ตอนนี้ อ่านจากกระแสโซเชี่ยว มีแต่เรื่องดราม่า ไม่เข้าใจ เรื่องกฏหมายเพิ่มโทษ เรื่องการขับรถแต่ไม่มีใบขับขี่ ซึ่งคนที่มีใบขับขี่ก็ไม่มีปัญหาอะไร เรามาดู ไลฟ์ข่าวนี้กันดีกว่าเพื่อความเข้าใจ
https://www.facebook.com/PR.DLT.NEWS/videos/919042841614531/?hc_ref=ARSHTW31vjBIET8mH2I6EOJtfjjooetfy3zQQQYKVnHKeQE3Oxtp2NyoLBTUU6gCZYU&__xts__[0]=68.ARCZTOU-zpr5T5YtEdR2W2C8ajgPWXvJ9FLqYRYyzJoSZuVK4Sp26R0mwWi1yBb-j9NiiClSm90RKVvEXvVNzxwQ6RErcRG7bApn90VQQ1spLm1bKUBuDRSvDcw2i6vyGyRsSwE&__tn__=kC-R
จากกระแสข่าวเรื่องการปรับกฎหมายเพิ่มค่าปรับ กรณีไม่มี-ไม่พกใบอนุญาตขับรถจากปัจจุบัน ที่ได้มีการนำเสนอแก้ไขเพิ่มโทษสำคัญๆ ประกอบด้วย
1.การขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท แต่กฎหมายใหม่เสนอปรับเพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
2. การขับรถในระหว่างใบอนุญาตสิ้นอายุ ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกยึดใบอนุญาต เดิมลงโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กฎหมายใหม่เสนอเพิ่มโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับเป็นสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท 3. การขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต เดิมมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่ตามกฎหมายใหม่เสนอปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทนั้น ยังไม่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่กรมฯ เสนอปรับแก้กฎหมายดังกล่าว เนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของไทย ที่มีสถิติสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีผลมาจากผู้ขับขี่เป็นหลัก ทางกรมฯ เห็นว่าการเพิ่มบทลงโทษ ที่มีโทษปรับสูงจะทำให้ ผู้ที่ยังไม่มีใบอนุญาตขับรถ ไม่พกใบอนุญาต หรือใบอนุญาตขับรถที่หมดอายุ หรือผู้กระทำผิด ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่กล้ากระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายอีก เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
จากข้อมูลบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พบว่า ประเทศไทยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนท้องถนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลกนั้น และประชาชนไม่มีใบอนุญาตขับรถประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ที่ไม่เคยผ่านการอบรม ไม่ผ่านทดสอบใดๆ เหมือนกับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือว่าไม่ปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นและอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุร้ายแรงได้
ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้ยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้ขับรถตามโครงการ Sure Driving/Smart Driver เพื่อเพิ่มคุณภาพมาตรฐานของผู้ขับรถให้มีทักษะและความรู้การขับรถอย่างปลอดภัย ลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนและลดสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะปรับหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถให้มีความเข้มข้น มีเนื้อหาอบรมสำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่ เป็นเวลา เป็น 5 ชั่วโมง มี เนื้อหาประกอบด้วย
1. (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์, กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก) จำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาที
2. การขับรถอย่างปลอดภัยจำนวน 2 ชั่วโมง
3. จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถจำนวน 1 ชั่วโมง
4. ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและการให้ความช่วยเหลือและปฐมพยาบาล จำนวน 30 นาที
ซึ่งเมื่อมีความรู้ความเข้าใจกฎการขับขี่ที่ถูกต้อง อุบัติเหตุบนท้องถนนก็จะลดลงตามไปด้วย และเมื่อผ่านการอบรมจะ ต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ทดสอบข้อเขียน (E-exam) และทดสอบขับรถกับสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ จึงนับได้ว่าผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้ที่ผ่านการปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
สำหรับกรณีที่กรมการขนส่งทางบก เสนอปรับแก้กฎหมาย เป็นการบูรณาการกฎหมาย 2 ฉบับ คือพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการกำกับดูแล รวมทั้งปรับปรุงรายละเอียดให้ทันต่อสภาวะปัจจุบัน รวมไปถึงการปรับเพื่อบทลงโทษกรณีที่ผู้ขับขี่กระทำผิด และเพื่อให้ผู้ขับขี่ปฎิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด โดยกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามขั้นตอนกฎหมายจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จะต้องลงประกาศในราชกิจจาฯครบ 1 ปีไปแล้ว ยืนยันว่ายังไม่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด
#ไม่มีใบขับขี่อย่าขับขี่บนถนน #อุบัติเหตุเกิดขึ้นไม่คุ้ม
ขนส่งฯ แจงการเสนอแก้กฎหมาย ไม่มี - ไม่พกใบอนุญาตขับรถ ยังไม่มีผลบังคับใช้
https://www.facebook.com/PR.DLT.NEWS/videos/919042841614531/?hc_ref=ARSHTW31vjBIET8mH2I6EOJtfjjooetfy3zQQQYKVnHKeQE3Oxtp2NyoLBTUU6gCZYU&__xts__[0]=68.ARCZTOU-zpr5T5YtEdR2W2C8ajgPWXvJ9FLqYRYyzJoSZuVK4Sp26R0mwWi1yBb-j9NiiClSm90RKVvEXvVNzxwQ6RErcRG7bApn90VQQ1spLm1bKUBuDRSvDcw2i6vyGyRsSwE&__tn__=kC-R
จากกระแสข่าวเรื่องการปรับกฎหมายเพิ่มค่าปรับ กรณีไม่มี-ไม่พกใบอนุญาตขับรถจากปัจจุบัน ที่ได้มีการนำเสนอแก้ไขเพิ่มโทษสำคัญๆ ประกอบด้วย
1.การขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต ตามกฎหมายเดิมมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท แต่กฎหมายใหม่เสนอปรับเพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
2. การขับรถในระหว่างใบอนุญาตสิ้นอายุ ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกยึดใบอนุญาต เดิมลงโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กฎหมายใหม่เสนอเพิ่มโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับเป็นสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท 3. การขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต เดิมมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่ตามกฎหมายใหม่เสนอปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทนั้น ยังไม่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่กรมฯ เสนอปรับแก้กฎหมายดังกล่าว เนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของไทย ที่มีสถิติสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีผลมาจากผู้ขับขี่เป็นหลัก ทางกรมฯ เห็นว่าการเพิ่มบทลงโทษ ที่มีโทษปรับสูงจะทำให้ ผู้ที่ยังไม่มีใบอนุญาตขับรถ ไม่พกใบอนุญาต หรือใบอนุญาตขับรถที่หมดอายุ หรือผู้กระทำผิด ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่กล้ากระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายอีก เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
จากข้อมูลบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พบว่า ประเทศไทยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนท้องถนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลกนั้น และประชาชนไม่มีใบอนุญาตขับรถประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ที่ไม่เคยผ่านการอบรม ไม่ผ่านทดสอบใดๆ เหมือนกับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือว่าไม่ปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นและอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุร้ายแรงได้
ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้ยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้ขับรถตามโครงการ Sure Driving/Smart Driver เพื่อเพิ่มคุณภาพมาตรฐานของผู้ขับรถให้มีทักษะและความรู้การขับรถอย่างปลอดภัย ลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนและลดสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะปรับหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถให้มีความเข้มข้น มีเนื้อหาอบรมสำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่ เป็นเวลา เป็น 5 ชั่วโมง มี เนื้อหาประกอบด้วย
1. (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์, กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก) จำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาที
2. การขับรถอย่างปลอดภัยจำนวน 2 ชั่วโมง
3. จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถจำนวน 1 ชั่วโมง
4. ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและการให้ความช่วยเหลือและปฐมพยาบาล จำนวน 30 นาที
ซึ่งเมื่อมีความรู้ความเข้าใจกฎการขับขี่ที่ถูกต้อง อุบัติเหตุบนท้องถนนก็จะลดลงตามไปด้วย และเมื่อผ่านการอบรมจะ ต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ทดสอบข้อเขียน (E-exam) และทดสอบขับรถกับสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ จึงนับได้ว่าผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถ เป็นผู้ที่ผ่านการปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
สำหรับกรณีที่กรมการขนส่งทางบก เสนอปรับแก้กฎหมาย เป็นการบูรณาการกฎหมาย 2 ฉบับ คือพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เข้าด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการกำกับดูแล รวมทั้งปรับปรุงรายละเอียดให้ทันต่อสภาวะปัจจุบัน รวมไปถึงการปรับเพื่อบทลงโทษกรณีที่ผู้ขับขี่กระทำผิด และเพื่อให้ผู้ขับขี่ปฎิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด โดยกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามขั้นตอนกฎหมายจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จะต้องลงประกาศในราชกิจจาฯครบ 1 ปีไปแล้ว ยืนยันว่ายังไม่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด
#ไม่มีใบขับขี่อย่าขับขี่บนถนน #อุบัติเหตุเกิดขึ้นไม่คุ้ม