บทความเอเอฟซี : การเปลี่ยนผ่านของไทยจากภูมิภาค สู่การก้าวไปเป็นยักษ์ใหญ่ของทวีป
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ได้กล่าวถึงพัฒนาการของฟุตบอลไทย ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ผ่านบทความชื่อ
“การเปลี่ยนผ่านของไทยจากระดับภูมิภาค สู่การก้าวไปเป็นยักษ์ใหญ่ของทวีป” (Thailand’s transformation from regional to continental giants)
การเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ของรายการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ทำให้ไทยได้แปรสภาพจากมหาอำนาจลูกหนังอาเซียน สู่ผู้ท้าชิงระดับทวีปที่จุดประกายความหวังใหม่ ให้กับแฟนบอลผู้คลั่งไคล้ภายในประเทศ
แต่การจรัสแสงของ “ช้างศึก” ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เพราะในฉากหลัง ได้มีการขับเคลื่อนด้วยความมุ่งมั่นและสร้างสรรค์ตั้งแต่ 2 ปีก่อน เมื่อได้มีภารกิจวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกับเอเอฟซีและฟีฟ่า ในการริเริ่มกำหนดแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี
หลักการและผลลัพธ์จากโครงการพัฒนาของประธานเอเอฟซี (พีดีไอ) เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อได้เห็นสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทำการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆ ร่วมกันในภารกิจดังกล่าว เช่นเดียวกับการตั้งเป้าหมายในอนาคต รวมถึงวางแผนการปฏิบัติ ก่อนจะวางรากฐานเพื่อยกระดับความเป็นมืออาชีพ และมาตรฐานการบริหารในเมืองไทย
โดยเรื่องสำคัญหลายเรื่องได้มีการปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็น สถานภาพทางการเงิน และนโยบายที่มีความรอบคอบ, การสร้างสาธารณูปโภคสำหรับฟุตบอลเพื่อผลสำเร็จ, การลงทุนที่มีเป้าหมายในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสภาพแวดล้อมเชิงบวกภายในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนภาพลักษณ์ภายนอกอันพึงปรารถนาของฟุตบอลไทย
และจากแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน โครงการพัฒนาจากเอเอฟซีทั้ง 4 โครงการ อันได้แก่ พีดีไอ, หลักสูตรการบริหารจัดการฟุตบอล, แผนการสร้างสนามขนาดเล็ก และช่องทางการถ่ายทอดสด ล้วนมีผลงานอันโดดเด่น นับได้ว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงเกมลูกหนังให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง
ขณะเดียวกัน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ก็ได้ตอบสนองในการ “ปรับโครงสร้างผู้ตัดสิน” โดยเอเอฟซีได้ส่งที่ปรึกษา ซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับโลกผ่านโครงการพีดีไอ เพื่อช่วยจัดหลักสูตรผู้ตัดสิน 9 หลักสูตร ตลอดระยะเวลา 2 ปี โดยแผนกผู้ตัดสินได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาใหม่ เช่นเดียวกับแผนงานเชิงกลยุทธ์ที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนา
นอกจากนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ยังได้ยกระดับทรัพยากรมนุษย์ของตัวเองด้วยเช่นกัน เมื่อบุคลากรระดับหัวหน้าของสมาคมฯ ได้จบหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารจัดการฟุตบอลของเอเอฟซี ขณะที่อีก 4 คนใกล้จะสำเร็จการศึกษาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ซึ่งจากการจัดระบบขององค์กรก็ต่อยอดไปสู่การพัฒนา เมื่อสนามฟุตบอลขนาดเล็กที่ทันสมัยได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2017 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เพื่อเติมเต็มศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ ที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ซึ่งสนามแห่งนี้ได้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในฐานะที่เป็นสถานที่เก็บตัวของนักฟุตบอลทีมชาติที่เป็นแรงบันดาลใจ และมีความหลงใหลเกมลูกหนังในทุกระดับ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางจัดการแข่งขัน ยูธ เฟสติวัล ของสมาคมฯ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะเยาวชนอีกด้วย
ขณะที่การสร้างปฏิสัมพันธ์และการเข้าถึงเกมลูกหนัง ก็ได้ถูกขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะในสนาม ซึ่งนับตั้งแต่ที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ริเริ่มช่องทางการถ่ายทอดสด ก็เกิดตัวเลขอันน่าประทับใจ โดยมียอดการชมถึง 3.4 ล้านวิว และมีผู้ชมสูงถึง 1.3 ล้านคนจาก 500 แมตช์ ทั้งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงแค่ปีเศษในเดือนมิถุนายน 2017
เมื่อมองไปยังรายการแข่งขันของเอเอฟซี ความก้าวหน้าของไทยที่เป็นตัวอย่างซึ่งเห็นได้ชัด ก็คือพัฒนาการด้านฟุตบอลในระดับทวีปที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ตั้งแต่ฟุตบอลหญิงไปจนถึงฟุตซอล, ทีมชาติชุดเยาวชนทุกรุ่น ฟุตบอลไทยกำลังก้าวไปสู่หลักไมล์ใหม่
และสำหรับเวทีใหญ่อย่าง เอเอฟซี เอเชียน คัพ ที่ยูเออีในปี 2019 จะเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญ ที่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันแรงกล้าต่อประเทศต่างๆ ในเอเชีย หากสามารถผ่านเจ้าภาพยูเออี, บาห์เรน และอินเดียในกลุ่ม เอ จะเป็นผลงานที่ดีที่สุดของ “ช้างศึก” นับตั้งแต่ปี 1972 เลยทีเดียว
จากการนำโดยดาวจรัสแสงรุ่นใหม่ ทำให้ความตั้งใจที่จะทำตามจุดประสงค์, ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ และความเข้าใจในการทำสิ่งที่เป็นไปได้ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า จากแฟนบอลไทยที่คลั่งไคล้หลายล้านคนของพวกเขา
ที่มา :
http://www.the-afc.com/…/thailand-s-transformation-from-reg…
บทความ AFC : การเปลี่ยนผ่านของไทยจากภูมิภาค(อาเซี่ยน) สู่การก้าวไปเป็นยักษ์ใหญ่ของทวีป(เอเซีย)
บทความเอเอฟซี : การเปลี่ยนผ่านของไทยจากภูมิภาค สู่การก้าวไปเป็นยักษ์ใหญ่ของทวีป
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ได้กล่าวถึงพัฒนาการของฟุตบอลไทย ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ผ่านบทความชื่อ
“การเปลี่ยนผ่านของไทยจากระดับภูมิภาค สู่การก้าวไปเป็นยักษ์ใหญ่ของทวีป” (Thailand’s transformation from regional to continental giants)
การเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ของรายการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ทำให้ไทยได้แปรสภาพจากมหาอำนาจลูกหนังอาเซียน สู่ผู้ท้าชิงระดับทวีปที่จุดประกายความหวังใหม่ ให้กับแฟนบอลผู้คลั่งไคล้ภายในประเทศ
แต่การจรัสแสงของ “ช้างศึก” ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เพราะในฉากหลัง ได้มีการขับเคลื่อนด้วยความมุ่งมั่นและสร้างสรรค์ตั้งแต่ 2 ปีก่อน เมื่อได้มีภารกิจวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกับเอเอฟซีและฟีฟ่า ในการริเริ่มกำหนดแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี
หลักการและผลลัพธ์จากโครงการพัฒนาของประธานเอเอฟซี (พีดีไอ) เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อได้เห็นสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทำการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆ ร่วมกันในภารกิจดังกล่าว เช่นเดียวกับการตั้งเป้าหมายในอนาคต รวมถึงวางแผนการปฏิบัติ ก่อนจะวางรากฐานเพื่อยกระดับความเป็นมืออาชีพ และมาตรฐานการบริหารในเมืองไทย
โดยเรื่องสำคัญหลายเรื่องได้มีการปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็น สถานภาพทางการเงิน และนโยบายที่มีความรอบคอบ, การสร้างสาธารณูปโภคสำหรับฟุตบอลเพื่อผลสำเร็จ, การลงทุนที่มีเป้าหมายในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสภาพแวดล้อมเชิงบวกภายในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนภาพลักษณ์ภายนอกอันพึงปรารถนาของฟุตบอลไทย
และจากแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน โครงการพัฒนาจากเอเอฟซีทั้ง 4 โครงการ อันได้แก่ พีดีไอ, หลักสูตรการบริหารจัดการฟุตบอล, แผนการสร้างสนามขนาดเล็ก และช่องทางการถ่ายทอดสด ล้วนมีผลงานอันโดดเด่น นับได้ว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงเกมลูกหนังให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง
ขณะเดียวกัน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ก็ได้ตอบสนองในการ “ปรับโครงสร้างผู้ตัดสิน” โดยเอเอฟซีได้ส่งที่ปรึกษา ซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับโลกผ่านโครงการพีดีไอ เพื่อช่วยจัดหลักสูตรผู้ตัดสิน 9 หลักสูตร ตลอดระยะเวลา 2 ปี โดยแผนกผู้ตัดสินได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาใหม่ เช่นเดียวกับแผนงานเชิงกลยุทธ์ที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนา
นอกจากนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ยังได้ยกระดับทรัพยากรมนุษย์ของตัวเองด้วยเช่นกัน เมื่อบุคลากรระดับหัวหน้าของสมาคมฯ ได้จบหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารจัดการฟุตบอลของเอเอฟซี ขณะที่อีก 4 คนใกล้จะสำเร็จการศึกษาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ซึ่งจากการจัดระบบขององค์กรก็ต่อยอดไปสู่การพัฒนา เมื่อสนามฟุตบอลขนาดเล็กที่ทันสมัยได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2017 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เพื่อเติมเต็มศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ ที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ซึ่งสนามแห่งนี้ได้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในฐานะที่เป็นสถานที่เก็บตัวของนักฟุตบอลทีมชาติที่เป็นแรงบันดาลใจ และมีความหลงใหลเกมลูกหนังในทุกระดับ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางจัดการแข่งขัน ยูธ เฟสติวัล ของสมาคมฯ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะเยาวชนอีกด้วย
ขณะที่การสร้างปฏิสัมพันธ์และการเข้าถึงเกมลูกหนัง ก็ได้ถูกขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะในสนาม ซึ่งนับตั้งแต่ที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ริเริ่มช่องทางการถ่ายทอดสด ก็เกิดตัวเลขอันน่าประทับใจ โดยมียอดการชมถึง 3.4 ล้านวิว และมีผู้ชมสูงถึง 1.3 ล้านคนจาก 500 แมตช์ ทั้งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงแค่ปีเศษในเดือนมิถุนายน 2017
เมื่อมองไปยังรายการแข่งขันของเอเอฟซี ความก้าวหน้าของไทยที่เป็นตัวอย่างซึ่งเห็นได้ชัด ก็คือพัฒนาการด้านฟุตบอลในระดับทวีปที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ตั้งแต่ฟุตบอลหญิงไปจนถึงฟุตซอล, ทีมชาติชุดเยาวชนทุกรุ่น ฟุตบอลไทยกำลังก้าวไปสู่หลักไมล์ใหม่
และสำหรับเวทีใหญ่อย่าง เอเอฟซี เอเชียน คัพ ที่ยูเออีในปี 2019 จะเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญ ที่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอันแรงกล้าต่อประเทศต่างๆ ในเอเชีย หากสามารถผ่านเจ้าภาพยูเออี, บาห์เรน และอินเดียในกลุ่ม เอ จะเป็นผลงานที่ดีที่สุดของ “ช้างศึก” นับตั้งแต่ปี 1972 เลยทีเดียว
จากการนำโดยดาวจรัสแสงรุ่นใหม่ ทำให้ความตั้งใจที่จะทำตามจุดประสงค์, ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ และความเข้าใจในการทำสิ่งที่เป็นไปได้ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า จากแฟนบอลไทยที่คลั่งไคล้หลายล้านคนของพวกเขา
ที่มา : http://www.the-afc.com/…/thailand-s-transformation-from-reg…