ปรากฏการณ์จีนบุกไทย – ไชน่าทาวน์ใหม่ในกรุงเทพฯ
ย้อนกลับไปในยุคที่อากงอาม่า ล่องเรือสำเภาหนีสงครามกลางเมืองเข้ามาในไทย หรือที่เรียกว่าเป็น ‘ซิงตึ๊ง’ หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาตั้งรกรากในสยามประเทศ ทำมาหากิน ก่อร้างสร้างตัว จนได้ชื่อและสัญชาติไทย เปลี่ยนจากแซ่กลายเป็นนามสกุลแบบไทย กลายเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่กลมกลืนกับผู้คนแผ่นดินเดียวกัน
ผ่านมาครึ่งค่อนศตวรรษ หลังจากจีนเปิดประเทศ คนจีนรุ่นใหม่หลายคน ก็กระจายตัวไปเรียนต่อหรือทำธุรกิจที่ต่างประเทศ จีนกลายเป็นจีนใหม่ พัฒนาด้านเศรษฐกิจขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ยึดทุนนิยมเป็นสำคัญ จนเข้ามายึดพื้นที่ทำมาหากินจากหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย
ทุกวันนี้ หากเราเดินไปในย่านห้วยขวาง โดยเฉพาะเส้นประชาราษฎร์บำเพ็ญ เราจะพบเห็นชาวจีนจำนวนมาก ตั้งตัวอยู่กันเป็นชุมชน เปิดร้านขายของเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งร้านอาหาร ร้านขายยา และข้าวของเครื่องใช้ แต่คนเหล่านี้ไม่เหมือนกับชาวจีนเยาวราชดั้งเดิม จีนใหม่เหล่านี้เข้ามาสร้างไชน่าทาวน์ใหม่ ทำธุรกิจในรูปแบบของตัวเอง น้อยคนที่จะพูดภาษาไทย แต่กลายเป็นว่าสื่อสารกันด้วยภาษาจีนกลางและอังกฤษ ยังไม่นับคนจีนกลุ่มอื่นๆ ในย่านลาดกระบัง ศรีนครินทร์ สุขุมวิท และย่านเสือป่าพลาซ่า ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชน แต่อาจแตกต่างด้วยลักษณะของคนแต่ละพื้นที่
น่าสนใจว่า จีนใหม่เหล่านี้ เข้ามาในไทยด้วยวิธีการใด ผิดหรือถูกกฎหมายแค่ไหน เข้ามาทำธุรกิจอะไร และไทยจะได้รับผลกระทบทั้งด้านดีและด้านร้ายแบบใดบ้าง
งานวิจัยเรื่อง ‘การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนรุ่นใหม่ : กรณีศึกษาชุมชนจีนแห่งใหม่’ (2558) ซึ่งมี ดร.ชาดา เตรียมวิทยา เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ระบุว่าในช่วงนั้น มีจีนใหม่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 70,000 คน แต่ตอนนี้ในปี 2561 ทั่วประเทศน่าจะมีคนจีนเข้ามาอยู่ไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน
จำนวนเหล่านี้ไม่ใช่นักท่องเที่ยว แต่เป็นคนจีนที่มาอยู่ในไทยเป็นระยะเวลานาน หาลู่ทางทำธุรกิจ และมองไทยเป็นโอกาสการค้าที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
101 นัดสัมภาษณ์กับ
ดร.ชาดา เตรียมวิทยา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ศึกษาเรื่องจีนมาอย่างยาวนาน จบปริญญาเอกจาก East China Normal University ที่เซี่ยงไฮ้ และเข้าใจวัฒนธรรมความเป็นไทย-จีนอย่างดี
ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาว่าด้วยจีนใหม่ กับไทยที่อาจไม่เหมือนเดิม
ถ้ามองเจาะเฉพาะพื้นที่ อย่างในเส้นประชาราษฎร์บำเพ็ญ ที่ห้วยขวาง มีลักษณะพิเศษอย่างไร ทำไมคนจีนรุ่นใหม่จึงเลือกมาตั้งถิ่นฐานที่นี่
เท้าความประวัติศาสตร์ไปก่อนหน้านี้ ย่านห้วยขวางมีบริษัทจีน ไต้หวัน เข้ามาตั้งเยอะ คนจีนที่มาทำงานก็เช่าหอพักแถวนั้น ยิ่งมีสถานบันเทิงกลางคืน อยู่ใจกลางเมือง ค่าเช่าหอพักไม่แพง เขาก็คิดว่าเหมาะ
แล้วยังมีจีนอีกชุดหนึ่ง คือจีนเชื้อสายยูนนาน เป็นจีนทางเหนือบนดอย มีบัตรประชาชนไทย เขาพูดจีนกลางได้ ซึ่งเป็นโอกาสที่เหนือกว่าคนไทยเชื้อสายจีนกรุงเทพฯ ที่พูดได้แต่ภาษาถิ่น เช่น แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง ฯลฯ สื่อสารกับคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่มาใหม่ไม่ได้ คนจีนยูนนานทางแม่สะลองก็เลยเข้ามาทำธุรกิจ เริ่มจากขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ จากแต่เดิมมีร้านอาหารยูนนานไม่กี่ร้าน ก็เริ่มมีมากขึ้นหลังจากสถานทูตจีนจัดอบรมครูอาสาสมัครจีนที่เข้ามาทำงานในไทย
เขาเลือกโรงแรมที่ใกล้สถานทูตจีน (ตั้งอยู่รัชดาภิเษกซอย 3) คนจีนเหล่านี้ก็มารวมกันวันปฐมนิเทศ ผ่านไป 2 ปี กลับมาที่เดิมวันปัจฉิมนิเทศ ก่อนกลับประเทศก็ต้องซื้อของฝาก แน่นอนห้างในกรุงเทพฯ มีเยอะ แต่ของไม่ครบหรือไม่ตรงอย่างที่เขาต้องการ แต่เส้นประชาราษฎร์บำเพ็ญ สองข้างทางมีของครบเลย อยากได้อะไรมีหมด
แล้วช่วงหลัง เส้นนี้ก็ปรับ จากขายของปลีกแยกเป็นชิ้นๆ เขาก็ขายส่ง ผู้ช่วยไกด์ที่เป็นคนจีนก็เอาไปขายนักท่องเที่ยวจีนต่อ ก็เริ่มทำให้เส้นนี้บูม ประจวบกับหนังเรื่อง ‘Lost in Thailand’ ที่ดังมากในจีน ทำให้ทุกคนยิ่งอยากมาเมืองไทย
โซเชียลมีเดียของจีนก็ไวมาก เขาดูแอพพลิเคชั่นเลย ที่ไหนซื้อของได้ ที่ไหนมีที่พักราคาถูก เขาขอแค่ที่พักปลอดภัย นอนได้ เดินทางสะดวกก็พอแล้ว แล้วตรงนั้นมีรถไฟฟ้าใต้ดิน ขยับมาหน่อยเป็นตลาดนัดตรงสถานีสุทธิสาร เขาก็ไปไหว้พระพิฆเนศ รัชดาศิวาลัยสถาน ซื้อโค้กไปไหว้ราหู เป็นที่มาของตลาดพราหมณ์ย่านนั้น
ความแตกต่างของคนจีนกับไทยคือ คนไทยไปไหว้ ได้เครื่องรางมาก็อนุโมสาธุ แต่คนจีนมองปุ๊บ ถามเราเลย พระเครื่องนี้ต้นทุนเท่าไหร่ หาวิธีปั๊มยังไง เขามีความเป็นนักธุรกิจ เป็นนักผจญภัย
จีนใหม่ที่เข้ามาตั้งรกรากที่ห้วยขวาง เป็นคนรุ่นอายุเท่าไหร่
รุ่นใหม่เลย อายุประมาณ 25-40 ปี เป็นกลุ่มคนที่เกิดหลังปี 1980 แล้วคนเหล่านี้มีการศึกษาสูง ส่วนมากจบปริญญาตรี อย่างต่ำก็จบ ม.6 เขาจะไม่บอกว่าเขาเป็นเจ้าของร้าน แต่บอกว่ามาช่วยญาติดูแลร้าน
ประมาณว่าเป็นเถ้าแก่น้อย?
ประมาณนั้น แล้วเขาระวังตัว ไม่ค่อยเปิดเผย แต่ก็จะมีคนจีนที่เข้ามาทำธุรกิจคลีนๆ หน่อย เขาเริ่มจากการมาเป็นครูอาสาสมัครจีน ได้แต่งงานกับคนไทย เปิดร้านขายรังนก ไปซื้อที่ปากพนัง มีโรงงานอยู่บางเลน แล้วบรรจุใส่ขวด ที่น่าสนใจคือ เขามีสติ๊กเกอร์ WeChat ให้สแกน QR code บอกได้ว่ารังนกนี้ผลิตเมื่อไหร่ ต้นทางอยู่ไหน เถ้าแก่คือใคร ผ่าน อย. ทั้งไทยและจีนแล้ว นี่คือความทันสมัยที่ทำให้ผลิตภัณฑ์น่าเชื่อถือ
คนจีนมีพนักงานมาช่วยงานที่ร้านหลายแบบ แบบแรก เป็นพวกมีทักษะ ส่วนมากเป็นนักศึกษาจีนในไทย พวกนี้พูดได้ทั้งไทยทั้งจีน อีกแบบคือ แรงงานต่างด้าว แล้วเขาดูแลแรงงานต่างด้าวไม่เหมือนบ้านเรา บ้านเราบอกให้ไปอยู่เอง แต่เขาให้ที่อยู่ข้างบน เหมือนเฝ้าของให้เขาด้วย
ในแง่กฎหมาย ถือว่าการเข้ามาทำธุรกิจแบบนี้ผิดมั้ย
ผิด เรื่องของการจดทะเบียนการค้านี่ผิด แต่เวลาสำนักงานเขตไปดู ทะเบียนการค้าถูกต้อง การจดทะเบียนบริษัทถูกต้อง เรามีช่องว่างทางกฎหมาย เขาก็หาช่องที่จะเลี่ยงภาษีได้
สมมติธุรกิจเริ่มต้น 1 ล้านบาท กฎหมายให้คนไทยถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ คนต่างชาติถือ 49 เปอร์เซ็นต์ได้ จริงๆ ก็คือการร่วมทุนแหละ แต่ปรากฏว่า 51เปอร์เซ็นต์เป็นการยืมชื่อ หรือเป็นการเสนอชื่อ ฉันไม่ยุ่งเลยเงินก้อนนี้ของเธอ แต่เธอต้องให้ค่า agreement service เดือนละกี่บาท ก็ตกลงกัน
ต่อมาก็ใช้วิธีการเตะหุ้นเดิมออก แล้วเอาคนที่ตัวเองไว้ใจเข้ามา คนจีนพวกนี้เท่าที่คุยด้วย เขาคาดหวังว่าจะอยู่กัน 10 ปีขึ้นไป ตอนนี้คอนโดมีเนียมก็ทำฟังก์ชั่นเพื่อคนจีนมากขึ้น
คนจีนใหม่เหล่านี้ ต่างจากคนจีนยุคนั่งเรือสำเภามาที่ไทยอย่างไรบ้าง
อาจารย์สุภางค์ จันทวานิช แบ่งจีนในไทยเป็น 4 กลุ่ม คือ หนึ่ง เหล่าตึ๊ง คนจีนที่กลายเป็นไทยในระบบศักดินา คล้ายๆ กับพวกจีนหลวง สอง ซิงตึ๊ง ที่คนไทยจะมองว่าเป็นคนจีนเชยๆ ซิง แปลว่าใหม่ ตึ๊ง แปลว่าคนจีน ก็คือจีนใหม่ ที่เข้ามาไทยในช่วงเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศจีน สาม อี๋หมิน คือจีนยุคเปิดประเทศแล้ว คนไทยจะมีความรู้สึกว่า พวกนี้เป็นคอมมิวนิสต์มาก มารีดไถ แล้วก็รุ่นใหม่ล่าสุด ซินอี๋หมิน จะต่างกับ 3 ชุดแรก เขามาพร้อมกับไอโฟน มาพร้อมเทคโนโลยี
คนจีนยุคล่องสำเภา เป็นการย้ายถิ่นระลอกแรกๆ เขาหนีภัยสงคราม หนีความยากลำบากในจีนมา เขาใช้คำว่า มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แล้วเขายึดหลักขงจื่อ มีความกตัญญู แต่จีนรุ่นใหม่ไม่มีตรงนี้ แล้วตอนนี้มีตำราหลักสูตรใหม่ในประเทศจีน เช่น วิธีการใช้ลัทธิขงจื่อให้รวย ซึ่งคนไต้หวัน สิงคโปร์ก็ตกใจ คือเขาก็มีการใช้ลัทธิขงจื่อในสังคมของเขานะ แต่เขาตกใจในทฤษฎีของจีน ขงจื่อคือหลักปรัชญา คำสั่งสอน แต่คนจีนไปแปลว่าคือศักดินา
ตอนนี้สีจิ้นผิงก็มาทำซอฟต์พาวเวอร์ เอาขงจื่อมาใช้ในเรื่อง One belt, One road คือตอนนี้คนจีนคิดว่า ขอเป็นทุนนิยม ขอรวยอย่างเดียว เหมือนที่นักศึกษาจีนปี 1 ที่มาเรียนในไทย พอเข้าที่เข้าทางแล้ว เขาถามหาเลย โรงงานหมอนยางพาราอยู่ไหน โรงงานทำยาหม่อง สบู่อยู่ไหน ฉันจะไปจ้างเพื่อสร้างแบรนด์ฉันขึ้นมา
ตอนนี้มีคำหนึ่งเรียกว่า ฟู่ เอ้อ ต้าย ในภาษาจีน แปลได้ว่า รุ่นที่สอง พวกนี้พ่อแม่มีเงิน ซึ่งพ่อแม่คือรุ่นแรกที่บุกเบิกทำงาน เก็บหอมรอมริบ อายุไม่มาก 40 ต้นๆ เพราะฉะนั้นลูกเขาก็อายุ 20 ลงมา คนจีนเขาจะแบ่งเด็กจากปีเกิด เช่น เกิดหลัง 60 70
เขาทำเป็นสเต็ปที่ว่า หนึ่ง เริ่มเก็บหอมรอมริบ ลูกเริ่มได้เรียนดีๆ มหา’ลัยดีๆ เป็นเด็กที่เกิดในยุค one child policy คือช่วงปี 1980 – 2016 แม้ว่าตอนนี้ให้มีลูก 2 คน เขาก็ไม่อยากมี เพราะมองว่ามีคนเดียวสามารถทุ่มให้ลูกได้เต็มที่ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ดังนั้นเด็กกลุ่มที่มาเรียนไทย ก็จะมีเงินจากพ่อแม่ทั้งจากค่าเทอม และค่ากินอยู่ เก็บแป๊บเดียว ได้หลักล้าน เอาไปลงทุนทำธุรกิจ ไปซื้อคอนโด ขายของออนไลน์ เขามีหัวการค้า
รูปแบบห้วยขวางโมเดลตอนนี้ก็เริ่มกระจายแล้ว เอเชียทีคก็มี หรือแม้แต่แถวเยาวราชเก่า ก็เริ่มมีร้านค้าแบบนี้ 2-3 ร้าน
ที่พูดกันอยู่นี้ เขายังประกาศไงว่าฉันคือจีนใหม่ เป็นซินอี๋หมิน แต่ยังมีที่ย่านเสือป่าพลาซ่า ที่เขาไม่บอกว่าเป็นจีนใหม่
จีนใหม่ที่ย่านเสือป่าพลาซ่าเป็นอย่างไร
เขาจะเนียนว่าเป็นลูกหลานซิงตึ๊งที่อยู่ในไทย บางคนก็มีลูกเล็กๆ เขาบอกว่า ปิดเทอม พาลูกกลับบ้าน แต่เรามองว่าไม่น่าใช่ เพราะเด็กคือจีนจ๋าเลย
ส่วนมากเขาจะเนียนว่าเป็นเถ้าแก่ร้าน อายุประมาณ 40 จ้างแรงงานพม่าเป็นเด็กขายของ แล้วเขาจะไม่คุยกับเราเป็นภาษาจีนกลาง แต่คุยด้วยภาษากวางตุ้ง แต้จิ๋ว เพราะกลุ่มเหล่าตึ๊ง ซิงตึ๊ง เขาพูดจีนภาษาถิ่น เขาเลยจะเนียนว่าเป็นแต้จิ๋วเดิมที่ย้ายมาไทย
ที่ห้วยขวางขายสินค้าไทย แต่เสือป่าขายสินค้าจีน บางทีเราใช้โทรศัพท์จีน แล้วไม่มีอะไหล่ เราไปเดินเสือป่า หาอะไหล่ได้ เขาบอกรอมั้ย อาทิตย์นึงให้มารับ จัดการให้ได้ เป็นชิ้นเล็กๆ มาทางเครื่องบิน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีหลากหลาย บางอย่างเราเคยเห็น ลำโพง หรือสายหูฟัง ซึ่งราคาไม่แพง คือมันน่ารัก ก็ล่อใจให้อยากซื้อ
เขามีฐานะเท่าจีนใหม่ที่อยู่ห้วยขวางมั้ย
ที่ย่านเสือป่าพลาซ่าจะน่าสนใจกว่าห้วยขวาง อย่างที่บอกว่ามีเนียนในรูปแบบต่างๆ ก็ยิ่งทำให้เวลาไปแถวนั้น คนจะมีภาพว่าคนจีนแย่ แต่จีนใหม่ที่อยู่ห้วยขวางก็ไม่ใช่ว่ามีฐานะร่ำรวยนะ คนจีนฐานะร่ำรวยที่มาอยู่ไทย เช่น นักวิชาการ ศิลปิน ก็ไม่ไปเดินห้วยขวาง คือเขาก็มีการแบ่งระดับทางสังคมเศรษฐกิจ ส่วนมากเขาอยู่แถวสุขุมวิท พัฒนาการ ศรีนครินทร์
พวกนี้รวมตัวกันเป็นชุมชน รวมกันด้วยแกลลอรี่ งานศิลปะ ต่างจากจีนเก่าที่รวมกันด้วยแซ่ รวมกันตามโรงเจ จีนใหม่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวเล็กลง แต่กลายเป็นความสัมพันธ์ทางศิลปะ
หลายคนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในไทย เขายอมจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 2-3 หมื่น เพื่อที่จะได้บ้านที่มีบริเวณ เพราะเขาซื้อบ้านมีที่ดินไม่ได้ แล้วเขาไม่อยากอยู่คอนโดฯ ที่แออัด
พวกนี้เป็นการย้ายถิ่นโดยไม่ตั้งใจ เช่น บางทีก็ต้องมาในระยะเวลาสั้นๆ ตามหน้าที่ แต่ว่าบางคนพบรักกับสาวไทยก็มี ตอนซื้อบ้านก็ต้องใส่ชื่อภรรยา
ประเทศจีนเขาก็พัฒนาเยอะมากแล้ว ทำไมต้องมาอยู่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย
จริงๆ เขามองว่าไทยพัฒนาก่อนเขานะ แต่ไทยเราหยุดนิ่งไง แล้วเขาก้าวกระโดด
เขามองว่าประเทศไทยเสรี ในสังคมจีนค่อนข้างปิดกั้นเรื่องรักร่วมเพศ เขามองว่าเราเปิดกว้าง ก็มาที่นี่กัน แล้วที่ไทยความกดดันน้อย ทั้งการทำงาน การเรียน การแข่งขันน้อย
แต่ที่จีนเก็บภาษีเต็มๆ ยิ่งตอนนี้มาเป็นสังคมไร้เงินสด ต้องสแกนทุกอย่าง เพราะฉะนั้นรัฐบาลรู้การใช้จ่ายของคุณ ซื้อผักก็รู้แล้วว่าร้านผักที่อยู่ข้างทางตรงนี้ วันหนึ่งมีรายได้เท่าไหร่ คือคนก็มองว่าดูเท่นะ สังคมไร้เงินสด แต่มันทำให้รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น เพราะเขารู้ว่าคุณมีรายได้เท่าไหร่ แม้แต่ขอทานมีก็สแกน QR code
อ่านต่อ...
ปรากฏการณ์จีนบุกไทย – ไชน่าทาวน์ใหม่ในกรุงเทพฯ (แวะอ่านสักนิด)
ย้อนกลับไปในยุคที่อากงอาม่า ล่องเรือสำเภาหนีสงครามกลางเมืองเข้ามาในไทย หรือที่เรียกว่าเป็น ‘ซิงตึ๊ง’ หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาตั้งรกรากในสยามประเทศ ทำมาหากิน ก่อร้างสร้างตัว จนได้ชื่อและสัญชาติไทย เปลี่ยนจากแซ่กลายเป็นนามสกุลแบบไทย กลายเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่กลมกลืนกับผู้คนแผ่นดินเดียวกัน
ผ่านมาครึ่งค่อนศตวรรษ หลังจากจีนเปิดประเทศ คนจีนรุ่นใหม่หลายคน ก็กระจายตัวไปเรียนต่อหรือทำธุรกิจที่ต่างประเทศ จีนกลายเป็นจีนใหม่ พัฒนาด้านเศรษฐกิจขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ยึดทุนนิยมเป็นสำคัญ จนเข้ามายึดพื้นที่ทำมาหากินจากหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย
ทุกวันนี้ หากเราเดินไปในย่านห้วยขวาง โดยเฉพาะเส้นประชาราษฎร์บำเพ็ญ เราจะพบเห็นชาวจีนจำนวนมาก ตั้งตัวอยู่กันเป็นชุมชน เปิดร้านขายของเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งร้านอาหาร ร้านขายยา และข้าวของเครื่องใช้ แต่คนเหล่านี้ไม่เหมือนกับชาวจีนเยาวราชดั้งเดิม จีนใหม่เหล่านี้เข้ามาสร้างไชน่าทาวน์ใหม่ ทำธุรกิจในรูปแบบของตัวเอง น้อยคนที่จะพูดภาษาไทย แต่กลายเป็นว่าสื่อสารกันด้วยภาษาจีนกลางและอังกฤษ ยังไม่นับคนจีนกลุ่มอื่นๆ ในย่านลาดกระบัง ศรีนครินทร์ สุขุมวิท และย่านเสือป่าพลาซ่า ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชน แต่อาจแตกต่างด้วยลักษณะของคนแต่ละพื้นที่
น่าสนใจว่า จีนใหม่เหล่านี้ เข้ามาในไทยด้วยวิธีการใด ผิดหรือถูกกฎหมายแค่ไหน เข้ามาทำธุรกิจอะไร และไทยจะได้รับผลกระทบทั้งด้านดีและด้านร้ายแบบใดบ้าง
งานวิจัยเรื่อง ‘การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนรุ่นใหม่ : กรณีศึกษาชุมชนจีนแห่งใหม่’ (2558) ซึ่งมี ดร.ชาดา เตรียมวิทยา เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ระบุว่าในช่วงนั้น มีจีนใหม่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 70,000 คน แต่ตอนนี้ในปี 2561 ทั่วประเทศน่าจะมีคนจีนเข้ามาอยู่ไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน
จำนวนเหล่านี้ไม่ใช่นักท่องเที่ยว แต่เป็นคนจีนที่มาอยู่ในไทยเป็นระยะเวลานาน หาลู่ทางทำธุรกิจ และมองไทยเป็นโอกาสการค้าที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
101 นัดสัมภาษณ์กับ ดร.ชาดา เตรียมวิทยา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ศึกษาเรื่องจีนมาอย่างยาวนาน จบปริญญาเอกจาก East China Normal University ที่เซี่ยงไฮ้ และเข้าใจวัฒนธรรมความเป็นไทย-จีนอย่างดี
ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาว่าด้วยจีนใหม่ กับไทยที่อาจไม่เหมือนเดิม
ถ้ามองเจาะเฉพาะพื้นที่ อย่างในเส้นประชาราษฎร์บำเพ็ญ ที่ห้วยขวาง มีลักษณะพิเศษอย่างไร ทำไมคนจีนรุ่นใหม่จึงเลือกมาตั้งถิ่นฐานที่นี่
เท้าความประวัติศาสตร์ไปก่อนหน้านี้ ย่านห้วยขวางมีบริษัทจีน ไต้หวัน เข้ามาตั้งเยอะ คนจีนที่มาทำงานก็เช่าหอพักแถวนั้น ยิ่งมีสถานบันเทิงกลางคืน อยู่ใจกลางเมือง ค่าเช่าหอพักไม่แพง เขาก็คิดว่าเหมาะ
แล้วยังมีจีนอีกชุดหนึ่ง คือจีนเชื้อสายยูนนาน เป็นจีนทางเหนือบนดอย มีบัตรประชาชนไทย เขาพูดจีนกลางได้ ซึ่งเป็นโอกาสที่เหนือกว่าคนไทยเชื้อสายจีนกรุงเทพฯ ที่พูดได้แต่ภาษาถิ่น เช่น แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง ฯลฯ สื่อสารกับคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่มาใหม่ไม่ได้ คนจีนยูนนานทางแม่สะลองก็เลยเข้ามาทำธุรกิจ เริ่มจากขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ จากแต่เดิมมีร้านอาหารยูนนานไม่กี่ร้าน ก็เริ่มมีมากขึ้นหลังจากสถานทูตจีนจัดอบรมครูอาสาสมัครจีนที่เข้ามาทำงานในไทย
เขาเลือกโรงแรมที่ใกล้สถานทูตจีน (ตั้งอยู่รัชดาภิเษกซอย 3) คนจีนเหล่านี้ก็มารวมกันวันปฐมนิเทศ ผ่านไป 2 ปี กลับมาที่เดิมวันปัจฉิมนิเทศ ก่อนกลับประเทศก็ต้องซื้อของฝาก แน่นอนห้างในกรุงเทพฯ มีเยอะ แต่ของไม่ครบหรือไม่ตรงอย่างที่เขาต้องการ แต่เส้นประชาราษฎร์บำเพ็ญ สองข้างทางมีของครบเลย อยากได้อะไรมีหมด
แล้วช่วงหลัง เส้นนี้ก็ปรับ จากขายของปลีกแยกเป็นชิ้นๆ เขาก็ขายส่ง ผู้ช่วยไกด์ที่เป็นคนจีนก็เอาไปขายนักท่องเที่ยวจีนต่อ ก็เริ่มทำให้เส้นนี้บูม ประจวบกับหนังเรื่อง ‘Lost in Thailand’ ที่ดังมากในจีน ทำให้ทุกคนยิ่งอยากมาเมืองไทย
โซเชียลมีเดียของจีนก็ไวมาก เขาดูแอพพลิเคชั่นเลย ที่ไหนซื้อของได้ ที่ไหนมีที่พักราคาถูก เขาขอแค่ที่พักปลอดภัย นอนได้ เดินทางสะดวกก็พอแล้ว แล้วตรงนั้นมีรถไฟฟ้าใต้ดิน ขยับมาหน่อยเป็นตลาดนัดตรงสถานีสุทธิสาร เขาก็ไปไหว้พระพิฆเนศ รัชดาศิวาลัยสถาน ซื้อโค้กไปไหว้ราหู เป็นที่มาของตลาดพราหมณ์ย่านนั้น
ความแตกต่างของคนจีนกับไทยคือ คนไทยไปไหว้ ได้เครื่องรางมาก็อนุโมสาธุ แต่คนจีนมองปุ๊บ ถามเราเลย พระเครื่องนี้ต้นทุนเท่าไหร่ หาวิธีปั๊มยังไง เขามีความเป็นนักธุรกิจ เป็นนักผจญภัย
จีนใหม่ที่เข้ามาตั้งรกรากที่ห้วยขวาง เป็นคนรุ่นอายุเท่าไหร่
รุ่นใหม่เลย อายุประมาณ 25-40 ปี เป็นกลุ่มคนที่เกิดหลังปี 1980 แล้วคนเหล่านี้มีการศึกษาสูง ส่วนมากจบปริญญาตรี อย่างต่ำก็จบ ม.6 เขาจะไม่บอกว่าเขาเป็นเจ้าของร้าน แต่บอกว่ามาช่วยญาติดูแลร้าน
ประมาณว่าเป็นเถ้าแก่น้อย?
ประมาณนั้น แล้วเขาระวังตัว ไม่ค่อยเปิดเผย แต่ก็จะมีคนจีนที่เข้ามาทำธุรกิจคลีนๆ หน่อย เขาเริ่มจากการมาเป็นครูอาสาสมัครจีน ได้แต่งงานกับคนไทย เปิดร้านขายรังนก ไปซื้อที่ปากพนัง มีโรงงานอยู่บางเลน แล้วบรรจุใส่ขวด ที่น่าสนใจคือ เขามีสติ๊กเกอร์ WeChat ให้สแกน QR code บอกได้ว่ารังนกนี้ผลิตเมื่อไหร่ ต้นทางอยู่ไหน เถ้าแก่คือใคร ผ่าน อย. ทั้งไทยและจีนแล้ว นี่คือความทันสมัยที่ทำให้ผลิตภัณฑ์น่าเชื่อถือ
คนจีนมีพนักงานมาช่วยงานที่ร้านหลายแบบ แบบแรก เป็นพวกมีทักษะ ส่วนมากเป็นนักศึกษาจีนในไทย พวกนี้พูดได้ทั้งไทยทั้งจีน อีกแบบคือ แรงงานต่างด้าว แล้วเขาดูแลแรงงานต่างด้าวไม่เหมือนบ้านเรา บ้านเราบอกให้ไปอยู่เอง แต่เขาให้ที่อยู่ข้างบน เหมือนเฝ้าของให้เขาด้วย
ในแง่กฎหมาย ถือว่าการเข้ามาทำธุรกิจแบบนี้ผิดมั้ย
ผิด เรื่องของการจดทะเบียนการค้านี่ผิด แต่เวลาสำนักงานเขตไปดู ทะเบียนการค้าถูกต้อง การจดทะเบียนบริษัทถูกต้อง เรามีช่องว่างทางกฎหมาย เขาก็หาช่องที่จะเลี่ยงภาษีได้
สมมติธุรกิจเริ่มต้น 1 ล้านบาท กฎหมายให้คนไทยถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ คนต่างชาติถือ 49 เปอร์เซ็นต์ได้ จริงๆ ก็คือการร่วมทุนแหละ แต่ปรากฏว่า 51เปอร์เซ็นต์เป็นการยืมชื่อ หรือเป็นการเสนอชื่อ ฉันไม่ยุ่งเลยเงินก้อนนี้ของเธอ แต่เธอต้องให้ค่า agreement service เดือนละกี่บาท ก็ตกลงกัน
ต่อมาก็ใช้วิธีการเตะหุ้นเดิมออก แล้วเอาคนที่ตัวเองไว้ใจเข้ามา คนจีนพวกนี้เท่าที่คุยด้วย เขาคาดหวังว่าจะอยู่กัน 10 ปีขึ้นไป ตอนนี้คอนโดมีเนียมก็ทำฟังก์ชั่นเพื่อคนจีนมากขึ้น
คนจีนใหม่เหล่านี้ ต่างจากคนจีนยุคนั่งเรือสำเภามาที่ไทยอย่างไรบ้าง
อาจารย์สุภางค์ จันทวานิช แบ่งจีนในไทยเป็น 4 กลุ่ม คือ หนึ่ง เหล่าตึ๊ง คนจีนที่กลายเป็นไทยในระบบศักดินา คล้ายๆ กับพวกจีนหลวง สอง ซิงตึ๊ง ที่คนไทยจะมองว่าเป็นคนจีนเชยๆ ซิง แปลว่าใหม่ ตึ๊ง แปลว่าคนจีน ก็คือจีนใหม่ ที่เข้ามาไทยในช่วงเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศจีน สาม อี๋หมิน คือจีนยุคเปิดประเทศแล้ว คนไทยจะมีความรู้สึกว่า พวกนี้เป็นคอมมิวนิสต์มาก มารีดไถ แล้วก็รุ่นใหม่ล่าสุด ซินอี๋หมิน จะต่างกับ 3 ชุดแรก เขามาพร้อมกับไอโฟน มาพร้อมเทคโนโลยี
คนจีนยุคล่องสำเภา เป็นการย้ายถิ่นระลอกแรกๆ เขาหนีภัยสงคราม หนีความยากลำบากในจีนมา เขาใช้คำว่า มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แล้วเขายึดหลักขงจื่อ มีความกตัญญู แต่จีนรุ่นใหม่ไม่มีตรงนี้ แล้วตอนนี้มีตำราหลักสูตรใหม่ในประเทศจีน เช่น วิธีการใช้ลัทธิขงจื่อให้รวย ซึ่งคนไต้หวัน สิงคโปร์ก็ตกใจ คือเขาก็มีการใช้ลัทธิขงจื่อในสังคมของเขานะ แต่เขาตกใจในทฤษฎีของจีน ขงจื่อคือหลักปรัชญา คำสั่งสอน แต่คนจีนไปแปลว่าคือศักดินา
ตอนนี้สีจิ้นผิงก็มาทำซอฟต์พาวเวอร์ เอาขงจื่อมาใช้ในเรื่อง One belt, One road คือตอนนี้คนจีนคิดว่า ขอเป็นทุนนิยม ขอรวยอย่างเดียว เหมือนที่นักศึกษาจีนปี 1 ที่มาเรียนในไทย พอเข้าที่เข้าทางแล้ว เขาถามหาเลย โรงงานหมอนยางพาราอยู่ไหน โรงงานทำยาหม่อง สบู่อยู่ไหน ฉันจะไปจ้างเพื่อสร้างแบรนด์ฉันขึ้นมา
ตอนนี้มีคำหนึ่งเรียกว่า ฟู่ เอ้อ ต้าย ในภาษาจีน แปลได้ว่า รุ่นที่สอง พวกนี้พ่อแม่มีเงิน ซึ่งพ่อแม่คือรุ่นแรกที่บุกเบิกทำงาน เก็บหอมรอมริบ อายุไม่มาก 40 ต้นๆ เพราะฉะนั้นลูกเขาก็อายุ 20 ลงมา คนจีนเขาจะแบ่งเด็กจากปีเกิด เช่น เกิดหลัง 60 70
เขาทำเป็นสเต็ปที่ว่า หนึ่ง เริ่มเก็บหอมรอมริบ ลูกเริ่มได้เรียนดีๆ มหา’ลัยดีๆ เป็นเด็กที่เกิดในยุค one child policy คือช่วงปี 1980 – 2016 แม้ว่าตอนนี้ให้มีลูก 2 คน เขาก็ไม่อยากมี เพราะมองว่ามีคนเดียวสามารถทุ่มให้ลูกได้เต็มที่ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ดังนั้นเด็กกลุ่มที่มาเรียนไทย ก็จะมีเงินจากพ่อแม่ทั้งจากค่าเทอม และค่ากินอยู่ เก็บแป๊บเดียว ได้หลักล้าน เอาไปลงทุนทำธุรกิจ ไปซื้อคอนโด ขายของออนไลน์ เขามีหัวการค้า
รูปแบบห้วยขวางโมเดลตอนนี้ก็เริ่มกระจายแล้ว เอเชียทีคก็มี หรือแม้แต่แถวเยาวราชเก่า ก็เริ่มมีร้านค้าแบบนี้ 2-3 ร้าน
ที่พูดกันอยู่นี้ เขายังประกาศไงว่าฉันคือจีนใหม่ เป็นซินอี๋หมิน แต่ยังมีที่ย่านเสือป่าพลาซ่า ที่เขาไม่บอกว่าเป็นจีนใหม่
จีนใหม่ที่ย่านเสือป่าพลาซ่าเป็นอย่างไร
เขาจะเนียนว่าเป็นลูกหลานซิงตึ๊งที่อยู่ในไทย บางคนก็มีลูกเล็กๆ เขาบอกว่า ปิดเทอม พาลูกกลับบ้าน แต่เรามองว่าไม่น่าใช่ เพราะเด็กคือจีนจ๋าเลย
ส่วนมากเขาจะเนียนว่าเป็นเถ้าแก่ร้าน อายุประมาณ 40 จ้างแรงงานพม่าเป็นเด็กขายของ แล้วเขาจะไม่คุยกับเราเป็นภาษาจีนกลาง แต่คุยด้วยภาษากวางตุ้ง แต้จิ๋ว เพราะกลุ่มเหล่าตึ๊ง ซิงตึ๊ง เขาพูดจีนภาษาถิ่น เขาเลยจะเนียนว่าเป็นแต้จิ๋วเดิมที่ย้ายมาไทย
ที่ห้วยขวางขายสินค้าไทย แต่เสือป่าขายสินค้าจีน บางทีเราใช้โทรศัพท์จีน แล้วไม่มีอะไหล่ เราไปเดินเสือป่า หาอะไหล่ได้ เขาบอกรอมั้ย อาทิตย์นึงให้มารับ จัดการให้ได้ เป็นชิ้นเล็กๆ มาทางเครื่องบิน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีหลากหลาย บางอย่างเราเคยเห็น ลำโพง หรือสายหูฟัง ซึ่งราคาไม่แพง คือมันน่ารัก ก็ล่อใจให้อยากซื้อ
เขามีฐานะเท่าจีนใหม่ที่อยู่ห้วยขวางมั้ย
ที่ย่านเสือป่าพลาซ่าจะน่าสนใจกว่าห้วยขวาง อย่างที่บอกว่ามีเนียนในรูปแบบต่างๆ ก็ยิ่งทำให้เวลาไปแถวนั้น คนจะมีภาพว่าคนจีนแย่ แต่จีนใหม่ที่อยู่ห้วยขวางก็ไม่ใช่ว่ามีฐานะร่ำรวยนะ คนจีนฐานะร่ำรวยที่มาอยู่ไทย เช่น นักวิชาการ ศิลปิน ก็ไม่ไปเดินห้วยขวาง คือเขาก็มีการแบ่งระดับทางสังคมเศรษฐกิจ ส่วนมากเขาอยู่แถวสุขุมวิท พัฒนาการ ศรีนครินทร์
พวกนี้รวมตัวกันเป็นชุมชน รวมกันด้วยแกลลอรี่ งานศิลปะ ต่างจากจีนเก่าที่รวมกันด้วยแซ่ รวมกันตามโรงเจ จีนใหม่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวเล็กลง แต่กลายเป็นความสัมพันธ์ทางศิลปะ
หลายคนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในไทย เขายอมจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 2-3 หมื่น เพื่อที่จะได้บ้านที่มีบริเวณ เพราะเขาซื้อบ้านมีที่ดินไม่ได้ แล้วเขาไม่อยากอยู่คอนโดฯ ที่แออัด
พวกนี้เป็นการย้ายถิ่นโดยไม่ตั้งใจ เช่น บางทีก็ต้องมาในระยะเวลาสั้นๆ ตามหน้าที่ แต่ว่าบางคนพบรักกับสาวไทยก็มี ตอนซื้อบ้านก็ต้องใส่ชื่อภรรยา
ประเทศจีนเขาก็พัฒนาเยอะมากแล้ว ทำไมต้องมาอยู่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย
จริงๆ เขามองว่าไทยพัฒนาก่อนเขานะ แต่ไทยเราหยุดนิ่งไง แล้วเขาก้าวกระโดด
เขามองว่าประเทศไทยเสรี ในสังคมจีนค่อนข้างปิดกั้นเรื่องรักร่วมเพศ เขามองว่าเราเปิดกว้าง ก็มาที่นี่กัน แล้วที่ไทยความกดดันน้อย ทั้งการทำงาน การเรียน การแข่งขันน้อย
แต่ที่จีนเก็บภาษีเต็มๆ ยิ่งตอนนี้มาเป็นสังคมไร้เงินสด ต้องสแกนทุกอย่าง เพราะฉะนั้นรัฐบาลรู้การใช้จ่ายของคุณ ซื้อผักก็รู้แล้วว่าร้านผักที่อยู่ข้างทางตรงนี้ วันหนึ่งมีรายได้เท่าไหร่ คือคนก็มองว่าดูเท่นะ สังคมไร้เงินสด แต่มันทำให้รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น เพราะเขารู้ว่าคุณมีรายได้เท่าไหร่ แม้แต่ขอทานมีก็สแกน QR code
อ่านต่อ...