หนี้ เป็นคำที่หลายๆ คนคงไม่อยากได้ยิน หรือไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะมันแสดงถึงภาระหน้าที่ของเราที่จะต้องนำเงินมาจ่ายให้กับเจ้าหนี้ ยิ่งช่วงไหนช็อต เงินขาดมือ ก็ยิ่งเครียดกันใช่ไหมครับ บางคนเจ้าหนี้ตามทวงเช้า ทวงเย็น แทบอยากจะหายตัวได้กันเลย
จริงๆ แล้วการแก้หนี้ที่เกิดขึ้นนั้น ควรเริ่มจากการหา “เหตุ” ที่ทำให้เกิดขึ้นมาก่อน เพื่อให้เราได้เตรียมป้องกันไว้ โดยวันนี้ K-Expert อยากจะมาแนะนำ 3 สาเหตุที่มักทำให้คนสร้างหนี้เกินตัว พร้อมวิธีการวางแผนเพื่อรับมือกันครับ
สาเหตุที่ 1 จ่ายไม่อั้น ชีวิต No limit คือ การใช้จ่ายแบบไม่คิด ไม่มีการคำนวณเงิน หรือภาระที่มีอยู่ เพราะเมื่อจ่ายไปแล้วนั้น เราจะเหลือเงินสำหรับเรื่องอื่นๆ หรือไม่ อยากได้อะไรก็ต้องได้ จริงๆ แล้วอาจเกิดจากการที่เราลืมคิดถึงรายจ่ายอื่นๆ หรือจำไม่ได้
สิ่งที่ควรทำคือ การจดบันทึกรายรับ และรายจ่ายในแต่ละเดือน ว่ารายรับของเรานั้นในแต่ละเดือนต้องจ่ายให้กับเรื่องใดบ้าง และจะเหลือเงินสำหรับการใช้จ่ายในสิ่งที่เราต้องการได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งนี้จะช่วยเตือนใจให้เราก่อนตัดสินใจซื้อได้ว่า เมื่อเราจ่ายไปแล้ว เราจะมีเงินเหลือพอสำหรับภาระรายจ่ายอื่นๆ ได้นั่นเอง
สาเหตุที่ 2 จ่ายแบบไม่กันเผื่อรายจ่ายในอนาคต คือ การใช้จ่ายแบบไม่กันเงินสำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ความสำคัญแต่เฉพาะการใช้จ่ายในปัจจุบัน หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่ได้วางแผนไว้นั่นเอง เช่น ในอีก 5 เดือนข้างหน้า เราต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการมีลูก จะต้องเตรียมเงินอย่างน้อยสำหรับค่าคลอด และค่าดูแลลูกประมาณ 100,000 บาท รวมถึงรายจ่ายค่าดูแลลูกต่อๆ ไปในทุกๆ เดือน หากเราไม่กันเงินในส่วนนี้ออกมา เมื่อเวลามาถึง เราอาจจะไม่มีเงินมาชำระได้ และอาจกลายเป็นปัญหาการเงินได้ในระยะยาว
สิ่งที่ควรทำคือ การคำนวณเงินที่จะต้องใช้ โดยในกรณีนี้ เราอาจจะประมาณค่าใช้จ่ายได้จากการหาข้อมูล หรือสอบถามค่าใช้จ่ายในการคลอดกับทางโรงพยาบาล และกันเงินในแต่ละเดือนออกมา เช่น หากเราต้องใช้เงิน 100,000 บาท ในอีก 5 เดือนข้างหน้า แสดงว่าในแต่ละเดือนเราต้องกันเงินไว้อย่างน้อย 20,000 บาท (100,000/5) นั่นเอง หากเราคิดว่าไม่สามารถเก็บเงินดังกล่าวได้ เราอาจจะต้องเตรียมตัวขอสินเชื่อ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายดังกล่าว
สาเหตุที่ 3 จ่ายไม่เผื่อเหตุที่ไม่คาดคิด เพราะเป็นเหตุที่เราไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น ทำของสูญหาย หรือ มีคนในบ้านเกิดเจ็บป่วย แต่เราใช้เงินแบบแทบจะเดือนชนเดือน เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงทำให้เราไม่มีเงินเพียงพอมาจ่ายได้
สิ่งที่ควรทำคือ การเตรียมกันเงินไว้อย่างน้อย 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เช่น รายจ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 7,000 บาท เราต้องเตรียมเงินในส่วนนี้อยู่ที่ 42,000 บาทนั่นเอง เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า แม้จะมีเหตุไม่คาดคิด เราก็จะมีเงินพอให้ใช้จ่ายไปได้อีก 6 เดือนนั่นเอง โดยอาจเก็บเงินอยู่ในเงินฝากที่เราสามารถถอนมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็อย่าถอนไปใช้กับเรื่องที่ไม่จำเป็นนะครับ หรือบางคนอาจจะเผื่อด้วยการซื้อความคุ้มครอง เช่น ประกันสุขภาพ แม้เราจะไม่สบาย แต่ก็อุ่นใจได้ว่าจะมีเงินชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั่นเอง
เชื่อว่าถ้าเพื่อนๆ สามารถแก้ 3 สาเหตุนี้ได้ จะช่วยให้เพื่อนๆ สามารถควบคุมการใช้จ่าย และยังช่วยลดปัญหาการเงินที่จะเกิดขึ้นได้ หากใครมีสาเหตุอื่นๆ หรือมีวิธีการรับมือดีๆ อีกก็ช่วยกันแชร์ได้เลยนะครับ
3 พฤติกรรมการจ่าย!!! สร้างหนี้เกินตัว
หนี้ เป็นคำที่หลายๆ คนคงไม่อยากได้ยิน หรือไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะมันแสดงถึงภาระหน้าที่ของเราที่จะต้องนำเงินมาจ่ายให้กับเจ้าหนี้ ยิ่งช่วงไหนช็อต เงินขาดมือ ก็ยิ่งเครียดกันใช่ไหมครับ บางคนเจ้าหนี้ตามทวงเช้า ทวงเย็น แทบอยากจะหายตัวได้กันเลย
จริงๆ แล้วการแก้หนี้ที่เกิดขึ้นนั้น ควรเริ่มจากการหา “เหตุ” ที่ทำให้เกิดขึ้นมาก่อน เพื่อให้เราได้เตรียมป้องกันไว้ โดยวันนี้ K-Expert อยากจะมาแนะนำ 3 สาเหตุที่มักทำให้คนสร้างหนี้เกินตัว พร้อมวิธีการวางแผนเพื่อรับมือกันครับ
สาเหตุที่ 1 จ่ายไม่อั้น ชีวิต No limit คือ การใช้จ่ายแบบไม่คิด ไม่มีการคำนวณเงิน หรือภาระที่มีอยู่ เพราะเมื่อจ่ายไปแล้วนั้น เราจะเหลือเงินสำหรับเรื่องอื่นๆ หรือไม่ อยากได้อะไรก็ต้องได้ จริงๆ แล้วอาจเกิดจากการที่เราลืมคิดถึงรายจ่ายอื่นๆ หรือจำไม่ได้
สิ่งที่ควรทำคือ การจดบันทึกรายรับ และรายจ่ายในแต่ละเดือน ว่ารายรับของเรานั้นในแต่ละเดือนต้องจ่ายให้กับเรื่องใดบ้าง และจะเหลือเงินสำหรับการใช้จ่ายในสิ่งที่เราต้องการได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งนี้จะช่วยเตือนใจให้เราก่อนตัดสินใจซื้อได้ว่า เมื่อเราจ่ายไปแล้ว เราจะมีเงินเหลือพอสำหรับภาระรายจ่ายอื่นๆ ได้นั่นเอง
สาเหตุที่ 2 จ่ายแบบไม่กันเผื่อรายจ่ายในอนาคต คือ การใช้จ่ายแบบไม่กันเงินสำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ความสำคัญแต่เฉพาะการใช้จ่ายในปัจจุบัน หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่ได้วางแผนไว้นั่นเอง เช่น ในอีก 5 เดือนข้างหน้า เราต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการมีลูก จะต้องเตรียมเงินอย่างน้อยสำหรับค่าคลอด และค่าดูแลลูกประมาณ 100,000 บาท รวมถึงรายจ่ายค่าดูแลลูกต่อๆ ไปในทุกๆ เดือน หากเราไม่กันเงินในส่วนนี้ออกมา เมื่อเวลามาถึง เราอาจจะไม่มีเงินมาชำระได้ และอาจกลายเป็นปัญหาการเงินได้ในระยะยาว
สิ่งที่ควรทำคือ การคำนวณเงินที่จะต้องใช้ โดยในกรณีนี้ เราอาจจะประมาณค่าใช้จ่ายได้จากการหาข้อมูล หรือสอบถามค่าใช้จ่ายในการคลอดกับทางโรงพยาบาล และกันเงินในแต่ละเดือนออกมา เช่น หากเราต้องใช้เงิน 100,000 บาท ในอีก 5 เดือนข้างหน้า แสดงว่าในแต่ละเดือนเราต้องกันเงินไว้อย่างน้อย 20,000 บาท (100,000/5) นั่นเอง หากเราคิดว่าไม่สามารถเก็บเงินดังกล่าวได้ เราอาจจะต้องเตรียมตัวขอสินเชื่อ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายดังกล่าว
สาเหตุที่ 3 จ่ายไม่เผื่อเหตุที่ไม่คาดคิด เพราะเป็นเหตุที่เราไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น ทำของสูญหาย หรือ มีคนในบ้านเกิดเจ็บป่วย แต่เราใช้เงินแบบแทบจะเดือนชนเดือน เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงทำให้เราไม่มีเงินเพียงพอมาจ่ายได้
สิ่งที่ควรทำคือ การเตรียมกันเงินไว้อย่างน้อย 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน เช่น รายจ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 7,000 บาท เราต้องเตรียมเงินในส่วนนี้อยู่ที่ 42,000 บาทนั่นเอง เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า แม้จะมีเหตุไม่คาดคิด เราก็จะมีเงินพอให้ใช้จ่ายไปได้อีก 6 เดือนนั่นเอง โดยอาจเก็บเงินอยู่ในเงินฝากที่เราสามารถถอนมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็อย่าถอนไปใช้กับเรื่องที่ไม่จำเป็นนะครับ หรือบางคนอาจจะเผื่อด้วยการซื้อความคุ้มครอง เช่น ประกันสุขภาพ แม้เราจะไม่สบาย แต่ก็อุ่นใจได้ว่าจะมีเงินชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั่นเอง
เชื่อว่าถ้าเพื่อนๆ สามารถแก้ 3 สาเหตุนี้ได้ จะช่วยให้เพื่อนๆ สามารถควบคุมการใช้จ่าย และยังช่วยลดปัญหาการเงินที่จะเกิดขึ้นได้ หากใครมีสาเหตุอื่นๆ หรือมีวิธีการรับมือดีๆ อีกก็ช่วยกันแชร์ได้เลยนะครับ