ผู้ทำ : น.ส.สุนันทา หมื่นราม 58121557 / น.ส.มิตตกริน คล่องประทีปผล 58120411
การส่งงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ศิลปวิจารณ์ สาขาศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพะเยา
สำนวนที่ว่า ความรักทำให้คนตาบอด ตาบอดได้แว่น ตาบอดสอดตาเห็น เตี้ยอุ้มค่อม คำเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้สำนวนภาษาที่ใช้ความพิการ
เป็นสัญลักษณ์ การให้ความหมายแทนความพิการ ซึ่งก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับตัวคนพิการหากแต่เป็นทัศนคติต่อคนพิการและความพิการของคน
ในสังคมที่เหยียดความเป็นมนุษย์ของคนพิการ และอาจทำให้ชีวิตของคนพิการเลวร้ายลงเพราะไปตอกย้ำความไร้ศักยภาพและสมรรถนะของคนพิการ
การเกิดมายาคติต่อสังคมไทยในเรื่องของสำนวนสุภาษิตที่สืบทอดต่อกันมา ทำให้ถูกปลูกฝังว่าความพิการเป็นปมด้อย ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างคนปกติได้ และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความเท่าเทียมใดๆ อย่างเช่นคนปกติ ความพิการนั้นมีมากมายหลายแบบ นอกจากความพิการทางธรรมชาติแล้วยังมีสิ่งต่างๆ
อันได้แก่ การเหยียดร่างกาย ชนชั้น เพศสภาพ การศึกษา ถิ่นกำเนิด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความพิการทางสังคมที่ทำให้ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ลดลง
ในสังคมสมัยใหม่นั้นมีการช่วยให้คนพิการได้พัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของเขาได้มากขึ้น อาทิ เช่น การเปิดโรงเรียนคนตาบอด หูหนวก ออติสติก
การทำกฏหมายจราจรให้คนพิการ การอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้คนพิการได้มีบทบาททางสังคมและสิทธิความเท่าเทียม
ของมนุษย์ ดังนั้นเราควรผลักดันและส่งเสริมคนพิการให้ได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาศักยภาพเหมือนคนปกติเพราะยังมีคนพิการในสังคมไทยอีกมากมาย
ที่ต่อสู้ และแสดงให้เห็นว่าเขามีศักยภาพเท่าเทียมหรือมากกว่าคนปกติด้วยซ้ำไป เราไม่ควรเอาความพิการทางจิตใจของตนเองไปตัดสินหรือบั่นทอนผู้อื่น
เพราะทุกคนมีสิทธิ มีความคิด และความเท่าเทียมกัน ในบทความเรื่องนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ต้องการแสดงให้เห็นว่า
-ไม่ควรใช้สำนวนภาษาเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของคนพิการ
-การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและสมรรถนะของคนพิการ
-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนพิการในสังคม
-การเปิดโอกาส การส่งเสริม และสิทธิความเท่าเทียมของคนในสังคม
-เสียดสีถิ่นกำเนิด ภูมิลำเนา การศึกษา
-มายาคติการถูกปลูกฝังเกี่ยวกับความเท่าเทียมของคนพิการ
อ้างอิงจาก : www.matichon.co.th คอลัมน์ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์
วิเคราะห์-วิจารณ์ คนพิการสู่สังคมพิการ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
การส่งงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ศิลปวิจารณ์ สาขาศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพะเยา
สำนวนที่ว่า ความรักทำให้คนตาบอด ตาบอดได้แว่น ตาบอดสอดตาเห็น เตี้ยอุ้มค่อม คำเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้สำนวนภาษาที่ใช้ความพิการ
เป็นสัญลักษณ์ การให้ความหมายแทนความพิการ ซึ่งก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับตัวคนพิการหากแต่เป็นทัศนคติต่อคนพิการและความพิการของคน
ในสังคมที่เหยียดความเป็นมนุษย์ของคนพิการ และอาจทำให้ชีวิตของคนพิการเลวร้ายลงเพราะไปตอกย้ำความไร้ศักยภาพและสมรรถนะของคนพิการ
การเกิดมายาคติต่อสังคมไทยในเรื่องของสำนวนสุภาษิตที่สืบทอดต่อกันมา ทำให้ถูกปลูกฝังว่าความพิการเป็นปมด้อย ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างคนปกติได้ และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความเท่าเทียมใดๆ อย่างเช่นคนปกติ ความพิการนั้นมีมากมายหลายแบบ นอกจากความพิการทางธรรมชาติแล้วยังมีสิ่งต่างๆ
อันได้แก่ การเหยียดร่างกาย ชนชั้น เพศสภาพ การศึกษา ถิ่นกำเนิด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความพิการทางสังคมที่ทำให้ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ลดลง
ในสังคมสมัยใหม่นั้นมีการช่วยให้คนพิการได้พัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของเขาได้มากขึ้น อาทิ เช่น การเปิดโรงเรียนคนตาบอด หูหนวก ออติสติก
การทำกฏหมายจราจรให้คนพิการ การอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้คนพิการได้มีบทบาททางสังคมและสิทธิความเท่าเทียม
ของมนุษย์ ดังนั้นเราควรผลักดันและส่งเสริมคนพิการให้ได้รับโอกาสเพื่อพัฒนาศักยภาพเหมือนคนปกติเพราะยังมีคนพิการในสังคมไทยอีกมากมาย
ที่ต่อสู้ และแสดงให้เห็นว่าเขามีศักยภาพเท่าเทียมหรือมากกว่าคนปกติด้วยซ้ำไป เราไม่ควรเอาความพิการทางจิตใจของตนเองไปตัดสินหรือบั่นทอนผู้อื่น
เพราะทุกคนมีสิทธิ มีความคิด และความเท่าเทียมกัน ในบทความเรื่องนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ต้องการแสดงให้เห็นว่า
-ไม่ควรใช้สำนวนภาษาเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของคนพิการ
-การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและสมรรถนะของคนพิการ
-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนพิการในสังคม
-การเปิดโอกาส การส่งเสริม และสิทธิความเท่าเทียมของคนในสังคม
-เสียดสีถิ่นกำเนิด ภูมิลำเนา การศึกษา
-มายาคติการถูกปลูกฝังเกี่ยวกับความเท่าเทียมของคนพิการ
อ้างอิงจาก : www.matichon.co.th คอลัมน์ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์