สวัสดีครับ
วันนี้ผม Partita ขอเสนอเนื้อหาทางอุตุนิยมวิทยาเรื่อง "พายุ" ครับ
ช่วงนี้ เป็นช่วงที่พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Strom) หลายลูกเกิดขึ้นมาในมหาสมุทร Pacific
และก็พัดเข้ามาทางฟิลิปปินส์ และมาหมดกำลังทางแถว ๆ ฮ่องกงและ เวียดนาม ซึ่งช่วงนี้
จะเรียกกันว่า Typhoon season ครับ ตรงกับช่วงเดือนกรกฏาคม - พฤษจิกายน ของทุกปี
ขอเริ่มที่กลไกทางอุตุนิยมวิทยาในการเกิดพายุก่อน พายุจะเกิดจากปัจจัยในทะเลเป็นหลัก ขออธิบายตามภาพนี้ครับ
ความเร็วลมเท่าใด .... จะเรียกชื่อแบบใด ?
จากกลไกการเกิดพายุที่ได้อธิบายไปข้างต้น เมื่อความเร็วลมในทะเลทวีกำลังขึ้นมา
เราจะมีการเรียกชื่อ "สภาพอากาศ" ของการก่อพายุจำแนกตามความเร็วลม ดังนี้ครับ
1. ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression :
TD) เป็นลักษณะการก่อตัวไปเป็นพายุในอนาคต
มีความเร็วลมน้อยกว่า 34 Knot (63 กม./ชม.) ยังไม่มี "ตาพายุ" ยังไม่ใช้ชื่อพายุกำกับ
2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm :
TS) เป็นลักษณะการก่อตัวขั้นที่ 2 มีความเร็วลมระหว่าง
34 Knot (63 กม./ชม.) ถึง 64 Knot (119 กม./ชม.) ยังไม่มีตาพายุ แต่ใช้ชื่อกำกับ
3. พายุหมุนเขตร้อน ไต้ฝุ่น , เฮอร์ริเคน ความเร็วลม 74 Knot (119 กม./ชม.) ขึ้นไป มีตาพายุ และใช้ชื่อกำกับ
พายุที่มีผลกระทบกับประเทศไทย คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เรียกกันว่า "พายุไต้ฝุ่น" (Typhoon)
เมื่อพูดชื่อนี้ ..... ทุกท่านก็คงเคยได้ยินชื่อ Hurricane Cyclone และ Tornado ด้วยนะครับ
ความแตกต่างของอีก 3 ชื่อเป็นดังนี้
พายุ Typhoon Hurricane และ Cyclone ต่างกันอย่างไร ?
พายุทั้ง 3 ชื่อ มีกลไกการเกิดอย่างเดียวกันตามภาพบนเลย แต่ทั้ง 3 ชื่อเรียกต่างกันตามสถานที่เกิดพายุ
Typhoon คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทร Pacific เหนือฝั่งตะวันตก (Northweat Pacific)
Hurricane คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทร Atlantic และ มหาสมุทร Pacific เหนือฝั่งตะวันออก (Northeast Pacific)
Cyclone คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย
ดูตามภาพจะเห็นชัดเจนครับ
อีกภาพหนึ่ง แสดงถึงช่วง Season ของแต่ละพายุด้วย
Seasons ของพายุไต้ฝุ่น จะเริ่มฤดูกาลในช่วงมรสุมของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก็คือพายุไต้ฝุ่นจะเริ่มเกิดหนาแน่นในช่วงเดือนกรกฏาคม สิงหาคม และ กันยายน ....
ในภาพนี้คือรายชื่อ และ ช่วงเวลาของพายุไต้ฝุ่น และ พายุโซนร้อน ที่เกิดในปี 2018
อีกภาพนึง แสดงถึงทิศทางของพายุไต้ฝุ่นที่เกิดในปี 2018
ส่วน
Tornado นั้น จะแตกต่างจากพายุหมุนเขตร้อนทั้ง 3 แบบข้างบน Tornado คือพายุที่เกิดจาก
การหมุนของอากาศ ส่วนมากจะเกิดบนแผ่นดินที่เป็นทุ่งราบขนาดใหญ่ เช่น ที่ราบของสหรัฐอเมริกา
จะโดนบ่อยมากครับ ลักษณะของ Tornado ที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคน
ชี้ลงที่พื้น Tornado มีพลังทำลายสูง มีความเร็วลมได้สูงมากถึง 500 กม/ชม การก่อตัวของมันไม่สามารถ
ทำนายล่วงหน้าได้เลยครับ เพียง 2 ชั่วโมงก็ก่อตัวได้แล้ว ทำให้ประชาชนเตรียมตัวหนีไม่ทัน ซึ่งต่างจาก
พายุหมุนเขตร้อนทั้ง 3 แบบ ที่สามารถตรวจจับการเกิดได้ตั้งแต่ความเร็วลมต่ำ ๆ ในทะเลเลย ก็คือสามารถ
ทราบล่วงหน้าได้นานหลายวันครับ
ภาพของ Tornado กำลังถล่มสหรัฐ
การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Strom)
การตั้งชื่อจะอ้างอิงตาม ชื่อ ที่ได้ List ใว้แล้วครับ ชื่อเหล่านี้มาจากการประชุมใหญ่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
โดยในส่วนคณะกรรมการตั้งชื่อพายุได้ List ชื่อใว้หมดแล้ว โดยคณะกรรมการของไทยได้ตั้งไว้ 10 ชื่อ ได้แก่ ....
แต่ละประเทศก็ตั้งชื่อกันอีกเป็นจำนวนมาก ตาม List นี้ครับ
http://www.typhooncommittee.org/list-of-names-for-tropical-cyclones/
การเลือกใช้ชื่อพายุ
ก็จะนำชื่อจากตารางรายชื่อมาใช้ได้เลย โดยหยิบชื่อมาใช้ตามลำดับ อย่างช่วงที่ผ่านมามีพายุที่เพิ่งผ่านไป 2 ลูก
คือ Barijat และ Mungkhut ..... ทางคณะกรรมการก็เลือกใช้ชื่อจากตารางได้เลย ส่วนพายุที่ผ่านมาในเดือนก่อน ๆ
ให้ลองดูชื่อ JEBI CIMARON และ SOULIK นะครับ ทั้ง 3 ชื่อนี้เรียงกันแนวดิ่งในตาราง ซึ่งก็ตรงกับชื่อพายุที่เกิดขึ้นไปแล้วเร็ว ๆ นี้
เรียงติดกันตามวันที่ คือ ....
- JEBI เกิดเมื่อ 4 กันยายน
- CIMARON เกิดเมื่อ 19 สิงหาคม
- SOULIK เกิดเมื่อ 17 สิงหาคม
และจากวันนี้ไป ..... หากมีพายุลูกต่อไปเกิดขึ้น มันก็ต้องชื่อ
TRAMI ครับ
อีกประเด็นหนึ่ง คือ รายชื่อของพายุไต้ฝุ่นนั้น ได้มีการถอดชื่อออกไปด้วยเหตุผลบางประการด้วยครับ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 มีรายชื่อพายุที่ถูกถอดถอนออกไปถึง 26 ชื่อแล้ว รายละเอียดอ่านได้ที่นี่
https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกที่ถูกถอนชื่อ
เราจะดูแผนที่พายุได้ที่ใหน ?
เราสามารถดูแผนที่พายุ ว่าตอนนี้มีพายุกี่ลูกกำลังก่อตัวอยู่ได้ที่นี่
https://www.tmd.go.th/weather_map.php
(เวบกรมอุตุนิยมวิทยาของเรานั่นเอง)
ผมขอยกตัวอย่างภาพแผนที่อากาศวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา ในภาพจะเห็นวง ๆ 3 วง
นั่นคือพายุที่กำลังก่อตัวครับ อันกลางที่เขียนว่า
TD 998 hPa นั้น ยังไม่ได้เป็นพายุ
มันยังเป็นแค่ ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression :
TD) จึงยังไม่กำกับ "ชื่อพายุ" ลงไป
แต่อีก 2 วง คือ TS "BEBINCA" และ TS "LEEPI" มันคือ
TS (Troprical storm) แล้ว
จึงกำหนดชื่อพายุ BEBINCA - LEEPI ลงไปครับ
https://www.tmd.go.th/programs//uploads/maps/2018-08-15_TopChart_07.jpg
วันนี้ .... ก็ช่วงปลายเดือนกันยายนแล้ว คาดว่าจะมีพายุเกิดขึ้นอีกแน่นอนครับ
อย่างน้อย ๆ ก็น่าจะ 4 - 5 ลูก จนถึงปลายเดือนพฤษจิกายนจึงจะหมดฤดูกาลพายุ และเข้าสู่ฤดูหนาว
หวังว่าทุกท่านคงได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องพายุจากกระทู้นี้ไปนะครับ .... พายุลูกต่อไป (TRAMI)
ท่านจะได้ทราบคำศัพท์ และ ความหมายต่าง ๆ ของมัน
สวัสดีครับ
@@@ เจาะลึกความรู้เรื่อง "พายุ" @@@
ช่วงนี้ เป็นช่วงที่พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Strom) หลายลูกเกิดขึ้นมาในมหาสมุทร Pacific
และก็พัดเข้ามาทางฟิลิปปินส์ และมาหมดกำลังทางแถว ๆ ฮ่องกงและ เวียดนาม ซึ่งช่วงนี้
จะเรียกกันว่า Typhoon season ครับ ตรงกับช่วงเดือนกรกฏาคม - พฤษจิกายน ของทุกปี
ขอเริ่มที่กลไกทางอุตุนิยมวิทยาในการเกิดพายุก่อน พายุจะเกิดจากปัจจัยในทะเลเป็นหลัก ขออธิบายตามภาพนี้ครับ
ความเร็วลมเท่าใด .... จะเรียกชื่อแบบใด ?
จากกลไกการเกิดพายุที่ได้อธิบายไปข้างต้น เมื่อความเร็วลมในทะเลทวีกำลังขึ้นมา
เราจะมีการเรียกชื่อ "สภาพอากาศ" ของการก่อพายุจำแนกตามความเร็วลม ดังนี้ครับ
1. ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression : TD) เป็นลักษณะการก่อตัวไปเป็นพายุในอนาคต
มีความเร็วลมน้อยกว่า 34 Knot (63 กม./ชม.) ยังไม่มี "ตาพายุ" ยังไม่ใช้ชื่อพายุกำกับ
2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm : TS) เป็นลักษณะการก่อตัวขั้นที่ 2 มีความเร็วลมระหว่าง
34 Knot (63 กม./ชม.) ถึง 64 Knot (119 กม./ชม.) ยังไม่มีตาพายุ แต่ใช้ชื่อกำกับ
3. พายุหมุนเขตร้อน ไต้ฝุ่น , เฮอร์ริเคน ความเร็วลม 74 Knot (119 กม./ชม.) ขึ้นไป มีตาพายุ และใช้ชื่อกำกับ
พายุที่มีผลกระทบกับประเทศไทย คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เรียกกันว่า "พายุไต้ฝุ่น" (Typhoon)
เมื่อพูดชื่อนี้ ..... ทุกท่านก็คงเคยได้ยินชื่อ Hurricane Cyclone และ Tornado ด้วยนะครับ
ความแตกต่างของอีก 3 ชื่อเป็นดังนี้
พายุ Typhoon Hurricane และ Cyclone ต่างกันอย่างไร ?
พายุทั้ง 3 ชื่อ มีกลไกการเกิดอย่างเดียวกันตามภาพบนเลย แต่ทั้ง 3 ชื่อเรียกต่างกันตามสถานที่เกิดพายุ
Typhoon คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทร Pacific เหนือฝั่งตะวันตก (Northweat Pacific)
Hurricane คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทร Atlantic และ มหาสมุทร Pacific เหนือฝั่งตะวันออก (Northeast Pacific)
Cyclone คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย
ดูตามภาพจะเห็นชัดเจนครับ
อีกภาพหนึ่ง แสดงถึงช่วง Season ของแต่ละพายุด้วย
Seasons ของพายุไต้ฝุ่น จะเริ่มฤดูกาลในช่วงมรสุมของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก็คือพายุไต้ฝุ่นจะเริ่มเกิดหนาแน่นในช่วงเดือนกรกฏาคม สิงหาคม และ กันยายน ....
ในภาพนี้คือรายชื่อ และ ช่วงเวลาของพายุไต้ฝุ่น และ พายุโซนร้อน ที่เกิดในปี 2018
อีกภาพนึง แสดงถึงทิศทางของพายุไต้ฝุ่นที่เกิดในปี 2018
ส่วน Tornado นั้น จะแตกต่างจากพายุหมุนเขตร้อนทั้ง 3 แบบข้างบน Tornado คือพายุที่เกิดจาก
การหมุนของอากาศ ส่วนมากจะเกิดบนแผ่นดินที่เป็นทุ่งราบขนาดใหญ่ เช่น ที่ราบของสหรัฐอเมริกา
จะโดนบ่อยมากครับ ลักษณะของ Tornado ที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคน
ชี้ลงที่พื้น Tornado มีพลังทำลายสูง มีความเร็วลมได้สูงมากถึง 500 กม/ชม การก่อตัวของมันไม่สามารถ
ทำนายล่วงหน้าได้เลยครับ เพียง 2 ชั่วโมงก็ก่อตัวได้แล้ว ทำให้ประชาชนเตรียมตัวหนีไม่ทัน ซึ่งต่างจาก
พายุหมุนเขตร้อนทั้ง 3 แบบ ที่สามารถตรวจจับการเกิดได้ตั้งแต่ความเร็วลมต่ำ ๆ ในทะเลเลย ก็คือสามารถ
ทราบล่วงหน้าได้นานหลายวันครับ
ภาพของ Tornado กำลังถล่มสหรัฐ
การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Strom)
การตั้งชื่อจะอ้างอิงตาม ชื่อ ที่ได้ List ใว้แล้วครับ ชื่อเหล่านี้มาจากการประชุมใหญ่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
โดยในส่วนคณะกรรมการตั้งชื่อพายุได้ List ชื่อใว้หมดแล้ว โดยคณะกรรมการของไทยได้ตั้งไว้ 10 ชื่อ ได้แก่ ....
แต่ละประเทศก็ตั้งชื่อกันอีกเป็นจำนวนมาก ตาม List นี้ครับ
http://www.typhooncommittee.org/list-of-names-for-tropical-cyclones/
การเลือกใช้ชื่อพายุ
ก็จะนำชื่อจากตารางรายชื่อมาใช้ได้เลย โดยหยิบชื่อมาใช้ตามลำดับ อย่างช่วงที่ผ่านมามีพายุที่เพิ่งผ่านไป 2 ลูก
คือ Barijat และ Mungkhut ..... ทางคณะกรรมการก็เลือกใช้ชื่อจากตารางได้เลย ส่วนพายุที่ผ่านมาในเดือนก่อน ๆ
ให้ลองดูชื่อ JEBI CIMARON และ SOULIK นะครับ ทั้ง 3 ชื่อนี้เรียงกันแนวดิ่งในตาราง ซึ่งก็ตรงกับชื่อพายุที่เกิดขึ้นไปแล้วเร็ว ๆ นี้
เรียงติดกันตามวันที่ คือ ....
- JEBI เกิดเมื่อ 4 กันยายน
- CIMARON เกิดเมื่อ 19 สิงหาคม
- SOULIK เกิดเมื่อ 17 สิงหาคม
และจากวันนี้ไป ..... หากมีพายุลูกต่อไปเกิดขึ้น มันก็ต้องชื่อ TRAMI ครับ
อีกประเด็นหนึ่ง คือ รายชื่อของพายุไต้ฝุ่นนั้น ได้มีการถอดชื่อออกไปด้วยเหตุผลบางประการด้วยครับ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 มีรายชื่อพายุที่ถูกถอดถอนออกไปถึง 26 ชื่อแล้ว รายละเอียดอ่านได้ที่นี่
https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกที่ถูกถอนชื่อ
เราจะดูแผนที่พายุได้ที่ใหน ?
เราสามารถดูแผนที่พายุ ว่าตอนนี้มีพายุกี่ลูกกำลังก่อตัวอยู่ได้ที่นี่ https://www.tmd.go.th/weather_map.php
(เวบกรมอุตุนิยมวิทยาของเรานั่นเอง)
ผมขอยกตัวอย่างภาพแผนที่อากาศวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา ในภาพจะเห็นวง ๆ 3 วง
นั่นคือพายุที่กำลังก่อตัวครับ อันกลางที่เขียนว่า TD 998 hPa นั้น ยังไม่ได้เป็นพายุ
มันยังเป็นแค่ ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression : TD) จึงยังไม่กำกับ "ชื่อพายุ" ลงไป
แต่อีก 2 วง คือ TS "BEBINCA" และ TS "LEEPI" มันคือ TS (Troprical storm) แล้ว
จึงกำหนดชื่อพายุ BEBINCA - LEEPI ลงไปครับ
https://www.tmd.go.th/programs//uploads/maps/2018-08-15_TopChart_07.jpg
วันนี้ .... ก็ช่วงปลายเดือนกันยายนแล้ว คาดว่าจะมีพายุเกิดขึ้นอีกแน่นอนครับ
อย่างน้อย ๆ ก็น่าจะ 4 - 5 ลูก จนถึงปลายเดือนพฤษจิกายนจึงจะหมดฤดูกาลพายุ และเข้าสู่ฤดูหนาว
หวังว่าทุกท่านคงได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องพายุจากกระทู้นี้ไปนะครับ .... พายุลูกต่อไป (TRAMI)
ท่านจะได้ทราบคำศัพท์ และ ความหมายต่าง ๆ ของมัน
สวัสดีครับ