ปกติ ดิฉันไม่ค่อยได้ดูละคร สิบปีที่ผ่านมานี่ นึกละครไม่ออกเลยว่าดูอะไรมั่งนอกจากบุพเพสันนิวาสในปีนี้ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์พิเศษที่ทำให้ครอบครัวหันมาดูละครอีกครั้ง
ช่วงนี้ มีกระแส เลือดข้น คนจาง ค่อนข้างร้อนแรง พูดกันว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกงสีในครอบครัวเชื้อสายจีน เลยทำให้รู้สึก “อิน” เริ่มอยากดูเรื่องนี้ขึ้นมาติดหมัด
แต่ไหน ๆ ตัวเอง ก็เกิด เติบโต และแวดล้อมอยู่ด้วยเพื่อนที่โตมาในครอบครัวกงสีทั้งนั้น เลยขอมาเล่า มาแชร์ให้ฟังบ้างดีกว่า ว่าของจริงก็แซ่บ ซึ้ง เว่อร์ และมีปมต่าง ๆ ยุ่บยั่บไม่แพ้ละครเรื่องไหนเลยเหมือนกัน ที่เค้าว่ากันว่า ละครมีพื้นฐานมาจากความเป็นจริงเห็นจะไม่ผิดนัก เพราะเรื่องบางเรื่องของบางครอบครัวที่ดิฉันได้รู้มา หากเอามาเล่าหรือทำเป็นละคร ก็แทบไม่ต้องคิด “บทพูด” เลย เพราะที่พูดกันจริง ๆ มันเจ็บ มันลึก กว่านั้นเยอะ
เช่นเคย ออกตัวไว้ก่อนว่า ประสบการณ์นี้เล่าจาก คนอายุสี่สิบกลาง ๆ ที่มองไปรอบตัว และมองย้อนขึ้นไปถึงสิ่งที่เรียกว่า “กงสี” ในสมัยรุ่นน้า รุ่นแม่ รุ่นอากง อาม่าของตัวเอง หลายเรื่องอาจเป็นเรื่องพ้นสมัยไม่ได้ใช้แล้ว หรือ หลายเรื่องอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสังคมปัจจุบันไปแล้ว แต่ความเชื่อและธรรมเนียมแบบเดิม ๆ ยังคงฝังรอยให้เห็นในสภาพการณ์ปัจจุบันอย่างแน่นอน
“กงสี” ในความเข้าใจโดยกว้างของบริบทในสังคมไทย หมายถึง การที่ครอบครัวใหญ่ทำกิจการร่วมกัน และหลายครั้งก็อยู่รวมกันภายใต้ครัวเรือน บ้าน หรือ ที่ดินบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่หลักใหญ่ใจความคือ หากทำกิจการค้าใด ๆ ที่ดำเนินการในหมู่เครือญาติเดียวกัน เก็บกินผลประโยชน์ร่วมกันนั้นเรียกว่า “กงสี”
แต่สำหรับบ้านดิฉัน (จีนฮกเกี้ยน) เราออกเสียงว่า “กงซี” คำนี้ ยังมีความหมายถึง บริษัท หรือ การร่วมหุ้นทำอะไรร่วมกันด้วย
ร้อยละ 80-90 ของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนมักเป็นครอบครัวแบบกงสี คือ ทำธุรกิจร่วมกัน ช่วยกันในหมู่พี่ ๆ น้อง ๆ ประเภท อาป๊า (พ่อ) เป็นผู้ก่อตั้ง อาเฮีย (พี่ชาย) ช่วยคุมคนงาน ตั่วเจ้ (พี่สาวใหญ่) คุมบัญชี หยี่เฮีย (พี่ชายคนรอง) คุมการขาย อะไรทำนองนี้
เหตุผลที่คนจีนโพ้นทะเลมักทำธุรกิจคือ ตอนบรรพบุรุษอพยพเสื่อผืนหมอนใบมาจากจีน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้อพยพมักมาจากเมืองหรือมณฑลที่อยู่ใกล้ทะเล เป็นเมืองท่า มีการติดต่อค้าขายมากมาย จึงมีเลือดพ่อค้าค่อนข้างข้น จะมารับราชการหรือก็เป็นไปไม่ได้ เพราะถือใบต่างด้าว อ่านเขียนหนังสือไทยไม่เป็น ส่วนลูกๆ รุ่นที่ ๒ ที่เกิดเมืองไทย จะไปสมัครเรียนทหาร ตำรวจ ก็ไม่ได้อีก เพราะอาป๊า หรือ เตี่ยถือใบต่างด้าว ดังนั้น ส่วนมากจึงมักวน ๆ อยู่กับการช่วยที่บ้านค้าขาย และเมื่อขาย ๆ ไป มีการพัฒนาปรับปรุงขึ้นไปเรื่อย ๆ กิจการกงสี ก็เจริญเติบโต งอกงามจนเป็นกงสี ร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน แสนล้านอย่างที่เราเห็นกัน
ลักษณะและปัญหาของกงสี ที่ดิฉันได้เห็นมามีดังนี้
1. เป็นสังคมแบบผู้ชายเป็นใหญ่ แบบที่เรียกว่า chauvinistic มาก ลูกชายโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกชายคนโต หลานชาย หรือ ญาติวงศ์ที่เป็นผู้ชายสืบสกุลมีความสำคัญมาก ทุกคนในบ้านมักจะต้องให้เกียรติ เพราะถือว่าเป็นผู้สืบสกุล เพราะงั้น สำหรับลูกชายคนโต เวลาแบ่งสมบัติก็มักจะได้แบ่งมากกว่าใครเพื่อน หรือ ไม่ก็เป็นคนถือครองสมบัติทั้งหมดเลย และจัดสรรปันส่วนแบ่งเงินปันผลให้น้อง ๆ
ครอบครัวดิฉัน อากง อาม่า หรือ คุณตา คุณยายฝ่ายแม่ เราทำสวนยาง มีที่รวม ๆ กันของกงสีทั้งหมดประมาณห้าร้อยกว่าไร่
เวลาแบ่ง 250 ไร่ตกเป็นของน้าชายคนโตเราทันที เหตุผลเหมือนจะ make sense ว่า เป็นเพราะ ตอนอากง อาม่าดิฉันสร้างตัวจากคนงานกรีดยาง จนค่อย ๆ สะสมเงินซื้อสวนยาง ตอนนั้นมีลูกเพียงสองคน คือ ลูกสาวคนโต คือ หม่าม้าดิฉัน และ ลูกชายคนโต คือ น้าชายที่พูดถึง มีเพียงลูกสองคนนี้เท่านั้น ที่ลำบากฝ่าฟัน คอยช่วยเดินเก็บน้ำยาง ทำงานหนักเพื่อสร้างตัว น้าคนอื่น ๆ ยังไม่เกิดทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ลูกสองคนที่ลำบากด้วยกันมาควรจะได้มากที่สุด
แต่เนื่องจากคุณแม่ดิฉันเป็นผู้หญิง ที่เมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคน “นอกสกุล” ซึ่งไม่ควรที่จะมีส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกกงสีเลยเสียด้วยซ้ำ แต่ถ้าจะให้ ก็ให้แบบน้อย ๆ
เพราะงั้น 250 ไร่ที่เหลือ จึงต้องไปแบ่งกันระหว่างคุณแม่ดิฉัน (ซึ่งเป็นลูกสาว) กับน้าชายอีก 3 คน ซึ่งเกิดมาทีหลัง และเกิดมาหลังจากที่ครอบครัวกงสีของเราเป็นปึกแผ่นและสบายแล้ว
ฟังดูเหมือนการเป็นลูกชายคนโตในบ้านคนจีนจะสบายที่สุด ?
ก็ไม่เสียทีเดียวค่ะ
อย่างที่พูดกันในเรื่อง “ไอแมงมุม” อำนาจอันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่เสมอ
พี่ชายคนโตในบ้านกงสี มักจะถูกคาดหวังให้รับผิดชอบดูแลความเป็นอยู่ของทุกคนในบ้าน และดูแลน้อง ๆ ให้เรียนจบ อยู่รอดปลอดภัย และคอยเป็นที่พึ่ง คอยช่วยเหลือ เวลานัดกินข้าวประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือ ประจำปี “ตั่วเฮีย” หรือ พี่ชายใหญ่ มักจะต้อง “เปย์” เสมอ
การรับผิดชอบดูแล ก็คงจะโอเคอยู่หรอก ถ้าเผอิญกงสีนั้น เป็นกงสีที่ร่ำรวย แต่หากกงสีนั้น ยังปากกัดตีนถีบ ความรับผิดชอบ บางที ก็แลดูจะหนักหนาเกินกว่าบ่าของ “ตั่วเฮีย” จะรับได้
หลายครอบครัวที่ดิฉันเคยเห็น “ตั่วเฮีย” “ตั่วเจ้” หรือ พี่ชาย พี่สาวคนโต ๆ ต้องเสียสละออกจากโรงเรียนตั้งแต่ตอนจบ ป.4 หรือ มศ.3 เพื่อออกมาทำงานหาเงินส่งน้อง ๆ เรียน
เพื่อนสนิทสมัยมหาวิทยาลัยของดิฉัน เล่าให้ฟังว่า อาป๊าของเธอไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องออกมาทำงานเป็นลูกจ้าง และภายหลังต้องมารับจ้างทำงานเหล็กเพื่อส่งน้องเรียน เงินเดือนอาป๊าเธอตอนนั้น หาได้เท่าไรต้องให้อาม่าหมด เอนเตอร์เทนเมนต์เพียงอย่างเดียวของอาป๊า คือ วันเงินเดือน (ที่ตัวเองทำงาน) ออก อาม่าจะให้เงินไปซื้อโอเลี้ยงหนึ่งแก้ว ดูหนังแขกที่พาหุรัดหนึ่งเรื่อง (ทำไมต้องเป็นหนังแขกดิฉันก็ไม่เข้าใจ) ทำให้อาป๊าเธอ แม้จะหน้าตี๋แต่ก็คุ้นและชอบดูหนังแขกมาจนปัจจุบัน
ผลของการเสียสละแบบนั้น ทำให้น้อง ๆ ได้เรียนหนังสือ และก็ทำได้ดี จนอาผู้ชายคนเล็กของเธอจบวิศวะ และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยชื่อดังย่านลาดกระบังมาจนปัจจุบัน
ส่วนอาป๊าเธอ แม้จะไม่ได้เรียน แต่ความใฝ่เรียนรู้การทำงานจากของจริง ขยัน อดทน และประหยัดจนติดเป็นนิสัยประจำตัว ก็ทำให้เป็นเจ้าของร้านทำเหล็กดัด และขยายกิจการไปได้ใหญ่โตในที่สุด
บั้นปลายของชีวิต ป๊าเธอไปทำสวนอยู่แถวรังสิตเป็นงานอดิเรก (แม้เป็นงานอดิเรก ก็ก่อดอก ก่อผลได้ดีตามเคย) และควักเงินซื้อที่ครั้งละเกือบร้อยไร่ในย่านนั้นด้วยเงินสด
ส่วนลูก ๆ ป๊าที่เรียนไม่สูง ก็ทำกิจการของตัวเอง บางคนไปได้ดีถึงขนาดมีกิจการ ที่ดิน มูลค่าหลายพันล้าน ส่วนที่เรียนสูงๆ หน่อย ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำงานกินเงินเดือน หรือ เล่นหุ้นได้ดอก ได้ผลกันสบาย ๆ ไป
ในสังคมปัจจุบัน สำหรับรุ่นที่สอง และสามของลูกจีนที่โตในเมืองไทย ส่วนใหญ่มักได้รับการศึกษาที่ดี จบจากโรงเรียนฝรั่ง มหาวิทยาลัยดี ๆ มีโอกาสทำงานในบริษัทฝรั่ง หรือ บริษัทข้ามชาติที่เงินเดือนดี สวัสดิการ มีวันหยุดชัดเจน ดังนั้น จึงหาคนอยากกลับมาทำงานกงสียาก เพราะงานกงสี (หลายที่) ยังไม่เป็นระบบ ทำงานอาทิตย์ละหกวัน (เป็นอย่างต่ำ) ไม่เป็นเวล่ำเวลา ลูกที่หันกลับมาทำงานให้กงสี ทั้งที่มีที่อื่นดี ๆ ให้เลือกทำ ในบางกรณี จึงถือว่า เป็นการเสียสละ เพราะทำงานให้กงสี เวลาได้ปันผล คุณก็จะต้องเอามาแบ่งพี่น้องญาติมิตรในกงสีที่ทำงานข้างนอก เท่ากับพวกนั้น ได้เงินสองเด้ง เด้งแรกจากเงินเดือนตัวเอง และ เด้งสองคือ ปันผลจากกงสี
เรื่องแบบนี้ ถ้าคุยเรื่องผลประโยชน์ลงตัว เข้าใจกัน ก็ไม่มีปัญหา แต่หากคุยกันไม่เข้าใจ ปัญหาความบาดหมางจะเกิดได้มาก
ครอบครัวเพื่อนดิฉันครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายทั้งหมด ทุกคนเรียนดี จบที่ดี ๆ กันหมด พี่ชายใหญ่จบวิศวะจากมหาวิทยาลัยปิดที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง แต่ด้วยภาระแห่งความเป็นพี่คนโต เมื่อพ่อเสียชีวิต ก็ต้องออกมาคุมโรงงาน กับน้องชายคนที่สอง ส่วนน้องสาม น้องสี่ ต่างทำงานบริษัทข้ามชาติ กินเงินเดือนสูง ได้ส่วนแบ่งจากกงสีอีกทางหนึ่ง จึงถือได้ว่า ในแง่การถือครองเงินสด สบาย และมีมากกว่าพี่ ๆ ดังนั้น การใช้ชีวิตจึงหรูหรากว่า ลูกอยู่โรงเรียนอินเตอร์ และจ้างพี่เลี้ยงเป็นต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษได้ให้มาดูแลลูกตัวเอง
ส่วนพี่ชายทั้งสอง แม้จะมีอำนาจในการบริหารดูแลกิจการ แต่จะตั้งเงินเดือนตัวเองสูงลิบ ๆ เกินฐานของขนาดบริษัทตัวเอง ก็มักจะละอายใจไม่กล้าทำ เกรงข้อครหา จะใช้สอยอะไรก็ห่วงหน้าห่วงหลังถึงฐานะการเงินบริษัท เพราะฉะนั้นเงินจับจ่ายใช้สอย มีไม่เท่าน้องแน่ ดังนั้นการใช้ชีวิตจึงหรูหราน้อยกว่า และส่งลูกเข้าโรงเรียนไทยธรรมดา
2 หลายครอบครัวมีภรรยามากกว่าหนึ่ง และมีลูกหลานมากมาย
ในกงสีแบบเก่า จะเห็นหัวหน้าครอบครัวมีภรรยามากกว่าหนึ่งเป็นเรื่องปกติ เหตุผลที่ practical แต่ไม่ romantic ที่มักจะพบได้บ่อย คือ ได้เติมเต็มความต้องการของสามี แบ่งเบางานของภรรยา และมีลูกหลานมาช่วยงานอีกเป็นจำนวนมาก ในครอบครัวแบบนี้ ส่วนใหญ่ ลูกภรรยาใหญ่ กลาง น้อย จิ๋ว มักมีศักดิ์ศรีของความเป็นลูกเท่าเทียมกัน ใช้นามสกุลเตี่ย หรือ ป๊า เหมือนกัน มีสิทธิในทรัพย์สมบัติเหมือนกัน
บางครอบครัวมีกิจการใหญ่โตระดับประเทศ แต่คนสนิท ๆ กับครอบครัวเท่านั้นที่จะรู้ว่า ลูกคนไหนเป็นลูกภรรยาหนึ่ง หรือ สอง หรือ สาม
ในครอบครัวเชื้อจีนที่ดิฉันรู้จัก ลูก ๆ จากครอบครัวภรรยาใหญ่ แม้จะไม่ชอบภรรยาน้อยของพ่อ แต่กลับรัก และเมตตาเอ็นดู ลูก ๆ ของภรรยาน้อยเหล่านั้นด้วยใจจริง เพราะถือว่า “นี่มันน้องชั้น ลูกป๊าเหมือนกัน” ส่วนเมียป๊าถือเป็นคนอื่น ต่างคนต่างอยู่
3 เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งระหว่างพี่น้อง
มากคน ก็มากความ และมากเรื่อง ถ้าหัวหน้าครอบครัว ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกำหนดว่าใครจะเป็นผู้นำครอบครัวคนถัดไป ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพี่น้องจึงเปราะบางมาก และมีให้เห็นได้บ่อย ๆ
4 ทำธุรกิจทับเส้นกัน
ปัญหานี้ classic ที่สุด เมื่อคิดจะแยกจากกงสีไปทำกิจการส่วนตัว คุณจะไปทำอะไรล่ะ ก็ในเมื่อโตมากับกงสี ทำงานมากับกงสี ย่อมรู้จักธุรกิจกงสีดีที่สุด หลายครอบครัวที่แยกออกไป มักออกไปเปิดอะไรที่เหมือน ที่คล้าย ที่ทับเส้น กับที่ครอบครัวที่ตัวเองจากมาทำอยู่ ทำให้หลายครั้งบานปลายไปเป็นชนวนขัดแย้งใหญ่โต ระดับประเทศก็มีให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์มาตลอด
ยกตัวอย่าง บางบ้านทำน้ำเต้าหู้ ตัวเองก็โตมากับการช่วยคัดถั่ว ล้างถั่ว บดถั่ว ลอกฟองเต้าหู้ออกจากผิวน้ำเต้าหู้ ทำเต้าฮวย ก็ในเมื่อความเชี่ยวชาญมันมาทางนี้เต็ม ๆ จะให้ไปเปิดกิจการใหม่เป็นอื่นไปได้อย่างไรล่ะคะ ลดความเสี่ยงธุรกิจมันก็ต้องทำอะไรที่ตัวเองรู้ ถนัด และเคยทำ ซึ่งก็จะไปซ้ำกับที่กงสีใหญ่ที่เราจากมาทำ มันก็จะทะเลาะกันว่า ใครเป็นสูตรดั้งเดิม ใครเป็นสูตรที่ขยายไป นี่ยังไม่นับการใช้ “ยี่ห้อ” อีก
ตัวอย่างใกล้สุดเลย ก็คือ เพื่อนดิฉันเองนี่ล่ะค่ะ แต่งงานไป มีครอบครัวของตัวเอง ก็อยากสร้างกิจการตัวเอง แล้วจะทำอะไรล่ะ ตัวเองช่วยพ่อมาตลอด ก็เปิดกิจการแบบเดียวกับที่ตัวเองเคยทำตอนอยู่กับกงสีนี่ล่ะ แต่ที่ผิดคือ ไปเปิดทำ หากลุ่มลูกค้าเดียวกับพ่อ และที่สำคัญไม่บอกพ่อตรง ๆ ก่อนทำด้วย นี่ก็หมาง ๆ กับพ่อมาได้พักใหญ่ ๆ แล้ว ไม่รู้เรื่องจะเดินทางไหนอย่างไรต่อไป
แชร์เรื่องกงสีให้ฟัง จากคนที่โตมากับกงสี และรายล้อมด้วยเพื่อนสนิทที่โตมาแบบเดียวกัน
ช่วงนี้ มีกระแส เลือดข้น คนจาง ค่อนข้างร้อนแรง พูดกันว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกงสีในครอบครัวเชื้อสายจีน เลยทำให้รู้สึก “อิน” เริ่มอยากดูเรื่องนี้ขึ้นมาติดหมัด
แต่ไหน ๆ ตัวเอง ก็เกิด เติบโต และแวดล้อมอยู่ด้วยเพื่อนที่โตมาในครอบครัวกงสีทั้งนั้น เลยขอมาเล่า มาแชร์ให้ฟังบ้างดีกว่า ว่าของจริงก็แซ่บ ซึ้ง เว่อร์ และมีปมต่าง ๆ ยุ่บยั่บไม่แพ้ละครเรื่องไหนเลยเหมือนกัน ที่เค้าว่ากันว่า ละครมีพื้นฐานมาจากความเป็นจริงเห็นจะไม่ผิดนัก เพราะเรื่องบางเรื่องของบางครอบครัวที่ดิฉันได้รู้มา หากเอามาเล่าหรือทำเป็นละคร ก็แทบไม่ต้องคิด “บทพูด” เลย เพราะที่พูดกันจริง ๆ มันเจ็บ มันลึก กว่านั้นเยอะ
เช่นเคย ออกตัวไว้ก่อนว่า ประสบการณ์นี้เล่าจาก คนอายุสี่สิบกลาง ๆ ที่มองไปรอบตัว และมองย้อนขึ้นไปถึงสิ่งที่เรียกว่า “กงสี” ในสมัยรุ่นน้า รุ่นแม่ รุ่นอากง อาม่าของตัวเอง หลายเรื่องอาจเป็นเรื่องพ้นสมัยไม่ได้ใช้แล้ว หรือ หลายเรื่องอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับสังคมปัจจุบันไปแล้ว แต่ความเชื่อและธรรมเนียมแบบเดิม ๆ ยังคงฝังรอยให้เห็นในสภาพการณ์ปัจจุบันอย่างแน่นอน
“กงสี” ในความเข้าใจโดยกว้างของบริบทในสังคมไทย หมายถึง การที่ครอบครัวใหญ่ทำกิจการร่วมกัน และหลายครั้งก็อยู่รวมกันภายใต้ครัวเรือน บ้าน หรือ ที่ดินบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่หลักใหญ่ใจความคือ หากทำกิจการค้าใด ๆ ที่ดำเนินการในหมู่เครือญาติเดียวกัน เก็บกินผลประโยชน์ร่วมกันนั้นเรียกว่า “กงสี”
แต่สำหรับบ้านดิฉัน (จีนฮกเกี้ยน) เราออกเสียงว่า “กงซี” คำนี้ ยังมีความหมายถึง บริษัท หรือ การร่วมหุ้นทำอะไรร่วมกันด้วย
ร้อยละ 80-90 ของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนมักเป็นครอบครัวแบบกงสี คือ ทำธุรกิจร่วมกัน ช่วยกันในหมู่พี่ ๆ น้อง ๆ ประเภท อาป๊า (พ่อ) เป็นผู้ก่อตั้ง อาเฮีย (พี่ชาย) ช่วยคุมคนงาน ตั่วเจ้ (พี่สาวใหญ่) คุมบัญชี หยี่เฮีย (พี่ชายคนรอง) คุมการขาย อะไรทำนองนี้
เหตุผลที่คนจีนโพ้นทะเลมักทำธุรกิจคือ ตอนบรรพบุรุษอพยพเสื่อผืนหมอนใบมาจากจีน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้อพยพมักมาจากเมืองหรือมณฑลที่อยู่ใกล้ทะเล เป็นเมืองท่า มีการติดต่อค้าขายมากมาย จึงมีเลือดพ่อค้าค่อนข้างข้น จะมารับราชการหรือก็เป็นไปไม่ได้ เพราะถือใบต่างด้าว อ่านเขียนหนังสือไทยไม่เป็น ส่วนลูกๆ รุ่นที่ ๒ ที่เกิดเมืองไทย จะไปสมัครเรียนทหาร ตำรวจ ก็ไม่ได้อีก เพราะอาป๊า หรือ เตี่ยถือใบต่างด้าว ดังนั้น ส่วนมากจึงมักวน ๆ อยู่กับการช่วยที่บ้านค้าขาย และเมื่อขาย ๆ ไป มีการพัฒนาปรับปรุงขึ้นไปเรื่อย ๆ กิจการกงสี ก็เจริญเติบโต งอกงามจนเป็นกงสี ร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน แสนล้านอย่างที่เราเห็นกัน
ลักษณะและปัญหาของกงสี ที่ดิฉันได้เห็นมามีดังนี้
1. เป็นสังคมแบบผู้ชายเป็นใหญ่ แบบที่เรียกว่า chauvinistic มาก ลูกชายโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกชายคนโต หลานชาย หรือ ญาติวงศ์ที่เป็นผู้ชายสืบสกุลมีความสำคัญมาก ทุกคนในบ้านมักจะต้องให้เกียรติ เพราะถือว่าเป็นผู้สืบสกุล เพราะงั้น สำหรับลูกชายคนโต เวลาแบ่งสมบัติก็มักจะได้แบ่งมากกว่าใครเพื่อน หรือ ไม่ก็เป็นคนถือครองสมบัติทั้งหมดเลย และจัดสรรปันส่วนแบ่งเงินปันผลให้น้อง ๆ
ครอบครัวดิฉัน อากง อาม่า หรือ คุณตา คุณยายฝ่ายแม่ เราทำสวนยาง มีที่รวม ๆ กันของกงสีทั้งหมดประมาณห้าร้อยกว่าไร่
เวลาแบ่ง 250 ไร่ตกเป็นของน้าชายคนโตเราทันที เหตุผลเหมือนจะ make sense ว่า เป็นเพราะ ตอนอากง อาม่าดิฉันสร้างตัวจากคนงานกรีดยาง จนค่อย ๆ สะสมเงินซื้อสวนยาง ตอนนั้นมีลูกเพียงสองคน คือ ลูกสาวคนโต คือ หม่าม้าดิฉัน และ ลูกชายคนโต คือ น้าชายที่พูดถึง มีเพียงลูกสองคนนี้เท่านั้น ที่ลำบากฝ่าฟัน คอยช่วยเดินเก็บน้ำยาง ทำงานหนักเพื่อสร้างตัว น้าคนอื่น ๆ ยังไม่เกิดทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ลูกสองคนที่ลำบากด้วยกันมาควรจะได้มากที่สุด
แต่เนื่องจากคุณแม่ดิฉันเป็นผู้หญิง ที่เมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคน “นอกสกุล” ซึ่งไม่ควรที่จะมีส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกกงสีเลยเสียด้วยซ้ำ แต่ถ้าจะให้ ก็ให้แบบน้อย ๆ
เพราะงั้น 250 ไร่ที่เหลือ จึงต้องไปแบ่งกันระหว่างคุณแม่ดิฉัน (ซึ่งเป็นลูกสาว) กับน้าชายอีก 3 คน ซึ่งเกิดมาทีหลัง และเกิดมาหลังจากที่ครอบครัวกงสีของเราเป็นปึกแผ่นและสบายแล้ว
ฟังดูเหมือนการเป็นลูกชายคนโตในบ้านคนจีนจะสบายที่สุด ?
ก็ไม่เสียทีเดียวค่ะ
อย่างที่พูดกันในเรื่อง “ไอแมงมุม” อำนาจอันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่เสมอ
พี่ชายคนโตในบ้านกงสี มักจะถูกคาดหวังให้รับผิดชอบดูแลความเป็นอยู่ของทุกคนในบ้าน และดูแลน้อง ๆ ให้เรียนจบ อยู่รอดปลอดภัย และคอยเป็นที่พึ่ง คอยช่วยเหลือ เวลานัดกินข้าวประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือ ประจำปี “ตั่วเฮีย” หรือ พี่ชายใหญ่ มักจะต้อง “เปย์” เสมอ
การรับผิดชอบดูแล ก็คงจะโอเคอยู่หรอก ถ้าเผอิญกงสีนั้น เป็นกงสีที่ร่ำรวย แต่หากกงสีนั้น ยังปากกัดตีนถีบ ความรับผิดชอบ บางที ก็แลดูจะหนักหนาเกินกว่าบ่าของ “ตั่วเฮีย” จะรับได้
หลายครอบครัวที่ดิฉันเคยเห็น “ตั่วเฮีย” “ตั่วเจ้” หรือ พี่ชาย พี่สาวคนโต ๆ ต้องเสียสละออกจากโรงเรียนตั้งแต่ตอนจบ ป.4 หรือ มศ.3 เพื่อออกมาทำงานหาเงินส่งน้อง ๆ เรียน
เพื่อนสนิทสมัยมหาวิทยาลัยของดิฉัน เล่าให้ฟังว่า อาป๊าของเธอไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องออกมาทำงานเป็นลูกจ้าง และภายหลังต้องมารับจ้างทำงานเหล็กเพื่อส่งน้องเรียน เงินเดือนอาป๊าเธอตอนนั้น หาได้เท่าไรต้องให้อาม่าหมด เอนเตอร์เทนเมนต์เพียงอย่างเดียวของอาป๊า คือ วันเงินเดือน (ที่ตัวเองทำงาน) ออก อาม่าจะให้เงินไปซื้อโอเลี้ยงหนึ่งแก้ว ดูหนังแขกที่พาหุรัดหนึ่งเรื่อง (ทำไมต้องเป็นหนังแขกดิฉันก็ไม่เข้าใจ) ทำให้อาป๊าเธอ แม้จะหน้าตี๋แต่ก็คุ้นและชอบดูหนังแขกมาจนปัจจุบัน
ผลของการเสียสละแบบนั้น ทำให้น้อง ๆ ได้เรียนหนังสือ และก็ทำได้ดี จนอาผู้ชายคนเล็กของเธอจบวิศวะ และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยชื่อดังย่านลาดกระบังมาจนปัจจุบัน
ส่วนอาป๊าเธอ แม้จะไม่ได้เรียน แต่ความใฝ่เรียนรู้การทำงานจากของจริง ขยัน อดทน และประหยัดจนติดเป็นนิสัยประจำตัว ก็ทำให้เป็นเจ้าของร้านทำเหล็กดัด และขยายกิจการไปได้ใหญ่โตในที่สุด
บั้นปลายของชีวิต ป๊าเธอไปทำสวนอยู่แถวรังสิตเป็นงานอดิเรก (แม้เป็นงานอดิเรก ก็ก่อดอก ก่อผลได้ดีตามเคย) และควักเงินซื้อที่ครั้งละเกือบร้อยไร่ในย่านนั้นด้วยเงินสด
ส่วนลูก ๆ ป๊าที่เรียนไม่สูง ก็ทำกิจการของตัวเอง บางคนไปได้ดีถึงขนาดมีกิจการ ที่ดิน มูลค่าหลายพันล้าน ส่วนที่เรียนสูงๆ หน่อย ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำงานกินเงินเดือน หรือ เล่นหุ้นได้ดอก ได้ผลกันสบาย ๆ ไป
ในสังคมปัจจุบัน สำหรับรุ่นที่สอง และสามของลูกจีนที่โตในเมืองไทย ส่วนใหญ่มักได้รับการศึกษาที่ดี จบจากโรงเรียนฝรั่ง มหาวิทยาลัยดี ๆ มีโอกาสทำงานในบริษัทฝรั่ง หรือ บริษัทข้ามชาติที่เงินเดือนดี สวัสดิการ มีวันหยุดชัดเจน ดังนั้น จึงหาคนอยากกลับมาทำงานกงสียาก เพราะงานกงสี (หลายที่) ยังไม่เป็นระบบ ทำงานอาทิตย์ละหกวัน (เป็นอย่างต่ำ) ไม่เป็นเวล่ำเวลา ลูกที่หันกลับมาทำงานให้กงสี ทั้งที่มีที่อื่นดี ๆ ให้เลือกทำ ในบางกรณี จึงถือว่า เป็นการเสียสละ เพราะทำงานให้กงสี เวลาได้ปันผล คุณก็จะต้องเอามาแบ่งพี่น้องญาติมิตรในกงสีที่ทำงานข้างนอก เท่ากับพวกนั้น ได้เงินสองเด้ง เด้งแรกจากเงินเดือนตัวเอง และ เด้งสองคือ ปันผลจากกงสี
เรื่องแบบนี้ ถ้าคุยเรื่องผลประโยชน์ลงตัว เข้าใจกัน ก็ไม่มีปัญหา แต่หากคุยกันไม่เข้าใจ ปัญหาความบาดหมางจะเกิดได้มาก
ครอบครัวเพื่อนดิฉันครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายทั้งหมด ทุกคนเรียนดี จบที่ดี ๆ กันหมด พี่ชายใหญ่จบวิศวะจากมหาวิทยาลัยปิดที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง แต่ด้วยภาระแห่งความเป็นพี่คนโต เมื่อพ่อเสียชีวิต ก็ต้องออกมาคุมโรงงาน กับน้องชายคนที่สอง ส่วนน้องสาม น้องสี่ ต่างทำงานบริษัทข้ามชาติ กินเงินเดือนสูง ได้ส่วนแบ่งจากกงสีอีกทางหนึ่ง จึงถือได้ว่า ในแง่การถือครองเงินสด สบาย และมีมากกว่าพี่ ๆ ดังนั้น การใช้ชีวิตจึงหรูหรากว่า ลูกอยู่โรงเรียนอินเตอร์ และจ้างพี่เลี้ยงเป็นต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษได้ให้มาดูแลลูกตัวเอง
ส่วนพี่ชายทั้งสอง แม้จะมีอำนาจในการบริหารดูแลกิจการ แต่จะตั้งเงินเดือนตัวเองสูงลิบ ๆ เกินฐานของขนาดบริษัทตัวเอง ก็มักจะละอายใจไม่กล้าทำ เกรงข้อครหา จะใช้สอยอะไรก็ห่วงหน้าห่วงหลังถึงฐานะการเงินบริษัท เพราะฉะนั้นเงินจับจ่ายใช้สอย มีไม่เท่าน้องแน่ ดังนั้นการใช้ชีวิตจึงหรูหราน้อยกว่า และส่งลูกเข้าโรงเรียนไทยธรรมดา
2 หลายครอบครัวมีภรรยามากกว่าหนึ่ง และมีลูกหลานมากมาย
ในกงสีแบบเก่า จะเห็นหัวหน้าครอบครัวมีภรรยามากกว่าหนึ่งเป็นเรื่องปกติ เหตุผลที่ practical แต่ไม่ romantic ที่มักจะพบได้บ่อย คือ ได้เติมเต็มความต้องการของสามี แบ่งเบางานของภรรยา และมีลูกหลานมาช่วยงานอีกเป็นจำนวนมาก ในครอบครัวแบบนี้ ส่วนใหญ่ ลูกภรรยาใหญ่ กลาง น้อย จิ๋ว มักมีศักดิ์ศรีของความเป็นลูกเท่าเทียมกัน ใช้นามสกุลเตี่ย หรือ ป๊า เหมือนกัน มีสิทธิในทรัพย์สมบัติเหมือนกัน
บางครอบครัวมีกิจการใหญ่โตระดับประเทศ แต่คนสนิท ๆ กับครอบครัวเท่านั้นที่จะรู้ว่า ลูกคนไหนเป็นลูกภรรยาหนึ่ง หรือ สอง หรือ สาม
ในครอบครัวเชื้อจีนที่ดิฉันรู้จัก ลูก ๆ จากครอบครัวภรรยาใหญ่ แม้จะไม่ชอบภรรยาน้อยของพ่อ แต่กลับรัก และเมตตาเอ็นดู ลูก ๆ ของภรรยาน้อยเหล่านั้นด้วยใจจริง เพราะถือว่า “นี่มันน้องชั้น ลูกป๊าเหมือนกัน” ส่วนเมียป๊าถือเป็นคนอื่น ต่างคนต่างอยู่
3 เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งระหว่างพี่น้อง
มากคน ก็มากความ และมากเรื่อง ถ้าหัวหน้าครอบครัว ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกำหนดว่าใครจะเป็นผู้นำครอบครัวคนถัดไป ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพี่น้องจึงเปราะบางมาก และมีให้เห็นได้บ่อย ๆ
4 ทำธุรกิจทับเส้นกัน
ปัญหานี้ classic ที่สุด เมื่อคิดจะแยกจากกงสีไปทำกิจการส่วนตัว คุณจะไปทำอะไรล่ะ ก็ในเมื่อโตมากับกงสี ทำงานมากับกงสี ย่อมรู้จักธุรกิจกงสีดีที่สุด หลายครอบครัวที่แยกออกไป มักออกไปเปิดอะไรที่เหมือน ที่คล้าย ที่ทับเส้น กับที่ครอบครัวที่ตัวเองจากมาทำอยู่ ทำให้หลายครั้งบานปลายไปเป็นชนวนขัดแย้งใหญ่โต ระดับประเทศก็มีให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์มาตลอด
ยกตัวอย่าง บางบ้านทำน้ำเต้าหู้ ตัวเองก็โตมากับการช่วยคัดถั่ว ล้างถั่ว บดถั่ว ลอกฟองเต้าหู้ออกจากผิวน้ำเต้าหู้ ทำเต้าฮวย ก็ในเมื่อความเชี่ยวชาญมันมาทางนี้เต็ม ๆ จะให้ไปเปิดกิจการใหม่เป็นอื่นไปได้อย่างไรล่ะคะ ลดความเสี่ยงธุรกิจมันก็ต้องทำอะไรที่ตัวเองรู้ ถนัด และเคยทำ ซึ่งก็จะไปซ้ำกับที่กงสีใหญ่ที่เราจากมาทำ มันก็จะทะเลาะกันว่า ใครเป็นสูตรดั้งเดิม ใครเป็นสูตรที่ขยายไป นี่ยังไม่นับการใช้ “ยี่ห้อ” อีก
ตัวอย่างใกล้สุดเลย ก็คือ เพื่อนดิฉันเองนี่ล่ะค่ะ แต่งงานไป มีครอบครัวของตัวเอง ก็อยากสร้างกิจการตัวเอง แล้วจะทำอะไรล่ะ ตัวเองช่วยพ่อมาตลอด ก็เปิดกิจการแบบเดียวกับที่ตัวเองเคยทำตอนอยู่กับกงสีนี่ล่ะ แต่ที่ผิดคือ ไปเปิดทำ หากลุ่มลูกค้าเดียวกับพ่อ และที่สำคัญไม่บอกพ่อตรง ๆ ก่อนทำด้วย นี่ก็หมาง ๆ กับพ่อมาได้พักใหญ่ ๆ แล้ว ไม่รู้เรื่องจะเดินทางไหนอย่างไรต่อไป