จากกรณีหลายเว็บไซต์ข่าวรายงานถึงความคืบหน้ารถไฟไทยจีนว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000011826
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.matichon.co.th/news/24160
ข้อเสนอที่เห็นตรงกัน
- ปรับลดการลงทุนจาก 5 แสนล้านบาทลง
- รถไฟความเร็วปานกลาง
- ปรับลดขนาดโครงการลงเพื่อลดต้นทุน
- เริ่มสร้าง ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก่อนและถึงสร้างช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย (ไทยจะขอจีนปรับเป็นรางเดี่ยวจากเดิมเป็นรางคู่)
- ชะลอโครงการสร้าง ช่วง แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ออกไปก่อน
ไทยเสนอจีน
- จากตัวเลขประเมินของค่าก่อสร้าง 5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นภาระทางการเงินของไทยจึงเสนอจาการลงทุนเดิม จีน 60% ไทย 40% เป็น จีน 70% ไทย 30%
จีนเสนอไทย
- ขอสิทธิ์พัฒนาที่ดิน 2 ข้างทางตามแนวรถไฟฟ้า
- ขอรายได้จากพัฒนาสถานี (ผ่านเพราะเมืองจะพัฒนา กระทรวงคลังจะเก็บภาษีได้เพิ่ม สามารถนำรายได้ส่วนนี้มาลงใน SPV ได้หรือไม่ ซึ่งกระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาในข้อเสนอเหล่านี้)
- จีนเร่งรัดให้สรุปจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทยจีน SPV(Special Purpose Vehicle-SPV หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ) ภายใน 2 อาทิตย์
ซ่งก่อนหน้านี้ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย หนิง ฟู่ขุย ได้ชี้แจงปัญหาเรื่องนี้ว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.prachatai.org/journal/2016/01/63497
สื่อบางสำนักของประเทศไทยพยายามกล่าวหาว่าราคาก่อสร้างโครงการรถไฟสูงเกินไป ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าการก่อสร้างรถไฟจากประเทศจีนราคาถูกที่สุด และเป็นการคำนวณตามหลักวิชาการทุกประการ
ทูตจีนกล่าวเสริมอีกว่า ทางการจีนพร้อมให้ทุกฝ่ายเข้ามาตรวจสอบได้ด้วยความโปร่งใส แม้ว่าประเทศจีนจะไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่น แต่ประเทศจีนยินดีเสนอราคาดอกเบี้ยขั้นต่ำ โดยหวังว่าจะไม่มีผู้ไม่หวังดีนำเรื่องที่ยังไม่มีการตกลงอย่างเป็นทางการไปโจมตี
"จีนไม่เอาเปรียบไทยแน่นอน มีสื่อไทยบางส่วนไม่เข้าใจโครงการนี้ กล่าวหาโจมตีว่าไม่สร้างผลประโยชน์ที่แท้จริง และยังต้องทำให้ประเทศไทยแบกรับปัญหาการคลัง ตอนนี้จึงต้องสร้างความเข้าใจ รวมถึงลดแรงกดดัน และหวังว่าจะไม่มีสื่อที่เจตนาแฝง บิดเบือน ใส่ร้ายโครงการรถไฟไทย-จีน หวังว่าชาวไทยจะใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ"
เมื่อเทียบกับ โครงงการ 3 แสนล้าน รถไฟรางคู่ ความเร็วสูง
ถ้าเราสามารถวิพากษ์ไปที่เชิงนโยบายมากกว่าตัวบุคคลได้ อนาคตประเทศไทยจะมาอญู่จุดนี้ไหม?
เมื่อดูไปที่ตัวโครงการ สร้างอนาคตไทย 2020 พลิกโฉมประเทศอย่างไร ตามในเฟซบุ๊กของอดีต รมต.ชัชชาติ กล่าวว่า
โครงการใน พ.ร.บ.สร้างอนาคตประเทศนี้ ไม่ได้มีแต่เรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าในกทม. ถนนสี่เลน ด่านศุลกากร ศูนย์กระจายสินค้า มอเตอร์เวย์ บูรณะถนนสายหลัก ถนนเชื่อมประตูการค้า ท่าเรือ สะพานข้ามทางรถไฟ โดยกระจายอยู่ในทุกๆด้าน และ อยู่ในทั่วทุกภูมิภาค ตามความจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ
ความคาดหวังคือ
1. ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงจากปัจจุบัน (ที่ 15.2%) ไม่น้อยกว่า 2%
2. สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดลงจาก 59% เหลือ 40%
3. ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจาก 39 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม. และขบวนรถโดยสาร เพิ่มขึ้นจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม.
4. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง เพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5%
5. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 18%
6. ความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี
7. สัดส่วนการเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30%
8. ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 5%
9. ปริมาณผู้โดยสารรถไฟ เพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน/เที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคน/เที่ยว/ปี
10. ลดระยะเวลาการเดินทางจาก กทม. ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 กม. รอบกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง
เงินก็ภาษีคนไทย ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าจ้าง สร้าวเสร็จก็เก็บเงินเอง ผลปรโยชน์เข้าประเทศ ให้ญี่ปุ่นมาสร้างยังได้ประเทศไหนก็ได้ ไม่ต้องมีการค้ำ
ใช้งบ 3 แสนล้านได้ รางคู่ ความเร็วสูง แนวเส้นทางครอบคลุมไม่ต้องเสียที่ดินรอบแนวรถไฟ ดอกแพง 5 แสนล้าน ได้รางเดี่ยว ความเร็วธรรมดา เสียสิทธิในการบริหารให้เขามาร่วมลงทุนอีก
ล่าสุด(4 ก.พ. 59 เวลา: 10:39 น.) มติชนรายงานว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.matichon.co.th/news/24851
อดีต ส.ส.ปชป.โพสต์ รถไฟไทย-จีน เลิกสร้างเถอะ! ถ้าเหลือทางเดี่ยว-ต่อรองไม่ได้
นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีข่าวการปรับลดทางรถไฟทางคู่ เป็นทางเดี่ยว โดยระบุว่า
เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวว่าโครงการรถไฟไทย-จีนซึ่งเดิมจะก่อสร้างเป็นทางคู่ (มีเหล็กรางรถไฟ 4 เส้น) ขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร (ทางรถไฟในปัจจุบันกว้าง 1 เมตร) เพื่อรองรับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด มาบัดนี้จะเหลือเป็นทางเดี่ยว (มีเหล็กรางรถไฟ 2 เส้น) เสียแล้ว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าหลังจากที่ไทยเสนอให้จีนร่วมลงทุนมากขึ้น จีนก็เปลี่ยนท่าทีโดยเสนอให้ปรับเปลี่ยนการก่อสร้างพร้อมเงื่อนไขที่จะลงทุนเพิ่มดังนี้
1. ให้ก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา เป็นทางคู่ขนาดราง 1.435 เมตรเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จากทางคู่เป็นทางเดี่ยวขนาดราง 1.435 เมตร อีกทั้ง ให้ชะลอการก่อสร้างช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด ทั้งนี้ เพื่อลดค่าก่อสร้างซึ่งมีวงเงินสูงถึง 530,000 ล้านบาท
2. ขอสิทธิในการพัฒนาพื้นที่สองข้างทางรถไฟ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)ให้สัมภาษณ์ว่าเดิมจีนจะลงทุน 60% ไทย 40% ถึงวันนี้ได้ขอให้จีนเพิ่มเงินลงทุนเป็น 70% ส่วนไทยเหลือ 30% การให้ข้อมูลไม่ชัดเจนเช่นนี้ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าเดิมจีนจะลงทุน 60% ของเนื้องานทั้งหมดซึ่งมีวงเงิน 530,000 ล้านบาท
แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากการเจราจาระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2558 ที่นครราชสีมาและที่กรุงเทพฯ ได้ข้อสรุปว่าจีนจะไม่ร่วมลงทุนก่อสร้างงานโยธาด้วย ซึ่งโดยทั่วไปงานโยธาจะมีสัดส่วนประมาณ 80% ของเนื้องานทั้งหมด ดังนั้น ไทยจะต้องลงทุนก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดเพียงฝ่ายเดียว ส่วนงานที่เหลืออีกประมาณ 20% นั้นประกอบด้วยงานระบบรถไฟฟ้า ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบโทรคมนาคม ระบบตั๋ว และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จีนจะร่วมลงทุนด้วย 60% หรือคิดเป็นเพียง 12% ของเนื้องานทั้งหมดเท่านั้น (60% X 20%) ส่วนไทยต้องลงทุนถึง 88% ของเนื้องานทั้งหมด ทำให้เป็นภาระที่หนักยิ่งของไทย
ผมไม่เข้าใจว่าในเวลานั้นฝ่ายไทยยอมรับสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวไปได้อย่างไร พอถึงวันนี้คงรู้ว่าเสียเปรียบมาก จึงได้เสนอให้จีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็น 70% (จากเดิม 12%) ไทย 30% (จากเดิม 88%) ส่งผลให้จีนยื่นเงื่อนไข 2 ข้อดังกล่าวข้างต้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมมีความเห็นดังนี้
1. ไม่เห็นด้วยที่จะก่อสร้างรถไฟช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เป็นทางเดี่ยวขนาดราง 1.435 เมตร เพราะรถไฟจะไม่สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมงได้ เนื่องจากต้องเสียเวลาสับหลีก ไม่สามารถวิ่งสวนกันได้ ทำให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ – คุนหมิง ต้องใช้เวลานาน ไม่สามารถจูงใจให้มีผู้ใช้บริการได้มาก ซึ่งในที่สุดรถไฟสายนี้อาจจะล้มเหลวปล่อยให้รางขนาดความกว้าง 1.435 เมตร กลายเป็นซากปรักหักพัง
2. หากเราไม่สามารถเจรจาต่อรองได้ตามที่เราเสนอไป ผมเห็นว่าเราควรตั้งหน้าตั้งตาก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร (ซึ่งเป็นขนาดรางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศจะดีกว่า เพราะจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนแน่
การประชุมระหว่างไทย-จีนเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางเส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย และแก่งคอย – มาบตาพุด ดำเนินมาตลอดปี 2558 เป็นจำนวน 9 ครั้งแล้ว โดยประเด็นหลักๆ ที่สำคัญยังหาข้อยุติไม่ได้เลย โดยเฉพาะสัดส่วนการลงทุนระหว่างไทย-จีน แต่น่าแปลกที่มีการตั้งเป้าว่าจะเริ่มก่อสร้างให้ได้ในกลางปีนี้ หลังจากเลื่อนมาจากเดือนตุลาคม 2558
ถึงเวลานี้ผมคิดว่ายากที่จะเริ่มตอกเข็มในกลางปีนี้ หากรมว.คมนาคม อยากรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใดก็ลองไปสอบถามคนรถไฟดูว่าเขาให้ความสำคัญโครงการใดมากกว่าระหว่างรถไฟไทย-จีน กับรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร แล้วจะรู้ว่าควรจะหาทางออกอย่างไร
บทสรุปรถไฟความเร็วปานกลางไทยจีน 5 แสนล้าน VS รถไฟความเร็วสูง 3 แสนล้าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อเสนอที่เห็นตรงกัน
- ปรับลดการลงทุนจาก 5 แสนล้านบาทลง
- รถไฟความเร็วปานกลาง
- ปรับลดขนาดโครงการลงเพื่อลดต้นทุน
- เริ่มสร้าง ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก่อนและถึงสร้างช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย (ไทยจะขอจีนปรับเป็นรางเดี่ยวจากเดิมเป็นรางคู่)
- ชะลอโครงการสร้าง ช่วง แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ออกไปก่อน
ไทยเสนอจีน
- จากตัวเลขประเมินของค่าก่อสร้าง 5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นภาระทางการเงินของไทยจึงเสนอจาการลงทุนเดิม จีน 60% ไทย 40% เป็น จีน 70% ไทย 30%
จีนเสนอไทย
- ขอสิทธิ์พัฒนาที่ดิน 2 ข้างทางตามแนวรถไฟฟ้า
- ขอรายได้จากพัฒนาสถานี (ผ่านเพราะเมืองจะพัฒนา กระทรวงคลังจะเก็บภาษีได้เพิ่ม สามารถนำรายได้ส่วนนี้มาลงใน SPV ได้หรือไม่ ซึ่งกระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาในข้อเสนอเหล่านี้)
- จีนเร่งรัดให้สรุปจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทยจีน SPV(Special Purpose Vehicle-SPV หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ) ภายใน 2 อาทิตย์
ซ่งก่อนหน้านี้ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย หนิง ฟู่ขุย ได้ชี้แจงปัญหาเรื่องนี้ว่า [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สื่อบางสำนักของประเทศไทยพยายามกล่าวหาว่าราคาก่อสร้างโครงการรถไฟสูงเกินไป ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าการก่อสร้างรถไฟจากประเทศจีนราคาถูกที่สุด และเป็นการคำนวณตามหลักวิชาการทุกประการ
ทูตจีนกล่าวเสริมอีกว่า ทางการจีนพร้อมให้ทุกฝ่ายเข้ามาตรวจสอบได้ด้วยความโปร่งใส แม้ว่าประเทศจีนจะไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่น แต่ประเทศจีนยินดีเสนอราคาดอกเบี้ยขั้นต่ำ โดยหวังว่าจะไม่มีผู้ไม่หวังดีนำเรื่องที่ยังไม่มีการตกลงอย่างเป็นทางการไปโจมตี
"จีนไม่เอาเปรียบไทยแน่นอน มีสื่อไทยบางส่วนไม่เข้าใจโครงการนี้ กล่าวหาโจมตีว่าไม่สร้างผลประโยชน์ที่แท้จริง และยังต้องทำให้ประเทศไทยแบกรับปัญหาการคลัง ตอนนี้จึงต้องสร้างความเข้าใจ รวมถึงลดแรงกดดัน และหวังว่าจะไม่มีสื่อที่เจตนาแฝง บิดเบือน ใส่ร้ายโครงการรถไฟไทย-จีน หวังว่าชาวไทยจะใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ"
เมื่อเทียบกับ โครงงการ 3 แสนล้าน รถไฟรางคู่ ความเร็วสูง
ถ้าเราสามารถวิพากษ์ไปที่เชิงนโยบายมากกว่าตัวบุคคลได้ อนาคตประเทศไทยจะมาอญู่จุดนี้ไหม?
เมื่อดูไปที่ตัวโครงการ สร้างอนาคตไทย 2020 พลิกโฉมประเทศอย่างไร ตามในเฟซบุ๊กของอดีต รมต.ชัชชาติ กล่าวว่า
โครงการใน พ.ร.บ.สร้างอนาคตประเทศนี้ ไม่ได้มีแต่เรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าในกทม. ถนนสี่เลน ด่านศุลกากร ศูนย์กระจายสินค้า มอเตอร์เวย์ บูรณะถนนสายหลัก ถนนเชื่อมประตูการค้า ท่าเรือ สะพานข้ามทางรถไฟ โดยกระจายอยู่ในทุกๆด้าน และ อยู่ในทั่วทุกภูมิภาค ตามความจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ
ความคาดหวังคือ
1. ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงจากปัจจุบัน (ที่ 15.2%) ไม่น้อยกว่า 2%
2. สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดลงจาก 59% เหลือ 40%
3. ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจาก 39 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม. และขบวนรถโดยสาร เพิ่มขึ้นจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม.
4. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง เพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5%
5. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 18%
6. ความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี
7. สัดส่วนการเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30%
8. ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 5%
9. ปริมาณผู้โดยสารรถไฟ เพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน/เที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคน/เที่ยว/ปี
10. ลดระยะเวลาการเดินทางจาก กทม. ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 กม. รอบกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง
เงินก็ภาษีคนไทย ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าจ้าง สร้าวเสร็จก็เก็บเงินเอง ผลปรโยชน์เข้าประเทศ ให้ญี่ปุ่นมาสร้างยังได้ประเทศไหนก็ได้ ไม่ต้องมีการค้ำ
ใช้งบ 3 แสนล้านได้ รางคู่ ความเร็วสูง แนวเส้นทางครอบคลุมไม่ต้องเสียที่ดินรอบแนวรถไฟ ดอกแพง 5 แสนล้าน ได้รางเดี่ยว ความเร็วธรรมดา เสียสิทธิในการบริหารให้เขามาร่วมลงทุนอีก
ล่าสุด(4 ก.พ. 59 เวลา: 10:39 น.) มติชนรายงานว่า[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อดีต ส.ส.ปชป.โพสต์ รถไฟไทย-จีน เลิกสร้างเถอะ! ถ้าเหลือทางเดี่ยว-ต่อรองไม่ได้
นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีข่าวการปรับลดทางรถไฟทางคู่ เป็นทางเดี่ยว โดยระบุว่า
เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวว่าโครงการรถไฟไทย-จีนซึ่งเดิมจะก่อสร้างเป็นทางคู่ (มีเหล็กรางรถไฟ 4 เส้น) ขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร (ทางรถไฟในปัจจุบันกว้าง 1 เมตร) เพื่อรองรับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด มาบัดนี้จะเหลือเป็นทางเดี่ยว (มีเหล็กรางรถไฟ 2 เส้น) เสียแล้ว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าหลังจากที่ไทยเสนอให้จีนร่วมลงทุนมากขึ้น จีนก็เปลี่ยนท่าทีโดยเสนอให้ปรับเปลี่ยนการก่อสร้างพร้อมเงื่อนไขที่จะลงทุนเพิ่มดังนี้
1. ให้ก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา เป็นทางคู่ขนาดราง 1.435 เมตรเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จากทางคู่เป็นทางเดี่ยวขนาดราง 1.435 เมตร อีกทั้ง ให้ชะลอการก่อสร้างช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด ทั้งนี้ เพื่อลดค่าก่อสร้างซึ่งมีวงเงินสูงถึง 530,000 ล้านบาท
2. ขอสิทธิในการพัฒนาพื้นที่สองข้างทางรถไฟ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)ให้สัมภาษณ์ว่าเดิมจีนจะลงทุน 60% ไทย 40% ถึงวันนี้ได้ขอให้จีนเพิ่มเงินลงทุนเป็น 70% ส่วนไทยเหลือ 30% การให้ข้อมูลไม่ชัดเจนเช่นนี้ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าเดิมจีนจะลงทุน 60% ของเนื้องานทั้งหมดซึ่งมีวงเงิน 530,000 ล้านบาท
แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากการเจราจาระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2558 ที่นครราชสีมาและที่กรุงเทพฯ ได้ข้อสรุปว่าจีนจะไม่ร่วมลงทุนก่อสร้างงานโยธาด้วย ซึ่งโดยทั่วไปงานโยธาจะมีสัดส่วนประมาณ 80% ของเนื้องานทั้งหมด ดังนั้น ไทยจะต้องลงทุนก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดเพียงฝ่ายเดียว ส่วนงานที่เหลืออีกประมาณ 20% นั้นประกอบด้วยงานระบบรถไฟฟ้า ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบโทรคมนาคม ระบบตั๋ว และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จีนจะร่วมลงทุนด้วย 60% หรือคิดเป็นเพียง 12% ของเนื้องานทั้งหมดเท่านั้น (60% X 20%) ส่วนไทยต้องลงทุนถึง 88% ของเนื้องานทั้งหมด ทำให้เป็นภาระที่หนักยิ่งของไทย
ผมไม่เข้าใจว่าในเวลานั้นฝ่ายไทยยอมรับสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวไปได้อย่างไร พอถึงวันนี้คงรู้ว่าเสียเปรียบมาก จึงได้เสนอให้จีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็น 70% (จากเดิม 12%) ไทย 30% (จากเดิม 88%) ส่งผลให้จีนยื่นเงื่อนไข 2 ข้อดังกล่าวข้างต้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมมีความเห็นดังนี้
1. ไม่เห็นด้วยที่จะก่อสร้างรถไฟช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เป็นทางเดี่ยวขนาดราง 1.435 เมตร เพราะรถไฟจะไม่สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมงได้ เนื่องจากต้องเสียเวลาสับหลีก ไม่สามารถวิ่งสวนกันได้ ทำให้การเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ – คุนหมิง ต้องใช้เวลานาน ไม่สามารถจูงใจให้มีผู้ใช้บริการได้มาก ซึ่งในที่สุดรถไฟสายนี้อาจจะล้มเหลวปล่อยให้รางขนาดความกว้าง 1.435 เมตร กลายเป็นซากปรักหักพัง
2. หากเราไม่สามารถเจรจาต่อรองได้ตามที่เราเสนอไป ผมเห็นว่าเราควรตั้งหน้าตั้งตาก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร (ซึ่งเป็นขนาดรางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศจะดีกว่า เพราะจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนแน่
การประชุมระหว่างไทย-จีนเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางเส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย และแก่งคอย – มาบตาพุด ดำเนินมาตลอดปี 2558 เป็นจำนวน 9 ครั้งแล้ว โดยประเด็นหลักๆ ที่สำคัญยังหาข้อยุติไม่ได้เลย โดยเฉพาะสัดส่วนการลงทุนระหว่างไทย-จีน แต่น่าแปลกที่มีการตั้งเป้าว่าจะเริ่มก่อสร้างให้ได้ในกลางปีนี้ หลังจากเลื่อนมาจากเดือนตุลาคม 2558
ถึงเวลานี้ผมคิดว่ายากที่จะเริ่มตอกเข็มในกลางปีนี้ หากรมว.คมนาคม อยากรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใดก็ลองไปสอบถามคนรถไฟดูว่าเขาให้ความสำคัญโครงการใดมากกว่าระหว่างรถไฟไทย-จีน กับรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร แล้วจะรู้ว่าควรจะหาทางออกอย่างไร