หลังจากที่ผมได้โพสท์กระทู้เกี่ยวกับเทคนิคติดเหยื่อเบื้องต้นในครั้งก่อน ผมได้รับของชำร่วยจากพันทิพย์ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างกระทู้ใหม่ ขอบคุณพันทิพย์ครับ
วันนี้ผมตั้งใจเอาวิธีการกำจัดปลวกด้วยเหยื่อล่อสำหรับผู้ที่สนใจที่จะกำจัดเอง โดยเป็นขั้นตอนที่ละเอียดพร้อมทั้งการติดตามผลไปจนจบขั้นตอนครับ
การกำจัดปลวกนั้นเมื่อปลวกรังนี้ตายหมดแล้ว ปลวกรังใหม่ก็มาโอกาสมาเยี่ยมบ้านท่านได้เรื่อยๆ เพราะปลวกเป็นแมลงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดโดยแมลงเม่าคือจุดเริ่มต้นของปลวกรังใหม่ครับ ดังนั้นการเรียบรู้ที่จะป้องกันกำจัดปลวกด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการลดต้นทุนในการกำจัดหรือผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวไม่อยากให้ใครเข้าไปในบ้านหรือผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาไม่อยากนัดใครหรือรอใคร แต่การกำจัดด้วยตัวเองนี้มีข้อจำกัดคือถ้าหน้างานยากเกินไปเช่นใจร้อนฉีดยาไปตอนเจอตัวปลวกเพราะตกใจ จนหาตัวปลวกไม่เจอ หรือปลวกขึ้นจุดที่ติดตั้งยากมากและมีตัวน้อยมากๆ ท่านยังจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอยู่นะครับ แต่ถ้าใครดูวิธีการนี้แล้วไม่ยากทำเองได้ งั้นไปลุยกันเลย
ก่อนที่จะกำจัดปลวกนั้นสำหรับผู้ที่มีบ้านอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่ใช่เขตเทศบาลหรือเขตเมือง ท่านต้องดูชนิดปลวกก่อนนะครับว่าเป็นชนิดที่ใช้เหยื่อได้หรือไม่ ให้ดูง่ายๆคือปลวกทหารจะหัวส้มหรือแดงตัวสีขาว เวลาหนีบมือปลวกนี้จะปล่อยน้ำสีขาวออกมาครับ ( ดังภาพ ประกอบ ) และหลักสำคัญที่สุดคือ ปลวกนี้จะต้องกินบ้านแล้วและยังมีตัวเป็นๆอยู่เท่านั้นถึงจะเหมาะกับการใช้เหยื่อกำจัดครับ
เราไปดูวิธีการกันเลย
1.เราพบว่าปลวกกำลังกินฝ้าเพดานอยู่ โดยสร้างทางเดินย้อยลงมาตามเสา เราจึงค่อยๆเขี่ยทางเดินดูพบตัวปลวกในทางเดิน แต่มุมที่พบตัวปลวกนั้นไม่สามารถติดตั้งสถานีกล่องเหยื่อล่อได้เพราะติดสายไฟ วันนี้เราจึงต้องใช้เทคนิคการแปะเหยื่อล่อให้ปลวกลงมาที่กล่อง
2.เราผสมเหยื่อเพียงเล็กน้อยก่อน แล้วเอาเหยื่อไปแปะตรงจุดที่เราเขี่ยสำรวจตัวปลวกให้เป็นทางยาวลงมาตามมุมเสาเพื่อให้ถึงตำแหน่งที่พ้นสายไฟที่กล่องสถานีพอจะวางได้
3.ในภาพจะเห็นเหยื่อปลวกถูกแปะเป็นทางลงมาชัดเจน
4.จากนั้นใช้เทปผ้าปิดทางเหยื่อที่เราแปะลงมาให้เหลือไว้เฉพาะจะที่เราจะตัดกล่องให้เชื้อมกับเหยื่อที่เราแปะไว้
5.นำกล่องมาหาตำแหน่งที่จะตัดแต่งกล่อง วันนี้ผมใช้กล่องทรงสูงขนาดกลางบรรจุเหยื่อเต็มกล่อง 150 กรัม
6.ปูเทปผ้าพื้นกล่องให้ปิดรูให้หมดเพราะวันนี้นั้นเราจะวางกล่องติดกับขอบอลูมิเนียมซึ่งอลูมิเนียมนั้นมีนาดเล็กกว่ากล่องสถานี ดังนั้นถ้าเราไม่ปิดเทป กล่องนี้จะมีรูเป็นช่องว่างเมื่อกล่องถูกวางลงไป
7.จากนั้นทำการเลื่อยกล่องเพื่อเปิดช่องเล็กน้อยโดยใช้ช่องนี้ไปเชื่อมกับเหยื่อที่เราได้แปะล่อไว้นั้นเอง
8.จากนั้นทากาวพื้นโดยใช้กาวอคริลิคเท่านั้น หาซื้อในโฮมโปรหรือไทวัสดุบอกเขาว่า กาวอครลิค ไม่ใช่ซิลิโคลนะครับ ซื้อปืนยิงกาวมาด้วยนะครับ ไม่งั้นยิงไม่ออก ให้ทากาวตรงพื้นผินที่กล่องจะสัมผัสในภาพจะเห็นว่ามีส่วนหนึ่งที่กล่องไม่สัมผัสขอบอลูมิเนียมผมเลยไม่ทา
9.นำกล่องไปแปะกับขอบอลูมิเนียมแล้วกดให้แน่น จะเห็นได้ว่าช่องที่เราเปิดไว้จะตรงกับจุดที่เราตัดกล่องพอดี
10. ด้านหลังกล่องจะเห็นว่ามีบางส่วนที่กล่องไม่ได้ติดแนบกับขอบอลูมิเนียม ซึ่งเทปที่เราปิดตอนแรกนั้นจะปกป้องตรงจุดนั้ครับ
11.ด้านบนหนือกล่องที่เป็นช่องให้เอาเทปฉีดเป็นชิ้นเล็กๆค่อยๆปิดให้ทึบแสงมากที่สุด
12.เนื่องจากกล่องนี้กาวยังไม่แห้งเมื่อใส่เหยื่อนั้นกล่องจะหล่นครับ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องใช้เทปผ้ายึดกล่องเพื่อช่วยรับน้ำหนักในช่วงแรกก่อนดังภาพ
12.1 วันนี้ผมใช้เหยื่อชื่อ เนเมซิส โดยเหยื่อ 1 ชุด มี 2 ถุง คือสารดึงดูดซองสีใส่ไม่เป็นพิษ กับเหยื่อซองสีเหลืองที่เป็นตัวทำให้ปลวกตาย ซึ่งโดยหลักการคือให้ผสมสารดึงดูดล่อไว่ก่อนแล้วถ้าปลวกเข้ามากินเหยื่อค่อยผสมเหยื่อพิษใส่ลงไป แต่วันนี้ผมใช้เทคนิคส่วนตัวคือการรวมเหยื่อทั้งสองตัวก่อนแล้วค่อยผสมน้ำโดยขั้นตอนละเอียดดังนี้คือ
วันนี้เราจะผสมเหยื่อให้ได้ 150 กรัม ให้เต็มกล่อง เราจึงเทเหยื่ออย่างละ 75 กรัมรวมกันได้ 150 กรัม ลงในภาชนะทรงกลมมีฝาปิด
12.2 จากนั้นปิดฝาภาชนะแล้วหมุนฝาพร้อมเขย่าให้ผงทั้งสองชนิดเข้ากันมากที่สุด แล้วเติมน้ำตราสิงห์ 525 CC หรือเหยื่อ 1 กรัม ต่อน้ำ 3.5 CC
12.3 ค่อยนวดเหยื่อให้เข้ากับน้ำ เหยื่อที่เข้ากับน้ำแล้วจะนุ่มๆ อมน้ำ ปลวกจะชอบมากๆ
13.ให้เอาเหยื่อก้อนแรกป้อนเข้าไปในรูที่เราตัดกล่องไว้ให้เหยื่อเข้าไปเชื่อมกับเหยื่อที่เราได้แปะไว้ก่อน หน้า
14.จากนั้นค่อยใส่เหยื่อ 150 กรัมให้เต็มกล่องสถานีโดยไม่ต้องอัดแน่นจนเกินไป
15. ปิดน๊อตให้ครบทั้ง 4 ตัว แล้วฉีกเทปผ้าปิดทับเทปที่ติดรับน้ำหนักด้านขวาของกล่องอีกทีเพื่อช่วยเพิ่มแรงรับ เหยื่อที่ผสมกับได้ตามอัตราส่วนดังกล่าวเมื่อใส่ลงในกล่องจะมีน้ำหยดเล็กน้อย จากนั้นปิด ยาว 15 วัน ค่อยเปิดครั้งแรก
16.เมื่อเปิดครั้งแรกครบ 15 วัน เราพบปลวกกินเหยื่อไปหมดกล่อง 100 % และแทบไม่พบตัวปลวกในกล่อง นี่คือสัญญาณที่บอกว่ากำลังการกินของปลวกรังนี้ยังดีอยู่
17.ให้เราทำเหมือนครั้งแรกคือผสมเหยื่ออีก 150 กรัม ใส่ลงไปในสถานีดังกล่าว
18. เปิดครั้งที่ 2 ครบ 30 วัน เราพบเหยื่อถูกกินหมด 100 % แต่เราเริ่มพบตัวปลวกมากขึ้น นี่คือสัญญาณที่บอกว่ากำลังการกินจะน้อยลงแต่ด้วยเหยื่อที่หมดเกลี้ยงเราไม่อาจทราบได้ว่าปลวกจะกินเหยื่ออีกมากหรือน้อย เราจึงจเป็นต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องคือเติมให้เต็มแล้วปิดยาวอีก 15 วัน ( ในกรณีถ้าเริ่มพบเหยื่อเหลือแสดงว่ากำลังการกินนั้นได้ลดลงแล้ว เราจะเติมเหยื่อเฉพาะส่วนที่พร่องไปเท่านั้น
19.ครั้งนี้ให้เราทำเหมือนครั้งแรกคือผสมเหยื่ออีก 150 กรัม ใส่ลงไปในสถานีดังกล่าว
20.พอเปิดครั้งนี้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากคือ เหยื่อพร่องไปเพียงเล็กน้อยและสำคัญที่สุดเราพบปลวกทหารอยู่ในกล่องเป็นจำนวนมาก สัญญาณนี้คือปลวกจะตายแล้วครับ ครั้งนี้เราจะไม่ทำอะไรใดๆทั้งสิ้น เราจะปิดฝาสถานีแล้วรอผลอีก 15 วันครับ
21.เปิดครั้งสถดท้ายเราไม่พบปลวกมีชีวิตอยู่ในกล่องสถานีเลย และพบซากปลวกตายบ้างเล็กน้อย ( บางสภาวะจะไม่พบซากปลวกเลยไม่ต้องกังวล ) และเราจะพบสิ่งมีชีวิตตัวเล็กวิ่งเร็วๆไปมา นั่นไม่ใช่ลูกปลวก เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่อยู่ในพันธะพึ่งพาอาศัยกันในรังปลวกไม่มีผลต่อโครงสร้างบ้าน เมื่อเรามั่นใจว่าไม่พบตัวปลวกที่มีชีวิตแล้วเราค่อยถอดกล่องสถานีออกไป
22.เมื่อเราถอดกล่องสถานีออกไปแล้วให้เราเช็คให้แน่ใจว่าไม่พบตัวปลวกด้าหลังกล่องจากนั้นให้ไปเช็คยังส่วนอื่นๆของบ้านที่เคยพบตัวปลวกว่ายังมีตัวปลวกอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีก็แสดงว่าเราได้กำจัดปลวกด้วยเหยื่อล่อสำเร็จแล้วนั่นเอง
23.ทำความสะอาดพื้นผิวให้เหมือนเดิม จากนั้นเฝ้าระวังจุดดังกล่าวโดยหมั่นดูว่าปลวกจะกลับมาอีกหรือไม่ซึ่งถ้าจุดดังกล่าวนี้มีทางเดินดินยาวขึ้นก็ให้รีบไปเขี่ยดูว่ามีตัวไหม นี่คือการเฝ้าระวังปลวกรังใหม่ที่จะกลับมา
คำถามยอดฮิตคือ เหยื่อนี้ซื้อที่ไหนราคาเท่าไร ปัจจุบันเหยื่อกำจัดปลวกนั้นหาซื้อได้ง่ายมีขายทั่วไปในเว็บไซต์หลายเว็บของเข้าไปค้นดูกันครับ
กว่าจะเรียบเรียงมาให้อ่านได้ต้องใช้เวลาหลายเดือนในการเฝ้าติดตามถ่ายรูปปลวก หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังพบปัญหาปลวกไม่มากก็น้อยนะครับ
DIY กำจัดปลวกด้วยตัวเองโดยใช้เหยื่อล่อ ฉบับเต็ม
วันนี้ผมตั้งใจเอาวิธีการกำจัดปลวกด้วยเหยื่อล่อสำหรับผู้ที่สนใจที่จะกำจัดเอง โดยเป็นขั้นตอนที่ละเอียดพร้อมทั้งการติดตามผลไปจนจบขั้นตอนครับ
การกำจัดปลวกนั้นเมื่อปลวกรังนี้ตายหมดแล้ว ปลวกรังใหม่ก็มาโอกาสมาเยี่ยมบ้านท่านได้เรื่อยๆ เพราะปลวกเป็นแมลงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดโดยแมลงเม่าคือจุดเริ่มต้นของปลวกรังใหม่ครับ ดังนั้นการเรียบรู้ที่จะป้องกันกำจัดปลวกด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการลดต้นทุนในการกำจัดหรือผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวไม่อยากให้ใครเข้าไปในบ้านหรือผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาไม่อยากนัดใครหรือรอใคร แต่การกำจัดด้วยตัวเองนี้มีข้อจำกัดคือถ้าหน้างานยากเกินไปเช่นใจร้อนฉีดยาไปตอนเจอตัวปลวกเพราะตกใจ จนหาตัวปลวกไม่เจอ หรือปลวกขึ้นจุดที่ติดตั้งยากมากและมีตัวน้อยมากๆ ท่านยังจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอยู่นะครับ แต่ถ้าใครดูวิธีการนี้แล้วไม่ยากทำเองได้ งั้นไปลุยกันเลย
ก่อนที่จะกำจัดปลวกนั้นสำหรับผู้ที่มีบ้านอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่ใช่เขตเทศบาลหรือเขตเมือง ท่านต้องดูชนิดปลวกก่อนนะครับว่าเป็นชนิดที่ใช้เหยื่อได้หรือไม่ ให้ดูง่ายๆคือปลวกทหารจะหัวส้มหรือแดงตัวสีขาว เวลาหนีบมือปลวกนี้จะปล่อยน้ำสีขาวออกมาครับ ( ดังภาพ ประกอบ ) และหลักสำคัญที่สุดคือ ปลวกนี้จะต้องกินบ้านแล้วและยังมีตัวเป็นๆอยู่เท่านั้นถึงจะเหมาะกับการใช้เหยื่อกำจัดครับ
เราไปดูวิธีการกันเลย
1.เราพบว่าปลวกกำลังกินฝ้าเพดานอยู่ โดยสร้างทางเดินย้อยลงมาตามเสา เราจึงค่อยๆเขี่ยทางเดินดูพบตัวปลวกในทางเดิน แต่มุมที่พบตัวปลวกนั้นไม่สามารถติดตั้งสถานีกล่องเหยื่อล่อได้เพราะติดสายไฟ วันนี้เราจึงต้องใช้เทคนิคการแปะเหยื่อล่อให้ปลวกลงมาที่กล่อง
2.เราผสมเหยื่อเพียงเล็กน้อยก่อน แล้วเอาเหยื่อไปแปะตรงจุดที่เราเขี่ยสำรวจตัวปลวกให้เป็นทางยาวลงมาตามมุมเสาเพื่อให้ถึงตำแหน่งที่พ้นสายไฟที่กล่องสถานีพอจะวางได้
3.ในภาพจะเห็นเหยื่อปลวกถูกแปะเป็นทางลงมาชัดเจน
4.จากนั้นใช้เทปผ้าปิดทางเหยื่อที่เราแปะลงมาให้เหลือไว้เฉพาะจะที่เราจะตัดกล่องให้เชื้อมกับเหยื่อที่เราแปะไว้
5.นำกล่องมาหาตำแหน่งที่จะตัดแต่งกล่อง วันนี้ผมใช้กล่องทรงสูงขนาดกลางบรรจุเหยื่อเต็มกล่อง 150 กรัม
6.ปูเทปผ้าพื้นกล่องให้ปิดรูให้หมดเพราะวันนี้นั้นเราจะวางกล่องติดกับขอบอลูมิเนียมซึ่งอลูมิเนียมนั้นมีนาดเล็กกว่ากล่องสถานี ดังนั้นถ้าเราไม่ปิดเทป กล่องนี้จะมีรูเป็นช่องว่างเมื่อกล่องถูกวางลงไป
7.จากนั้นทำการเลื่อยกล่องเพื่อเปิดช่องเล็กน้อยโดยใช้ช่องนี้ไปเชื่อมกับเหยื่อที่เราได้แปะล่อไว้นั้นเอง
8.จากนั้นทากาวพื้นโดยใช้กาวอคริลิคเท่านั้น หาซื้อในโฮมโปรหรือไทวัสดุบอกเขาว่า กาวอครลิค ไม่ใช่ซิลิโคลนะครับ ซื้อปืนยิงกาวมาด้วยนะครับ ไม่งั้นยิงไม่ออก ให้ทากาวตรงพื้นผินที่กล่องจะสัมผัสในภาพจะเห็นว่ามีส่วนหนึ่งที่กล่องไม่สัมผัสขอบอลูมิเนียมผมเลยไม่ทา
9.นำกล่องไปแปะกับขอบอลูมิเนียมแล้วกดให้แน่น จะเห็นได้ว่าช่องที่เราเปิดไว้จะตรงกับจุดที่เราตัดกล่องพอดี
10. ด้านหลังกล่องจะเห็นว่ามีบางส่วนที่กล่องไม่ได้ติดแนบกับขอบอลูมิเนียม ซึ่งเทปที่เราปิดตอนแรกนั้นจะปกป้องตรงจุดนั้ครับ
11.ด้านบนหนือกล่องที่เป็นช่องให้เอาเทปฉีดเป็นชิ้นเล็กๆค่อยๆปิดให้ทึบแสงมากที่สุด
12.เนื่องจากกล่องนี้กาวยังไม่แห้งเมื่อใส่เหยื่อนั้นกล่องจะหล่นครับ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องใช้เทปผ้ายึดกล่องเพื่อช่วยรับน้ำหนักในช่วงแรกก่อนดังภาพ
12.1 วันนี้ผมใช้เหยื่อชื่อ เนเมซิส โดยเหยื่อ 1 ชุด มี 2 ถุง คือสารดึงดูดซองสีใส่ไม่เป็นพิษ กับเหยื่อซองสีเหลืองที่เป็นตัวทำให้ปลวกตาย ซึ่งโดยหลักการคือให้ผสมสารดึงดูดล่อไว่ก่อนแล้วถ้าปลวกเข้ามากินเหยื่อค่อยผสมเหยื่อพิษใส่ลงไป แต่วันนี้ผมใช้เทคนิคส่วนตัวคือการรวมเหยื่อทั้งสองตัวก่อนแล้วค่อยผสมน้ำโดยขั้นตอนละเอียดดังนี้คือ
วันนี้เราจะผสมเหยื่อให้ได้ 150 กรัม ให้เต็มกล่อง เราจึงเทเหยื่ออย่างละ 75 กรัมรวมกันได้ 150 กรัม ลงในภาชนะทรงกลมมีฝาปิด
12.2 จากนั้นปิดฝาภาชนะแล้วหมุนฝาพร้อมเขย่าให้ผงทั้งสองชนิดเข้ากันมากที่สุด แล้วเติมน้ำตราสิงห์ 525 CC หรือเหยื่อ 1 กรัม ต่อน้ำ 3.5 CC
12.3 ค่อยนวดเหยื่อให้เข้ากับน้ำ เหยื่อที่เข้ากับน้ำแล้วจะนุ่มๆ อมน้ำ ปลวกจะชอบมากๆ
13.ให้เอาเหยื่อก้อนแรกป้อนเข้าไปในรูที่เราตัดกล่องไว้ให้เหยื่อเข้าไปเชื่อมกับเหยื่อที่เราได้แปะไว้ก่อน หน้า
14.จากนั้นค่อยใส่เหยื่อ 150 กรัมให้เต็มกล่องสถานีโดยไม่ต้องอัดแน่นจนเกินไป
15. ปิดน๊อตให้ครบทั้ง 4 ตัว แล้วฉีกเทปผ้าปิดทับเทปที่ติดรับน้ำหนักด้านขวาของกล่องอีกทีเพื่อช่วยเพิ่มแรงรับ เหยื่อที่ผสมกับได้ตามอัตราส่วนดังกล่าวเมื่อใส่ลงในกล่องจะมีน้ำหยดเล็กน้อย จากนั้นปิด ยาว 15 วัน ค่อยเปิดครั้งแรก
16.เมื่อเปิดครั้งแรกครบ 15 วัน เราพบปลวกกินเหยื่อไปหมดกล่อง 100 % และแทบไม่พบตัวปลวกในกล่อง นี่คือสัญญาณที่บอกว่ากำลังการกินของปลวกรังนี้ยังดีอยู่
17.ให้เราทำเหมือนครั้งแรกคือผสมเหยื่ออีก 150 กรัม ใส่ลงไปในสถานีดังกล่าว
18. เปิดครั้งที่ 2 ครบ 30 วัน เราพบเหยื่อถูกกินหมด 100 % แต่เราเริ่มพบตัวปลวกมากขึ้น นี่คือสัญญาณที่บอกว่ากำลังการกินจะน้อยลงแต่ด้วยเหยื่อที่หมดเกลี้ยงเราไม่อาจทราบได้ว่าปลวกจะกินเหยื่ออีกมากหรือน้อย เราจึงจเป็นต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องคือเติมให้เต็มแล้วปิดยาวอีก 15 วัน ( ในกรณีถ้าเริ่มพบเหยื่อเหลือแสดงว่ากำลังการกินนั้นได้ลดลงแล้ว เราจะเติมเหยื่อเฉพาะส่วนที่พร่องไปเท่านั้น
19.ครั้งนี้ให้เราทำเหมือนครั้งแรกคือผสมเหยื่ออีก 150 กรัม ใส่ลงไปในสถานีดังกล่าว
20.พอเปิดครั้งนี้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากคือ เหยื่อพร่องไปเพียงเล็กน้อยและสำคัญที่สุดเราพบปลวกทหารอยู่ในกล่องเป็นจำนวนมาก สัญญาณนี้คือปลวกจะตายแล้วครับ ครั้งนี้เราจะไม่ทำอะไรใดๆทั้งสิ้น เราจะปิดฝาสถานีแล้วรอผลอีก 15 วันครับ
21.เปิดครั้งสถดท้ายเราไม่พบปลวกมีชีวิตอยู่ในกล่องสถานีเลย และพบซากปลวกตายบ้างเล็กน้อย ( บางสภาวะจะไม่พบซากปลวกเลยไม่ต้องกังวล ) และเราจะพบสิ่งมีชีวิตตัวเล็กวิ่งเร็วๆไปมา นั่นไม่ใช่ลูกปลวก เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่อยู่ในพันธะพึ่งพาอาศัยกันในรังปลวกไม่มีผลต่อโครงสร้างบ้าน เมื่อเรามั่นใจว่าไม่พบตัวปลวกที่มีชีวิตแล้วเราค่อยถอดกล่องสถานีออกไป
22.เมื่อเราถอดกล่องสถานีออกไปแล้วให้เราเช็คให้แน่ใจว่าไม่พบตัวปลวกด้าหลังกล่องจากนั้นให้ไปเช็คยังส่วนอื่นๆของบ้านที่เคยพบตัวปลวกว่ายังมีตัวปลวกอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีก็แสดงว่าเราได้กำจัดปลวกด้วยเหยื่อล่อสำเร็จแล้วนั่นเอง
23.ทำความสะอาดพื้นผิวให้เหมือนเดิม จากนั้นเฝ้าระวังจุดดังกล่าวโดยหมั่นดูว่าปลวกจะกลับมาอีกหรือไม่ซึ่งถ้าจุดดังกล่าวนี้มีทางเดินดินยาวขึ้นก็ให้รีบไปเขี่ยดูว่ามีตัวไหม นี่คือการเฝ้าระวังปลวกรังใหม่ที่จะกลับมา
คำถามยอดฮิตคือ เหยื่อนี้ซื้อที่ไหนราคาเท่าไร ปัจจุบันเหยื่อกำจัดปลวกนั้นหาซื้อได้ง่ายมีขายทั่วไปในเว็บไซต์หลายเว็บของเข้าไปค้นดูกันครับ
กว่าจะเรียบเรียงมาให้อ่านได้ต้องใช้เวลาหลายเดือนในการเฝ้าติดตามถ่ายรูปปลวก หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังพบปัญหาปลวกไม่มากก็น้อยนะครับ