" ปฏิปทา บรรลุ มรรค ผล สำหรับ ผู้ป่วย และ ไม่ป่วย "

ปฏิปทาสำหรับผู้ป่วยหนัก


ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า ธรรม 5 ประการ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด

ข้อนี้ เป็นสิ่งที่เข้าผู้นั้นพึงหวังได้ คือ
เขาจักกระทำให้แจ้งได้ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้
( ทิฏฐธรรม = เห็นกันได้เลย ) เข้าถึงแล้วแลอยู่ต่อกาลไม่นานเทียว.


ธรรม 5 ประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ

( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่

( อาหาเรปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่

( สพฺพโลเกอนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่

( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่

( มรณสฺา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตสูปฏฺิตา โหติ )
มรณสัญญา อันเขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด

ข้อนี้ เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้ คือ
เขาจักกระทำให้แจ้งได้ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้
เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเทียว.


- ปญจก. อํ. 22/160 /121




ปฏิปทาสำหรับผู้ยังไม่ป่วย นัยที่ 1

( ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล สำหรับกรณีบุคคลทั่วไป นัยที่ 1)

ภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำให้มาก ซึ่งธรรม 5 ประการ
ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ
อรหัตตผลในทิฏฐธรรม ( เห็นกันได้เลย ) นั่นเทียว, หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่.


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? 5 ประการ คือ ภิกษุ ในกรณีนี้

( อชฺฌตฺตญฺเญว สติ สุปฏฐิตา โหติ ธมฺมานํ อุทยตฺถคามินิยา ปัญญาย )
มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายในนั่นเทียว
เพื่อเกิดปัญญารู้ความเกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย

( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่

( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร

( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง

( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง


ภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำให้มาก ซึ่งธรรม 5 ประการเหล่านี้
ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ
อรหัตตผลในทิฏฐธรรม นั่นเทียว, หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังอุปาทิเหลืออยู่ แล.


- ปญฺจก. อํ. 22/161/122




ปฏิปทาสำหรับผู้ยังไม่ป่วย นัยที่ 2

( ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล สำหรับกรณีบุคคลทั่วไป นัยที่ 2 )

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว ( เอกนฺตนิพฺพิทะ )
เพื่อความคลายกำหนัด ( วิราคะ )
เพื่อความดับ ( นิโรธะ )
เพื่อความสงบ ( อุปสมะ )
เพื่อความรู้ยิ่ง ( อภิญญา )
เพื่อความรู้พร้อม ( สัมโพธิ )
เพื่อนิพพาน ( นิพพาน )


5 ประการอย่างไรเล่า ? 5 ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้

( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่

( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร

( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง

( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง

( มรณสัญญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา )
มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้แล เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.


- ปญฺจก. อํ. 22/94/69





ปฏิปทาสำหรับผู้ยังไม่ป่วย นัยที่ 3

( ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล สำหรับกรณีบุคคลทั่วไป นัยที่ 3 )

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย


ธรรม 5 ประการอย่างไรเล่า ? 5 ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้

( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่

( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร

( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง

( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง

( มรณสัญญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา )
มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้แล
เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย


- ปัญจก. อํ. 22/94/70





ปฏิปทาสำหรับผู้ยังไม่ป่วย นัยที่ 4

( ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล สำหรับกรณีบุคคลทั่วไป นัยที่ 4 )

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์
ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์


ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่

( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร

( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง

( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง

( มรณสัญญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา )
มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้แล เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์
ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์.


เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ

เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึกปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง


ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนกลอนออกได้ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการเสียได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอดกลอนออกได้ อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัส๎มิมานะเสียได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใดๆ อย่างนี้แล


- ปัญจก. อํ. 22/95/71
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่