สัตว์เทียบกับอารมณ์

สัตว์เทียบกับอารมณ์

    อารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของเรา เปรียบเสมือนกับสัตว์เหล่านี้

    จรเข้ หมายถึง นิ่ง เหมือนกับคนสุภาพมาก ถ้างับทีหนึ่งถึงตาย สิ่งที่ซ้อนลึกในใจ คือ ตัวหวังร้าย ไม่ใช่ตัวหวังดี

    แมงป่อง หมายถึง ชอบต่อยเขา เวลาทำเขาจะชูหางว่าตัวเองเก่ง แล้วก็จะเอาก้นไปต่อยเขา

    ตะขาบ หมายถึง มีพิษ ค่อยกัดเขา รอบกัดเขา ซอกแทรกหลบๆ แล้วก็กัดเขา

    นางเงือก หมายถึง ราคะ หลงใหล

    เราร้ายจงภูมิใจว่าเรารู้ว่าเราร้าย แต่ถ้าเราร้ายแล้วยังไม่รู้ว่าตัวเองร้าย โง่ขำที่ เดือดร้อน

    เต่า หมายถึง ให้รู้จักระมัดระวังอายตนะทั้ง ๖ ถ้าเรารู้จักระมัดระวังเราก็จะปลอดภัย กระดอง เปรียบเสมือนธรรมะคุ้มครองเรา

    ๑. ชวด (หนู) ข้อเสีย คือ ขี้ขโมย ไม่พอใจ จะเอาลูกเดียว กัดเสื้อผ้าเพื่อเอาไปทำรัง
    ข้อดี คือ หากินเก่ง ว่องไว ทะลุทะลวง

    ๒. ฉลู (วัว) ข้อเสีย คือ ดื้อ
    ข้อดี คือ ให้นม ช่วยทำงาน

    ๓. ขาล (เสือ) ข้อเสีย อวด ทนง เก่งเกินการณ์
    ข้อดี ใจกล้า มีตบะ ทรงพลัง ทนงยิ่งในศักดิ์ศรี มีตบะมุ่งมั่นในการทำดี (ฤาษีต้องมีตบะ) โจรปล้นที่เป็นเสือคือโจรที่ดี มีคุณธรรม มีสัจจะ เช่น เสือมเหศวร เสือใบ เป็นต้น ถ้าไม่ดีเขาเรียกว่าหมา

    ๔. เถาะ (กระต่าย) ข้อเสีย ตื่นตูม ขี้กลัว หนีปัญหาลูกเดียว
    ข้อดี เอาตัวรอดเก่ง

    ๕. มะโรง (พญานาค) ข้อเสีย คือ มีพิษแต่วางตัวเป็นผู้ใหญ่ มีโทสะควบคุมไม่ได้
    ข้อดี ให้น้ำ

    ๖. มะเส็ง (งูเล็ก) ข้อเสีย คือ ราคะ สมสู่ไปทั่วไป พยาบาท
    ข้อดี คือ กำจัดสิ่งที่ไม่ดีคือหนู

    ๗. มะเมีย (ม้า) ข้อเสีย คือ ทนง เตลิด ไว
    ข้อดี คือ แข็งแรง เดินทางไกลได้ อดทน

    ๘. มะแม (แพะ) ข้อเสีย คือ ขี้เอาตัวรอด แพะเอาไปสังเวยบาป ขี้กลัว หลบ หนี
    ข้อดี คือ กล้าถูกรับบาป ให้นม ให้เนื้อ

    ๙. วอก (ลิง) ข้อเสีย เจ้าเล่ห์ ชอบหลอกชาวบ้าน ขี้โลภ
    ข้อดี ว่องไว

    ๑๐. ระกา (ไก่) ข้อเสีย อันธพาล จิกของ (ขโมย)
    ข้อดี คือ ขยัน ขันตรงต่อเวลา รู้หน้าที่

    ๑๑. จอ (หมา) ข้อเสีย ปากเสีย หมาหมู่
    ข้อดี คือ ซื่อสัตย์ ภักดี (ภักดีต่อเจ้าของ แต่ไม่ใช่ภักดีต่อความดี)

    ๑๒. กุน (หมู) ข้อเสีย คือ ไร้สาระกินไปวันๆ ใจดี
    ข้อดี ยอมเสียสละเป็นอาหารของสัตว์โลก

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่