สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ ...อีกสักครั้งกับ "ประชาธิปัตย์" สนุกจริงๆค่ะ ....ข่าวสดออนไลน์ ..../sao..เหลือ..noi

หัวหน้าประชาธิปัตย์วุ่น ‘หมอผี’จี้‘มาร์ค’ไขก๊อก ‘เทือก’ปัดเปล่าแทรกแซง

ทะลุคน ทะลวงข่าว

หัวหน้าประชาธิปัตย์วุ่น – พลันที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเสนอแนวคิดให้มี
การหยั่งเสียงสมาชิกพรรคทั่วประเทศ เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค

แทนการตัดสินใจจากที่ประชุมใหญ่เพียงอย่างเดียว พร้อมเปิดโอกาสให้คนนอกมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันด้วย
ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

เพื่อเตรียมสู้ศึกเลือกตั้งที่จะมีขึ้นใน ปี 2562

นายสัมพันธ์ ทองสมัคร อดีตรมว.ศึกษาธิการ และอดีตส.ส.นครศรีธรรมราช หลายสมัย ก็จุดพลุทันควัน

เรียกร้องให้ นายอภิสิทธิ์ ไขก๊อกแล้วให้นายชวน หลีกภัย ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค แล้วเลือก
หัวหน้าพรรคคนใหม่หลังการเลือกตั้งส.ส. ในปี 2562

อ้างว่าเพื่อแก้วิกฤตภายในพรรค ที่ตอนนี้ความนิยมในตัวผู้นำพรรคลด น้อยลง อีกทั้งเพื่อความเป็น
ปึกแผ่น ของพรรค

ส่งผลให้แกนนำพรรคและอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาตอบโต้

นายนราพัฒน์ แก้วทอง อดีตส.ส. พิจิตร ปะฉะดะถึงคนเสนอแนวคิดนี้

ระบุจะให้ลาออกไปทำไม เพราะตอนนี้ อภิสิทธิ์ ก็ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคอยู่แล้ว เนื่องจากหมดวาระแล้ว
เป็นแค่รักษาการหัวหน้าพรรค เพื่อเลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารชุดใหม่

จึงต้องรอ คสช. จะปลดล็อกให้เมื่อไร

ยืนยันประชาธิปัตย์ เป็นพรรคที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ก็แสดงจุดยืนทำตามรัฐธรรมนูญ
ให้หยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรค

ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากอดีต ส.ส.กลุ่มกปปส. ผลักดัน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลก
เข้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกับนายอภิสิทธิ์ด้วย

มี นายถาวร เสนเนียม เดินสายสนับสนุน แต่มีเงื่อนไขว่า หาก นพ.วรงค์ ได้เป็นหัวหน้าพรรคนายถาวร
ก็จะรั้งตำแหน่งเลขาธิการพรรค

ท่ามกลางกระแสจะเปลี่ยนแปลงกติกาเกี่ยวกับสมาชิกที่มีสิทธิลงคะแนนหยั่งเสียง จากที่ตกลงเบื้องต้น
ว่าจะให้สมาชิกกว่า 2.9 ล้านคน ก่อนมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/60 ร่วมมีสิทธิหยั่งเสียงด้วย

แก้เป็นให้สมาชิกที่มายืนยันตาม คำสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว รวมกว่า 8 หมื่นคนเท่านั้นที่จะมีสิทธิหยั่งเสียงได้

เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่มาจากภาคใต้ที่นายถาวร มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมสมาชิกพรรค ให้กลับมายืนยัน
ความเป็นสมาชิกพรรคในช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา

ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการกปปส. ออกมาปฏิเสธ มิได้หนุน นพ.วรงค์
ลงชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

เพราะเคยประกาศชัดเจนว่า จะไม่กลับไปพรรคปชป.แล้ว จึงไม่ประสงค์จะชิงอำนาจในพรรคกับใคร

อีกทั้งไม่มีอำนาจแทรกแซงกิจการภายในประชาธิปัตย์

สัมพันธ์ ทองสมัคร เกิดเมื่อ 9 ธ.ค. 2485 ที่จ.นครศรีธรรมราช

ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปริญญาโท จากนิด้า

ทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์และอาจารย์สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช

ก่อนลงสมัครส.ส.นครศรีธรรมราช เป็นส.ส. 12 สมัย

อดีตรมช.ศึกษาธิการ ปี 2526-31และรมว.ศึกษาธิการ ปี 2535-38

มีฉายาว่า ‘หมอผี’ เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญทางด้านคาถาอาคม


เคยประกาศยุติบทบาททางการเมือง แต่เลือกตั้ง 23 ธ.ค.2550 กลับมาอีกครั้งแต่ได้เป็นส.ส.สมัยที่ 13

เลือกตั้งปี 2554 ลงระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาลาออกจากพรรค ไปทำงานด้านการศึกษาในโครงการพระราชดำริ

มั่นใจหากนายชวน หลีกภัย รักษาการหัวหน้าพรรคไปก่อน เพราะจะทำให้
การเลือกตั้งกลมเกลียวกันมากขึ้น

ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ เป็น ปึกแผ่น

นราพัฒน์ แก้วทอง ชื่อเล่นว่า ตุ้ม เกิดวันที่ 2 ส.ค.2512

ลูกชาย นายไพฑูรย์ แก้วทอง อดีตรมว.แรงงาน อดีตส.ส.พิจิตรหลายสมัย
กับ นางอัจฉราภรณ์ แก้วทอง

ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาบัญชี จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ จาก National University สหรัฐอเมริกา

ทำงานธุรกิจครอบครัว ก่อนสวมเสื้อพรรคประชาธิปัตย์ ลงชิงส.ส.พิจิตร แทนบิดา
ที่ขยับไปลงปาร์ตี้ลิสต์ และได้เข้าสภาครั้งแรกเมื่อปี 2544

ได้เป็นส.ส.ต่ออีก 2 สมัย ปี 2550 และ 2554

ได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการพรรค ตั้งแต่ปี 2554

ยืนยันสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรคต่อไป

ย้ำด้วยว่าพรรคอยู่ด้วยมวลสมาชิก คนนอกพูดได้ เสนอได้ แต่สุดท้ายสมาชิก
เป็นคนตัดสินว่าหัวหน้าพรรคจะเป็นใคร

ซึ่งแตกต่างกับพรรคที่มีเจ้าของสั่งให้คนโน้นคนนี้เป็นหัวหน้า

นพ.วรงค์ มีชื่อเล่นว่า โก๋ เกิดเมื่อ 1 พ.ค. 2504 ที่อ.เมือง สุโขทัย

แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหา วิทยาลัยเชียงใหม่

ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากนิด้า

วุฒิบัตรแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เคยรับราชการเป็นนายแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อดีตผอ. ร.พ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย
อดีตผอ. ร.พ.พรเจริญ จ.หนองคาย และอดีต ผู้ช่วยผอ.ร.พ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก

ลาออกเข้าสู่งานการเมือง สังกัดพรรคไทยรักไทย ก่อนลาออกเมื่อ ปี 2547

ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นส.ส.ครั้งแรกในปี 2548 และเป็นส.ส. อีก 2 สมัย ปี 2550 และ 2554

เคยเป็นรองโฆษกพรรค และรองประธานกมธ.สาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร

อ้างไม่ใช่ ‘นอมินี’ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรค

ศึกครั้งนี้จะซ้ำรอยกลุ่ม 10 มกราที่ประชาธิปัตย์เคยแตกร้าวมาแล้วหรือไม่


สาวแว่น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่