัญหา ว่าจะเก็บจากใคร เก็บอย่างไรบ้าง เช่น เก็บเฉพาะคนไทยขายในไทย หรือคนไทยขายทั่วโลก หรือทุกคนที่ขายในไทย หรือทุกคนขายหุ้นไทยทั่วโลก ซึ่งทุกเรื่องมีทางที่จะหลบจะหนีได้หมด แถมทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่ว เช่น ถ้าเก็บจากทุกคนที่ขายในไทย ก็จะเกิดตลาดหุ้นไทยนอกอาณาเขตประเทศไทย ถ้าเก็บจากคนไทยทุกคน ก็หลบได้โดยการไปตั้งทรัสตี ตั้งโฮลดิ้ง ตปท. หรือใช้พวก Tax Heaven สรุปว่า เศรษฐีหลุดหมด ผลพลอยเสียก็คือ ทำให้ Local Capital Flight เกิดง่ายขึ้นในยามวิกฤติ
หลักการที่ว่าควรเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า (Progressive Taxation) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่แนวคิดของ David Ricardo (1817) เพื่อช่วยในการ Redistribution นั้น ในระยะหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์มากพอควร ทั้งเรื่องการลดแรงจูงใจ และประสิทธิภาพในการจัดเก็บ นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านสนับสนุนการเก็บภาษีทางอ้อม เช่น จากการบริโภค (VAT) แล้าค่อยนำมากระจาย Redistribute ผ่านการจัดรัฐสวัสดิการให้ผู้ด้อยโอกาส (เช่น ความเห็นของ Sir Arthur Lewis ผู้ได้รับ Nobel ปี 1979)
โดยสรุป ผมเห็นด้วยว่า ปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” ในประเทศไทย เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และไม่ได้มีการแก้ไขเพียงพอตลอดมา แต่การใช้มาตรการ “CGT” นี้ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทุกๆ ด้านที่ผมกล่าวถึง
ผมเห็นด้วยกับหลัก “Progressive Taxation” ในทุกกรณีที่จัดเก็บได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เป็นอยู่ การเก็บภาษีจากทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ (เพราะไม่มีใครยกหนี หรือเอาไปซ่อนที่ไหนได้ แต่ต้องเก็บจากทุกคน ไม่มีการยกเว้น แม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ส่วนภาษีที่ถึงจะมีก็จัดเก็บยาก (ซึ่งในที่สุดเก็บได้จากผู้ไม่มีศักยภาพเลี่ยงเท่านั้น) จะต้องระวังให้มาก (เช่น ภาษีมรดก) เพราะแทนที่จะลด กลับจะเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำเข้าไปอีก
ที่แปลกใจมาก คือ การที่รัฐบาลในช่วงสองปีที่ผ่านมา ท่านกรุณา ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงมาจากร้อยละ 30 ของกำไร เหลือเพียง 20% ในปัจจุบัน นัยว่าเพื่อให้แข่งกับบางประเทศใน ASEAN ทำให้เราต้องสูญเสียภาษีไปปีละร่วม 200,000 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ Corporate Profit เป็นส่วนเดียวที่เติบโตดีที่สุดต่อเนื่องมาสิบห้าปี (เฉลี่ย 20% ต่อปี) และผู้ที่ได้ประโยชน์เกือบทั้งหมดเป็นคนรวยที่อยู่ใน 1% แรก ที่มีรายได้รวมกว่า 13% ของประเทศ กับทุนต่างชาติ เรื่องนี้นับได้ว่าเป็นการ Re-redistribution ครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียว (ถ้าไม่อย่างนั้น ลงทุนสองล้านล้านในเจ็ดปี กู้แค่ห้าแสนล้านก็พอ) ผมถือเป็นผลงาน “โบว์ดำ” ที่ไม่รู้ว่าใช้หัวแม่เท้าข้างไหนคิดออกมา (ความจริงผมควรยกย่อง เพราะว่า กิจการที่ผมบริหารอยู่เสียภาษีน้อยลง ปีละร่วมห้าร้อยล้าน และทำให้หุ้นที่ผมลงทุนอยู่เยอะแยะ ราคาขึ้นกว่า 10%)
กลับมาเรื่อง Capital Gains Tax อีกที ความจริงผมกลับมีความเห็นตรงข้าม นั่นคือ ควรเลิกจัดเก็บทั้งหมด ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาด ทั้งจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพราะการที่เรามีความไม่เป็นกลาง (Neutral) มีอคติทางการเก็บภาษี (Tax Bias) ทำให้เกิดการบิดเบือนในระบบเยอะ ทำให้ไม่มี M&A ที่เป็นประโยชน์มาก ทำให้บริษัทเข้าตลาดทั้งๆ ที่ไม่คุ้มค่า ทำให้ไม่มี Venture Capital ที่เป็นแหล่งเงินทุนคุณภาพที่สำคัญสำหรับ SMEs
การที่มีการยกเว้นเฉพาะในตลาดหุ้นฯ โดยอ้างว่าเพื่อส่งเสริมให้คนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นนั้นไม่สมเหตุสมผล เพราะคนได้ประโยชน์มากสุดไม่ใช่คนเข้ามาซื้อหุ้น แต่เป็นพวกเจ้าของดั้งเดิม ที่มาขายหุ้นในตลาด
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องชัดเจนครับ สำหรับผม ถ้าเว้น ขอให้เว้นทั้งหมด ถ้าเก็บก็ควรเก็บทั้งมวล ซึ่งผมคิดว่า ควรเว้นนะครับ
ความเห็นผมแย้งกับรายงานของ อาจารย์ ดร.ภาวิน ครับ ลองอ่านเปรียบเทียบดูนะครับ ทุกอย่างมีหลายมุมเสมอ
Capital Gains Tax Debate…
มีผู้หยิบยกข้อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ยกเลิกการยกเว้นการเก็บภาษีผลได้จากทุน (Capital Gains Tax) ที่มีมาเกือบสี่สิบปีแล้วเสีย แล้วกลับมาจัดเก็บใหม่โดยเท่าเทียมกัน
การยกเว้นภาษีนี้ เป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (43)
ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้สองตอน เมื่อเดือน ตุลาคม 2556
ตอนแรก…ภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น Capital Gains Tax เขียนเมื่อ 8 ต.ค. 2556 ว่า…
เมื่อไม่กี่วันก่อน ได้รับหนังสือ “การสํารวจองค์ความรู้ภาษีผลได้จากทุน ในตลาดหุ้น และข้อเสนอสําหรับประเทศไทย” ที่เขียนโดย ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่านเป็นเพื่อนกับผมด้วย) ซึ่งอยู่ในชุด “การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” จัดทำโดย สำนักงานปฏิรูป
สรุปข้อความในหนังสือได้ว่า การที่เรายกเว้นภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น ให้กับบุคคลธรรมดาที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น (ต่อไปผมจะขอเรียก Capital Gains Tax อย่างย่อๆ ว่า CGT นะครับ) เป็นการยกเว้นให้กับกลุ่มคนที่รวยที่สุดในประเทศ ทำให้ระบบภาษีไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ (ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของไทย) คนรายได้สูงกลับได้รับยกเว้นภาษีทางตรง ขัดกับหลักการที่จะใช้ภาษีช่วย Redistribution ลดความเหลื่อมล้ำ
ข้อเสนอของการศึกษาเห็นว่า เราควรทบทวนการยกเว้นนี้ แล้วกลับมาเริ่มเก็บภาษีนี้ โดยอาจเริ่มทีละน้อย แล้วค่อยเพิ่มจนเท่ากับอัตราภาษีเงินได้ทั่วไป (อัตราก้าวหน้า)
ถ้าใครสนใจรายละเอียดไปอ่านได้ตามที่แนบมานะครับ
ในฐานะที่เป็นคนตลาดทุนมา 36 ปีเศษ และได้รับประโยชน์จากการยกเว้นนี้มาตลอด ผมขอวิจารณ์แบบยาวๆ หน่อยนะครับ
1. มีข้อโต้แย้งมากมายว่า ในทางทฤษฎีแล้ว “ควร” หรือ “ไม่ควร” มีการเก็บ CGT จากหุ้น (ไม่เฉพาะในหรือนอกตลาดด้วย) ที่ว่าควรเก็บก็บอกว่า เพราะเป็นรายได้ และส่วนใหญ่ตกเป็นของคนรวยอีกต่างหาก แต่อีกด้านก็โต้แย้งว่า ถ้าเก็บ จะเป็นการเก็บภาษีซ้อน เพราะกำไรของกิจการโดนภาษีไปแล้ว (Corporate Income Tax) ราคาหุ้นคือ present value ของเงินปันผล ถ้าเก็บภาษีทั้งจากกำไรบริษัท จากปันผล และ CGT เท่ากับว่า เก็บภาษีสามครั้งจากเงินได้เดียวกัน (ผิดทฤษฎี ที่ไม่ควรแม้แต่จะเก็บซ้ำ)
การเก็บ CGT จึงเป็นการเพิ่ม Cost of Capital ทำให้มีปัญหาในการแข่งขัน เพราะการพัฒนาหมายถึงต้องลงทุน (โดยเฉพาะใน Capital Intensive Investments) ซึ่งข้อโต้แย้งเรื่อง “เก็บภาษีซ้อน” นี้ดูจะสำคัญกว่า เรื่อง Lock-in Effect กับ Capitalization Effect แต่ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงข้อโต้แย้งนี้เลย
2. มีประเทศจำนวนมาก ที่ไม่มีการเก็บ CGT (จากเหตุผลในข้อที่แล้ว) ในกลุ่ม OECD ก็มีถึง 11 จาก 34 ประเทศ ในประเทศใกล้เคียงที่ต้องแข่งขันแย่งชิงเงินทุนกับไทย เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย. ฮ่องกง, เกาหลีใต้, อินเดีย ก็ไม่เก็บ CGT และส่วนใหญ่ ไม่เก็บ Dividend Tax ด้วย ฟิลิปปินส์ก็เก็บแค่ 6% ถ้าเราเก็บก็จะมีปัญหา อย่างน้อยก็การแข่งขันแย่งชิงเงินทุน (เลยต้องให้ BOI เป็นการใหญ่ บิดเบือนกันไปทั้งระบบ)
ที่น่ากลัวกว่าก็คือ ในที่สุดจะเกิด Capital Flight คือเมื่อตลาดการเงินเชื่อมโยงกันมากๆ คนจะลงทุนในไทยก็จะไป Base ในประเทศที่ไม่เก็บ คนไทยเอง (ที่มีศักยภาพ…เช่นพวกผม) ก็ขนเงินไปลงทุนมาจากนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่เก็บ และมีสนธิสัญญาทางภาษี (ไม่เก็บซ้อน) เหลือแต่คนชั้นกลาง ที่เก็บหอมรอมริบสร้างเนื้อสร้างตัวอยู่เท่านั้นที่ต้องโดนเก็บ
3. ประสิทธิภาพการจัดเก็บก็เป็นปัญหา ว่าจะเก็บจากใคร เก็บอย่างไรบ้าง เช่น เก็บเฉพาะคนไทยขายในไทย หรือคนไทยขายทั่วโลก หรือทุกคนที่ขายในไทย หรือทุกคนขายหุ้นไทยทั่วโลก ซึ่งทุกเรื่องมีทางที่จะหลบจะหนีได้หมด แถมทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่ว เช่น ถ้าเก็บจากทุกคนที่ขายในไทย ก็จะเกิดตลาดหุ้นไทยนอกอาณาเขตประเทศไทย ถ้าเก็บจากคนไทยทุกคน ก็หลบได้โดยการไปตั้งทรัสตี ตั้งโฮลดิ้ง ตปท. หรือใช้พวก Tax Heaven สรุปว่า เศรษฐีหลุดหมด ผลพลอยเสียก็คือ ทำให้ Local Capital Flight เกิดง่ายขึ้นในยามวิกฤติ
หลักการที่ว่าควรเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า (Progressive Taxation) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่แนวคิดของ David Ricardo (1817) เพื่อช่วยในการ Redistribution นั้น ในระยะหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์มากพอควร ทั้งเรื่องการลดแรงจูงใจ และประสิทธิภาพในการจัดเก็บ นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านสนับสนุนการเก็บภาษีทางอ้อม เช่น จากการบริโภค (VAT) แล้าค่อยนำมากระจาย Redistribute ผ่านการจัดรัฐสวัสดิการให้ผู้ด้อยโอกาส (เช่น ความเห็นของ Sir Arthur Lewis ผู้ได้รับ Nobel ปี 1979)
โดยสรุป ผมเห็นด้วยว่า ปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” ในประเทศไทย เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และไม่ได้มีการแก้ไขเพียงพอตลอดมา แต่การใช้มาตรการ “CGT” นี้ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทุกๆ ด้านที่ผมกล่าวถึง
ผมเห็นด้วยกับหลัก “Progressive Taxation” ในทุกกรณีที่จัดเก็บได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เป็นอยู่ การเก็บภาษีจากทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ (เพราะไม่มีใครยกหนี หรือเอาไปซ่อนที่ไหนได้ แต่ต้องเก็บจากทุกคน ไม่มีการยกเว้น แม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ส่วนภาษีที่ถึงจะมีก็จัดเก็บยาก (ซึ่งในที่สุดเก็บได้จากผู้ไม่มีศักยภาพเลี่ยงเท่านั้น) จะต้องระวังให้มาก (เช่น ภาษีมรดก) เพราะแทนที่จะลด กลับจะเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำเข้าไปอีก
ที่แปลกใจมาก คือ การที่รัฐบาลในช่วงสองปีที่ผ่านมา ท่านกรุณา ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงมาจากร้อยละ 30 ของกำไร เหลือเพียง 20% ในปัจจุบัน นัยว่าเพื่อให้แข่งกับบางประเทศใน ASEAN ทำให้เราต้องสูญเสียภาษีไปปีละร่วม 200,000 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ Corporate Profit เป็นส่วนเดียวที่เติบโตดีที่สุดต่อเนื่องมาสิบห้าปี (เฉลี่ย 20% ต่อปี) และผู้ที่ได้ประโยชน์เกือบทั้งหมดเป็นคนรวยที่อยู่ใน 1% แรก ที่มีรายได้รวมกว่า 13% ของประเทศ กับทุนต่างชาติ เรื่องนี้นับได้ว่าเป็นการ Re-redistribution ครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียว (ถ้าไม่อย่างนั้น ลงทุนสองล้านล้านในเจ็ดปี กู้แค่ห้าแสนล้านก็พอ) ผมถือเป็นผลงาน “โบว์ดำ” ที่ไม่รู้ว่าใช้หัวแม่เท้าข้างไหนคิดออกมา (ความจริงผมควรยกย่อง เพราะว่า กิจการที่ผมบริหารอยู่เสียภาษีน้อยลง ปีละร่วมห้าร้อยล้าน และทำให้หุ้นที่ผมลงทุนอยู่เยอะแยะ ราคาขึ้นกว่า 10%)
กลับมาเรื่อง Capital Gains Tax อีกที ความจริงผมกลับมีความเห็นตรงข้าม นั่นคือ ควรเลิกจัดเก็บทั้งหมด ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาด ทั้งจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพราะการที่เรามีความไม่เป็นกลาง (Neutral) มีอคติทางการเก็บภาษี (Tax Bias) ทำให้เกิดการบิดเบือนในระบบเยอะ ทำให้ไม่มี M&A ที่เป็นประโยชน์มาก ทำให้บริษัทเข้าตลาดทั้งๆ ที่ไม่คุ้มค่า ทำให้ไม่มี Venture Capital ที่เป็นแหล่งเงินทุนคุณภาพที่สำคัญสำหรับ SMEs
การที่มีการยกเว้นเฉพาะในตลาดหุ้นฯ โดยอ้างว่าเพื่อส่งเสริมให้คนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นนั้นไม่สมเหตุสมผล เพราะคนได้ประโยชน์มากสุดไม่ใช่คนเข้ามาซื้อหุ้น แต่เป็นพวกเจ้าของดั้งเดิม ที่มาขายหุ้นในตลาด
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องชัดเจนครับ สำหรับผม ถ้าเว้น ขอให้เว้นทั้งหมด ถ้าเก็บก็ควรเก็บทั้งมวล ซึ่งผมคิดว่า ควรเว้นนะครับ
ความเห็นผมแย้งกับรายงานของ อาจารย์ ดร.ภาวิน ครับ ลองอ่านเปรียบเทียบดูนะครับ ทุกอย่างมีหลายมุมเสมอ
แสดงความคิดเห็น
คิดอย่างไร ถ้ารัฐขอเก็บภาษีส่วนต่างราคาหุ้น
ปัจจุบันนักลงทุนที่กินปันผล ต้องเอารายได้ปันผลมาคำนวณเป็นรายได้พึงประเมิน ตาม 40(4) และมีเครดิตภาษี นั่นแสดงว่าเงินปันผล เป็นรายได้ที่คิดภาษี ในขณะที่นักลงทุนที่ซื้อขายส่วนต่างทำกำไรในตลาดหุ้นนั้น ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้ตลาดหุ้น เพียงแค่เพิ่มสภาพคล่องให้ตลาด แต่กลับไม่ต้องเสียภาษีรายได้ ซึ่งมันน่าแปลก เพราะไม่เป็นธรรมระหว่างนักลงทุน 2 ประเภท อีกทั้ง ในต่างประเทศที่เจริญแล้ว ล้วนแต่มีการเก็บภาษีส่วนต่างราคาหุ้นนี้ทั้งหมด เช่น คนที่ถือเกิน 1 ปี ได้รับการยกเว้น แต่คนที่ถือต่ำกว่า 1 ปี รายได้ส่วนต่างราคา ต้องนำมาคิดภาษีด้วย
ซึ่งปัจจุบัน ตลาดหุ้นไทยได้ผ่านช่วงเติบโตมาแล้ว ตลาดหุ้นเป็นที่รู้จักของนักลงทุน ทั้งตลาดยังมีสภาพคล่องมากเพียงพอแล้ว การส่งเสริมให้มีการเก็งกำไร โดยขายหุ้นเอาส่วนต่างราคาหุ้น เท่ากับส่งเสริมให้ตลาดมีความผันผวนไม่แน่นอนมากขึ้น และสู้ให้ตลาดนิ่งๆ จะดีกว่า ซึ่งประโยชน์แน่นอนว่ารัฐบาลได้ภาษีมากขึ้น เหมือนที่อารยประเทศเขาทำกัน
คิดเห็นอย่างไรครับ ถ้ารัฐบาลจะทบทวนภาษีส่วนต่างราคาหุ้น และจัดเก็บภาษีส่วนต่างราคาหุ้นครับ