เกษตรกร ชาวสวนที่มุ้งเน้นและหาตลาดส่งออกแต่จีนมาตลอด เวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรพลาด


สื่อท้องถิ่นเวียดนามรายงานสถานการณ์การค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย – เวียดนาม ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 ว่า เวียดนามยังคงนําเข้าผักและผลไม้จากไทยและจีนในปริมาณ ค่อนข้างมาก โดยใน 5 เดือนแรกของปี 2561 เวียดนามนําเข้าสินค้าดังกล่าว 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยเวียดนามนําเข้าจากไทยมากที่สุดด้วยมูลค่า 274 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนําเข้าจากจีนรวม 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณ 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 แม้จะยังคงอยู่ในช่วงฤดูผักและผลไม้


ทั้งนี้ ชาวเวียดนามบริโภคผักและผลไม้นําเข้า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน โดยแบ่งเป็นการบริโภคผักและผลไม้จากไทยและจีนเฉลี่ย 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ทั้งนี้เฉพาะไทยเฉลี่ย 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

นอกจากนี้ กรมศุลกากรเวียดนามรายงานว่า ผักและผลไม้ที่นําเข้าจากไทยและจีนส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกในเวียดนาม โดยผลไม้ที่นําเข้าจากไทย ได้แก่ มะม่วง เงาะ แก้วมังกร ขนุน ทุเรียน และลําไย และนําเข้าผักส่วนใหญ่จากจีน อาทิ กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ และแครอท ในส่วนของผักและผลไม้ที่นําเข้าจากจีน ส่วนใหญ่ถูกนําเข้าผ่านชายแดน ซึ่งไม่ได้รับการตรวจสอบแหล่งกําเนิดสินค้า โดยได้รับการกระจายสินค้าโดยพ่อค้าคนกลางไปยังทุกพื้นที่และชนบท ขณะที่ผักและผลไม้นําเข้าจากไทยมายังเวียดนามส่วนใหญ่ถูกนําเข้าผ่านชายแดน ซึ่งได้รับการตรวจสอบแหล่งกําเนิดสินค้าและได้รับการจัดจําหน่าย โดยธุรกิจของไทยในเวียดนาม ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและศูนย์การค้า นอกจากนั้น ผลไม้ของไทยยังถูกวางจําหน่ายในตลาดแบบ ดั้งเดิม ตลอดจนถึงตลาดริมทางด้วยราคาที่ถูกกว่าผักและผลไม้ของเวียดนาม

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม รายงานว่า ปี 2560 เป็นปีที่เวียดนามมีปริมาณผลผลิตลิ้นจี่สูงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยจนถึงกลางเดือนมิถุนายน 2561 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วประมาณร้อยละ 50 จนถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2561 จังหวัดบิ๊กซางจําหน่ายลิ้นจี่และสินค้าเพื่อป้องกันผลผลิตลิ้นจี่รวมประมาณ 89.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นรายได้จากการจําหน่ายลิ้นจี่ 2.04 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเฉพาะส่งออกไปยังจีนในปริมาณสูงถึง 36,500 ตัน ลิ้นจี่ในเซตหลุกหง่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกลิ้นจี่หลักของจังหวัดบิ๊กซาง จําหน่ายอยู่ที่ 0.53 – 1.53 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ปัจจุบันมีผู้จําหน่ายลิ้นจี่ชาวจีน 150 รายและผู้จําหน่ายชาวเวียดนาม 1,000 ราย รับซื้อลิ้นจี่ในราคาส่งจากพื้นที่ดังกล่าว

นอกจากนี้ เวียดนามยังส่งออกลิ้นจีไปยังสิงคโปร์ ไทย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยวันที่ 20 มิถุนายน 2561 เวียดนามส่งออกลิ้นจี่ไปยังสิงคโปร์ 100 ตัน และส่งออกผ่านทางเครื่องบินไปยังไทย 200 ตัน โดยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2561 ผู้นําจังหวัดบิ๊กซางได้เดินทางเยือนจีนเพื่อนําเสนอสินค้า และในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2561 จังหวัดบิ๊กซางได้ชักชวนจังหวัดในเวียดนามรวม 26 แห่ง เพื่อร่วมกันบริโภคลิ้นจี่ อย่างไรก็ดี เวียดนามเริ่มกังวลถึงปริมาณลิ้นจี่ที่มีอยู่มาก ซึ่งหากไม่มีนโยบายสนับสนุนการจําหน่าย รวมถึงการรักษาสินค้า อาจส่งผลกระทบต่อราคาลิ้นจี่ได้

จากมูลค่าการนำเข้าจากไทยจะเห็นได้ว่าผักและโดยเฉพาะผลไม้ของไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในเวียดนามตลอดช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรสชาติและคุณภาพของสินค้าที่ดี รวมถึงวิธีการนําเข้าและจัดจําหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบที่มาของสินค้า และความปลอดภัยของสินค้า ผักและผลไม้ไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ปลอดสารพิษ (organic) จึงมีลู่ทางส่งออกไปยังเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากชาวเวียดนามห่วงใยสุขภาพ มีรายได้เพิ่มขึ้น และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ

เครดิตที่มาของข่าว : http://globthailand.com/vietnam_0112/
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่