ในฐานะชาวพุทธ เห็นสื่อวิจารณ์ ข้อเท็จจริง+ใาไข่ ใส่อารมณ์ เพื่อทำให้การพูดน่าสนใจ อาจจะเป็นเทคนิคเฉพาะคน จนข้อมูลถูกบิดเบือนโดยใช้ทัศนะคติเฉพาะตน ทำให้การฟังต้องมีการกลั่นกลองหลายๆรอบดูจากหลายๆช่อง เพราะต่างจากข่าวยุคอดีตที่เสนอเหตุการณ์ที่เกิด หาวิธีทางแก้ สื่อ...ยุคนี้ทำให้สังคมเปลี่ยนหลายอย่าง ทั้งบวก ลบ ขัดแย้ง และโค่นล้ม ...วันก่อนได้ดูข่าวเรื่องวัดที่แชร์ต่อกันมา วัดใหญ่1400ล้าน คนคิดยังไง.ถ้ามองให้การทำบุญ ควรไปได้ทุกวัดไม่จำเพาะเจาะจง แต่วัด ตลาด หรือสถานที่สำคัญที่เป็นสถาปัตยกรรมทางวัฒนธรรม ผู้สร้างน่าจะมีแนวคิดและอยากให้คนไปจึงสร้างความแปลก ทุกอย่างต้องปรับตัวเหมือนการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่นจีน อยากให้คนเที่ยวในเมืองจีนเงินได้ไม่รั่วไหล ก็copyสิ่งสำคัญของแต่ละประเทศไปสร้างที่บ้านเขา .พม่า ทำไมคนอยากไป เพราะขอพรเทพทันใจ (ความเชื่อศรัทธา)มีในมนุษย์ ฉะนั้นความเชื่อหรือศรัทธาบางอย่างที่ไม่ทำลายใครไม่ทำลายวัฒนธรรม และทำให้คนใกล้ชิดความเป็นธรรมะและขัดเกลาใจ น่าจะช่วยลเความหยาบกระด้างทางจิตใจคนได้ไม่มากก็น้อย ยุคที่ศาสนารุ่งเรือง ในอดีตเราเห็นจากละคร เขาเขียนเรื่องเชื่อมโยงวัฒนธรรมและสถาบันได้อย่างงดงาม วัดจึงเป็นที่เที่ยวที่ทำบุญ ตามศรัทธา ทั้งวัดราษฎร์ (คือวัดที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างเช่นการทอดกฐิน) วัดหลวง (คือพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์) เคยไปสวนโมกขพลาราม (สุราษฎร์ธานี)เคยไปปฏิบัติธรรม1เดือน ตอนสมัยเรียน มีคำถามในใจมากมาย ทำไมไม่มีรูปเคารพตอนไหว้ ...ได้คำตอบคือท่านสอนไม่ให้ยึดติด รูปเคารพคือสัญลักษณ์ แต่ความรู้สึกอยากกราบ อยากไหว้ใครเป็นเรื่องของใจ เราเคารพคนที่ความดีเราก็ยกมือไหว้เทิดทูนโดยไม่ต้องมีรูปเราก็ศรัทธา เช่นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บิดา มารดา ผู้มีอุปการะคุณทั้งหลาย (ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจึงคงอยู่ควบคู่แม้ไร้รูปร่าง) ความอคติจากการมองเห็นคนไม่ดี ไปอยู่ผิดที่ผิดทางต่างหากที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย (จริงแล้วอยู่ที่บุคคล)หยุดยึดติด มองธรรมดา และวาง (ใจก็สบาย)เพราะไม่เกิดอคติที่จะพูดทำลายใคร. ความเป็นพุทธมามกะ คือช่วยกันป้องป้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา (เมืองพุทธ)คือความร่มเย็น เพราะมีธรรม. ธรรมะคือธรรมชาติ (มีธรรมมีความดีเป็นเกราะ ป้องกันการคิดชั่วทำชั่ว ...สื่อไม่สอน สื่อเอาแต่วิจารณ์ความใหญ่โต (การเปรียบเทียบจึงก่ออคติความขัดแย้งความไม่สบายใจ และทุกข์)คนรับสื่อ โดยกลั่นกรองก็มีการวิเคราะห์ คนไม่วิเคราะห์ก็ถูกครอบงำ (ภาษิตว่า ปากคน ยาวกว่าปากกา)เช่นนี้เอง
สื่อ ทำหน้าที่เหมาะสมแค่ไหนในการวิจารณ์คนอื่นภายใต้จรรยาบรรณ. และความคิดเห็นส่วนตัว