ไปดู...กุ้งเดินขบวน...ที่เมืองอุบลฯ1ปีมีครั้งเดียว
ไปดู...กุ้งเดินขบวน...ที่เมืองอุบลฯ1ปีมีครั้งเดียว
น้ำตกแก่งลำดวน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้นิยมมาเที่ยวเป็นจำนวนมากอีกแห่งหนึ่ง น้ำตกแห่งนี้มีความสวยงามของแก่งหิน และรูหินมีความใสสะอาดของลำน้ำลำโดมใหญ่ สามารถเล่นน้ำตกได้เกือบทั้งปี ยกเว้นช่วงกุ้งเดินขบวน เนื่องจากจะมีน้ำมากและกระแสน้ำเชี่ยว จุดเด่นของน้ำตกแก่งลำดวน คือเป็นแก่งหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีเกาะแก่งที่สวยงามกลางลำโดมใหญ่ถึง 3 เกาะ และสิ่งที่นักท่องเที่ยวประทับใจในการมาเยือนน้ำตกหรือแก่งลำดวนแห่งนี้ ก็คือมีโอกาสได้ยล การเดินขบวนของกุ้งฝอยนับล้านๆ ตัว เป็นประจำทุกๆปี
นางวาสนา ไหมพรหม หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี และ องค์การบริหารส่วนตำบลโดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ได้จัดเทศกาลชมปรากฏการณ์ ”กุ้งเดินขบวน” ประจำปี 2561 ขึ้น ระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2561 โดยเปิดให้เข้าชมในช่วงเวลา 8.00-22.00 น. ณ ลานพันรูบริเวณน้ำตกแก่งลำดวน ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะเวลา 30 วัน และ จะมีพิธีเปิดงานเทศกาลดังกล่าว อย่างเป็นทางการ ในวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561 ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. ณ แก่งลำดวน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอน้ำยืน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเชิงนิเวศ และ เพื่อให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นศูนย์กลางรองรับการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน (AEC) ต่อไปในอนาคต และในปีนี้ ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การจัดนิทรรศการของหน่วยงาน และ ชุมชนต่างๆ การแสดงดนตรีสื่อความหมาย การแสดงของนักเรียน กิจกรรมปั่นจักรยานเที่ยวสองแผ่นดิน ยลถิ่น กุ้งเดินขบวน และ การแข่งขันการออกแบบชุดแฟนซีมาสคอด กุ้งเดินขบวน ฯลฯ เป็นต้น
นางวาสนา ไหมพรหม หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี กล่าวต่ออีกว่า กุ้งเดินขบวน (Parading Shrimp) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีกุ้งจำนวนมากมายมหาศาล ได้พร้อมใจ กันขึ้นมาเดินบนลานหินบริเวณแก่งลำดวน เดินทวนกระแสน้ำลำโดมใหญ่ที่ไหลเชี่ยวกรากในช่วงฤดูฝนระหว่าง ปลายเดือนสิงหาคมถึงสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี กุ้งเหล่านี้จำเป็นต้องขึ้นมาเดินบนบก เพื่อหลบหลีกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว จึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ และสวยงามตระการตาน่าดูชมยิ่งนัก ซึ่งมักจะพบปรากฏารณ์นี้ใน ช่วงเวลากลางคืน สำหรับกุ้งที่มาเดินขบวนในบริเวณแก่งลำดวนมี 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งฝอย หรือกุ้งนา , กุ้งชฎา , กุ้งก้ามขน จากการวิจัยพบว่า กุ้งที่มาเดินขบวนที่แก่งลำดวนนั้นเป็นชนิด กุ้งก้ามขน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium dienbienphuense ชื่อภาษาไทย กุ้งก้ามขน จะมีลักษณะเด่น ขาเดินคู่ที่ 2 มีก้ามหนีบขนาดใหญ่ และมีขนยาวอ่อนนุ่มปกคลุม (จะเห็นชัดเจนในกุ้งตัวเต็มวัย) ขาเดินทั้งสองข้างมีความยาวไม่เท่ากัน ก้านตามีขนาดสั้น สามารถพับงอได้ กรีมีลักษณะตรง และมีความยาวสั้นกว่าปลายของแผ่นกำบังหนวด กุ้งประเภทนี้ มักอยู่รวมกันเป็นฝูง กินจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร กุ้งวัยอ่อน อาศัยอยู่บริเวณน้ำนิ่งชายฝั่ง กุ้งตัวเต็มวัยจะพบอาศัยอยู่ทั้งบริเวณน้ำนิ่งชายฝั่ง และบริเวณน้ำไหลกลางลำน้ำ
สาเหตุ ที่กุ้งมาเดินขบวน เพราะว่า บริเวณแก่งลำดวน มีลักษณะเป็นแก่งหินเป็นลานกว้าง ในภาษาพื้นถิ่นเรียกว่า “พลาญหิน” ในช่วงฤดูน้ำหลาก แก่งลำดวนจะมีกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ด้วยเหตุนี้ เหล่าบรรดากุ้งก้ามขนจึงได้พร้อมใจกันขึ้นมาเดินทวน กระแสน้ำบนลานหิน เพื่อหลบหลีกกระแสน้ำอันไหลเชี่ยว ต่างพากันเดินทวนกระแสน้ำมุ่งหน้าสู่พื้นที่แหล่งต้นน้ำลำโดมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งกุ้งเหล่านี้ต่างพากันเดินทวนกระแสน้ำ มุ่งหน้าสู่พื้นที่แหล่งต้นน้ำลำโดมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ต้องฟันฝ่ากับอุปสรรคระหว่างทางมากมาย เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ และภารกิจนี้ยังเป็นความลับของธรรมชาติที่รอให้เราเข้าไปค้นหา
ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน จะพบในช่วงฤดูฝน ในเวลากลางคืน ระหว่างปลายเดือนสิงหาคมถึงสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ส่วนคืนไหนจะมาเดินมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติ ฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณต้น น้ำลำโดมใหญ่ ถ้าปริมาณน้ำฝนมาก กระแสน้ำแรง ก็จะพบกุ้งเดินขบวนเป็นจำนวนมาก หากปริมาณน้ำฝนน้อย กระแสน้ำไม่ค่อยแรง กุ้งก็จะขึ้นมาเดินน้อยหรือไม่ขึ้นมาเดินบนบก ดังนั้นจึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบ เห็นได้ยาก เป็นเรื่องที่เกิดจากธรรมชาติอย่างแท้จริง ตรงจุดนี้จึงเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง ควรสอบถาม รายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ฯ ก่อนเดินทาง เพื่อจะได้มีโอกาสในการชมปรากกฏการณ์กุ้งเดินขบวน
นางวาสนา ไหมพรหม ได้อธิบายขั้นตอนในการเข้าชมกุ้งเดินขบวน ว่า นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไปควรปฏิบัติดังนี้ 1. ควรดูอย่างระมัดระวัง ไม่เหยียบ จับ หรือสัมผัสตัวกุ้ง 2.พื้นที่เป็นลานหินมีความลื่น และกระแสน้ำไหลเชี่ยว ควรแต่งกายให้รัดกุมและเหมาะสม 3.ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มลงไปรับประทานขณะเที่ยวชม 4.ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นและรบกวนสัตว์ในพื้นที่ 5.ระวังสิ่งของตกน้ำ ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าให้เรียบร้อย 6.ระมัดระวังสัตว์มีพิษที่อาจจะพบในพื้นที่ 7.ไม่ใช้ไฟฉายที่มีความสว่างแรงเกินไป และไม่ส่องไปที่ตัวกุ้งเป็นระยะเวลานาน 8.ไม่เดินออกนอกเส้นทางที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ 9.ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด สำหรับอุปกรณ์ในการชมปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน ประกอบไปด้วย1.ไฟฉายส่องสว่าง 2.อุปกรณ์กันฝน (กรณีฝนตก)
หากนักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยวชมความมหัศจรรย์ของกุ้งเดินขบวน สามารถติดต่อสอบถามเส้นทางหรือรายละเอียดต่างๆล่วงหน้าได้ที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี ตู้ ปณ 3 อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี 34260 หรือโทรศัพท์ 045-410040 หรือทาง Facebook : ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี ได้ทุกวัน
http://www.banmuang.co.th/news/region/123050
รถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช ใช้เวลาแค่ชม.ครึ่ง
รัฐบาลสานฝันชาวโคราช รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชั่วโมง ค่าโดยสารเริ่มต้น 107-534 บาท
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 27 สิงหาคม 2561 ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน งานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา) โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พระภิกษุและประชาชนที่มีที่ทำกินและที่พักอาศัยในแนวเส้นทางรถไฟผ่าน จำนวน 300 คน รับฟังการชี้แจงการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ระหว่างประเทศไทยไปประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและทั่วโลก
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) จากผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านล่ามชาวไทย โดยเผยแพร่ข้อมูลและการดำเนินงานที่ฝ่ายจีนออกแบบรายละเอียดและควบคุมการก่อสร้าง จึงอาจมีความจำเป็นต้องปรับปรุงจากรูปแบบเดิม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ นำไปพิจารณาประกอบการสำรวจออกแบบรายละเอียดรวมทั้งศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและการจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ต้องรอบคอบรัดกุมและมีประสิทธิภาพรวมถึงการปรับรูปแบบการพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
นายทศวรรณ นิจพาณิชย์ ผู้จัดการโครงการ ฯ เปิดเผยความเป็นมาของการดำเนินโครงการว่า เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 57 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 -2569 เพื่อร่วมพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอยท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 867 กิโลเมตร โดยให้รัฐบาลจีนมีส่วนร่วมตั้งแต่การเตรียมโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมการลงทุนที่มีความพร้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งและเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และในวันที่ 23 มีนาคม 59 พล.อ.ประยุทธ์ ฯ นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ที่เมืองไหหนาน ประเทศจีน มีข้อสรุปการลงทุนให้ฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยกำหนดนโยบายเริ่มต้นเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมาและส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม
ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้เริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นลำดับแรก โดยฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างและการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 11และครั้งที่ 12 มีมติร่วมกันแบ่งสัญญาโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ สัญญาที่ 1 การก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธา ฝ่ายไทยเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธา,สัญญาที่ 2 งานวางระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลและรถจักรล้อเลื่อน ฝ่ายจีนเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างวางระบบ ส่วนฝ่ายไทยเข้ามาสังเกตการณ์ทำงานของผู้รับจ้างจีน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของฝ่ายไทย
ล่าสุดในการประชุมครั้งที่ 20/2559 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม59 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจ้างและสั่งจ้างบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดการออกแบบของฝ่ายจีนและออกแบบเพิ่มเติมในส่วนที่ฝ่ายจีนไม่ได้ดำเนินการสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเวนคืนและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ขณะนี้ได้ก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ช่วงสถานีรถไฟกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
...........(ยังมีต่อค่ะ)
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/811435
ทุกชีวิตย่อมมีความฝัน ไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์
การเดินทางไปให้ถึงความฝันเป็นสิ่งที่ทุกชีวิตมีความมุ่งมั่น
รถไฟฟ้าเป็นพาหนะเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยที่คนไทยต้องการ
ร่วมฝันไปกับรัฐบาลลุงตู่ค่ะ....
🦐~มาลาริน~ฝันให้ไกลไปให้ถึง..เมื่อกุ้งเดินทางไปหาที่ดีกว่า รถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช ก็สานฝันคนไทย ใช้เวลาแค่ 1.30 ชม.
ไปดู...กุ้งเดินขบวน...ที่เมืองอุบลฯ1ปีมีครั้งเดียว
ไปดู...กุ้งเดินขบวน...ที่เมืองอุบลฯ1ปีมีครั้งเดียว
น้ำตกแก่งลำดวน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้นิยมมาเที่ยวเป็นจำนวนมากอีกแห่งหนึ่ง น้ำตกแห่งนี้มีความสวยงามของแก่งหิน และรูหินมีความใสสะอาดของลำน้ำลำโดมใหญ่ สามารถเล่นน้ำตกได้เกือบทั้งปี ยกเว้นช่วงกุ้งเดินขบวน เนื่องจากจะมีน้ำมากและกระแสน้ำเชี่ยว จุดเด่นของน้ำตกแก่งลำดวน คือเป็นแก่งหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีเกาะแก่งที่สวยงามกลางลำโดมใหญ่ถึง 3 เกาะ และสิ่งที่นักท่องเที่ยวประทับใจในการมาเยือนน้ำตกหรือแก่งลำดวนแห่งนี้ ก็คือมีโอกาสได้ยล การเดินขบวนของกุ้งฝอยนับล้านๆ ตัว เป็นประจำทุกๆปี
นางวาสนา ไหมพรหม หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี และ องค์การบริหารส่วนตำบลโดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ได้จัดเทศกาลชมปรากฏการณ์ ”กุ้งเดินขบวน” ประจำปี 2561 ขึ้น ระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2561 โดยเปิดให้เข้าชมในช่วงเวลา 8.00-22.00 น. ณ ลานพันรูบริเวณน้ำตกแก่งลำดวน ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะเวลา 30 วัน และ จะมีพิธีเปิดงานเทศกาลดังกล่าว อย่างเป็นทางการ ในวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561 ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. ณ แก่งลำดวน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอน้ำยืน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเชิงนิเวศ และ เพื่อให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นศูนย์กลางรองรับการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน (AEC) ต่อไปในอนาคต และในปีนี้ ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การจัดนิทรรศการของหน่วยงาน และ ชุมชนต่างๆ การแสดงดนตรีสื่อความหมาย การแสดงของนักเรียน กิจกรรมปั่นจักรยานเที่ยวสองแผ่นดิน ยลถิ่น กุ้งเดินขบวน และ การแข่งขันการออกแบบชุดแฟนซีมาสคอด กุ้งเดินขบวน ฯลฯ เป็นต้น
นางวาสนา ไหมพรหม หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี กล่าวต่ออีกว่า กุ้งเดินขบวน (Parading Shrimp) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีกุ้งจำนวนมากมายมหาศาล ได้พร้อมใจ กันขึ้นมาเดินบนลานหินบริเวณแก่งลำดวน เดินทวนกระแสน้ำลำโดมใหญ่ที่ไหลเชี่ยวกรากในช่วงฤดูฝนระหว่าง ปลายเดือนสิงหาคมถึงสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี กุ้งเหล่านี้จำเป็นต้องขึ้นมาเดินบนบก เพื่อหลบหลีกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว จึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ และสวยงามตระการตาน่าดูชมยิ่งนัก ซึ่งมักจะพบปรากฏารณ์นี้ใน ช่วงเวลากลางคืน สำหรับกุ้งที่มาเดินขบวนในบริเวณแก่งลำดวนมี 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งฝอย หรือกุ้งนา , กุ้งชฎา , กุ้งก้ามขน จากการวิจัยพบว่า กุ้งที่มาเดินขบวนที่แก่งลำดวนนั้นเป็นชนิด กุ้งก้ามขน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium dienbienphuense ชื่อภาษาไทย กุ้งก้ามขน จะมีลักษณะเด่น ขาเดินคู่ที่ 2 มีก้ามหนีบขนาดใหญ่ และมีขนยาวอ่อนนุ่มปกคลุม (จะเห็นชัดเจนในกุ้งตัวเต็มวัย) ขาเดินทั้งสองข้างมีความยาวไม่เท่ากัน ก้านตามีขนาดสั้น สามารถพับงอได้ กรีมีลักษณะตรง และมีความยาวสั้นกว่าปลายของแผ่นกำบังหนวด กุ้งประเภทนี้ มักอยู่รวมกันเป็นฝูง กินจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร กุ้งวัยอ่อน อาศัยอยู่บริเวณน้ำนิ่งชายฝั่ง กุ้งตัวเต็มวัยจะพบอาศัยอยู่ทั้งบริเวณน้ำนิ่งชายฝั่ง และบริเวณน้ำไหลกลางลำน้ำ
สาเหตุ ที่กุ้งมาเดินขบวน เพราะว่า บริเวณแก่งลำดวน มีลักษณะเป็นแก่งหินเป็นลานกว้าง ในภาษาพื้นถิ่นเรียกว่า “พลาญหิน” ในช่วงฤดูน้ำหลาก แก่งลำดวนจะมีกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ด้วยเหตุนี้ เหล่าบรรดากุ้งก้ามขนจึงได้พร้อมใจกันขึ้นมาเดินทวน กระแสน้ำบนลานหิน เพื่อหลบหลีกกระแสน้ำอันไหลเชี่ยว ต่างพากันเดินทวนกระแสน้ำมุ่งหน้าสู่พื้นที่แหล่งต้นน้ำลำโดมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งกุ้งเหล่านี้ต่างพากันเดินทวนกระแสน้ำ มุ่งหน้าสู่พื้นที่แหล่งต้นน้ำลำโดมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ต้องฟันฝ่ากับอุปสรรคระหว่างทางมากมาย เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ และภารกิจนี้ยังเป็นความลับของธรรมชาติที่รอให้เราเข้าไปค้นหา
ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน จะพบในช่วงฤดูฝน ในเวลากลางคืน ระหว่างปลายเดือนสิงหาคมถึงสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ส่วนคืนไหนจะมาเดินมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติ ฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณต้น น้ำลำโดมใหญ่ ถ้าปริมาณน้ำฝนมาก กระแสน้ำแรง ก็จะพบกุ้งเดินขบวนเป็นจำนวนมาก หากปริมาณน้ำฝนน้อย กระแสน้ำไม่ค่อยแรง กุ้งก็จะขึ้นมาเดินน้อยหรือไม่ขึ้นมาเดินบนบก ดังนั้นจึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบ เห็นได้ยาก เป็นเรื่องที่เกิดจากธรรมชาติอย่างแท้จริง ตรงจุดนี้จึงเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง ควรสอบถาม รายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ฯ ก่อนเดินทาง เพื่อจะได้มีโอกาสในการชมปรากกฏการณ์กุ้งเดินขบวน
นางวาสนา ไหมพรหม ได้อธิบายขั้นตอนในการเข้าชมกุ้งเดินขบวน ว่า นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไปควรปฏิบัติดังนี้ 1. ควรดูอย่างระมัดระวัง ไม่เหยียบ จับ หรือสัมผัสตัวกุ้ง 2.พื้นที่เป็นลานหินมีความลื่น และกระแสน้ำไหลเชี่ยว ควรแต่งกายให้รัดกุมและเหมาะสม 3.ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มลงไปรับประทานขณะเที่ยวชม 4.ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นและรบกวนสัตว์ในพื้นที่ 5.ระวังสิ่งของตกน้ำ ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าให้เรียบร้อย 6.ระมัดระวังสัตว์มีพิษที่อาจจะพบในพื้นที่ 7.ไม่ใช้ไฟฉายที่มีความสว่างแรงเกินไป และไม่ส่องไปที่ตัวกุ้งเป็นระยะเวลานาน 8.ไม่เดินออกนอกเส้นทางที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ 9.ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด สำหรับอุปกรณ์ในการชมปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน ประกอบไปด้วย1.ไฟฉายส่องสว่าง 2.อุปกรณ์กันฝน (กรณีฝนตก)
หากนักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยวชมความมหัศจรรย์ของกุ้งเดินขบวน สามารถติดต่อสอบถามเส้นทางหรือรายละเอียดต่างๆล่วงหน้าได้ที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี ตู้ ปณ 3 อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี 34260 หรือโทรศัพท์ 045-410040 หรือทาง Facebook : ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี ได้ทุกวัน
http://www.banmuang.co.th/news/region/123050
รถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช ใช้เวลาแค่ชม.ครึ่ง
รัฐบาลสานฝันชาวโคราช รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชั่วโมง ค่าโดยสารเริ่มต้น 107-534 บาท
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 27 สิงหาคม 2561 ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน งานปรับแบบรายละเอียดในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา) โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พระภิกษุและประชาชนที่มีที่ทำกินและที่พักอาศัยในแนวเส้นทางรถไฟผ่าน จำนวน 300 คน รับฟังการชี้แจงการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ระหว่างประเทศไทยไปประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและทั่วโลก
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนและเป็นการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) จากผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านล่ามชาวไทย โดยเผยแพร่ข้อมูลและการดำเนินงานที่ฝ่ายจีนออกแบบรายละเอียดและควบคุมการก่อสร้าง จึงอาจมีความจำเป็นต้องปรับปรุงจากรูปแบบเดิม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ นำไปพิจารณาประกอบการสำรวจออกแบบรายละเอียดรวมทั้งศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและการจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ต้องรอบคอบรัดกุมและมีประสิทธิภาพรวมถึงการปรับรูปแบบการพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
นายทศวรรณ นิจพาณิชย์ ผู้จัดการโครงการ ฯ เปิดเผยความเป็นมาของการดำเนินโครงการว่า เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 57 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 -2569 เพื่อร่วมพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอยท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 867 กิโลเมตร โดยให้รัฐบาลจีนมีส่วนร่วมตั้งแต่การเตรียมโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมการลงทุนที่มีความพร้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งและเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และในวันที่ 23 มีนาคม 59 พล.อ.ประยุทธ์ ฯ นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ที่เมืองไหหนาน ประเทศจีน มีข้อสรุปการลงทุนให้ฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยกำหนดนโยบายเริ่มต้นเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมาและส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม
ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้เริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นลำดับแรก โดยฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างและการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 11และครั้งที่ 12 มีมติร่วมกันแบ่งสัญญาโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ สัญญาที่ 1 การก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธา ฝ่ายไทยเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานวิศวกรรมโยธา,สัญญาที่ 2 งานวางระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลและรถจักรล้อเลื่อน ฝ่ายจีนเป็นผู้คัดเลือกผู้รับจ้างวางระบบ ส่วนฝ่ายไทยเข้ามาสังเกตการณ์ทำงานของผู้รับจ้างจีน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของฝ่ายไทย
ล่าสุดในการประชุมครั้งที่ 20/2559 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม59 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจ้างและสั่งจ้างบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดการออกแบบของฝ่ายจีนและออกแบบเพิ่มเติมในส่วนที่ฝ่ายจีนไม่ได้ดำเนินการสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเวนคืนและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ขณะนี้ได้ก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ช่วงสถานีรถไฟกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
...........(ยังมีต่อค่ะ)
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/811435
ทุกชีวิตย่อมมีความฝัน ไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์
การเดินทางไปให้ถึงความฝันเป็นสิ่งที่ทุกชีวิตมีความมุ่งมั่น
รถไฟฟ้าเป็นพาหนะเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยที่คนไทยต้องการ
ร่วมฝันไปกับรัฐบาลลุงตู่ค่ะ....