ผมเคยสงสัยหลายอย่างก่อนที่ผมจะก้าวเข้ามาสู่การศึกษาพระไตรปิฎก คือ ผมสงสัยว่าพระไตรปิฎก "ไม่น่าจะทันสมัย" เพราะเหตุที่ว่าพระไตรปิฎกนั้นจารึกหรือบันทึกมานานแล้ว กว่า ๒๖๐๐ ปี จะมาทันสมัยได้อย่างไร นั่นคือความคิดของผมที่มีต่อพระไตรปิฎก แต่เมื่อก้าวเข้ามาศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจังแล้วพบว่า
พระไตรปิฎกนั้น เป็นบันทึกที่
๑. มีความเป็นอดีต
๒. มีความเป็นปัจจุบัน และ
๓. มีความเป็นอนาคต
เรียกได้ว่าบางอย่างเข้าได้กับยุคสมัยนี้ และบางอย่างกำหนดไว้เพื่อเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
ขอยกตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เห็นว่า
เรื่องไหนเป็นเรื่องอดีต เรื่องไหนเป็นเรื่องปัจจุบัน และเรื่องไหนเป็นเรื่องอนาคต
๑) เรื่องที่เป็นอดีต คือเรื่องที่เล่ามาในอดีตชาติ เช่น เรื่องประวัติพระพุทธเจ้าในอดีต เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นประวัติศาสตร์บุคคล เมือง เป็นต้น เช่น ประวัติเมืองเวสาลี ประวัติเมืองพาราณสี อันนี้เป็นเรื่องในอดีตหรือเรื่องชาดกที่เล่าประวัติพระพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ นี่เป็นเรื่องอดีตๆทั้งนั้น
๒) เรื่องที่เป็นปัจจุบันเข้าได้กับทุกยุคทุกสมัย ผมว่าเรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจนมาก (แต่บางคนพยายามทำเป็นไม่รับรู้)
เรื่องที่ว่านี้ก็คือ
- เรื่องธรรมชาติของจิตใจมนุษย์
ปกติของมนุษย์ไม่ว่ายุคสมัยใดล้วนมีกิเลส คือความโลภ โกรธ หลง ติดข้างอยู่ในขันธสันดาน
อันนี้ค่อนข้างทันสมัยไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร มนุษย์ก็มีกิเลสเหมือนเดิมและพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีกิเลสนั้น "ล้วนไม่เปลี่ยนแปลง"
เช่นเรื่อง
ความโลภ อยากได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด นี่มีเหมือนกันทุกยุคทุกสมัย
ความโกรธ พยาบาท ปองร้าย ทำร้าย ความอิจฉาริษยา ดูละคร หรือภาพยนต์ที่สร้างมาสิ พล็อทเรื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่แตกต่างไปจากกันสักเท่าไหร่
ความหลง มัวเมาในชื่อเสียง เกียรติยศ หลงในคำสรรเสริญ ฯลฯ
ซึ่งเรื่องธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกมีเยอะมาก
- จริตของมนุษย์ ๖ ประการ นี่ก็ทันสมัยมาก กล่าวคือ คนเราโดยมากมักมีจริตที่วัดได้เป็นแบบนี้คือ
(๑) ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)
(๒)โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด)
(๓) โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึมงมงาย)
(๔) สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)
(๕) พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)
(๖). วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
นิสัยหรืออุปนิสัยของคนในสังคมปัจจุบันก็มีเรื่องแบบนี้แหละครับไม่แตกต่างกัน เรื่องนี้ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นปัจจุบันมาก
๓) เรื่องที่เป็นอนาคต ผมว่าเรื่องที่เป็นอนาคตมากที่สุดในพระไตรปิฎกก็คือ เรื่อง "มหาปเทส ๔" เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักการเพื่อเปิดช่องให้คนในยุคนี้หรือยุคอนาคตสามารถที่จะเพิ่มเติมเข้ามาในพระธรรมวินัยได้ เป็นเรื่องที่ทรงวางเป็นกรอบในการเปิดช่องให้มีการปรับเปลี่ยนพระธรรมวินัยให้เข้ากับยุคสมัยได้อันนี้ผมว่าเป็นเรื่องที่เลยความทันสมัยไปแล้วมันเป็นโลกอนาคตที่คนสามารถปรับเปลี่ยนคำสอนให้เอื้อกับยุคสมัยในโลกอนาคตได้
ด้วยเหตุที่สำคัญ ๓ ประการที่ผ่านมานี้ผมจึงเห็นว่าพระไตรปิฎกนนั้นมีความทันสมัยมาก และสามารถเข้าได้กับผู้คนในทุกยคุคทุกสมัย ไม่มีการเก่าคร่ำครึดังที่คนยังไม่ได้รู้จักพระไตรปิฎกคิดกัน
ขุมทรัพย์ทางปัญญาของชาวพุทธ
พระไตรปิฎกนั้น เป็นบันทึกที่
๑. มีความเป็นอดีต
๒. มีความเป็นปัจจุบัน และ
๓. มีความเป็นอนาคต
เรียกได้ว่าบางอย่างเข้าได้กับยุคสมัยนี้ และบางอย่างกำหนดไว้เพื่อเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
ขอยกตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เห็นว่า
เรื่องไหนเป็นเรื่องอดีต เรื่องไหนเป็นเรื่องปัจจุบัน และเรื่องไหนเป็นเรื่องอนาคต
๑) เรื่องที่เป็นอดีต คือเรื่องที่เล่ามาในอดีตชาติ เช่น เรื่องประวัติพระพุทธเจ้าในอดีต เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นประวัติศาสตร์บุคคล เมือง เป็นต้น เช่น ประวัติเมืองเวสาลี ประวัติเมืองพาราณสี อันนี้เป็นเรื่องในอดีตหรือเรื่องชาดกที่เล่าประวัติพระพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ นี่เป็นเรื่องอดีตๆทั้งนั้น
๒) เรื่องที่เป็นปัจจุบันเข้าได้กับทุกยุคทุกสมัย ผมว่าเรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจนมาก (แต่บางคนพยายามทำเป็นไม่รับรู้)
เรื่องที่ว่านี้ก็คือ
- เรื่องธรรมชาติของจิตใจมนุษย์
ปกติของมนุษย์ไม่ว่ายุคสมัยใดล้วนมีกิเลส คือความโลภ โกรธ หลง ติดข้างอยู่ในขันธสันดาน
อันนี้ค่อนข้างทันสมัยไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร มนุษย์ก็มีกิเลสเหมือนเดิมและพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีกิเลสนั้น "ล้วนไม่เปลี่ยนแปลง"
เช่นเรื่อง
ความโลภ อยากได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด นี่มีเหมือนกันทุกยุคทุกสมัย
ความโกรธ พยาบาท ปองร้าย ทำร้าย ความอิจฉาริษยา ดูละคร หรือภาพยนต์ที่สร้างมาสิ พล็อทเรื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่แตกต่างไปจากกันสักเท่าไหร่
ความหลง มัวเมาในชื่อเสียง เกียรติยศ หลงในคำสรรเสริญ ฯลฯ
ซึ่งเรื่องธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกมีเยอะมาก
- จริตของมนุษย์ ๖ ประการ นี่ก็ทันสมัยมาก กล่าวคือ คนเราโดยมากมักมีจริตที่วัดได้เป็นแบบนี้คือ
(๑) ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)
(๒)โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด)
(๓) โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึมงมงาย)
(๔) สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)
(๕) พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)
(๖). วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
นิสัยหรืออุปนิสัยของคนในสังคมปัจจุบันก็มีเรื่องแบบนี้แหละครับไม่แตกต่างกัน เรื่องนี้ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นปัจจุบันมาก
๓) เรื่องที่เป็นอนาคต ผมว่าเรื่องที่เป็นอนาคตมากที่สุดในพระไตรปิฎกก็คือ เรื่อง "มหาปเทส ๔" เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักการเพื่อเปิดช่องให้คนในยุคนี้หรือยุคอนาคตสามารถที่จะเพิ่มเติมเข้ามาในพระธรรมวินัยได้ เป็นเรื่องที่ทรงวางเป็นกรอบในการเปิดช่องให้มีการปรับเปลี่ยนพระธรรมวินัยให้เข้ากับยุคสมัยได้อันนี้ผมว่าเป็นเรื่องที่เลยความทันสมัยไปแล้วมันเป็นโลกอนาคตที่คนสามารถปรับเปลี่ยนคำสอนให้เอื้อกับยุคสมัยในโลกอนาคตได้
ด้วยเหตุที่สำคัญ ๓ ประการที่ผ่านมานี้ผมจึงเห็นว่าพระไตรปิฎกนนั้นมีความทันสมัยมาก และสามารถเข้าได้กับผู้คนในทุกยคุคทุกสมัย ไม่มีการเก่าคร่ำครึดังที่คนยังไม่ได้รู้จักพระไตรปิฎกคิดกัน