คุณรู้แล้วใช่ไหม??? สตีฟ จ็อบส์ กับการทำสมาธิแบบเซน!!!

”วิถีแห่งเซนมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตผม”จ็อบส์สนใจศาสนาและปรัชญาของชาวตะวัน ออกอย่างจริงจัง ทั้งฮินดู พุทธนิกายเซน และการแสวงหาหนทางสู่การหยั่งรู้ มันไม่ใช่แค่ความอยากรู้อยากเห็นธรรมดา ๆ ที่ผ่านมาแล้วผ่านไปของเด็กหนุ่มวัย 19 ปี http://winne.ws/n20744


คุณรู้แล้วใช่ไหม??? สตีฟ จ็อบส์ กับการทำสมาธิแบบเซน!!!
”วิถีแห่งเซนมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตผม”จ็อบส์สนใจศาสนาและปรัชญาของชาวตะวัน ออกอย่างจริงจัง ทั้งฮินดู พุทธนิกายเซน และการแสวงหาหนทางสู่การหยั่งรู้ มันไม่ใช่แค่ความอยากรู้อยากเห็นธรรมดา ๆ ที่ผ่านมาแล้วผ่านไปของเด็กหนุ่มวัย 19 ปี http://winne.ws/n20744


โดย ayira_V
24 พ.ย. 2560 - 21.35 น. , แก้ไขเมื่อ 25 พ.ย. 2560 - 09.35 น.
ศาสนาโลก
986
ผู้เข้าชม
Tags : สตีฟ จ็อบส์ทำสมาธิ
คุณรู้แล้วใช่ไหม??? สตีฟ จ็อบส์ กับการทำสมาธิแบบเซน!!!
บางทีจ็อบส์ก็ปรึกษาอาจารย์ว่า เขาควรอุทิศตนเพื่อศาสนาแบบเต็มตัวดีหรือไม่ แต่โคบุนไม่สนับสนุน บอกว่าจ็อบส์สามารถทำงานไปด้วยและปฏิบัติตนตามแนวทางพุทธศาสนาไปพร้อมกันได้

จ็อบส์สนใจศาสนาและปรัชญาของชาวตะวัน ออกอย่างจริงจัง ทั้งฮินดู พุทธนิกายเซน และการแสวงหาหนทางสู่การหยั่งรู้ มันไม่ใช่แค่ความอยากรู้อยากเห็นธรรมดา ๆ ที่ผ่านมาแล้วผ่านไปของเด็กหนุ่มวัย 19 ปี

ตลอดชีวิตเขายังแสวงหาและบำเพ็ญศีลขั้นพื้นฐานตามความเชื่อทางศาสนาของโลกตะวันออก เช่น การเน้นที่ปัญญาที่ได้จากการรับรู้ อันได้แก่ความเข้าใจที่ได้จากการทำสมาธิ อีกหลายปีต่อมา

ขณะนั่งอยู่ในสวนที่บ้านในพาโล อัลโต จ็อบส์เล่าให้ฟังว่าการเดินทางไปอินเดียครั้งนั้นมีผลอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตของเขาอย่างไร

สำหรับผม ตอนกลับมาอเมริกาคราวนั้น ผมเกิดเอาการ Culture shock มากกว่าตอนไปอินเดียเสียอีก คนในชนบทอินเดียไม่ได้ใช้ภูมิปัญญาอย่างที่เราใช้ พวกเขาใช้สัญชาตญาณเป็นหลัก

และสัญชาตญาณของพวกเขาพัฒนาไปไกลกว่าที่ใดในโลก ในความคิดของผม สัญชาตญาณมีพลังมาก มีพลังกว่าความรู้ทั้งหลาย และส่งผลมากมายกับงานที่ผมทำ

วิธีคิดแบบใช้เหตุผลของคนตะวันตกไม่ใช่สิ่งที่มีติดตัวมากับมนุษย์ มันเกิดมาจากการเรียนรู้และเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของอารยธรรมตะวันตก คนในหมู่บ้านชนบทอันห่างไกลในอินเดีย

ไม่มีใครเรียนเรื่องแบบนี้ เขาเรียนเรื่องอื่น ซึ่งบางทีก็มีค่ามาก แต่บางทีก็ไม่มีประโยชน์เลย นั่นคือพลังแห่งสัญชาตญาณและปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ

อยู่หมู่บ้านในอินเดีย 7 เดือน พอกลับมา ผมเห็นสารพัดความบ้าคลั่งของโลกตะวันตก รวมทั้งความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ถ้านั่งสังเกต คุณจะรู้ว่าจิตของเราว้าวุ่นแค่ไหน ถ้าพยายามทำให้จิตสงบ จะยิ่งรู้สึกแย่

แต่พอฝึกไปนาน ๆ เข้าจิตจะสงบลงได้ และเมื่อนั้นจะมีช่องให้คุณรับรู้หรือได้ยินอะไรอย่างอื่นที่ละเอียดขึ้น นั่นคือเวลาที่สัญชาตญาณของคุณ เริ่มเบ่งบาน คุณจะเริ่มมองเห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น

และอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น เมื่อจิตนิ่ง คุณจะเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่ ดำเนินอยู่ในขณะนั้น เห็นมากกว่าที่เคยเห็นมาก่อน เรื่องแบบนี้เป็นวินัย ต้องอาศัยการฝึกฝน


วิถีแห่งเซนมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตผมตั้งแต่นั้นมา จนผมเคยคิดอยากไปญี่ปุ่น ไปวัดเอเฮจิ แต่ครูที่ปรึกษาด้านนี้บอกว่า ไม่ต้องไปก็ได้ เพราะที่นี่มีอยู่แล้วทุกอย่าง ท่านพูดถูก ผมได้เรียนรู้คำสอน

ในนิกายเซนข้อหนึ่งที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณตั้งใจจะเดินทางข้ามโลกไปหาอาจารย์ อาจารย์จะมาหาคุณเองถึงบ้าน”  จ็อบส์ได้พบอาจารย์สอนวิถีแห่งเซนแถว ๆ บ้านในโลสอัลโตส ชื่อ “ชุนริว ซุซุกิ”

เขาเขียนหนังสือชื่อ  Zen Mind , Beginner’s Mind และเปิดศูนย์ศึกษาวิถีแห่งเซนในซานฟรานซิสโก อาจารย์ท่านนี้จะมาที่โลสอัลโตสทุกเย็นวันพุธ มาสอนและนั่งสมาธิกับผู้สนใจกลุ่มเล็ก ๆ หลังจากนั้นไม่นาน

จ็อบส์และผู้สนใจคนอื่น ๆ อยากเรียนมากขึ้น ซุซุกิจึงให้ผู้ช่วย ชื่อ “โคบุน ชิโนะ” เปิดศูนย์ศึกษาวิถีแห่งเซนแบบเต็มเวลาเพิ่มอีกแห่งในโลสอัลโตส จ็อบส์กลายเป็นสาวกเซนที่เคร่งครัด รวมทั้งเพื่อนสาวคริสแซน

เบรนแนน , แดเนียล ค็อตเค และเอลิซาเบธ โฮล์มส บางทีเขาจะหลบไปปลีกวิเวกคนเดียวที่ศูนย์วิถีแห่งเซนทัสซาจารา ใกล้คาร์เมล เคาน์ตี้ ซึ่งโคบุนสอนออยู่ที่นั่น ค็อตเคเห็นว่าอาจารย์โคบุนสอนสนุก


“สำเนียงภาษาอังกฤษของเขาแปลกมาก ลีลาการพูดเหมือนกลอนไฮกุ มีประโยคเด็ด ๆ ทิ้งท้ายให้คิด เราจะนั่งฟังเขาพูดไปเรื่อย ๆ ครึ่งหนึ่งของเวลาที่นั่งฟัง เราไม่รู้เรื่องเลยว่าอาจารย์พูดเรื่องอะไร

สำหรับผมการไปนั่งฟังอาจารย์โคบุน สอนเป็นเหมือนช่วงพักผ่อนสบาย ๆ”  แต่แฟนสาวของเขากลับเข้าถึงมากกว่า โฮล์มสเล่าว่า “เราไปที่สำนักฝึกสมาธิของโคบุน นั่งบนอาสนะ แต่อาจารย์จะนั่งบนยกพื้น

เราฝึกวิธีขจัดความฟุ้งซ่าน เป็นเรื่องมหัศจรรย์ทีเดียวมีอยู่คืนหนึ่ง ขณะที่พวกเรากำลังนั่งสมาธิกับอาจารย์ ตอนนั้นฝนตกหนัก อาจารย์สอนให้เรารู้จักนำเสียงรอบ ๆ ตัว เป็นตัวพาให้เรากลับมาสู่สมาธิ”

สำหรับจ็อบส์ เขาเคร่งและอุทิศตัวเพื่อการเรียนรู้ในเรื่องนี้มาก ค็อตเคจำได้ว่า “สตีฟดูเอาจริงเอาจังมาก คิดว่าตัวเอง สำคัญ ผมยังทนไม่ได้เลย” จ็อบส์ไปพบอาจารย์โคบุนเกือบทุกวัน ทุก ๆ 2-3 เดือน

ก็จะปลีกวิเวกไปนั่งสมาธิด้วยกัน จ็อบส์บอกว่า “การได้รู้จักและพูดคุยกับอาจารย์โคบุน เป็นประสบการณ์ที่ลึกซึ้งมาก ผมพยายามหาเวลาอยู่กับท่านให้มากที่สุด อาจารย์มีภรรยาเป็นพยาบาลทำงานที่สแตนฟอร์ด

มีลูก 2 คน ภรรยาทำงานกะดึก ผมมักจะไปนั่งคุยกับอาจารย์ตอนเย็น ๆ จนเธอกลับบ้านราวเที่ยวคืน แล้วไล่ผมกลับ”  บางทีก็ปรึกษาอาจารย์ว่า เขาควรอุทิศตนเพื่อศาสนาแบบเต็มตัวดีหรือไม่ แต่โคบุนไม่สนับสนุน

บอกว่าจ็อบส์สามารถทำงานไปด้วยและปฏิบัติตนตามแนวทางพุทธศาสนาไปพร้อมกันได้ มิตรภาพระหว่างโคบุนกับจ็อบส์ยั่งยืนและลึกซึ้งมาก เขาเป็นผู้ประกอบพิธีแต่งงานให้จ็อบส์ในอีก 17 ปีต่อมา.

อ้างอิง: วอลเตอร์ ไอแซคสัน.สตีฟ จ็อบส์.กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์,2554.หน้า 54-56.

ที่มาhttp://lifecumentary.com/archives/1926
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่