วิจารณ์บทความเรื่อง “ออเจ้าเล่าจำอวด” ผู้เขียน นิธิ เอียวศรีวงศ์
..ความนิยมชมชอบในสังคมไทยต่อละครทีวีเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” หากแต่ความหมายในเชิงสังคมจะเป็นอย่างไรนั้น จะยกมาพูดคุย วิเคราะห์ และวิจารณ์ ต่อบทความออเจ้าเล่าจำอวดนี้ค่ะ..
ผู้เขียน ได้ยกคำกล่าวของคาร์ล มาร์กซ์ ใน The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte เขากล่าวว่า “เฮเกลกล่าวไว้ที่ไหนสักแห่งว่า ข้อเท็จจริงและบุคคลใหญ่ๆในประวัติศาสตร์มักเกิดขึ้นซ้ำสอง แต่เขาลืมเสริมไว้ด้วยว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในฐานะโศกนาฏกรรม และเกิดขึ้นอีกครั้งในฐานะจำอวด”
ตามความเข้าใจต่อคำกล่าวมาร์กซ์นี้ คิดว่า คือพูดถึงการลอกเลียนแบบของเรื่องราวในอดีตต่อบุคคลในอดีตอย่างผิดเพี้ยนไป ครั้งแรกที่เกิดขึ้นหากแต่จะเป็นเรื่องจริงที่เป็นทั้งโศกนาฏกรรมและยกยอปอปั้น และหากมีเรื่องราวเกิดขึ้นซ้ำสองอีกครั้ง มันคือการจำอวด อวดอ้างไปเรื่อย ตลกขบขำและเพ้อเจ้อ..
“ไทยนิยม” คำขวัญไทยนิยมเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความหมายชัดเจนว่าให้นิยมใช้สินค้าที่คนไทยผลิตขึ้นเองในประเทศ นับเป็นโศกนาฏกรรมเพราะตอนนั้นคนไทยยังแทบไม่ได้ผลิตสินค้าอะไรนอกจากข้าว, ยางพารา, และดีบุก นอกจากนั้นต้องนำเข้าทั้งนั้น
“คำขวัญเดิม แต่นำมาใช้ใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปจนสิ้นเชิงแล้ว จึงเป็นได้แค่จำอวด”
พูดถึงในกระแสของละครทีวีเรื่องบุพเพสันนิวาสนี้ การนิยมเครื่องแต่งกาย การใช้ภาษาพูด ตามเนื้อในละคร ฯลฯ ดูจะเป็นการเพ้อเจ้อ แบบเด็ก ทั้งที่หากรู้อยู่แล้วว่า ความเป็นไทยไม่ตอบปัญหาให้แก่ใครในปัจจุบันเสียแล้ว นอกจากสนุกดีเหมือนจำอวด ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ไทยนิยมในเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ไม่มีความหมายอะไรเลย นอกจากเพ้อเจ้อเหมือนเด็ก จึงตลกดี
การเปลี่ยนแปลงของสังคมมีการนำค่านิยมในอดีตมาเป็นค่านิยมในปัจจุบันเช่นการแต่งชุดไทยไปอยุธยา การรับประทานอาหารโบราณ โดยคาร์ล มาร์กซ์เคยได้กล่าวว่า อย่างคำขวัญ”ไทยนิยม”นั้นตลกดีเพราะไม่รู้จะนิยมอะไรในที่สุดกลายเป็นนิยมเครื่องแต่งกาย,มารยาทภาษากลายเป็นนาร์ชิสสัส เทพบุตรผู้หลงรูปตนเองในนิยายกรีก ถ้าไม่น่าขำก็น่าสมเพชหรือไม่ก็สองอย่างพร้อมกัน.. ในความเป็นกลับกันการนำเอาค่านิยมในอดีตมาเป็นค่านิยมในปัจจุบันเป็นเรื่องดีทำให้คนไทยในปัจจุบันทราบถึงอดีตความเป็นมาของไทยและยังสามารถส่งต่อให้คนรุ่งหลังได้ทราบถึงค่านิยมในอดีตได้..
การจำอวดละครเรื่องนี้ ที่หันกลับไปหาอดีตสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่มีความแปลกใจว่าทำไมผู้ชมละครให้ความสนใจและติดอกติดใจกับรัชสมัยนี้..
เพราะมันคือยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงทางการค้า และด้านการเมืองระหว่างประเทศ การเผยแผ่ศาสนา และมีการแลกเปลี่ยนทูตกับฝรั่งเศส ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก และถือว่าเป็นยุคทองของกรุงศรีอยุธยา เจริญกว่ายุคสมัยใด เป็นยุคทองของวรรณกรรม รวมไปถึงการผูกมิตรกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรป ทำให้ยกย่องพระองค์ว่าเป็นมหาราช
สังคมไทยในสมัยนั้นต้องเผชิญกับคนต่างวัฒนธรรม ซึ่งก่อนหน้าสมัยนั้น บ้านเมืองในสมัยนั้นยังไม่มีการค้าขายหรือการให้คนต่างเชื้อชาติเข้ามามีบทบาทในประเทศ ซึ่งตัวละครแสดงออกถึงเรื่องราวของสังคมของคนชั้นสูง ในเรื่องการปรับตัวของชนชั้นสูงไทย ที่จะต้องฝืนการปรับตัว ตัวละครในเรื่องนี้ล้วนแต่เป็นบุคคลสำคัญในเหตุการณ์บ้านเมืองในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่พระองค์พยายามใช้งานชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อคานอำนาจสถาบันขุนนางไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวต่างชาติมีความสามารถหลากหลาย เช่น มีความสามารถในการสร้างป้อม หรือเชี่ยวชาญการค้าทางทะเล ซึ่งขุนนางไทยไม่มีความชำนาญเทียบเท่า ทำให้ชาวต่างชาติเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ทำให้สมเด็จพระนารายณ์พยายามกำจัดอำนาจของขุนนางไทย ให้อำนาจและตำแหน่งระดับสูงกับขุนนางที่พระองค์ไว้ใจเป็นหลัก โดยขุนนางที่อยู่ในละครต่างมีตำแหน่งบริหารบ้านเมือง ต่างมีบทบาทที่สำคัญ ตามประวัติศาสตร์บันทึกไว้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์อย่างหน้ามืดตามัวของผู้ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ละครเรื่องนี้มีผู้คนสนใจและเข้าใจเรื่องราวที่มันเกิดขึ้น แล้วในปัจจุบันจากตัวละครเรื่องนี้ มันไม่ใช่แค่การนุ่งโจงถ่ายรูปตามกระแส แต่อีกด้านหนึ่งมองว่ามันคือการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนั้น เพราะรูปแบบการแสดงละครมันชี้ให้เห็นถึง ความนิยมและกระแสสังคมของคนชมละครทีวีและสามารถให้เด็กรับรู้ความรู้ทางประวัติศาสตร์แบบเข้าใจง่ายผ่านการดูละคร แทนการอ่านการหนังสือที่ไม่สามารถอธิบายถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตหรือบุคลสำคัญได้..
ผู้ทำ นางสาวประภาพร รุ่งรัตนา 58120286
นางสาวรัชนีกร โปกำเนิด 58120433
นางสาววันวิสาข์ พรมเสน 58120488
เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาศิลปวิจารณ์ 181431[1] Art Criticism
สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพะเยา
ที่มาของบนความ :
https://www.matichon.co.th/columnists/news_898562
วิเคราะห์ วิจารณ์บทความเรื่อง “ออเจ้าเล่าจำอวด” ผู้เขียน นิธิ เอียวศรีวงศ์
..ความนิยมชมชอบในสังคมไทยต่อละครทีวีเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” หากแต่ความหมายในเชิงสังคมจะเป็นอย่างไรนั้น จะยกมาพูดคุย วิเคราะห์ และวิจารณ์ ต่อบทความออเจ้าเล่าจำอวดนี้ค่ะ..
ผู้เขียน ได้ยกคำกล่าวของคาร์ล มาร์กซ์ ใน The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte เขากล่าวว่า “เฮเกลกล่าวไว้ที่ไหนสักแห่งว่า ข้อเท็จจริงและบุคคลใหญ่ๆในประวัติศาสตร์มักเกิดขึ้นซ้ำสอง แต่เขาลืมเสริมไว้ด้วยว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในฐานะโศกนาฏกรรม และเกิดขึ้นอีกครั้งในฐานะจำอวด”
ตามความเข้าใจต่อคำกล่าวมาร์กซ์นี้ คิดว่า คือพูดถึงการลอกเลียนแบบของเรื่องราวในอดีตต่อบุคคลในอดีตอย่างผิดเพี้ยนไป ครั้งแรกที่เกิดขึ้นหากแต่จะเป็นเรื่องจริงที่เป็นทั้งโศกนาฏกรรมและยกยอปอปั้น และหากมีเรื่องราวเกิดขึ้นซ้ำสองอีกครั้ง มันคือการจำอวด อวดอ้างไปเรื่อย ตลกขบขำและเพ้อเจ้อ..
“ไทยนิยม” คำขวัญไทยนิยมเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความหมายชัดเจนว่าให้นิยมใช้สินค้าที่คนไทยผลิตขึ้นเองในประเทศ นับเป็นโศกนาฏกรรมเพราะตอนนั้นคนไทยยังแทบไม่ได้ผลิตสินค้าอะไรนอกจากข้าว, ยางพารา, และดีบุก นอกจากนั้นต้องนำเข้าทั้งนั้น
“คำขวัญเดิม แต่นำมาใช้ใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปจนสิ้นเชิงแล้ว จึงเป็นได้แค่จำอวด”
พูดถึงในกระแสของละครทีวีเรื่องบุพเพสันนิวาสนี้ การนิยมเครื่องแต่งกาย การใช้ภาษาพูด ตามเนื้อในละคร ฯลฯ ดูจะเป็นการเพ้อเจ้อ แบบเด็ก ทั้งที่หากรู้อยู่แล้วว่า ความเป็นไทยไม่ตอบปัญหาให้แก่ใครในปัจจุบันเสียแล้ว นอกจากสนุกดีเหมือนจำอวด ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ไทยนิยมในเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ไม่มีความหมายอะไรเลย นอกจากเพ้อเจ้อเหมือนเด็ก จึงตลกดี
การเปลี่ยนแปลงของสังคมมีการนำค่านิยมในอดีตมาเป็นค่านิยมในปัจจุบันเช่นการแต่งชุดไทยไปอยุธยา การรับประทานอาหารโบราณ โดยคาร์ล มาร์กซ์เคยได้กล่าวว่า อย่างคำขวัญ”ไทยนิยม”นั้นตลกดีเพราะไม่รู้จะนิยมอะไรในที่สุดกลายเป็นนิยมเครื่องแต่งกาย,มารยาทภาษากลายเป็นนาร์ชิสสัส เทพบุตรผู้หลงรูปตนเองในนิยายกรีก ถ้าไม่น่าขำก็น่าสมเพชหรือไม่ก็สองอย่างพร้อมกัน.. ในความเป็นกลับกันการนำเอาค่านิยมในอดีตมาเป็นค่านิยมในปัจจุบันเป็นเรื่องดีทำให้คนไทยในปัจจุบันทราบถึงอดีตความเป็นมาของไทยและยังสามารถส่งต่อให้คนรุ่งหลังได้ทราบถึงค่านิยมในอดีตได้..
การจำอวดละครเรื่องนี้ ที่หันกลับไปหาอดีตสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่มีความแปลกใจว่าทำไมผู้ชมละครให้ความสนใจและติดอกติดใจกับรัชสมัยนี้..
เพราะมันคือยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงทางการค้า และด้านการเมืองระหว่างประเทศ การเผยแผ่ศาสนา และมีการแลกเปลี่ยนทูตกับฝรั่งเศส ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก และถือว่าเป็นยุคทองของกรุงศรีอยุธยา เจริญกว่ายุคสมัยใด เป็นยุคทองของวรรณกรรม รวมไปถึงการผูกมิตรกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรป ทำให้ยกย่องพระองค์ว่าเป็นมหาราช
สังคมไทยในสมัยนั้นต้องเผชิญกับคนต่างวัฒนธรรม ซึ่งก่อนหน้าสมัยนั้น บ้านเมืองในสมัยนั้นยังไม่มีการค้าขายหรือการให้คนต่างเชื้อชาติเข้ามามีบทบาทในประเทศ ซึ่งตัวละครแสดงออกถึงเรื่องราวของสังคมของคนชั้นสูง ในเรื่องการปรับตัวของชนชั้นสูงไทย ที่จะต้องฝืนการปรับตัว ตัวละครในเรื่องนี้ล้วนแต่เป็นบุคคลสำคัญในเหตุการณ์บ้านเมืองในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่พระองค์พยายามใช้งานชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อคานอำนาจสถาบันขุนนางไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวต่างชาติมีความสามารถหลากหลาย เช่น มีความสามารถในการสร้างป้อม หรือเชี่ยวชาญการค้าทางทะเล ซึ่งขุนนางไทยไม่มีความชำนาญเทียบเท่า ทำให้ชาวต่างชาติเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ทำให้สมเด็จพระนารายณ์พยายามกำจัดอำนาจของขุนนางไทย ให้อำนาจและตำแหน่งระดับสูงกับขุนนางที่พระองค์ไว้ใจเป็นหลัก โดยขุนนางที่อยู่ในละครต่างมีตำแหน่งบริหารบ้านเมือง ต่างมีบทบาทที่สำคัญ ตามประวัติศาสตร์บันทึกไว้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์อย่างหน้ามืดตามัวของผู้ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ละครเรื่องนี้มีผู้คนสนใจและเข้าใจเรื่องราวที่มันเกิดขึ้น แล้วในปัจจุบันจากตัวละครเรื่องนี้ มันไม่ใช่แค่การนุ่งโจงถ่ายรูปตามกระแส แต่อีกด้านหนึ่งมองว่ามันคือการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนั้น เพราะรูปแบบการแสดงละครมันชี้ให้เห็นถึง ความนิยมและกระแสสังคมของคนชมละครทีวีและสามารถให้เด็กรับรู้ความรู้ทางประวัติศาสตร์แบบเข้าใจง่ายผ่านการดูละคร แทนการอ่านการหนังสือที่ไม่สามารถอธิบายถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตหรือบุคลสำคัญได้..
ผู้ทำ นางสาวประภาพร รุ่งรัตนา 58120286
นางสาวรัชนีกร โปกำเนิด 58120433
นางสาววันวิสาข์ พรมเสน 58120488
เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาศิลปวิจารณ์ 181431[1] Art Criticism
สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพะเยา
ที่มาของบนความ : https://www.matichon.co.th/columnists/news_898562