สมาธินทรีย์
*ฉบับบาลี [๘๖๒] กตมญฺจ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ อิธ ภิกฺขเว
อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ ฯ
อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ
*ฉบับมหาจุฬา {๘๖๒} สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
*ฉบับหลวง [๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
สมาธินทรีย์ อีกนัยหนึ่ง
*ฉบับบาลี [๘๕๖] กตฺถ จ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ทฏฺฐพฺพํ ฯ จตูสุ ฌาเนสุ เอตฺถ สมาธินฺทฺริยํ ทฏฺฐพฺพํ ฯ
*ฉบับมหาจุฬา {๘๕๖} พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหนพึงเห็นได้ในฌาน ๔ ประการ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ในที่นี้
*ฉบับหลวง [๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมนี้.
สมาธินทรีย์ อีกนัยหนึ่ง
*ฉบับบาลี [๘๖๘] กตมญฺจ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก
โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ ฯ
โส วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ
วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ
วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ
สมาธิชํ ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา
อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิ-
สํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ
ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ
ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ
อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ฯ อิทํ
วุจฺจติ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ
*ฉบับมหาจุฬา {๘๖๘} สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตา-
จิต เธอสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มี
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เธอบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
*ฉบับหลวง [๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ
นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่
เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโทมนัสโสมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
ไขข้อสงสัย! การทำนิพพานให้เป็นอารมณ์? ด้วยพุทธวจน
*ฉบับบาลี [๘๖๒] กตมญฺจ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ ฯ
อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ
*ฉบับมหาจุฬา {๘๖๒} สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
*ฉบับหลวง [๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
สมาธินทรีย์ อีกนัยหนึ่ง
*ฉบับบาลี [๘๕๖] กตฺถ จ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ทฏฺฐพฺพํ ฯ จตูสุ ฌาเนสุ เอตฺถ สมาธินฺทฺริยํ ทฏฺฐพฺพํ ฯ
*ฉบับมหาจุฬา {๘๕๖} พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหนพึงเห็นได้ในฌาน ๔ ประการ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ในที่นี้
*ฉบับหลวง [๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมนี้.
สมาธินทรีย์ อีกนัยหนึ่ง
*ฉบับบาลี [๘๖๘] กตมญฺจ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ อิธ ภิกฺขเว อริยสาวโก
โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ ฯ
โส วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ
วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ
วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ
สมาธิชํ ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา
อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิ-
สํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ
ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ
ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ
อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ฯ อิทํ
วุจฺจติ ภิกฺขเว สมาธินฺทฺริยํ ฯ
*ฉบับมหาจุฬา {๘๖๘} สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตา-
จิต เธอสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มี
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เธอบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
*ฉบับหลวง [๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ
นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่
เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโทมนัสโสมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.