ผู้หญิงควรเป็นศิษยาภิบาล/นักเทศน์ไหมครับ

สวัสดีครับ

"1 ทิโมธี" บทที่ 2
ข้อที่ 11 : ให้ผู้หญิงเรียนอย่างเงียบ ๆ และด้วยใจนอบน้อมทุกอย่าง
ข้อที่ 12 : ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ผู้หญิงสั่งสอนหรือใช้อำนาจเหนือผู้ชาย แต่ให้เขานิ่ง ๆ อยู่

แต่ผมก็ได้อะไรหลากอย่างจากนักเทศน์หญิงหลายคน
ข้อพระคัมภีร์นี้สื่อความหมายตรง หรือเป็นคำอุปมาที่ต้องตีความครับ

สรุปว่าผู้หญิงควรเป็นศิษยาภิบาล/นักเทศน์ไหมครับ
ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ปกตินักบุญเปาโล เวลาเขียนจดหมาย ต้องการอ้างใช้สิทธิ์ของอัครทูต(คำสั่ง)ให้คริสตชนปฏิบัติตาม จะเขียนโดยใช้ว่า

องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า​ทรง​บัญ​ชา​ว่า
ข้าพ​เจ้า​ขอ​สั่ง ไม่​ใช่​ข้าพ​เจ้า​สั่ง​เอง แต่​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า​ทรง​บัญ​ชา​ว่า
ข้าพ​เจ้า​บัญ​ชา​พวก​ท่าน​โดย​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า
ให้​รัก​ษา​คำ​บัญ​ชา​นี้...
พระ​เจ้า​...ได้​ทรง​บัญ​ชา​...


ถ้าไม่ใช้สิทธิ์อัครทูต(ทำหรือไม่ทำก็ได้) จะใช้คำในเชิงขอร้องว่า

ข้าพ​เจ้า​ไม่​ได้​รับ​พระ​บัญ​ชา​จาก​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า แต่​ข้าพ​เจ้า​ก็​ขอ​ออก​ความ​เห็น...
ข้าพ​เจ้า​ขอร้อง...
เราขอร้อง...
ข้าพ​เจ้า​ขอร้อง​ท่าน​ทั้ง​หลาย...
ข้าพ​เจ้า​ปรารถ​นา...
มีความปรารถนา...


สรุป คือประโยค 1 ทิโมธี บทที่ 2 เป็นประโยคขอร้อง จะทำหรือไม่ก็ได้ ไม่ได้เป็นคำสั่งโดยใช้สิทธิ์อัครทูตแต่อย่างใดครับ เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของนักบุญเปาโลเท่านั้น เหมือนกับที่เรียกร้องให้คริสตชนถือเป็นโสดเหมือนนักบุญเปาโล(1คร. 7:40)  แต่ไม่ใช่การบังคับแต่อย่างใดครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่