การโพสต์หมิ่นประมาท ผิด ป.อาญา แต่ไม่ผิด พ.ร.บ.คอม ฯ ม.14(1)
ปัญหาการใช้มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับเดิมนั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด 10 ปี จนนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขใน พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ให้มีข้อความดังนี้ “มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
จะเห็นว่า มาตรา 14 ที่มีการแก้ไขใหม่ ได้ระบุให้ชัดเจนขึ้นว่า การกระทำที่ถือเป็นความผิดตามมาตรานี้ ต้องเป็นการจงใจ หรือมีเจตนาหลอกลวง นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และทำให้เกิดความเสียหายในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่กรณีการหมิ่นประมาท นั่นเพราะที่ผ่านมา มักจะมีการตั้งข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ่วงเข้าไปกับคดีหมิ่นประมาทด้วย เพื่อให้โทษรุนแรงขึ้น จนหลายกรณีเป็นการข่มขู่ผู้ถูกดำเนินคดีให้เกิดความหวาดกลัว และผิดจากเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีอยู่แต่เดิม ซึ่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ได้พยายามปิดช่องโหว่ตรงนี้ โดยหากเป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ก็ให้ไปฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยเรื่องหมิ่นประมาทไป ไม่ต้องเอากฎหมายคอมพิวเตอร์ที่มีโทษรุนแรงกว่าพ่วงเข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ก็ยังมีช่องโหว่อยู่ดี หากเจ้าหน้าที่จะตีความวลีที่ว่า “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย” นั้น รวมความถึง “ความเสียหายต่อชื่อเสียง” เข้าไปด้วย ซึ่งก็เท่ากับว่า ยังสามารถเอากฎหมายคอมพิวเตอร์ไปใช้กับกรณีหมิ่นประมาทได้อยู่ดี และนี่ จะยังเป็นช่องโหว่ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้กฎหมายคอมพิวเตอร์ฯ ในการปิดกั้นเสรีภาพหรือกลั่นแกล้งประชาชนได้อยู่เหมือนเดิม แต่เป็นที่น่ายินดีว่า เริ่มมีการนำพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ มาตรา 14 มาใช้ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมายแล้ว มาดูกันครับ!!!!!!!
คดีโพสต์วิจารณ์ตำรวจอ้าง ม.44 ค้นบ้าน
คดีของบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44
นายบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงอัยการศาลจังหวัดราชบุรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ใจความว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2560 อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ส่วนข้อหาหมิ่นประมาทยังอยู่ระหว่างอัยการศาลแขวงราชบุรีทำความเห็น โดยจะนัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีวันที่ 26 ธ.ค. 2560
โพสต์ข้อความหมิ่นประมาทเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ผิดฐาน หมิ่นประมาท ตาม ป.อาญา แต่ไม่ผิด พ.ร.บ.คอม ฯ ม.14(1)
ปัญหาการใช้มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับเดิมนั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด 10 ปี จนนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขใน พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ให้มีข้อความดังนี้ “มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
จะเห็นว่า มาตรา 14 ที่มีการแก้ไขใหม่ ได้ระบุให้ชัดเจนขึ้นว่า การกระทำที่ถือเป็นความผิดตามมาตรานี้ ต้องเป็นการจงใจ หรือมีเจตนาหลอกลวง นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และทำให้เกิดความเสียหายในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่กรณีการหมิ่นประมาท นั่นเพราะที่ผ่านมา มักจะมีการตั้งข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ่วงเข้าไปกับคดีหมิ่นประมาทด้วย เพื่อให้โทษรุนแรงขึ้น จนหลายกรณีเป็นการข่มขู่ผู้ถูกดำเนินคดีให้เกิดความหวาดกลัว และผิดจากเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีอยู่แต่เดิม ซึ่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ได้พยายามปิดช่องโหว่ตรงนี้ โดยหากเป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ก็ให้ไปฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยเรื่องหมิ่นประมาทไป ไม่ต้องเอากฎหมายคอมพิวเตอร์ที่มีโทษรุนแรงกว่าพ่วงเข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ก็ยังมีช่องโหว่อยู่ดี หากเจ้าหน้าที่จะตีความวลีที่ว่า “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย” นั้น รวมความถึง “ความเสียหายต่อชื่อเสียง” เข้าไปด้วย ซึ่งก็เท่ากับว่า ยังสามารถเอากฎหมายคอมพิวเตอร์ไปใช้กับกรณีหมิ่นประมาทได้อยู่ดี และนี่ จะยังเป็นช่องโหว่ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้กฎหมายคอมพิวเตอร์ฯ ในการปิดกั้นเสรีภาพหรือกลั่นแกล้งประชาชนได้อยู่เหมือนเดิม แต่เป็นที่น่ายินดีว่า เริ่มมีการนำพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ มาตรา 14 มาใช้ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมายแล้ว มาดูกันครับ!!!!!!!
คดีโพสต์วิจารณ์ตำรวจอ้าง ม.44 ค้นบ้าน
คดีของบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44
นายบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงอัยการศาลจังหวัดราชบุรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ใจความว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2560 อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ส่วนข้อหาหมิ่นประมาทยังอยู่ระหว่างอัยการศาลแขวงราชบุรีทำความเห็น โดยจะนัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีวันที่ 26 ธ.ค. 2560