นักวิทยาศาสตร์อธิบายคำนวณความสูงของหอระฆังวัดที่เป็นข่าวสูงประมาณ 18 เมตร
เทียบเท่ากับตึก 4 ชั้น ยังไม่ใช่ส่วนที่เป็นห้องพัก และระยะห่างของหอระฆังไปถึงคอนโด
ไม่น่าจะมีระดับเสียงเกินมาตรฐาน
ทีมข่าวพูดคุยกับ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อธิบายในมุมวิทยาศาสตร์เรื่องพลังงานเสียงว่า จะแปรผกผันกับระยะห่าง หมายความว่า
ยิ่งห่างมากเสียงก็จะยิ่งเบาลง โดยได้ทดลองคำนวณความสูงของหอระฆัง 14 เมตร หรือประมาณตึก 4 ชั้น
เมื่อเทียบกับพื้นที่ใช้สอยในโดมิเนียมจะอยู่บริเวณชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นลานจอดรถและลานพักผ่อนอเนกประสงค์
ไม่ใช่ห้องพัก
หากมองในด้านกฏหมาย ตาม พ.ร.บ.คุณภาพสิ่งแวดล้อม ความดังของเสียงต้องไม่เกิน 115 เดซิเบล
และเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบล จากการคำนวณเบื้องต้นเทียบกับระยะทาง
เชื่อว่ายังอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปกติ 60-70 ซึ่งไม่ได้จัดเป็นเสียงที่ดังเกิน และในห้องพักหรือห้องนอนยังมีผนัง
กระจก และผ้าม่าน กรองเสียงอีกชั้นหนึ่ง หากเสียงตีระฆังดังไม่เกินค่ามาตรฐาน
แสดงว่าเป็นเรื่องความเดือดร้อนรำคาญเฉพาะบุคคลที่ต้องพูดคุยทำความเข้าใจกัน
ประเด็นคือ เขตทำไมไม่ตรวจสอบก่อนว่า เสียงนั้นๆที่ถูกร้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไร
มันรบกวนส่วนรวม หรือ ส่วนตัว และเสียงมันเกินมาตรฐานหรือกฏหมายอะไร จริงหรือไม่ ?
ก่อนที่จะออกเอกสารแจ้งเตือนห้ามใช้เสียง
ถ้าวัดหรือสถานที่นั้นๆ ทำเสียงดังเกินกำหนดจริงๆ ก็ต้องปรับลดเสียง
เหมือนที่วัดนี้ทำ
วัดปริวาสฯ โดนร้องจนต้องควักเงินแสนปรับปรุง สร้างกระจกกันเสียงสวดมนต์
นายจักรพันธ์ อธิวัชร์เมธากุล อายุ 51 ปี เจ้าหน้าที่วัตถุมงคล ได้เปิดเผยว่า
คอนโดดังกล่าวตั้งมาได้ประมาณ 4 ปีแล้ว โดยในช่วยแรกๆ ไม่ได้มีปัญหาอะไร จนกระทั่งเข้าปีที่ 3
เริ่มมีลูกบ้านของคอนโดหรูแห่งนั้น เริ่มไปแจ้งทางสำนักงานเขตยานนาวา ว่าทางวัดได้ตีระฆังส่งเสียงดัง
ต้องยอมรับว่าตัวระฆังนั้นอยู่ใกล้คอนโดจริง ห่างกันไม่ถึง 100 เมตร
และยังมีการร้องเรียนอีกอย่างหนึ่งคือ การที่ทางวัดได้ส่งเสียงสวดมนต์ดังขณะทำวัดเช้า
ซึ่งทางวัดก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็ได้แก้ไขด้วยการสร้างอาคารปฏิบัติธรรมไว้กันเสียงไม่ให้เสียงไปรบกวนคอนโดหรูข้างๆ
ขณะตีระฆัง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ส่วนการทำวัดเช้าเย็นทางหลวงพ่อได้มีการติดกระจกกั้นห้อง
ซึ่งเสียเงินเป็นแสนเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังรบกวน ทางหลวงพ่อไม่ได้นิ่งเฉยต่อเสียงเรียกร้อง
ทางวัดก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เสียงมันรบกวนบ้านที่อยู่ข้างๆ มากที่สุดแล้ว
สรุป ไม่ว่าจะเสียงจากอะไร วัด โรงเรียน ผับบาร์ โรงงาน สุนัขเห่าหอน บลาบลาบลา
ถ้าเขตได้รับการร้องเรียน ควรต้องเข้าไปตรวจสอบก่อนว่า เสียงนั้นดังเกินกำหนดจริงหรือไม่ ?
เป็นการรบกวนส่วนรวมจริงหรือไม่ ? สถานที่นั้นๆถูกแจ้งกลั่นแกล้งหรือไม่ ?
ก่อนที่จะออกหนังสือแจ้งเตือน ห้ามใช้เสียง
และถ้าเสียงมันดังจริง สถานที่นั้นก็ ก็ควรปรับปรุงแก้ไขตัวเองทั้งสองฝ่าย
เช่น ห้องพักหรือคอนโด ก็ควรติดม่านหรือกระจกกันเสียงอีกชั้นหนึ่ง เป็นต้น
อย่าหลงประเด็น ?! นักวิชาการชี้เสียงระฆังจากวัดดังกล่าว ดังไม่ถึงขนาดผิดกฏหมาย ?!?!?
เทียบเท่ากับตึก 4 ชั้น ยังไม่ใช่ส่วนที่เป็นห้องพัก และระยะห่างของหอระฆังไปถึงคอนโด
ไม่น่าจะมีระดับเสียงเกินมาตรฐาน
ทีมข่าวพูดคุยกับ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อธิบายในมุมวิทยาศาสตร์เรื่องพลังงานเสียงว่า จะแปรผกผันกับระยะห่าง หมายความว่า
ยิ่งห่างมากเสียงก็จะยิ่งเบาลง โดยได้ทดลองคำนวณความสูงของหอระฆัง 14 เมตร หรือประมาณตึก 4 ชั้น
เมื่อเทียบกับพื้นที่ใช้สอยในโดมิเนียมจะอยู่บริเวณชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นลานจอดรถและลานพักผ่อนอเนกประสงค์
ไม่ใช่ห้องพัก
หากมองในด้านกฏหมาย ตาม พ.ร.บ.คุณภาพสิ่งแวดล้อม ความดังของเสียงต้องไม่เกิน 115 เดซิเบล
และเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบล จากการคำนวณเบื้องต้นเทียบกับระยะทาง
เชื่อว่ายังอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปกติ 60-70 ซึ่งไม่ได้จัดเป็นเสียงที่ดังเกิน และในห้องพักหรือห้องนอนยังมีผนัง
กระจก และผ้าม่าน กรองเสียงอีกชั้นหนึ่ง หากเสียงตีระฆังดังไม่เกินค่ามาตรฐาน
แสดงว่าเป็นเรื่องความเดือดร้อนรำคาญเฉพาะบุคคลที่ต้องพูดคุยทำความเข้าใจกัน
ประเด็นคือ เขตทำไมไม่ตรวจสอบก่อนว่า เสียงนั้นๆที่ถูกร้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไร
มันรบกวนส่วนรวม หรือ ส่วนตัว และเสียงมันเกินมาตรฐานหรือกฏหมายอะไร จริงหรือไม่ ?
ก่อนที่จะออกเอกสารแจ้งเตือนห้ามใช้เสียง
ถ้าวัดหรือสถานที่นั้นๆ ทำเสียงดังเกินกำหนดจริงๆ ก็ต้องปรับลดเสียง
เหมือนที่วัดนี้ทำ
วัดปริวาสฯ โดนร้องจนต้องควักเงินแสนปรับปรุง สร้างกระจกกันเสียงสวดมนต์
นายจักรพันธ์ อธิวัชร์เมธากุล อายุ 51 ปี เจ้าหน้าที่วัตถุมงคล ได้เปิดเผยว่า
คอนโดดังกล่าวตั้งมาได้ประมาณ 4 ปีแล้ว โดยในช่วยแรกๆ ไม่ได้มีปัญหาอะไร จนกระทั่งเข้าปีที่ 3
เริ่มมีลูกบ้านของคอนโดหรูแห่งนั้น เริ่มไปแจ้งทางสำนักงานเขตยานนาวา ว่าทางวัดได้ตีระฆังส่งเสียงดัง
ต้องยอมรับว่าตัวระฆังนั้นอยู่ใกล้คอนโดจริง ห่างกันไม่ถึง 100 เมตร
และยังมีการร้องเรียนอีกอย่างหนึ่งคือ การที่ทางวัดได้ส่งเสียงสวดมนต์ดังขณะทำวัดเช้า
ซึ่งทางวัดก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็ได้แก้ไขด้วยการสร้างอาคารปฏิบัติธรรมไว้กันเสียงไม่ให้เสียงไปรบกวนคอนโดหรูข้างๆ
ขณะตีระฆัง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ส่วนการทำวัดเช้าเย็นทางหลวงพ่อได้มีการติดกระจกกั้นห้อง
ซึ่งเสียเงินเป็นแสนเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังรบกวน ทางหลวงพ่อไม่ได้นิ่งเฉยต่อเสียงเรียกร้อง
ทางวัดก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เสียงมันรบกวนบ้านที่อยู่ข้างๆ มากที่สุดแล้ว
สรุป ไม่ว่าจะเสียงจากอะไร วัด โรงเรียน ผับบาร์ โรงงาน สุนัขเห่าหอน บลาบลาบลา
ถ้าเขตได้รับการร้องเรียน ควรต้องเข้าไปตรวจสอบก่อนว่า เสียงนั้นดังเกินกำหนดจริงหรือไม่ ?
เป็นการรบกวนส่วนรวมจริงหรือไม่ ? สถานที่นั้นๆถูกแจ้งกลั่นแกล้งหรือไม่ ?
ก่อนที่จะออกหนังสือแจ้งเตือน ห้ามใช้เสียง
และถ้าเสียงมันดังจริง สถานที่นั้นก็ ก็ควรปรับปรุงแก้ไขตัวเองทั้งสองฝ่าย
เช่น ห้องพักหรือคอนโด ก็ควรติดม่านหรือกระจกกันเสียงอีกชั้นหนึ่ง เป็นต้น