RC Club Safety Riding Tips
สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกๆคนที่ติดตามชมรมฝึกขับขี่ปลอดภัย RC Club สำหรบวันนี้ RC Club Safety Riding Tips จะขอพูดถึงอุปกรณ์ หรือเครื่องแต่งกายอีกชิ้นที่มีความสำคัญมากๆ และเราสวมใส่เพื่อการขับขี่รถจักรยานยนต์กันครับ นั่นก็คือ “รองเท้า” ครับผม
รองเท้า ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า รอง เท้า คือเอาไว้ใต้ฝ่าเท้าเรานั่นเอง เพื่อป้องกันฝ้าเท้าเราจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อยู่บนพื้นไม่ให้มาทำอันตรายได้ เราใช้ใส่เดินเล่น ทำงาน ทำกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายในชีวิตของเรา ซึ่งมีความแตกต่างกันมากมาย รองเท้าเองจึงมีการพัฒนาการเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น รวมถึงที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือเพื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ครับ รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับสวมใส่ขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น นอกจากจะมีดีเรื่องลดการบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ดีมากแล้ว ยังมีดีเรื่องความสวยงาม ความเท่ และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วยครับ
หลายๆคนคงเคยผ่านตากันมาบ้างกับการแนะนำหรือให้ข้อมูลรองเท้าชนิดต่างๆที่ใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ จากสื่อต่างๆครับ แต่วันนี้จะขอเขียนบอกเล่าสู่กันฟังในแบบฉบับของชมรมละกันครับ โดยทั่วไปแล้วรองเท้าที่สวมใส่ขับขี่กันจะแบ่งได้หลายแบบประมาณนี้ครับผม
แบบ A : รองเท้าแตะ หรือรองเท้ายาง
เป็นรองเท้าที่มีมายาวนาน สำหรับการใช้ทั่วๆไปครอบคลุมทุกรูปแบบเน้นว่าทุกรูปแบบจริงๆนะครับ ก่อนจะมีการพัฒนารองเท้าให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น วัสดุหลักทำจากยางธรรมชาติมีความยืดหยุ่น นุ่มสบายเท้า (แต่มีบางชนิดทำมาจากวัสดุผสมหรือหนัง ด้วยครับ) ป้องการฝ่าเท้าเราจากปัจจัยอันตรายบนพื้น มีแบบหูหนีบ และแบบสวมหัวเท้า ไม่มีรัดส้น เมื่อนำมาใช้เพื่อขับขี่รถจักรยานยนต์แล้ว ถือว่าไม่เหมาะสมสุดๆเพราะขาดความกระชับ ลื่นหลุดได้ง่าย ยิ่งถ้าเจอน้ำไม่ต้องพูดถึง และเมื่อเกิดการกระแทกการเสียดสีขึ้น รองเท้าชนิดนี้แทบไม่มีอะไรปกป้องหรือช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้เลย แค่ขี่ๆไปเจอหินก้อนเล็กๆกระเด็นมาโดนเท้าก็เจ็บแทบแย่แล้วครับถ้าก้อนใหญ่มีแตกมีหักกันได้เลยล่ะ เรียกว่าโดนอะไรก็โดนเต็มๆ ครับ แค่งัดเกียร์ก็ยังเจ็บนะผมว่า สรุปคือไม่เหมาะกับการนำมาสวมใส่ขับขี่อย่างยิ่ง และไม่แนะนำให้สวมใส่ขับขี่เลยครับ
แบบ B : รองเท้ายางหุ้มส้น
วิวัฒนาการขึ้นต่อมาของรองเท้าแตะหรือรองเท้ายาง มักจะเป็นแบบสวม ที่มีการออกแบบให้ตัวรองเท้าครอบคลุมเท้ามากขึ้นตั้งแต่นิ้วเท้าไปถึงส้นเท้า หรือมีการใช้วัสดุอื่นผสมเข้าไป เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม มันกระชับมากยิ่งขึ้น ให้ความคล่องตัวในการใช้งานได้ดีกว่า รวมถึงให้การปกป้องเท้าได้ดีกว่า และยังสวยงามอีกด้วย แต่จะเน้นไปทำการใช้งานลุยๆได้ เปียกน้ำได้ ระบายอากาศระบายน้ำได้ดี ดังนั้นตัวรองเท้าชนิดนี้จะมีรูหรือร่องระบายเยอะมาก เมื่อนำมาใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์แล้ว หากเกิดการกระแทก หรือเสียดสีขึ้น จะทำให้ตัวรองเท้ามีการฉีกขาดได้ง่าย หรือยังมีโอกาสที่จะโดนเศษหินเศษวัสดุกระเด็นโดนเท้าเราผ่านช่องเหล่านี้ สรุปแล้วถ้าจำเป็นต้องขี่รถจักรยานยนต์แล้วสวมใส่รองเท้าชนิดนี้ อยากแนะนำว่าควรเป็นการเดินทางใกล้ๆ ใช้ความเร็วต่ำ จะอันตรายน้อยสุดครับ ยังดีกว่าแบบ A ที่ไม่แนะนำให้สวมใส่ขี่เลยครับผม
แบบ C : รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ
รองเท้าที่มีการใช้วัสดุผ้าหรือวัสดุสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสม เพื่อหุ้มเท้าได้อย่างมิดชิดตั้งแต่นิ้วเท้าไปถึงส้นเท้าครับ ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ดีกว่า แบบ A,B มากครับ โดยมีการพัฒนาแยกให้เหมาะสมตามการใช้งานรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ใช้ใส่เดินเล่นที่ต้องการความสบาย, ใส่ทำงานทั่วไปต้องการความสุภาพ, ใส่ลุยๆต้องการความทนทาน, ใส่ขับขี่รถต้องการความกระชับ, ใส่เล่นกีฬาต้องความเบาและยึดเกาะ เป็นต้น แต่พื้นรองเท้าหลักๆก็ยังเป็นวัสดุจากยางธรรมชาติครับ แต่อาจจะมีส่วนประกอบที่เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่พิเศษ เช่นเหนียว, ยืดหยุ่น, เบา กว่ายางธรรมชาติครับ โดยรวมแล้วเป็นรองเท้าที่ใส่ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ดี และมีความปลอดภัยมากขึ้นในระดับต้นๆ หาซื้อได้ง่าย มีหลายราคา เลือกได้ตามความเหมาะสมครับจึงขอแนะนำว่ารองเท้าชนิดนี้ควรสวมใส่เมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์และควรเลือกรองเท้าที่มีวัสดุหนาแน่นและเหนียวเป็นอย่างน้อยครับผม
แบบ D : รองเท้าหนังหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ
อีกรูปแบบของรองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อครับที่ทำมาจาก หนังสัตว์ หรือหนังเทียม ส่วนมากจะเห็นได้จากร้องเท้าที่ใช้สำหรับทำงาน หรือการแต่งกายที่ต้องการความสุภาพตามสังคมนิยมเป็นหลัก ที่เราเรียกสั้นๆว่ารองเท้าคัชชู และมีชนิดอื่นที่พัฒนาแยกออกไปเพื่อการใช้งานที่เน้นความแข็งแรงทนทานมากกว่าเช่นรองเท้ากิจกรรมกลางแจ้ง ที่ใช้ลุยป่าลุยเขา หรือรองเท้านิรภัย ที่ใช้ในโรงงานต่างๆแม้กระทั่งทางทหาร ที่เสริมวัสดุอื่นเข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เช่นเหล็ก, ยางสังเคราะห์, พลาสติก หรือแม้แต่ คาร์บอนไฟเบอร์ ครับ แต่ถ้าจะนำมาสวมใส่ใช่เพื่อการขับขี่รถจักรยานยนต์แล้ว รองเท้าหนังแบบหุ้มส้นปกติหรือที่เรียกกันว่า รองเท้าคัชชู นั้นไม่แนะนำครับ เพราะวัสดุมักจะมีแค่หนัง เท่านั้น มีความบาง ไม่มีวัสดุรองรับอื่นๆเลย และการตัดเย็บการประกอบก็ไม่ได้เน้นที่ความคงทน ถ้าต้องใส่รองเท้าประเภทนี้จริงๆขอแนะนำไปที่รองเท้าแบบนิรภัยหรือแบบที่ใช้เดินทางท่องเที่ยวลุยๆมากกว่าครับ เพราะจะมีความแข็งแรงทนทาน ต่อการกระแทกการเสียดสีได้มากกว่าครับ
แบบ E : รองเท้าข้อสั้นสำหรับขี่รถจักรยานยนต์
เริ่มต้นด้วยข้อสั้น สำหรับใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ ออกแบบมาตรงวัตถุประสงค์ครับ ทั้งเรื่องสรีระที่เหมาะกับรูปเท้าให้ความกระชับมาก, วัสดุที่ใช้ซึ่งมีทั้งผ้าสังเคราะห์, ยาง, หนังแท้, หนังเทียม, พลาสติก, คาร์บอนไฟเบอร์, อลูมิเนียม หรือแม้แต่ไทเทเนียม ส่งผลให้มีน้ำหนักที่เบา ทนต่อการกระแทก ทนต่อการเสียดสี ต้านทานการบิดงอ แต่ยังให้ความคล่องตัวสูง รวมๆแล้วเพื่อสร้างการปกป้องที่ดีมากๆให้กับเท้าขณะขับขี่ไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล และมีการออกแบบที่สวยงาม ไม่แปลกที่จะใส่เที่ยวในชีวิตประจำวันก็ยังได้ เราเลือกตามความเหมาะสมได้ครับ เน้นวัสดุแบบไหน การปกป้องก็อาจจะต่างกันไปบ้างตามงบประมาณ ตามการออกแบบและวัสดุที่ใช้ นี่คือรองเท้าที่อยากจะแนะนำให้สวมใส่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มากๆครับ
แบบ F : รองเท้าข้อยาวสำหรับขี่รถจักรยานยนต์ (Touring)
เป็นรองเท้าที่ออกแบบมาใช้ในการขับขี่เดินทางท่องเที่ยวเน้นไปที่ความสบายในการสวมใส่ กระชับ มีความคล่องตัว แต่ยังมีประสิทธิภาพในการปกป้องเท้า รวมถึงบริเวณที่สูงขึ้นมาอีกด้วย เรามักเรียกกันว่ารองเท้าทัวร์ริ่ง ครับ มักจะออกแบบและใช้วัสดุที่มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง ระบาย หรือเก็บอุณหภูมิได้ดี จะไม่ค่อยใช้วัสดุเนื้อแข็งมากเท่าไหร่ครับ เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางระยะไกลๆ ลดอาการปวดเมื่อยจากการบีบรัดได้ดี และเพื่อการดูแลการเก็บรักษาที่ทำได้ง่าย เพราะรองเท้าประเภทนี้มักต้องเจอกับสภาพอากาศที่หลากหลายมากระหว่างการเดินทาง ทั้งความร้อน, ความเปียกชื้น, ฝุ่นละออง แต่ยังคงไว้ซึ่งการปกป้องที่ดีและให้ประสิทธิภาพในการควบคุมรถจักรยานยนต์อีกด้วย ดังนั้นหากต้องการขับขี่เดินทางไกลรองเท้าชนิดนี้ก็เป็นตัวเลือกที่แนะนำเลยครับ
แบบ G : รองเท้าข้อยาวสำหรับขี่รถจักรยานยนต์ (Racing)
ที่สุดของการออกแบบรองเท้าสำหรับขับขี่รถจักรยานยนต์ทางเรียบ เพื่อการปกป้องสูงสุดตั้งแต่ปลายนิ้วไปจนถึงหน้าแข้งเลยทีเดียวเพราะการขับขี่แบบนี้ใช้ความเร็วสูงมาก มันใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการออกแบบและผลิต วัสดุหลากหลายชนิดที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นหนังแท้, พลาสติก, คาร์บอนไฟเบอร์, อลูมีเนียม หรือแม้แต่ ไทเทเนียม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการปกป้อง เพราะมีความกระชับลดการเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ มีความเหนียวยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อแรงเสียดสี ดูดซับแรงกระแทกได้ดี ลดการบิดตัว ทั้งหมดนี้ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการขับขี่ให้ดีขึ้นอีกด้วย และยังมีรูปแบบที่โดดเด่นสวยงาม เรามักจะเห็นใช้กันบ่อยๆในการขับขี่แข่งขันรถจักรยานยนต์ทางเรียบทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติ จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นคนหันมาใช้รองเท้าประเภทนี้ เพื่อลงฝึกซ้อมในสนามแข่งขัน อาจจะมีบ้างที่ใช้ในการขับขี่ทั่วไปหรือขับขี่ท่องเที่ยว ครับ จึงอยากบอกว่าถ้าขี่ทางเรียบแล้วล่ะก็รองเท้าประเภทนี้ปกป้องได้ดีมากๆเลยครับผมแนะนำเป็นตัวเลือกแรกเลยครับ
แบบ H : รองเท้าข้อยาวสำหรับขี่รถจักรยานยนต์ (Motocross)
อีกรูปแบบของรองเท้าสำหรับการขับขี่ทางวิบาก ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากๆต่างจากรองเท้าประเภทอื่นอย่างชัดเจน เพราะการขับขี่ประเภทนี้ไม่ใช้ความเร็วสูง แต่จะมีการกระแทกทั้งในแนวตั้งและแนวนอนมากกว่าการขับขี่ประเภทอื่นๆ ตัวจากการล้ม การชน การกระแทกจาก วัตถุรอบตัวเช่นหิน ต้นไม้ เป็นต้น รองเท้าจึงออกแบบมาเพื่อรองรับการกระแทกเป็นหลักมีลักษณะคล้ายเฝือกแข็ง ปิดตั้งแต่ปลายนิ้วเท้า ไปจนถึงหน้าแข้งใต้หัวเข่า ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง มีความเหนียว แทบไม่มีความยืดหยุ่น ทั้งพลาสติก, ยางแข็ง, เหล็ก, อลูมีเนียม และมีผ้าหรือวัสดุสังเคราะห์รองรับภายในอีกชั้น แล้วแต่ชนิดแล้วแต่รุ่น เราจะเห็นได้ในการขับขี่แบบวิบากต่างๆ ทั้งในสนามแข่งแบบปิด หรือการขับขี่ท่องเที่ยวธรรมชาติเข้าป่าขึ้นเขาลงห้วยซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะ จะแทบไม่เห็นใครใส่ขับขี่รองเท้าชนิดนี้ในการขับขี่ใข้งานหรือท่องเที่ยวทั่วไปครับ
ในฐานะตัวแทน ชมรมฝึกขับขี่ปลอดภัย RC Club ทั้งหมดนี้เป็นการแบ่งตามแบบฉบับของชมรมเท่านั้นนะครับเพื่อความเข้าใจง่ายๆเบื้องต้นให้เพื่อนๆเอาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้าดีๆมาใส่ให้เหมาะสมกับการใช้งานและคุ้มค่าเงินที่จ่ายไปครับ และในปัจจุบันรองเท้ามีการพัฒนาแยกย่อยประเภทออกไปอีกมาก เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการขับขี่ที่มีหลากหลายมากขึ้นด้วยครับ สุดท้ายผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆท่านบ้างไม่มากก็น้อยครับ หากเนื้อหามีความผิดพลาดบกพร่องประการใดทางผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ ฝากติดตามผลงานต่อๆไปและเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ ด้วยการ กด Like, Comment, Share กันได้นะครับผม ขอบคุณมากครับ...^^
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตด้วยครับ
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ข้อมูลสาระดีๆจากทางชมรม ได้ทั้ง Facebook Fan Page RC Club, Instagram RC Club Thailand และ Youtube Channel RC Club Safety Riding Channel ของพวกเราชมรมฝึกขับขี่ปลอดภัย RC Club ได้ที่นี่ครับ
Instagram RC Club Thailand
https://www.instagram.com/rcclubthailand/
Youtube Channel
https://www.youtube.com/c/RCClubSafetyRidingChannel
Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/RC-Club-287004661469743/?ref=hl
Google Map RC Club
https://goo.gl/maps/ux1V9qMJuhJ2
#เพราะยางไม่ได้มีแค่ตรงกลางให้ใช้
#ความปลอดภัยไม่มีคำว่าเดี๋ยวก่อน
#ความปลอดภัยเริ่มต้นที่ตัวเรา
#ยิ่งเรียนยิ่งรู้ยิ่งฝึกยิ่งชำนาญยิ่งทำต่อเนื่องยิ่งมากประสบการณ์
#RCClub
#SafetyRidingTips
#SafetyRidingCourse
#SafetyRidingExperience
#SafeRideSafeLife
#RideForLife
#NoBikeNoLife
RC Club Safety Riding Tips 3
สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกๆคนที่ติดตามชมรมฝึกขับขี่ปลอดภัย RC Club สำหรบวันนี้ RC Club Safety Riding Tips จะขอพูดถึงอุปกรณ์ หรือเครื่องแต่งกายอีกชิ้นที่มีความสำคัญมากๆ และเราสวมใส่เพื่อการขับขี่รถจักรยานยนต์กันครับ นั่นก็คือ “รองเท้า” ครับผม
รองเท้า ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า รอง เท้า คือเอาไว้ใต้ฝ่าเท้าเรานั่นเอง เพื่อป้องกันฝ้าเท้าเราจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อยู่บนพื้นไม่ให้มาทำอันตรายได้ เราใช้ใส่เดินเล่น ทำงาน ทำกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายในชีวิตของเรา ซึ่งมีความแตกต่างกันมากมาย รองเท้าเองจึงมีการพัฒนาการเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น รวมถึงที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือเพื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ครับ รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับสวมใส่ขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น นอกจากจะมีดีเรื่องลดการบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ดีมากแล้ว ยังมีดีเรื่องความสวยงาม ความเท่ และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วยครับ
หลายๆคนคงเคยผ่านตากันมาบ้างกับการแนะนำหรือให้ข้อมูลรองเท้าชนิดต่างๆที่ใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ จากสื่อต่างๆครับ แต่วันนี้จะขอเขียนบอกเล่าสู่กันฟังในแบบฉบับของชมรมละกันครับ โดยทั่วไปแล้วรองเท้าที่สวมใส่ขับขี่กันจะแบ่งได้หลายแบบประมาณนี้ครับผม
แบบ A : รองเท้าแตะ หรือรองเท้ายาง
เป็นรองเท้าที่มีมายาวนาน สำหรับการใช้ทั่วๆไปครอบคลุมทุกรูปแบบเน้นว่าทุกรูปแบบจริงๆนะครับ ก่อนจะมีการพัฒนารองเท้าให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น วัสดุหลักทำจากยางธรรมชาติมีความยืดหยุ่น นุ่มสบายเท้า (แต่มีบางชนิดทำมาจากวัสดุผสมหรือหนัง ด้วยครับ) ป้องการฝ่าเท้าเราจากปัจจัยอันตรายบนพื้น มีแบบหูหนีบ และแบบสวมหัวเท้า ไม่มีรัดส้น เมื่อนำมาใช้เพื่อขับขี่รถจักรยานยนต์แล้ว ถือว่าไม่เหมาะสมสุดๆเพราะขาดความกระชับ ลื่นหลุดได้ง่าย ยิ่งถ้าเจอน้ำไม่ต้องพูดถึง และเมื่อเกิดการกระแทกการเสียดสีขึ้น รองเท้าชนิดนี้แทบไม่มีอะไรปกป้องหรือช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้เลย แค่ขี่ๆไปเจอหินก้อนเล็กๆกระเด็นมาโดนเท้าก็เจ็บแทบแย่แล้วครับถ้าก้อนใหญ่มีแตกมีหักกันได้เลยล่ะ เรียกว่าโดนอะไรก็โดนเต็มๆ ครับ แค่งัดเกียร์ก็ยังเจ็บนะผมว่า สรุปคือไม่เหมาะกับการนำมาสวมใส่ขับขี่อย่างยิ่ง และไม่แนะนำให้สวมใส่ขับขี่เลยครับ
แบบ B : รองเท้ายางหุ้มส้น
วิวัฒนาการขึ้นต่อมาของรองเท้าแตะหรือรองเท้ายาง มักจะเป็นแบบสวม ที่มีการออกแบบให้ตัวรองเท้าครอบคลุมเท้ามากขึ้นตั้งแต่นิ้วเท้าไปถึงส้นเท้า หรือมีการใช้วัสดุอื่นผสมเข้าไป เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม มันกระชับมากยิ่งขึ้น ให้ความคล่องตัวในการใช้งานได้ดีกว่า รวมถึงให้การปกป้องเท้าได้ดีกว่า และยังสวยงามอีกด้วย แต่จะเน้นไปทำการใช้งานลุยๆได้ เปียกน้ำได้ ระบายอากาศระบายน้ำได้ดี ดังนั้นตัวรองเท้าชนิดนี้จะมีรูหรือร่องระบายเยอะมาก เมื่อนำมาใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์แล้ว หากเกิดการกระแทก หรือเสียดสีขึ้น จะทำให้ตัวรองเท้ามีการฉีกขาดได้ง่าย หรือยังมีโอกาสที่จะโดนเศษหินเศษวัสดุกระเด็นโดนเท้าเราผ่านช่องเหล่านี้ สรุปแล้วถ้าจำเป็นต้องขี่รถจักรยานยนต์แล้วสวมใส่รองเท้าชนิดนี้ อยากแนะนำว่าควรเป็นการเดินทางใกล้ๆ ใช้ความเร็วต่ำ จะอันตรายน้อยสุดครับ ยังดีกว่าแบบ A ที่ไม่แนะนำให้สวมใส่ขี่เลยครับผม
แบบ C : รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ
รองเท้าที่มีการใช้วัสดุผ้าหรือวัสดุสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสม เพื่อหุ้มเท้าได้อย่างมิดชิดตั้งแต่นิ้วเท้าไปถึงส้นเท้าครับ ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ดีกว่า แบบ A,B มากครับ โดยมีการพัฒนาแยกให้เหมาะสมตามการใช้งานรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ใช้ใส่เดินเล่นที่ต้องการความสบาย, ใส่ทำงานทั่วไปต้องการความสุภาพ, ใส่ลุยๆต้องการความทนทาน, ใส่ขับขี่รถต้องการความกระชับ, ใส่เล่นกีฬาต้องความเบาและยึดเกาะ เป็นต้น แต่พื้นรองเท้าหลักๆก็ยังเป็นวัสดุจากยางธรรมชาติครับ แต่อาจจะมีส่วนประกอบที่เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่พิเศษ เช่นเหนียว, ยืดหยุ่น, เบา กว่ายางธรรมชาติครับ โดยรวมแล้วเป็นรองเท้าที่ใส่ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ดี และมีความปลอดภัยมากขึ้นในระดับต้นๆ หาซื้อได้ง่าย มีหลายราคา เลือกได้ตามความเหมาะสมครับจึงขอแนะนำว่ารองเท้าชนิดนี้ควรสวมใส่เมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์และควรเลือกรองเท้าที่มีวัสดุหนาแน่นและเหนียวเป็นอย่างน้อยครับผม
แบบ D : รองเท้าหนังหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ
อีกรูปแบบของรองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อครับที่ทำมาจาก หนังสัตว์ หรือหนังเทียม ส่วนมากจะเห็นได้จากร้องเท้าที่ใช้สำหรับทำงาน หรือการแต่งกายที่ต้องการความสุภาพตามสังคมนิยมเป็นหลัก ที่เราเรียกสั้นๆว่ารองเท้าคัชชู และมีชนิดอื่นที่พัฒนาแยกออกไปเพื่อการใช้งานที่เน้นความแข็งแรงทนทานมากกว่าเช่นรองเท้ากิจกรรมกลางแจ้ง ที่ใช้ลุยป่าลุยเขา หรือรองเท้านิรภัย ที่ใช้ในโรงงานต่างๆแม้กระทั่งทางทหาร ที่เสริมวัสดุอื่นเข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เช่นเหล็ก, ยางสังเคราะห์, พลาสติก หรือแม้แต่ คาร์บอนไฟเบอร์ ครับ แต่ถ้าจะนำมาสวมใส่ใช่เพื่อการขับขี่รถจักรยานยนต์แล้ว รองเท้าหนังแบบหุ้มส้นปกติหรือที่เรียกกันว่า รองเท้าคัชชู นั้นไม่แนะนำครับ เพราะวัสดุมักจะมีแค่หนัง เท่านั้น มีความบาง ไม่มีวัสดุรองรับอื่นๆเลย และการตัดเย็บการประกอบก็ไม่ได้เน้นที่ความคงทน ถ้าต้องใส่รองเท้าประเภทนี้จริงๆขอแนะนำไปที่รองเท้าแบบนิรภัยหรือแบบที่ใช้เดินทางท่องเที่ยวลุยๆมากกว่าครับ เพราะจะมีความแข็งแรงทนทาน ต่อการกระแทกการเสียดสีได้มากกว่าครับ
แบบ E : รองเท้าข้อสั้นสำหรับขี่รถจักรยานยนต์
เริ่มต้นด้วยข้อสั้น สำหรับใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ ออกแบบมาตรงวัตถุประสงค์ครับ ทั้งเรื่องสรีระที่เหมาะกับรูปเท้าให้ความกระชับมาก, วัสดุที่ใช้ซึ่งมีทั้งผ้าสังเคราะห์, ยาง, หนังแท้, หนังเทียม, พลาสติก, คาร์บอนไฟเบอร์, อลูมิเนียม หรือแม้แต่ไทเทเนียม ส่งผลให้มีน้ำหนักที่เบา ทนต่อการกระแทก ทนต่อการเสียดสี ต้านทานการบิดงอ แต่ยังให้ความคล่องตัวสูง รวมๆแล้วเพื่อสร้างการปกป้องที่ดีมากๆให้กับเท้าขณะขับขี่ไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล และมีการออกแบบที่สวยงาม ไม่แปลกที่จะใส่เที่ยวในชีวิตประจำวันก็ยังได้ เราเลือกตามความเหมาะสมได้ครับ เน้นวัสดุแบบไหน การปกป้องก็อาจจะต่างกันไปบ้างตามงบประมาณ ตามการออกแบบและวัสดุที่ใช้ นี่คือรองเท้าที่อยากจะแนะนำให้สวมใส่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มากๆครับ
แบบ F : รองเท้าข้อยาวสำหรับขี่รถจักรยานยนต์ (Touring)
เป็นรองเท้าที่ออกแบบมาใช้ในการขับขี่เดินทางท่องเที่ยวเน้นไปที่ความสบายในการสวมใส่ กระชับ มีความคล่องตัว แต่ยังมีประสิทธิภาพในการปกป้องเท้า รวมถึงบริเวณที่สูงขึ้นมาอีกด้วย เรามักเรียกกันว่ารองเท้าทัวร์ริ่ง ครับ มักจะออกแบบและใช้วัสดุที่มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง ระบาย หรือเก็บอุณหภูมิได้ดี จะไม่ค่อยใช้วัสดุเนื้อแข็งมากเท่าไหร่ครับ เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางระยะไกลๆ ลดอาการปวดเมื่อยจากการบีบรัดได้ดี และเพื่อการดูแลการเก็บรักษาที่ทำได้ง่าย เพราะรองเท้าประเภทนี้มักต้องเจอกับสภาพอากาศที่หลากหลายมากระหว่างการเดินทาง ทั้งความร้อน, ความเปียกชื้น, ฝุ่นละออง แต่ยังคงไว้ซึ่งการปกป้องที่ดีและให้ประสิทธิภาพในการควบคุมรถจักรยานยนต์อีกด้วย ดังนั้นหากต้องการขับขี่เดินทางไกลรองเท้าชนิดนี้ก็เป็นตัวเลือกที่แนะนำเลยครับ
แบบ G : รองเท้าข้อยาวสำหรับขี่รถจักรยานยนต์ (Racing)
ที่สุดของการออกแบบรองเท้าสำหรับขับขี่รถจักรยานยนต์ทางเรียบ เพื่อการปกป้องสูงสุดตั้งแต่ปลายนิ้วไปจนถึงหน้าแข้งเลยทีเดียวเพราะการขับขี่แบบนี้ใช้ความเร็วสูงมาก มันใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการออกแบบและผลิต วัสดุหลากหลายชนิดที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นหนังแท้, พลาสติก, คาร์บอนไฟเบอร์, อลูมีเนียม หรือแม้แต่ ไทเทเนียม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการปกป้อง เพราะมีความกระชับลดการเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ มีความเหนียวยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อแรงเสียดสี ดูดซับแรงกระแทกได้ดี ลดการบิดตัว ทั้งหมดนี้ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการขับขี่ให้ดีขึ้นอีกด้วย และยังมีรูปแบบที่โดดเด่นสวยงาม เรามักจะเห็นใช้กันบ่อยๆในการขับขี่แข่งขันรถจักรยานยนต์ทางเรียบทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติ จึงไม่แปลกใจถ้าเราจะเห็นคนหันมาใช้รองเท้าประเภทนี้ เพื่อลงฝึกซ้อมในสนามแข่งขัน อาจจะมีบ้างที่ใช้ในการขับขี่ทั่วไปหรือขับขี่ท่องเที่ยว ครับ จึงอยากบอกว่าถ้าขี่ทางเรียบแล้วล่ะก็รองเท้าประเภทนี้ปกป้องได้ดีมากๆเลยครับผมแนะนำเป็นตัวเลือกแรกเลยครับ
แบบ H : รองเท้าข้อยาวสำหรับขี่รถจักรยานยนต์ (Motocross)
อีกรูปแบบของรองเท้าสำหรับการขับขี่ทางวิบาก ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากๆต่างจากรองเท้าประเภทอื่นอย่างชัดเจน เพราะการขับขี่ประเภทนี้ไม่ใช้ความเร็วสูง แต่จะมีการกระแทกทั้งในแนวตั้งและแนวนอนมากกว่าการขับขี่ประเภทอื่นๆ ตัวจากการล้ม การชน การกระแทกจาก วัตถุรอบตัวเช่นหิน ต้นไม้ เป็นต้น รองเท้าจึงออกแบบมาเพื่อรองรับการกระแทกเป็นหลักมีลักษณะคล้ายเฝือกแข็ง ปิดตั้งแต่ปลายนิ้วเท้า ไปจนถึงหน้าแข้งใต้หัวเข่า ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง มีความเหนียว แทบไม่มีความยืดหยุ่น ทั้งพลาสติก, ยางแข็ง, เหล็ก, อลูมีเนียม และมีผ้าหรือวัสดุสังเคราะห์รองรับภายในอีกชั้น แล้วแต่ชนิดแล้วแต่รุ่น เราจะเห็นได้ในการขับขี่แบบวิบากต่างๆ ทั้งในสนามแข่งแบบปิด หรือการขับขี่ท่องเที่ยวธรรมชาติเข้าป่าขึ้นเขาลงห้วยซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะ จะแทบไม่เห็นใครใส่ขับขี่รองเท้าชนิดนี้ในการขับขี่ใข้งานหรือท่องเที่ยวทั่วไปครับ
ในฐานะตัวแทน ชมรมฝึกขับขี่ปลอดภัย RC Club ทั้งหมดนี้เป็นการแบ่งตามแบบฉบับของชมรมเท่านั้นนะครับเพื่อความเข้าใจง่ายๆเบื้องต้นให้เพื่อนๆเอาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้าดีๆมาใส่ให้เหมาะสมกับการใช้งานและคุ้มค่าเงินที่จ่ายไปครับ และในปัจจุบันรองเท้ามีการพัฒนาแยกย่อยประเภทออกไปอีกมาก เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการขับขี่ที่มีหลากหลายมากขึ้นด้วยครับ สุดท้ายผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆท่านบ้างไม่มากก็น้อยครับ หากเนื้อหามีความผิดพลาดบกพร่องประการใดทางผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ ฝากติดตามผลงานต่อๆไปและเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ ด้วยการ กด Like, Comment, Share กันได้นะครับผม ขอบคุณมากครับ...^^
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตด้วยครับ
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ข้อมูลสาระดีๆจากทางชมรม ได้ทั้ง Facebook Fan Page RC Club, Instagram RC Club Thailand และ Youtube Channel RC Club Safety Riding Channel ของพวกเราชมรมฝึกขับขี่ปลอดภัย RC Club ได้ที่นี่ครับ
Instagram RC Club Thailand
https://www.instagram.com/rcclubthailand/
Youtube Channel
https://www.youtube.com/c/RCClubSafetyRidingChannel
Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/RC-Club-287004661469743/?ref=hl
Google Map RC Club
https://goo.gl/maps/ux1V9qMJuhJ2
#เพราะยางไม่ได้มีแค่ตรงกลางให้ใช้
#ความปลอดภัยไม่มีคำว่าเดี๋ยวก่อน
#ความปลอดภัยเริ่มต้นที่ตัวเรา
#ยิ่งเรียนยิ่งรู้ยิ่งฝึกยิ่งชำนาญยิ่งทำต่อเนื่องยิ่งมากประสบการณ์
#RCClub
#SafetyRidingTips
#SafetyRidingCourse
#SafetyRidingExperience
#SafeRideSafeLife
#RideForLife
#NoBikeNoLife