ในบางครั้งสิ่งที่เราเห็น กับความจริงที่เป็น ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน หนึ่งพันเรื่องเล่า ก็ไม่เท่ากับเราไปเอง
ทริปเดินป่าดูป้อมปืน ถ้ำเก็บอาวุธ เขาเรดาร์-เขานมนาง อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี
เขาเรดาร์-เขานมนาง เป็นยอดเขา 2 ลูก ไม่สูงมากนัก ประมาณ 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล เขาลูกแรกเรียกว่า เขาเรดาร์ ซึ่งมีเสาส่งสัญญานของช่อง7 ด้วยลักษณะเป็นเขา 2 ลูกติดกัน เมื่อมองจากพื้นด้านล่างขึ้นมา จะมีลักษณะ คล้ายนมผู้หญิง จึงเป็นที่มาของ เขานมนาง เขาบริเวณนี้ อดีตเคยเป็นที่ตั้งกองทัพญี่ปุ่น สมัยสงครามโลก ครั้งที่2
ในอดีตป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ใช้พื้นที่นี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ ทำหลุมหลบภัย มีการตัดไม้ ทำฟืน ทำถ่านหุงหาอาหาร และทำถนน รวมทั้งมีการเจาะภูเขาเป็นถ้ำ เพื่อทำเป็นสถานที่เก็บเสบียง และทำป้อมปืนติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน ทำให้ป่าธรรมชาติบางส่วนถูกทำลายลง ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้เริ่มทำการปลูกป่าทดแทนให้สภาพป่าฟื้นตัวขึ้นมา และเมื่อได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้สภาพป่าฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น
ประวัติช่วงที่มีสงครามโลกครั้งที่ 2
เมืองแก่งคอยในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาช้านาน เป็นสถานที่ตั้งของพระราชวังสีทาของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเมืองที่มีความสงบสุข จนถึง พ.ศ.2482 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือที่เรียกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ขอเดินทัพผ่านแดนไทย ซึ่งขณะนั้นเมืองแก่งคอยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและผ่านทางแม่น้ำป่าสัก และทางบกโดยรถไฟ นับว่าเมืองแก่งคอยในขณะนั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ จึงมีกำลังทหารทั้งญี่ปุ่นและไทยมาตั้งค่ายเป็นจำนวนมาก ลุถึงช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 เมษายน 2488 ฝ่ายตรงข้ามได้นำเครื่องบิน B24 ทิ้งระเบิดที่แก่งคอย ส่งผลให้สถานที่ราชการ ตลาด วัด บ้านเรือนประชาชน มีชาวแก่งคอยและญี่ปุ่นเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตได้รวบรวมอัฐิของผู้เสียชีวิตไปไว้ที่อนุสาวรีย์ ในบริเวณวัดแก่งคอย
ข้อแนะนำและรายละเอียด
- การเดินป่าเขาเรดาร์ - เขานมนาง นักท่องเที่ยวต้องติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น
- บนเขานมนาง - เขาเรดาร์ ไม่มีห้องน้ำ ไม่มีแหล่งน้ำ
- ระยะทางไปกลับประมาณ 8 กม.(ถ้าไม่หลง)
- ที่กางเต็นท์น้อย พื้นไม่เรียบ เหมาะกับการผูกเปลมาก
- เขานมนางเป็นสถานที่ดูดาวบนฟ้า-ดาวบนดินและชมดวงตะวันขึ้น-ตกที่ดีมากแห่งหนึ่ง
- การเดินทาง : จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ก่อนถึงจังหวัดสระบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร หลักกิโลเมตรที่ 101 กลับรถและเลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ผ่านวัดพระพุทธฉาย และสุดทางจะพบด่านเก็บค่าธรรมเนียม อ่างเก็บน้ำ และที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น
- ติดต่อสอบถาม : อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น โทรศัพท์ 036-225-171/081 640 1196/084 4370 7190
ช่างภาพ nikom choochuay/saravut naipreedee/ส.การภาพ/che
เขาเรดาร์ เขานมนาง จ.สระบุรี
ในบางครั้งสิ่งที่เราเห็น กับความจริงที่เป็น ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน หนึ่งพันเรื่องเล่า ก็ไม่เท่ากับเราไปเอง
ทริปเดินป่าดูป้อมปืน ถ้ำเก็บอาวุธ เขาเรดาร์-เขานมนาง อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี
เขาเรดาร์-เขานมนาง เป็นยอดเขา 2 ลูก ไม่สูงมากนัก ประมาณ 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล เขาลูกแรกเรียกว่า เขาเรดาร์ ซึ่งมีเสาส่งสัญญานของช่อง7 ด้วยลักษณะเป็นเขา 2 ลูกติดกัน เมื่อมองจากพื้นด้านล่างขึ้นมา จะมีลักษณะ คล้ายนมผู้หญิง จึงเป็นที่มาของ เขานมนาง เขาบริเวณนี้ อดีตเคยเป็นที่ตั้งกองทัพญี่ปุ่น สมัยสงครามโลก ครั้งที่2
ในอดีตป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ใช้พื้นที่นี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ ทำหลุมหลบภัย มีการตัดไม้ ทำฟืน ทำถ่านหุงหาอาหาร และทำถนน รวมทั้งมีการเจาะภูเขาเป็นถ้ำ เพื่อทำเป็นสถานที่เก็บเสบียง และทำป้อมปืนติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน ทำให้ป่าธรรมชาติบางส่วนถูกทำลายลง ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้เริ่มทำการปลูกป่าทดแทนให้สภาพป่าฟื้นตัวขึ้นมา และเมื่อได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้สภาพป่าฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น
ประวัติช่วงที่มีสงครามโลกครั้งที่ 2
เมืองแก่งคอยในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาช้านาน เป็นสถานที่ตั้งของพระราชวังสีทาของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเมืองที่มีความสงบสุข จนถึง พ.ศ.2482 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือที่เรียกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ขอเดินทัพผ่านแดนไทย ซึ่งขณะนั้นเมืองแก่งคอยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและผ่านทางแม่น้ำป่าสัก และทางบกโดยรถไฟ นับว่าเมืองแก่งคอยในขณะนั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ จึงมีกำลังทหารทั้งญี่ปุ่นและไทยมาตั้งค่ายเป็นจำนวนมาก ลุถึงช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 เมษายน 2488 ฝ่ายตรงข้ามได้นำเครื่องบิน B24 ทิ้งระเบิดที่แก่งคอย ส่งผลให้สถานที่ราชการ ตลาด วัด บ้านเรือนประชาชน มีชาวแก่งคอยและญี่ปุ่นเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตได้รวบรวมอัฐิของผู้เสียชีวิตไปไว้ที่อนุสาวรีย์ ในบริเวณวัดแก่งคอย
ข้อแนะนำและรายละเอียด
- การเดินป่าเขาเรดาร์ - เขานมนาง นักท่องเที่ยวต้องติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น
- บนเขานมนาง - เขาเรดาร์ ไม่มีห้องน้ำ ไม่มีแหล่งน้ำ
- ระยะทางไปกลับประมาณ 8 กม.(ถ้าไม่หลง)
- ที่กางเต็นท์น้อย พื้นไม่เรียบ เหมาะกับการผูกเปลมาก
- เขานมนางเป็นสถานที่ดูดาวบนฟ้า-ดาวบนดินและชมดวงตะวันขึ้น-ตกที่ดีมากแห่งหนึ่ง
- การเดินทาง : จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ก่อนถึงจังหวัดสระบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร หลักกิโลเมตรที่ 101 กลับรถและเลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ผ่านวัดพระพุทธฉาย และสุดทางจะพบด่านเก็บค่าธรรมเนียม อ่างเก็บน้ำ และที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น
- ติดต่อสอบถาม : อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น โทรศัพท์ 036-225-171/081 640 1196/084 4370 7190
ช่างภาพ nikom choochuay/saravut naipreedee/ส.การภาพ/che