ส่วนตัวผมว่าให้ ปตท แข็งแกร่งแบบนี้ อย่างน้อยก็เข้ารัฐ เข้าประกันสังคม ไม่ได้กินรวบแบบบางตระกูลนะฮะ
https://www.prachachat.net/economy/news-213053
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Korn Chatikavanij” ตั้งค่าสาธารณะ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ระบุว่าได้รับเชิญไปบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาในยุค Digital Age” กับกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ของบริษัทในเครือปตท. โดยตอนหนึ่งของการบรรยาย ระบุว่า ปตท. ส่อขัดกฎหมายจัดตั้งปตท.และรัฐธรรมนูญ กรณีที่ใช้บริษัทลูกของตน คือ GPSC เข้าซื้อหุ้น 69% ในบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนชื่อ GLOW และขยายสาขากาแฟอเมซอนตามห้างและบนท้องถนนในหัวเมืองทั่วประเทศ แข่งกับชาวบ้านซึ่งไม่มีทางสู้ได้ด้วยว่ากำลังทุนต่างกัน แถมยังมีแผนจะทำโรงแรมด้วย ฉะนั้นในฐานะประธานนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ จะยื่นร้องเรียนต่อผู้มีอำนาจในสองกรณีดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
“ความคาดหวังจาก ปตท. ในฐานะรัฐวิสาหกิจไทยที่เป็น ‘National Champion’ และเหตุผลที่การซื้อบริษัทผลิตไฟฟ้า Glow และยุทธศาสตร์ Cafe Amazon จึงเป็นเรื่องอันตราย”
– ผมได้รับเชิญไปแชร์ความคิด ในหัวข้อ “การพัฒนาในยุค Digital Age” กับกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ของบริษัทในเครือปตท.
– ผมเลยถือโอกาสท้าทายคนเก่งกลุ่มนี้ว่าด้วยความที่ปตท.เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ เป็นที่รวมผู้มีความสามารถ ปตท.ควรที่จะต้องใช้ศักยภาพและทรัพยากรของตนในการสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการลงทุนขยายกิจการไปในตลาดต่างประเทศ หรือหากจะทำธุรกิจในประเทศ ก็ควรลงทุนทำธุรกิจใหม่ๆที่มีผลในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ มากกว่าที่จะทำในสิ่งที่ผู้ประกอบการคนไทยเจ้าอื่นทั่วไปเขาสามารถจะทำได้
– นี่คือบทบาทที่แท้จริงของ National Champion
– แต่ที่ปตท. ไม่ควรทำคือใช้อำนาจทางการตลาด (ที่ได้มาจากความได้เปรียบในฐานะรัฐวิสาหกิจ) ในการทำธุรกิจในลักษณะที่ทำให้คนอื่นเสียเปรียบ
– ซึ่งว่าไปแล้วนอกจากจะขัดต่อกฎหมายจัดตั้งปตท. แล้วยังน่าจะขัดรัฐธรรมนูญอีกด้วย
– ผมได้ถือโอกาสเล่าให้ชาวปตท. ฟังว่าด้วยเหตุนี้ ในฐานะประธานนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ผมจะยื่นร้องเรียนต่อผู้มีอำนาจในสองกรณีที่เกี่ยวกับปตท.
– เรื่องแรกคือกรณีที่ปตท. ใช้บริษัทลูกของตน GPSC เข้าซื้อหุ้น 69% ในบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนชื่อ GLOW ซึ่งปัญหาสำคัญคือ
1. ปตท. เป็นผู้ขายก๊าซผูกขาดให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าทุกโรงในประเทศไทย ดังนั้นหากปตท. ลงมาผลิตไฟฟ้าเอง จะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าบิดเบี้ยวทันที โดยที่ผู้ที่จะรับเคราะห์สุดท้ายก็คือประชาชนในฐานะผู้ซื้อไฟ
2. ปตท. จัดตั้งขึ้นมาตาม พ.ร.บ. การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย มีภารกิจเจาะจงให้ทำธุรกิจปิโตรเลี่ยมเท่านั้น
3. รัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดว่ารัฐห้ามทำธุรกิจแข่งกับเอกชน (มาตรา ๗๕) ดังนั้นปตท. จะทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าแข่งกับเอกชนไม่ได้
4. หากอ้างความมั่นคง ผมคงต้องถามว่า แล้วเรามี’การไฟฟ้าฝ่ายผลิต’ ไว้ทำอะไร?!
– ส่วนเรื่องที่สองคือ ‘กาแฟอเมซอน’
– เรื่องนี้อ่านแล้วอาจจะคิดว่าเรื่องเล็กนะครับ แต่มันคือเรื่องแบบนี้ที่ทำให้ผู้ประกอบการ และคนไทยทั่วไปมีโอกาสในการทำมาหากินน้อยลงไปเรื่อยๆ
– ในช่วงแรกๆที่ปตท. เปิดร้านกาแฟในปั้มน้ำมัน ผมก็มีความรู้สึกว่าไม่เป็นปัญหา แต่พอระยะหลังเริ่มออกมาเปิดสาขามากขึ้นตามห้าง และบนท้องถนนในหัวเมืองทั่วประเทศ ผมจึงเริ่มมีความรู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้องและเป็นการแข่งขันโดยตรงกับชาวบ้านทั่วไปที่ไม่มีทางจะสู้ได้ด้วยกำลังทุนที่ต่างกันฟ้ากับดิน
– และปตท.ประกาศแล้วว่ามีแผนจะทำโรงแรมด้วย แล้วเอกชนที่สายป่านสั้นกว่าเขาจะอยู่รอดอย่างไร
– รัฐธรรมนูญมาตรา ๗๕ ห้ามรัฐไม่ให้ทำธุรกิจแข่งกับประชาชน ซึ่งถ้าหากบริษัทยักษ์ใหญ่ของรัฐยังขายกาแฟแข่งกับประชาชนได้แบบนี้ ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้เขียนไว้เพื่ออะไร
– ในภาพใหญ่เราต้องใส่ใจกับเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรม และเรื่องอิทธิพลทุนใหญ่ ผมว่าจุดเริ่มต้นที่ดีคือรัฐเองอย่าไปเบียดพื้นที่หากินชาวบ้าน
– ส่วนปตท.นั้นเป็นความหวังของเราทุกคนครับ ผมเชื่อว่าคุณสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มากกว่าที่จะมาขายกาแฟแข่งกับชาวบ้าน หรือไล่ซื้อกิจการของลูกค้าของตนอย่างในกรณี GLOW
– พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นร้องเรียนต่อท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายบริหารนโยบาย ยื่นต่อคณะกรรมการพลังงานในฐานะผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า และต่อผู้ตรวจการแผ่นดินในกรณีที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
– ทั้งหมดนี้ผมได้อธิบายกับผู้บริหารเครือปตท. ว่าความเห็นทั้งหมดนี้มาจากความกังวลของพรรคต่อผู้ประกอบการรายเล็กและประชาชนทั่วไป และความกังวลว่าปตท. ควรใช้เวลาในการสร้างคุณค่าให้เศรษฐกิจไทยเรามากกว่านี้
อย่างไรก็ตามมีแฟนคลับเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งสนับสนุนและแย้งจำนวนมาก ฝ่ายสนับสนุน อาทิ
“ผมก็คิดนะครับ แต่ไม่ลึกซึ้งเท่าคุณกรณ์ ผมเห็นด้วยครับกับคุณกรณ์อย่างสิ้นเชิง ผมไม่เข้าใจว่า ปตท. จะมาทำโรงแรมทำไม ปตท. กำลังหลงประเด็นธุรกิจหลักและหน้าที่ของตนเอง”
ส่วนฝ่ายที่คัดค้าน อาทิ
“คุณกรณ์ติติงปตท.สองเรื่องเด่นๆ อย่างแรก กาแฟอเมซอนที่ขยายสาขาไปทั่วนอกเหนือจากในปั๊มปตท. เท่าที่ทราบส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจรายย่อยที่ซื้อแฟรนไซส์ไปบริหารจัดการเอง มันผิดตรงไหนครับ?
ส่วนเรื่องซื้อกิจการไฟฟ้าGLOW นั้น เป็นกิจการที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักมากกว่าใช้ก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้การนำเข้าก๊าซ ก็เปิดโดยเสรีแล้ว และบริษัทลูกอย่าง GPSC ก็ไม่ได้สิทธิพิเศษเหนือเอกชนใดๆ ผมยังมองไม่เห็นว่าพรรคปชป.จะไปทักท้วงทำไม?
‘กรณ์’ ร้อง’ปตท.’ขัดกม. หลัง ‘ซื้อหุ้น GLOW ผ่าน บ.ลูก-ขยาย อเมซอนตามห้างแข่งชาวบ้าน’
https://www.prachachat.net/economy/news-213053
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Korn Chatikavanij” ตั้งค่าสาธารณะ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ระบุว่าได้รับเชิญไปบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาในยุค Digital Age” กับกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ของบริษัทในเครือปตท. โดยตอนหนึ่งของการบรรยาย ระบุว่า ปตท. ส่อขัดกฎหมายจัดตั้งปตท.และรัฐธรรมนูญ กรณีที่ใช้บริษัทลูกของตน คือ GPSC เข้าซื้อหุ้น 69% ในบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนชื่อ GLOW และขยายสาขากาแฟอเมซอนตามห้างและบนท้องถนนในหัวเมืองทั่วประเทศ แข่งกับชาวบ้านซึ่งไม่มีทางสู้ได้ด้วยว่ากำลังทุนต่างกัน แถมยังมีแผนจะทำโรงแรมด้วย ฉะนั้นในฐานะประธานนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ จะยื่นร้องเรียนต่อผู้มีอำนาจในสองกรณีดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
“ความคาดหวังจาก ปตท. ในฐานะรัฐวิสาหกิจไทยที่เป็น ‘National Champion’ และเหตุผลที่การซื้อบริษัทผลิตไฟฟ้า Glow และยุทธศาสตร์ Cafe Amazon จึงเป็นเรื่องอันตราย”
– ผมได้รับเชิญไปแชร์ความคิด ในหัวข้อ “การพัฒนาในยุค Digital Age” กับกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ของบริษัทในเครือปตท.
– ผมเลยถือโอกาสท้าทายคนเก่งกลุ่มนี้ว่าด้วยความที่ปตท.เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ เป็นที่รวมผู้มีความสามารถ ปตท.ควรที่จะต้องใช้ศักยภาพและทรัพยากรของตนในการสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการลงทุนขยายกิจการไปในตลาดต่างประเทศ หรือหากจะทำธุรกิจในประเทศ ก็ควรลงทุนทำธุรกิจใหม่ๆที่มีผลในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ มากกว่าที่จะทำในสิ่งที่ผู้ประกอบการคนไทยเจ้าอื่นทั่วไปเขาสามารถจะทำได้
– นี่คือบทบาทที่แท้จริงของ National Champion
– แต่ที่ปตท. ไม่ควรทำคือใช้อำนาจทางการตลาด (ที่ได้มาจากความได้เปรียบในฐานะรัฐวิสาหกิจ) ในการทำธุรกิจในลักษณะที่ทำให้คนอื่นเสียเปรียบ
– ซึ่งว่าไปแล้วนอกจากจะขัดต่อกฎหมายจัดตั้งปตท. แล้วยังน่าจะขัดรัฐธรรมนูญอีกด้วย
– ผมได้ถือโอกาสเล่าให้ชาวปตท. ฟังว่าด้วยเหตุนี้ ในฐานะประธานนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ผมจะยื่นร้องเรียนต่อผู้มีอำนาจในสองกรณีที่เกี่ยวกับปตท.
– เรื่องแรกคือกรณีที่ปตท. ใช้บริษัทลูกของตน GPSC เข้าซื้อหุ้น 69% ในบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนชื่อ GLOW ซึ่งปัญหาสำคัญคือ
1. ปตท. เป็นผู้ขายก๊าซผูกขาดให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าทุกโรงในประเทศไทย ดังนั้นหากปตท. ลงมาผลิตไฟฟ้าเอง จะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าบิดเบี้ยวทันที โดยที่ผู้ที่จะรับเคราะห์สุดท้ายก็คือประชาชนในฐานะผู้ซื้อไฟ
2. ปตท. จัดตั้งขึ้นมาตาม พ.ร.บ. การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย มีภารกิจเจาะจงให้ทำธุรกิจปิโตรเลี่ยมเท่านั้น
3. รัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดว่ารัฐห้ามทำธุรกิจแข่งกับเอกชน (มาตรา ๗๕) ดังนั้นปตท. จะทำธุรกิจผลิตไฟฟ้าแข่งกับเอกชนไม่ได้
4. หากอ้างความมั่นคง ผมคงต้องถามว่า แล้วเรามี’การไฟฟ้าฝ่ายผลิต’ ไว้ทำอะไร?!
– ส่วนเรื่องที่สองคือ ‘กาแฟอเมซอน’
– เรื่องนี้อ่านแล้วอาจจะคิดว่าเรื่องเล็กนะครับ แต่มันคือเรื่องแบบนี้ที่ทำให้ผู้ประกอบการ และคนไทยทั่วไปมีโอกาสในการทำมาหากินน้อยลงไปเรื่อยๆ
– ในช่วงแรกๆที่ปตท. เปิดร้านกาแฟในปั้มน้ำมัน ผมก็มีความรู้สึกว่าไม่เป็นปัญหา แต่พอระยะหลังเริ่มออกมาเปิดสาขามากขึ้นตามห้าง และบนท้องถนนในหัวเมืองทั่วประเทศ ผมจึงเริ่มมีความรู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้องและเป็นการแข่งขันโดยตรงกับชาวบ้านทั่วไปที่ไม่มีทางจะสู้ได้ด้วยกำลังทุนที่ต่างกันฟ้ากับดิน
– และปตท.ประกาศแล้วว่ามีแผนจะทำโรงแรมด้วย แล้วเอกชนที่สายป่านสั้นกว่าเขาจะอยู่รอดอย่างไร
– รัฐธรรมนูญมาตรา ๗๕ ห้ามรัฐไม่ให้ทำธุรกิจแข่งกับประชาชน ซึ่งถ้าหากบริษัทยักษ์ใหญ่ของรัฐยังขายกาแฟแข่งกับประชาชนได้แบบนี้ ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้เขียนไว้เพื่ออะไร
– ในภาพใหญ่เราต้องใส่ใจกับเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรม และเรื่องอิทธิพลทุนใหญ่ ผมว่าจุดเริ่มต้นที่ดีคือรัฐเองอย่าไปเบียดพื้นที่หากินชาวบ้าน
– ส่วนปตท.นั้นเป็นความหวังของเราทุกคนครับ ผมเชื่อว่าคุณสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มากกว่าที่จะมาขายกาแฟแข่งกับชาวบ้าน หรือไล่ซื้อกิจการของลูกค้าของตนอย่างในกรณี GLOW
– พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นร้องเรียนต่อท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายบริหารนโยบาย ยื่นต่อคณะกรรมการพลังงานในฐานะผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า และต่อผู้ตรวจการแผ่นดินในกรณีที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
– ทั้งหมดนี้ผมได้อธิบายกับผู้บริหารเครือปตท. ว่าความเห็นทั้งหมดนี้มาจากความกังวลของพรรคต่อผู้ประกอบการรายเล็กและประชาชนทั่วไป และความกังวลว่าปตท. ควรใช้เวลาในการสร้างคุณค่าให้เศรษฐกิจไทยเรามากกว่านี้
อย่างไรก็ตามมีแฟนคลับเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งสนับสนุนและแย้งจำนวนมาก ฝ่ายสนับสนุน อาทิ
“ผมก็คิดนะครับ แต่ไม่ลึกซึ้งเท่าคุณกรณ์ ผมเห็นด้วยครับกับคุณกรณ์อย่างสิ้นเชิง ผมไม่เข้าใจว่า ปตท. จะมาทำโรงแรมทำไม ปตท. กำลังหลงประเด็นธุรกิจหลักและหน้าที่ของตนเอง”
ส่วนฝ่ายที่คัดค้าน อาทิ
“คุณกรณ์ติติงปตท.สองเรื่องเด่นๆ อย่างแรก กาแฟอเมซอนที่ขยายสาขาไปทั่วนอกเหนือจากในปั๊มปตท. เท่าที่ทราบส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจรายย่อยที่ซื้อแฟรนไซส์ไปบริหารจัดการเอง มันผิดตรงไหนครับ?
ส่วนเรื่องซื้อกิจการไฟฟ้าGLOW นั้น เป็นกิจการที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักมากกว่าใช้ก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้การนำเข้าก๊าซ ก็เปิดโดยเสรีแล้ว และบริษัทลูกอย่าง GPSC ก็ไม่ได้สิทธิพิเศษเหนือเอกชนใดๆ ผมยังมองไม่เห็นว่าพรรคปชป.จะไปทักท้วงทำไม?