Day 2
มาต่อกันที่วันที่ 2 นะครับ สำหรับแผนในวันนี้ก็เป็นตามนี้
· ต้องแหกขี้ตาตื่นแต่เช้า เพื่อไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัด
· ออกนอกเมืองไปชมความงานของป้อมสตรี “บันเตียสะเรย”
· กลับมาเที่ยวนครวัดในช่วงบ่าย
· ชมพระอาทิตย์ตกที่บาแค็ง ซึ่งเป็นงานซ่อมจากที่เมื่อวานอดไป
Tips: การชมพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัดเป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาดเด็ดขาด ส่วนการเที่ยวนครวัดในช่วงเช้า จะถ่ายรูปจะย้อนแสง ถ่ายได้ยากมาก และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องไปๆมาๆระหว่างนครวัดกับปราสาทแห่งอื่นนั่นเองครับ
รุ่งอรุณที่นครวัด
วันนี้เรานัดกับเสม็ด โชเฟอร์สุดหล่อ ตั้งแต่เวลา 4.50 น. เพื่อออกเดินทางไปนครวัด ก่อนออกเดินทางพนักงานของโรมแรมก็นำอาหารเช้าใส่กล่องโฟมมาเตรียมไว้ให้เราเพราะห้องอาหารโรงแรมยังไม่เปิดครับ ตลอดเส้นทางแม้ว่าจะยังมืด แต่ก็เจอรถคันอื่นเป็นระยะ ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือ แสงแรกของวันที่นครวัด
มาถึงนครวัดประมาน 5.10 น. นักท่องเที่ยวก็ทยอยกันมาเรื่อยๆทั้งที่ยังมืดๆนี่แหละครับ ทางเข้าหลักของนครวัดอยู่ที่ประตูทิศตะวันตกนะครับ ไม่ต้องกลัวจะหลง เพราะรถทุกคันก็จะมาส่งนักท่องเที่ยวที่เดียวกันหมด แล้วก็เดินตามกันไป ช่วงที่ จขกท ไปเที่ยวทางเดินหลักที่ใช้ข้ามน้ำยังปิดปรับปรุงอยู่ ต้องเดินบนทุ่นลอยน้ำแทน จุดที่ถือว่าเด็ดสำหรับการถ่ายรูปพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัดอยู่ที่สระบัวนะครับ เมื่อเดินข้ามน้ำและผ่านซุ้มประตูชั้นนอกแล้ว ให้เดินเลี้ยวซ้ายไปตามบรรณาลัยครับ
มืดตึ้บ เห็นบรรณาลัยแล้วเลี้ยวซ้ายเลยครับ
เมื่อมาถึงก็พบว่า โอ้โห มีคนมาจองที่ถ่ายรูปไว้เพียบเลย แต่โชคยังดีเมื่อเหลือที่ว่างให้เรานิดนึงอีกทั้งฝนก็ไม่มีทีท่าว่าจะตก หลังจากรออย่างใจจดใจจ่ออยู่นาน สิ่งที่ทุกคนรอคอยก็ปรากฏต่อหน้า ภาพที่พระสุริยาทิตย์ (เทพประจำดวงอาทิตย์) ทรงราชสีห์นำแสงแรกของวันผ่านมายังเทวสถานที่สร้างอุทิศแต่พระวิษณุ ช่างงดงามจับใจไม่ผิดไปจากวลีอมตะของ Arnold Joseph Toynbee แม้แต่น้อย “See Angkor Wat and die” “ก่อนตายขอได้ยลนครวัด”
หลังจากปลาบปลื้มกับฉากเบื้องหน้าอยู่นาน พอหันมาก็ อ้าว คนหายไปไหนกันหมด นักท่องเที่ยวสบายตัวกันแล้วครับ บ้างก็ยังมุ่งหน้าเข้าไปเที่ยวในตัวปราสาท บ้างก็กำลังกลับที่ทางเดิม ส่วน จขกท เองก็ขอพักที่นครวัดไว้เสียก่อน เนื่องจากตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันตก การเที่ยวในช่วงเช้า จะถ่ายรูปจะย้อนแสง ถ่ายได้ยากมาก และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องไปๆมาๆระหว่างนครวัดกับปราสาทแห่งอื่นนั่นเอง
ปราสาทบันทายสรี (คนท้องถิ่นออกเสียงว่า บอน-เตีย-สะ-เรย)
ใช้เวลาเดินเที่ยวประมาน 2 ชั่วโมงครึ่ง
คำว่า บอนเตีย แปลว่า สตรี ส่วนคำว่า สะเรย แปลว่า ป้อม รวมแล้วแปลได้ว่า “ป้อมสตรี” เนื่องจากลวดลายที่สลักบนแห่นหินของปราสาทนี้นั้นงดงามอ่อนช้อยราวกับช่างผู้สลักเป็นสตรีก็ไม่ปาน จึงได้ชื่อว่าป้อมสตรี แต่จริงๆแล้วช่างเป็นผู้ชายนะครับ
ปราสาทแห่งนี้อยู่ห่างจากนครวัด นครธมประมาน 33 กิโลเมตร เราจึงต้องจ่ายค่ารถตุ๊กๆ ไป-กลับเพิ่มเติมอีก 8 USD ครับ
ปราสาทแห่งนี้แตกต่างจากปราสาทอื่นที่ผู้สร้างไม่ใช่พระมหากษัตริย์ แต่เป็นขุนนางนะครับ ปราสาทจึงมีขนาดเล็ก และอยู่ในที่ต่ำเพื่อไม่ให้เป็นการหมิ่นพระบารมีแห่งกษัตริย์นั่นเอง โดยขุนนางผู้สร้างคือ พราหมณ์มหาราชครู “ยัชญะวราหะ” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
ปราสาทแห่งนี้สร้างโดยใช้เฉพาะหินทรายสีชมพูเท่านั้น สีของปราสาทจึงต่างกับแห่งอื่นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังเลือกใช้แต่ช่างฝีมือเยี่ยม ภาพสลักอ่อนช้อย คม เก็บรายละเอียด ปราสาทแห่งนี้จึงต้องเรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว คุณภาพคับจอครับ
ซุ้มประตูทางเข้าเล็กนิดเดียวเอง
ปราสาทแห่งนี้สร้างตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากประตูทางเข้าอยู่ทิศตะวันออก ที่หน้าบันของซุ้มประตูกำแพงนี้จึงเป็นรูปสลักของพระอินทร์เทวดาประจำทิศตะวันออก ทรงช้างเอราวัณสามเศียร ซึ่งจะเห็นได้ว่า ช่างสลักละเอียดมาก ดูต่อไปเรื่อยๆนะครับ ละเอียดทุกภาพเลย
เดินผ่านซุ้มประตูเข้ามา จะพบกับทางเดินทอดยาว แต่ก่อนทางเดินนี้มีไว้สำหรับกษัตริย์เท่านั้น โดยคนทั่วไปจะต้องเดินทางด้านข้างครับ
ระหว่างทางจะมีอาคาร 2 หลังอยู่ 2 ข้างทาง ขอให้อย่ารีบเดินผ่านไปนะครับ ที่อาคารขวามือมีภาพสลักเล่าเรื่องราว นรสิงหาวตาร (พระวิษณุอวตารเป็นนรสิงห์) ฆ่ายักษ์โดยการใช้กรงเล็บแหวกออกเป็น 2 ท่อน
นรสิงหาวตาร คืออวตารของพระวิษณุเป็นรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงห์) เพื่อปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ คือยักษ์ตนนี้เนี่ยได้รับพรมา 3 ประการ 1. ฆ่าไม่ตายด้วยอาวุธใดๆของเทวดา มนุษย์ สัตว์ หรืออสูร 2. ไม่ตายทั้งนอกบ้านและในบ้าน 3. ไม่ตายทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งยักษ์ตนนี้ก็ออกอาละวาดสร้างความเดือดร้อน ร้อนถึงพระวิษณุอวตารเป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งสิงห์ (นรสิงห์) เป็นการแก้พรข้อที่ 1 โดยหลอกล่อให้ยักษ์มายืนที่ธรณีประตู (บอกไม่ได้ว่าเป็นในบ้านหรือนอกบ้าน) เป็นการแก้พรข้อที่ 2 และฆ่าในเวลาโพล้เพล้ (บอกไม่ได้ว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน) จึงสามารถฆ่ายักษ์ตนนี้ได้ครับ
ส่วนอาคารหลังทางซ้ายมือ (ทิศใต้) เป็นภาพสลักอุมามเหศวร พระแม่อุมาประทับบนโคนนทิร่วมกับพระศิวะ
ก่อนจะผ่านซุ้มประตูตัวปราสาท ทางซ้ายมือจะมีหน้าบันที่หักลงมาแล้ว ได้รับการวางตั้งไว้กับพื้นอยู่มีความสวยงามมาก หากรีบเข้าตัวปราสาทไปโดยไม่แวะชมก่อนถือว่าน่าเสียดายเลยล่ะครับ
ภาพสลักเป็นเรื่องราวของพระรามกับพระลักษมณ์ที่เรารู้จักกันดีกำลังต่อสู้กับอสูรชื่อพระพิราบ เพื่อแย่งนางสีดากลับคืนมา (แหม่ นางสีดานี่มีแต่คนแย่งจริงๆ) เหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นตอนที่พระรามเสด็จอรัญกะ หรืออีกชื่อคือ พระรามเดินดง (เหมือนชื่อท่าแม่ไม้มวยไทยชื่อดังนั่นแหละครับ) หากสังเกตดีๆจะพบว่า ช่างสลักแสดงอารมณ์ได้ดีมาก โดยเฉพาะนางสีดาที่กำลังทำท่าขอความช่วยเหลือครับ
หน้าบันอีกชิ้นที่หักลงมา เป็นภาพสลักที่คาดว่าเป็นพระพรหม เทพผู้สร้างแห่งศาสนาพราหมณ์กำลังทรงหงส์
เป็นยังไงบ้างครับ นี่ยังไม่เข้าสู่ตัวปราสาทจริงๆเลย ก็พบได้พบกับภาพสลักที่สวยงามขนานนี้แล้ว และที่ไม่น่าเชื่อคือ ภาพสลักเหล่านี้อยู่มา 1000 กว่าปีมาแล้วนะครับ ทำให้จินตนาการไม่ออกไปเลยว่าสมัยก่อน ปราสาทแห่งนี้สวยงามขนาดไหนกัน
เมื่อผ่านซุ้มประตูนี้เข้าไป ให้หยุดก่อนนะครับ แล้วแหงนหน้ามองขึ้นบน เพราะจะมีหน้าบันของประตูอีกชั้นซ้อนอยู่ ถ้าไม่สังเกตดีๆจะผ่านไปอย่างน่าเสียดายอีกเช่นกันครับ
หน้าบันนี้เป็นภาพสลักคชลักษมี โดยพระลักษมี เทวีแห่งความงามประทับนั่ง และมีช้าง 2 เชือกใช้งวงชูหม้อน้ำมนต์เพื่อรดน้ำจากพิธีกวนเกษียรสมุทรให้พระลักษมีได้เพื่อถวายตัวกับพระวิษณุครับ
ผ่านซุ้มประตูเข้ามาจะพบฐานโยนี (อ่านไม่ผิดครับ ฐานโยนี ซึ่งหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงนั่นแหละ) เป็นฐานที่รองรับศิวลึงค์ ซึ่งปัจจุบันไม่พบแล้ว โดยฐานโยนีหมายถึงพระแม่อุมา ส่วนศิวลึงค์ใช้แทนองค์พระศิวะ ส่วนร่องบนฐานโยนีที่เห็นเป็นขีดๆทางซ้ายมือนั้นเดิมใช้ทางผ่านของน้ำศักสิทธิ์ครับ
ผ่านตรงนี้มาก็เข้าสู่ตัวปราสาท เราจะพบโคนนทิหมอบอยู่หน้าปราสาทชั้นในทั้งสามครับ แม้จะเสียหายไปมาก แต่ยังพอเห็นเค้าลางที่กีบเท้าและหาง โคนนทิเป็นพาหนะของพระศิวะ การที่มีโคนนทิหมอบอยู่หน้าปราสาทเป็นการแสดงให้เห็นถึงว่าพระศิวะประทับอยู่ภายในนั่นเอง
ปราสาทหลักมีทั้งหมด 3 หลัง สร้างอยู่บนฐานเดียวกันครับ เป็นการสร้างเพื่อถวายเทพทั้งสามผู้เป็นใหญ่ในศาสนาพราหมณ์ หรือที่เรียกว่า “ตรีมูรติ” ที่เราเคยเรียนกันในวิชาสังคมศาสตร์นั่นแหละครับ ตรีมูรติ ได้แก่ พระศิวะ (ปราสาทหลังใหญ่สุด) พระวิษณุ และพระพรหม
ช่วงที่ไม่ค่อยมีคน ปราสาทก็จะดูวังเวง น่าเกรงขาม ทวารบาลผู้เข้าประตูก็ดูเหมือนจะเฝ้าระมัดระวังแขกผู้ไม่ได้รับเชิญอยู่ตลอดเวลา
เคยได้ยินคำว่า นารายณ์ทรงครุฑกันใช่ไหมครับ? ที่หน้าปราสาทหลังที่อยู่ทางทิศเหนือซึ่งสร้างถวายพระวิษณุ เราจะพบประติมากรรมครุฑอยู่หน้าปราสาท เนื่องจากครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรืออีกชื่อหนึ่งคือพระนารายณ์นั่นเอง
หลังจากเดินวนโดยรอบเสร็จแล้ว เราก็มาเพลิดเพลินกับทับหลัง และหน้าบันที่สลักไว้อย่างสวยงามวิจิตรกันครับ
หน้าบันของปราสาทหลังกลางเป็นภาพสลักขณะพระศิวะกำลังฟ้อนรำ หรือเรียกว่า “ศิวนาฏราช” ซึ่งพระองค์ได้ร่ายรำหลังจากปราบพวกฤาษีที่พากันมั่วสุมกับผู้หญิง
นอกจากนี้ทางซ้ายมือด้านล่างของหน้าบัน เราจะเห็นรูปสลักของนางกาไรก์กัล อัมเมยาร์ นางผู้จัดท่ารำให้พระศิวะ ซึ่งเชื่อว่ามีตัวตนอยู่จริงครับ โดยนางอุทิศตนเป็นสาวกของพระศิวะตั้งแต่ยังเด็ก เดิมมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม แต่สามีได้หนีไปแต่งงานใหม่ นางจึงได้ขอพรจากพระศิวะให้ดลบันดาลให้นางมีรูปร่างอัปลักษณ์เหมือนโครงกระดูกเพื่อจะได้มีสมาธิรับใช้พระศิวะอย่างเต็มที่ นางใช้มือแทนเท้าเดินขึ้นไปจนถึงเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ พระศิวะจึงปลดปล่อยให้นางไม่ตาย
เมื่อเดินวนไปทางซ้าย เราจะพบบรรณาลัย ที่มีภาพสลักหน้าบันอย่างอลังการงานสร้างอยู่ กล่าวถึงเหตุการณ์ “ทศกัณฐ์โยกเขาไกรลาส”
ภาพสลักเป็นการจำลองเขาไกรลาศที่ประทับของพระศิวะ ไล่จากต่ำไปสูง ชั้นล่างสุดแสดงให้เห็น ทศกัณฐ์ร่างยักษ์ มี 10 พักตร์ 10 กร กำลังโยกเขาไกรลาส รายล้อมไปด้วยสิงสาราสัตว์ที่กำลังแสดงอาการตกใจกลัว ชั้นถัดขึ้นมาเป็นพวกคนธรรพ์ (แสดงด้วยลักษณะครึ่งเทวดาครึ่งสัตว์) ถัดขึ้นมาอีกเป็นพวกฤาษี และที่ชั้นสูงสุดเป็นพระแม่อุมาแสดงอาการตกใจกลัวด้วยการขึ้นมาประทับบนพระเพลาของพระศิวะ
ภาพสลัก “กามเทพแผลงศร” ที่ชั้นบนสุด กามเทพที่อยุ่ทางขวามือ กำลังแผลงศร (ยิงลูกธนู) ใส่พระศิวะซึ่งกำลังประทานสร้อยแก่พระแม่อุมา
ภาพสลักที่คาดว่าเป็นพระกฤษณะกำลังฆ่าพระยากงส์
ภาพสลัก พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และดลบันดาลให้ฝนตก จะเห็นสายฝนเป็นเส้นๆ และมีสัตว์ต่างๆอยู่ด้านล่างครับ
[CR] [sungunner] รีวิว เที่ยวนครวัด นครธม 2018 ไปเก็บไฮไลท์แบบได้อารมณ์ [Part 2] แล้วจะหลงรักกองหินเหล่านี้ครับ
· ต้องแหกขี้ตาตื่นแต่เช้า เพื่อไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัด
· ออกนอกเมืองไปชมความงานของป้อมสตรี “บันเตียสะเรย”
· กลับมาเที่ยวนครวัดในช่วงบ่าย
· ชมพระอาทิตย์ตกที่บาแค็ง ซึ่งเป็นงานซ่อมจากที่เมื่อวานอดไป
Tips: การชมพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัดเป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาดเด็ดขาด ส่วนการเที่ยวนครวัดในช่วงเช้า จะถ่ายรูปจะย้อนแสง ถ่ายได้ยากมาก และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องไปๆมาๆระหว่างนครวัดกับปราสาทแห่งอื่นนั่นเองครับ
รุ่งอรุณที่นครวัด
วันนี้เรานัดกับเสม็ด โชเฟอร์สุดหล่อ ตั้งแต่เวลา 4.50 น. เพื่อออกเดินทางไปนครวัด ก่อนออกเดินทางพนักงานของโรมแรมก็นำอาหารเช้าใส่กล่องโฟมมาเตรียมไว้ให้เราเพราะห้องอาหารโรงแรมยังไม่เปิดครับ ตลอดเส้นทางแม้ว่าจะยังมืด แต่ก็เจอรถคันอื่นเป็นระยะ ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือ แสงแรกของวันที่นครวัด
มาถึงนครวัดประมาน 5.10 น. นักท่องเที่ยวก็ทยอยกันมาเรื่อยๆทั้งที่ยังมืดๆนี่แหละครับ ทางเข้าหลักของนครวัดอยู่ที่ประตูทิศตะวันตกนะครับ ไม่ต้องกลัวจะหลง เพราะรถทุกคันก็จะมาส่งนักท่องเที่ยวที่เดียวกันหมด แล้วก็เดินตามกันไป ช่วงที่ จขกท ไปเที่ยวทางเดินหลักที่ใช้ข้ามน้ำยังปิดปรับปรุงอยู่ ต้องเดินบนทุ่นลอยน้ำแทน จุดที่ถือว่าเด็ดสำหรับการถ่ายรูปพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัดอยู่ที่สระบัวนะครับ เมื่อเดินข้ามน้ำและผ่านซุ้มประตูชั้นนอกแล้ว ให้เดินเลี้ยวซ้ายไปตามบรรณาลัยครับ
มืดตึ้บ เห็นบรรณาลัยแล้วเลี้ยวซ้ายเลยครับ
เมื่อมาถึงก็พบว่า โอ้โห มีคนมาจองที่ถ่ายรูปไว้เพียบเลย แต่โชคยังดีเมื่อเหลือที่ว่างให้เรานิดนึงอีกทั้งฝนก็ไม่มีทีท่าว่าจะตก หลังจากรออย่างใจจดใจจ่ออยู่นาน สิ่งที่ทุกคนรอคอยก็ปรากฏต่อหน้า ภาพที่พระสุริยาทิตย์ (เทพประจำดวงอาทิตย์) ทรงราชสีห์นำแสงแรกของวันผ่านมายังเทวสถานที่สร้างอุทิศแต่พระวิษณุ ช่างงดงามจับใจไม่ผิดไปจากวลีอมตะของ Arnold Joseph Toynbee แม้แต่น้อย “See Angkor Wat and die” “ก่อนตายขอได้ยลนครวัด”
หลังจากปลาบปลื้มกับฉากเบื้องหน้าอยู่นาน พอหันมาก็ อ้าว คนหายไปไหนกันหมด นักท่องเที่ยวสบายตัวกันแล้วครับ บ้างก็ยังมุ่งหน้าเข้าไปเที่ยวในตัวปราสาท บ้างก็กำลังกลับที่ทางเดิม ส่วน จขกท เองก็ขอพักที่นครวัดไว้เสียก่อน เนื่องจากตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันตก การเที่ยวในช่วงเช้า จะถ่ายรูปจะย้อนแสง ถ่ายได้ยากมาก และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องไปๆมาๆระหว่างนครวัดกับปราสาทแห่งอื่นนั่นเอง
ปราสาทบันทายสรี (คนท้องถิ่นออกเสียงว่า บอน-เตีย-สะ-เรย)
ใช้เวลาเดินเที่ยวประมาน 2 ชั่วโมงครึ่ง
คำว่า บอนเตีย แปลว่า สตรี ส่วนคำว่า สะเรย แปลว่า ป้อม รวมแล้วแปลได้ว่า “ป้อมสตรี” เนื่องจากลวดลายที่สลักบนแห่นหินของปราสาทนี้นั้นงดงามอ่อนช้อยราวกับช่างผู้สลักเป็นสตรีก็ไม่ปาน จึงได้ชื่อว่าป้อมสตรี แต่จริงๆแล้วช่างเป็นผู้ชายนะครับ
ปราสาทแห่งนี้อยู่ห่างจากนครวัด นครธมประมาน 33 กิโลเมตร เราจึงต้องจ่ายค่ารถตุ๊กๆ ไป-กลับเพิ่มเติมอีก 8 USD ครับ
ปราสาทแห่งนี้แตกต่างจากปราสาทอื่นที่ผู้สร้างไม่ใช่พระมหากษัตริย์ แต่เป็นขุนนางนะครับ ปราสาทจึงมีขนาดเล็ก และอยู่ในที่ต่ำเพื่อไม่ให้เป็นการหมิ่นพระบารมีแห่งกษัตริย์นั่นเอง โดยขุนนางผู้สร้างคือ พราหมณ์มหาราชครู “ยัชญะวราหะ” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
ปราสาทแห่งนี้สร้างโดยใช้เฉพาะหินทรายสีชมพูเท่านั้น สีของปราสาทจึงต่างกับแห่งอื่นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังเลือกใช้แต่ช่างฝีมือเยี่ยม ภาพสลักอ่อนช้อย คม เก็บรายละเอียด ปราสาทแห่งนี้จึงต้องเรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว คุณภาพคับจอครับ
ซุ้มประตูทางเข้าเล็กนิดเดียวเอง
ปราสาทแห่งนี้สร้างตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากประตูทางเข้าอยู่ทิศตะวันออก ที่หน้าบันของซุ้มประตูกำแพงนี้จึงเป็นรูปสลักของพระอินทร์เทวดาประจำทิศตะวันออก ทรงช้างเอราวัณสามเศียร ซึ่งจะเห็นได้ว่า ช่างสลักละเอียดมาก ดูต่อไปเรื่อยๆนะครับ ละเอียดทุกภาพเลย
เดินผ่านซุ้มประตูเข้ามา จะพบกับทางเดินทอดยาว แต่ก่อนทางเดินนี้มีไว้สำหรับกษัตริย์เท่านั้น โดยคนทั่วไปจะต้องเดินทางด้านข้างครับ
ระหว่างทางจะมีอาคาร 2 หลังอยู่ 2 ข้างทาง ขอให้อย่ารีบเดินผ่านไปนะครับ ที่อาคารขวามือมีภาพสลักเล่าเรื่องราว นรสิงหาวตาร (พระวิษณุอวตารเป็นนรสิงห์) ฆ่ายักษ์โดยการใช้กรงเล็บแหวกออกเป็น 2 ท่อน
นรสิงหาวตาร คืออวตารของพระวิษณุเป็นรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงห์) เพื่อปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ คือยักษ์ตนนี้เนี่ยได้รับพรมา 3 ประการ 1. ฆ่าไม่ตายด้วยอาวุธใดๆของเทวดา มนุษย์ สัตว์ หรืออสูร 2. ไม่ตายทั้งนอกบ้านและในบ้าน 3. ไม่ตายทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งยักษ์ตนนี้ก็ออกอาละวาดสร้างความเดือดร้อน ร้อนถึงพระวิษณุอวตารเป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งสิงห์ (นรสิงห์) เป็นการแก้พรข้อที่ 1 โดยหลอกล่อให้ยักษ์มายืนที่ธรณีประตู (บอกไม่ได้ว่าเป็นในบ้านหรือนอกบ้าน) เป็นการแก้พรข้อที่ 2 และฆ่าในเวลาโพล้เพล้ (บอกไม่ได้ว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน) จึงสามารถฆ่ายักษ์ตนนี้ได้ครับ
ส่วนอาคารหลังทางซ้ายมือ (ทิศใต้) เป็นภาพสลักอุมามเหศวร พระแม่อุมาประทับบนโคนนทิร่วมกับพระศิวะ
ก่อนจะผ่านซุ้มประตูตัวปราสาท ทางซ้ายมือจะมีหน้าบันที่หักลงมาแล้ว ได้รับการวางตั้งไว้กับพื้นอยู่มีความสวยงามมาก หากรีบเข้าตัวปราสาทไปโดยไม่แวะชมก่อนถือว่าน่าเสียดายเลยล่ะครับ
ภาพสลักเป็นเรื่องราวของพระรามกับพระลักษมณ์ที่เรารู้จักกันดีกำลังต่อสู้กับอสูรชื่อพระพิราบ เพื่อแย่งนางสีดากลับคืนมา (แหม่ นางสีดานี่มีแต่คนแย่งจริงๆ) เหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นตอนที่พระรามเสด็จอรัญกะ หรืออีกชื่อคือ พระรามเดินดง (เหมือนชื่อท่าแม่ไม้มวยไทยชื่อดังนั่นแหละครับ) หากสังเกตดีๆจะพบว่า ช่างสลักแสดงอารมณ์ได้ดีมาก โดยเฉพาะนางสีดาที่กำลังทำท่าขอความช่วยเหลือครับ
หน้าบันอีกชิ้นที่หักลงมา เป็นภาพสลักที่คาดว่าเป็นพระพรหม เทพผู้สร้างแห่งศาสนาพราหมณ์กำลังทรงหงส์
เป็นยังไงบ้างครับ นี่ยังไม่เข้าสู่ตัวปราสาทจริงๆเลย ก็พบได้พบกับภาพสลักที่สวยงามขนานนี้แล้ว และที่ไม่น่าเชื่อคือ ภาพสลักเหล่านี้อยู่มา 1000 กว่าปีมาแล้วนะครับ ทำให้จินตนาการไม่ออกไปเลยว่าสมัยก่อน ปราสาทแห่งนี้สวยงามขนาดไหนกัน
เมื่อผ่านซุ้มประตูนี้เข้าไป ให้หยุดก่อนนะครับ แล้วแหงนหน้ามองขึ้นบน เพราะจะมีหน้าบันของประตูอีกชั้นซ้อนอยู่ ถ้าไม่สังเกตดีๆจะผ่านไปอย่างน่าเสียดายอีกเช่นกันครับ
หน้าบันนี้เป็นภาพสลักคชลักษมี โดยพระลักษมี เทวีแห่งความงามประทับนั่ง และมีช้าง 2 เชือกใช้งวงชูหม้อน้ำมนต์เพื่อรดน้ำจากพิธีกวนเกษียรสมุทรให้พระลักษมีได้เพื่อถวายตัวกับพระวิษณุครับ
ผ่านซุ้มประตูเข้ามาจะพบฐานโยนี (อ่านไม่ผิดครับ ฐานโยนี ซึ่งหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงนั่นแหละ) เป็นฐานที่รองรับศิวลึงค์ ซึ่งปัจจุบันไม่พบแล้ว โดยฐานโยนีหมายถึงพระแม่อุมา ส่วนศิวลึงค์ใช้แทนองค์พระศิวะ ส่วนร่องบนฐานโยนีที่เห็นเป็นขีดๆทางซ้ายมือนั้นเดิมใช้ทางผ่านของน้ำศักสิทธิ์ครับ
ผ่านตรงนี้มาก็เข้าสู่ตัวปราสาท เราจะพบโคนนทิหมอบอยู่หน้าปราสาทชั้นในทั้งสามครับ แม้จะเสียหายไปมาก แต่ยังพอเห็นเค้าลางที่กีบเท้าและหาง โคนนทิเป็นพาหนะของพระศิวะ การที่มีโคนนทิหมอบอยู่หน้าปราสาทเป็นการแสดงให้เห็นถึงว่าพระศิวะประทับอยู่ภายในนั่นเอง
ปราสาทหลักมีทั้งหมด 3 หลัง สร้างอยู่บนฐานเดียวกันครับ เป็นการสร้างเพื่อถวายเทพทั้งสามผู้เป็นใหญ่ในศาสนาพราหมณ์ หรือที่เรียกว่า “ตรีมูรติ” ที่เราเคยเรียนกันในวิชาสังคมศาสตร์นั่นแหละครับ ตรีมูรติ ได้แก่ พระศิวะ (ปราสาทหลังใหญ่สุด) พระวิษณุ และพระพรหม
ช่วงที่ไม่ค่อยมีคน ปราสาทก็จะดูวังเวง น่าเกรงขาม ทวารบาลผู้เข้าประตูก็ดูเหมือนจะเฝ้าระมัดระวังแขกผู้ไม่ได้รับเชิญอยู่ตลอดเวลา
เคยได้ยินคำว่า นารายณ์ทรงครุฑกันใช่ไหมครับ? ที่หน้าปราสาทหลังที่อยู่ทางทิศเหนือซึ่งสร้างถวายพระวิษณุ เราจะพบประติมากรรมครุฑอยู่หน้าปราสาท เนื่องจากครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรืออีกชื่อหนึ่งคือพระนารายณ์นั่นเอง
หลังจากเดินวนโดยรอบเสร็จแล้ว เราก็มาเพลิดเพลินกับทับหลัง และหน้าบันที่สลักไว้อย่างสวยงามวิจิตรกันครับ
หน้าบันของปราสาทหลังกลางเป็นภาพสลักขณะพระศิวะกำลังฟ้อนรำ หรือเรียกว่า “ศิวนาฏราช” ซึ่งพระองค์ได้ร่ายรำหลังจากปราบพวกฤาษีที่พากันมั่วสุมกับผู้หญิง
นอกจากนี้ทางซ้ายมือด้านล่างของหน้าบัน เราจะเห็นรูปสลักของนางกาไรก์กัล อัมเมยาร์ นางผู้จัดท่ารำให้พระศิวะ ซึ่งเชื่อว่ามีตัวตนอยู่จริงครับ โดยนางอุทิศตนเป็นสาวกของพระศิวะตั้งแต่ยังเด็ก เดิมมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม แต่สามีได้หนีไปแต่งงานใหม่ นางจึงได้ขอพรจากพระศิวะให้ดลบันดาลให้นางมีรูปร่างอัปลักษณ์เหมือนโครงกระดูกเพื่อจะได้มีสมาธิรับใช้พระศิวะอย่างเต็มที่ นางใช้มือแทนเท้าเดินขึ้นไปจนถึงเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ พระศิวะจึงปลดปล่อยให้นางไม่ตาย
เมื่อเดินวนไปทางซ้าย เราจะพบบรรณาลัย ที่มีภาพสลักหน้าบันอย่างอลังการงานสร้างอยู่ กล่าวถึงเหตุการณ์ “ทศกัณฐ์โยกเขาไกรลาส”
ภาพสลักเป็นการจำลองเขาไกรลาศที่ประทับของพระศิวะ ไล่จากต่ำไปสูง ชั้นล่างสุดแสดงให้เห็น ทศกัณฐ์ร่างยักษ์ มี 10 พักตร์ 10 กร กำลังโยกเขาไกรลาส รายล้อมไปด้วยสิงสาราสัตว์ที่กำลังแสดงอาการตกใจกลัว ชั้นถัดขึ้นมาเป็นพวกคนธรรพ์ (แสดงด้วยลักษณะครึ่งเทวดาครึ่งสัตว์) ถัดขึ้นมาอีกเป็นพวกฤาษี และที่ชั้นสูงสุดเป็นพระแม่อุมาแสดงอาการตกใจกลัวด้วยการขึ้นมาประทับบนพระเพลาของพระศิวะ
ภาพสลัก “กามเทพแผลงศร” ที่ชั้นบนสุด กามเทพที่อยุ่ทางขวามือ กำลังแผลงศร (ยิงลูกธนู) ใส่พระศิวะซึ่งกำลังประทานสร้อยแก่พระแม่อุมา
ภาพสลักที่คาดว่าเป็นพระกฤษณะกำลังฆ่าพระยากงส์
ภาพสลัก พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และดลบันดาลให้ฝนตก จะเห็นสายฝนเป็นเส้นๆ และมีสัตว์ต่างๆอยู่ด้านล่างครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้