หลายปีก่อน
ตอนที่ผมเดินทางกลับจากประชุมประจำปีของหน่วยงานที่กรุงเทพฯ
ขณะที่เดินทางออกจากบ้านพี่สาวแถวท่าพระจันทร์
เพื่อเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีสามเสน
ซึ่งมีผู้โดยสารพลุกพล่านน้อยกว่าสถานีรถไฟหัวลำโพง
กอปรกับจะทำเวลาในการเดินทางได้ดีกว่าไม่ต้องผ่านเข้าเมือง
ผมได้เรียกรถแท็กซี่คันหนึ่งยังเป็นวัยรุ่นมาก
แท็กซี่คันนั้นได้จอดรับผมเมื่อผมบอกว่าจะไปที่สามเสน
ก็ตกลงรับผมขึ้นบนรถแท็กซี่ไปยังเป้าหมาย
ระหว่างทางได้พูดคุยสัพเพเหระไปตามเรื่อง
ลักษณะท่าทางก็ดูออกว่ายังขับรถยนต์ไม่คล่องมากนัก
แกก็ยอมรับว่าเพิ่งจะหัดขับไม่นานนัก
เพราะเพิ่งจบปริญญาตรีรัฐศาสตร์จากรามคำแหง
ยังหางานทำไม่ได้และอยากสอบปลัดอำเภอ
แต่ในยุคนั้นปลัดอำเภอต้องรอ
ราวสองสามปีจึงจะเปิดสอบสักครั้ง
ซึ่งแกคงต้องรออีกราวสองปี
แกเลยอยากแบ่งเบาภาระพ่อแม่ไปก่อน
หลังจากพูดคุยไปมาสักพัก
เลยบอกว่าไม่ลองลงนิติศาตร์ดูก่อนหรือ
เพราะเทียบโอนหน่วยกิตจะใช้เวลาเรียนน้อยลงด้วย
ช่วงรอสอบปลัดอำเภอจะได้ทบทวนทางอ้อมด้วย
เผื่อทำงานเป็นปลัดอำเภอจะได้ใช้วิชากฎหมายเป็นทางผ่าน
แกก็บอกว่า ดีเหมือนกัน กำลังเคว้งคว้างอยู่
ว่าจะเรียนต่อหรือหางานทำแทนการขับรถแท็กซี่
แต่การขับรถก็มีเวลาว่างส่วนหนึ่ง
ในการทบทวนวิชาจากครูตู้ครูเทปในยุคนั้น
ซึ่งมีการขายชีทและเทปบรรยายกันมากในยุคก่อน
แม้ว่าจะมีการห้ามอัดเทปออกขาย
แต่ก็ยังมีการลักลอบอยู่เหมือนกัน
หลังจากรถแท๊กซี่ถึงสถานีรถไฟสามเสนแล้ว
แกก็ยกมือไหว้ขอบคุณผม
และผมก็อวยพรให้แกโชคดีให้สอบปลัดอำเภอให้ได้
ถ้าสอบปลัดได้ ก็พยายามเรียนนิติศาสตร์แล้วจบเนติบัณฑิตให้ได้
เผื่อไปสอบเป็นอัยการหรือผู้พิพากษา
ชีวิตจะได้ไปโลดไปได้อีกไกล
เพราะอายุก็ยังน้อยอยู่คงไปได้อีกไกล
อีกครั้งหนึ่ง
ตอนขึ้นรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ
จะไปธุระที่แถวสุขุมวิทเพื่อไปหาเพื่อน
ขณะที่ดูป้ายชื่อนามสกุลคนขับรถแท็กซี่หลังเบาะที่นั่ง
เห็นนามสกุลคนขับรถแท็กซี่
ก็จำได้ว่าเพื่อนสนิทคนหนึ่งนามสกุลดังกล่าว
เพื่อนเป็นคนสุราษฏร์ธานี
เพื่อนเล่าเองว่า พ่อแกเป็นสหายพรรคคอมมิวนิสต์
มีอาชีพเป็นทนายความดังที่สุราษฎร์ธานี
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ก็เดินทางเข้าป่าไปร่วมกับสหายในป่า
และค่อยกลับมาทำงานในเมือง
เป็นฝ่ายจัดตั้งสนับสนุนในเมือง
แต่ในที่สุดถูกล้อมปราบยิงตายคาที่
พร้อมกับเงินสดราวสองแสนบาทที่จะนำไปให้สหาย
ก็ถูกตำรวจยึดไปแต่ไม่ลงบัญชีไว้ว่าพบที่ศพคนตาย
ที่รู้ว่า เงินสดหายไปสองแสนบาท
เพราะมีการถอนเงินสดจากธนาคารในวันตาย
และเงินในบัญชีธนาคารก็ถูกถอนไปเป็นจำนวนดังกล่าว
ครอบครัวเพื่อนทราบข่าวจากวงในและสหายที่หลบหนีไปได้
หลังจากนั้น ครอบครัวเพื่อนก็ขายบ้านและที่ดิน
ย้ายมาที่กรุงเทพฯ โดยยังพอมีเงินเก็บก้อนหนึ่ง
ที่ได้จากการขายบ้านและที่ดิน
ส่วนแม่เพื่อนก็รับจ้างซักผ้า/เย็บผ้าเป็นรายได้เสริม
เพราะต้องส่งพี่ชาย เพื่อนและน้องชายเรียนระดับมหาวิทยาลัย
ผมเคยไปบ้านเพื่อนที่กรุงเทพฯ ก็เพียงครั้งเดียว
แต่นานมากแล้วเพราะค่อนข้างไกล
แต่ตอนเรียนค่อนข้างสนิทกันพอสมควร
เพราะอยู่ในกลุ่มเดียวกันในตอนวัยรุ่น
หลังจากจบการศึกษาก็แยกย้ายกันไป
ทราบข่าวว่าเพื่อนจะไปสอบเป็นผู้พิพากษา
ส่วนผมก็กลับมาหางานทำที่บ้านเกิด
เลยขาดการติดต่อไปเลยเช่นกัน
เพราะยุคนั้น โทรศัพท์เป็นอะไรที่หายากมาก
หลังจากสอบถามคนขับรถแท็กซี่ว่า
"
เป็นอะไรกับหน่อยครับ เห็นใช้นามสกุลนี้ "
"
อ๋อ เป็นพี่ชายแกเอง รู้จักหน่อยเหรอ " คนขับรถถาม
"
ครับ ไม่เจอนานแล้ว ผมสนิทกับแกมากตอนเรียน
ตอนนี้แกไปทำงานที่ไหนแล้วครับ " ผมถาม
"
ไปเป็นผู้พิพากษาที่เชียงใหม่
แกพาแม่ไปอยู่ด้วย
ส่วนผมยังทำงานที่กรุงเทพฯ " คนขับรถตอบ
"
อ้าว ได้ข่าวว่าพี่จบปริญญาตรีสองใบไม่ใช่หรือ
เพราะจำได้หน่อยเคยบอกผมนานแล้วครับ " ผมถาม
"
ใช่ แต่ชีวิตก็เป็นเช่นนี้แหละ
เพราะผมทะลึ่งมีเมียสองเอง
และมีลูกอีกสองคน
เมียคนแรกหย่าไปแล้ว
หลังจากผมมีคนที่สอง
ตอนนี้ผมอยู่กับเมียคนที่สอง
แต่ก็ต้องส่งเสียลูกทั้งสองคน
ผมเคยไปทำงานบริษัทก็ไม่พอกิน
ครั้นจะสอบเข้ารับราชการ
ก็ไม่รู้ว่าจะโดนบรรจุลงที่ไหน
ลูกเมียก็อยู่ที่นี่
คงลำบากน่าดูแหละ
เพราะไม่มีสมบัติพ่อแม่หลงเหลืออยู่
คนเราเลือกชีวิตแล้ว ก็ต้องสู้ต่อไป
น้องอย่าผิดพลาดแบบพี่ก็แล้วกัน
ริอ่านมีเมียสองคน ก็เลยเกิดปัญหา
และไม่คิดหาเมียมาช่วยทำมาหากิน
เลยลำบากจนทุกวันนี้
พี่ก็อายเหมือนกันเวลาเจอเพื่อนเก่า
แต่ทำยังไงได้ เลือกชีวิตแบบนี้แล้ว
รายได้ก็พออยู่พอกิน
เพราะพี่พอพูดอังกฤษได้
มักจะมีลูกค้าประจำเป็นคนต่างชาติ
เหมาไปต่างจังหวัดบ่อย ๆ
ช่วงนี้ลูกค้ายังไม่เข้ามา
พี่เลยออกรอบหารายได้ไปใช้จ่ายก่อน "
หลังจากผมถึงที่หมายแล้ว
ผมก็ยกมือไหว้แกพร้อมกับจ่ายค่ารถแท็กซี่
แกบอกไม่อยากรับเงินของเพื่อนน้องชาย
แต่ผมบอกฝากให้หลานแก็แล้วกัน
เพราะไม่เจอเพื่อนตั้งนานแล้ว
คนขับรถตู้ประจำทางอีกคนหนึ่งชื่อ หน่อย
ที่รู้จักเพราะ หน่อยเป็นญาติทางฝ่ายภริยา
ในช่วงแรกที่หน่อยจบใหม่ ๆ ก็หางานทำ
โดยได้ทำงานกับหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ท้องถิ่น
ซึ่งมักจะทำสกู๊ปข่าวประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวคิดการพัฒนาชนบทและข่าวสัพเพเหระทั่ว ๆ ไป
มีรายได้หลักจากการประกาศรับสมัครงานของหน่วยงานธุรกิจ
แต่จริง ๆ เป็นการโฆษณาแฝงของหน่วยงานธุรกิจ
เพื่อให้มีคนทราบว่ามีธุรกิจนี้อยู่
และค่าลงโฆษณาจะถูกกว่าลงหน้าหลัก ๆ ในยุคนั้น
ยิ่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในยุคนั้น
ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างด้าว
หน่วยงานธุรกิจชอบลงหน้านี้มากกว่า
รับสมัครงาน แต่ไม่เคยรับพนักงานจริง ๆ แต่อย่างใด
เป็นแต่การ PR(ประชาสัมพันธ์) แฝงที่มีต้นทุนต่ำเท่านั้น
และรายได้หลักของหนังสือพิมพ์นี้
อีกส่วนก็มาจากค่าสมาชิกเป็นรายปี
ทำให้มีรายได้หลักในการจัดพิมพ์จำหน่าย
หน่อย มีภริยาที่รับราชการครูที่อำเภอรอบนอก
อยู่ไกลจากที่ทำงานราว 60 กว่ากิโลเมตร
ทางพ่อตาแม่ยายหน่อยจัดว่ามีฐานะพอสมควร
ก็เลยออกรถยนต์ให้คันหนึ่งโดยผ่อนในชื่อภริยา
เพื่อให้หน่อยไว้ใช้ไปกลับในวันที่เลิกงานเร็ว
ไม่ต้องค้างหรือพักนอนที่บ้านน้องชายหน่อย
และไว้รับส่งพ่อตาแม่ยายและภริยาเวลาไปธุระต่าง ๆ
โดยทางพ่อตาแม่ยายก็ช่วยผ่อนรถยนต์ให้ด้วย
รวมทั้งยุคนั้น รถยนต์เป็นอะไรที่แพงด้วย
ด้วยความหน้าใหญ่ใจโตและเห่อกับมีรถยนต์ใหม่
หน่อยเลยเที่ยวนำรถยนต์คันนี้รับส่งเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
พาเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ไปติดต่องาน
หรือพาเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ไปขอค่าโฆษณา
นัยว่าดูดีมีสกุล มีหลักมีฐานพอเพียงกับธุรกิจหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับนี้
หรือพาทีมนักข่าวไปสัมภาษณ์ลูกค้ามาลงในบทความ
หรือตามแต่เจ้าของหนังสือพิมพ์จะไหว้วานไปทำธุระต่าง ๆ
บางครั้ง หน่อยก็ต้องขับไปต่างจังหวัดไปติดต่อหาลูกค้ากับเรื่องงาน
และร่วมสำรวจเส้นทางกับทีมงาน
เพื่อจัดแข่งแรลลี่หารายได้เข้าสำนักพิมพ์รายสัปดาห์
ซึ่งในยุคนั้นนิยมขับรถแรลลี่แบบเชิงท่องเที่ยว
เรียกว่า หน่อยแยกไม่ออกว่างานส่วนตัวหรือเป็นงานของธุรกิจ
จริง ๆ เรื่องนี้ ทางพ่อตาแม่ยายและพี่เมียของหน่อย
ตลอดจนพี่สาวหน่อย ก็เคยเตือนแล้วในเรื่องนี้
ว่าไม่สมควรนำรถยนต์ส่วนตัวไปให้บริการเจ้าของธุรกิจ
ที่ไม่ยอมซื้อรถยนต์ส่วนตัวมาใช้งานเลย
กับเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์มักจะเที่ยวอาศัย
หรือไหว้วานกับหยิบยืมรถยนต์จากเพื่อนฝูงเป็นประจำ
การทำแบบนี้ จะทำให้เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์จะมีนิสัยเสียในระยะยาว
ถ้าเกิดหน่อยลาออกอาจจะมีปัญหาได้
เพราะสถานะหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ก็แค่พอเลี้ยงตัวได้
เพียงแต่มีบทบาทและชื่อเสียงในท้องถิ่น
ที่พอจะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ/เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเกรงใจ
กลัวจะลงข่าวโจมตีในบางเรื่อง
ในยุคที่ยังไม่มี Internet และ Social Media
แต่หน่อยก็ไม่ยอมเชื่อและดื้อรั้น
เพราะคิดว่าคงไม่เป็นไรในเรื่องนี้
ถือว่าช่วยเจ้าของธุรกิจที่เริ่มตั้งตัวใหม่ ๆ
คนดี ๆ กัน เขาคงจะดีตอบ
แต่ในโลกนี้ พุทธทาสภิกขุ ท่านเคยเทศน์ว่า
ความดีก็คือดี แต่การทำความดีกับผู้อื่น
ผู้อื่นก็ไม่มีหน้าที่หรือภาระที่จะมาตอบแทนแต่อย่างไร
หรือแบบโกวเล้งเคยเขียนไว้
ในนวนิยายกำลังภายในเรื่องหนึ่งว่า
บุญคุณท่านเหลือล้นมาก
จนข้าไม่รู้จะตอบแทนบุญคุณอย่างไร
จึงจะหมดสิ้นบุญคุณที่ท่านมีต่อข้าได้
ข้าจึงขอเนรคุณท่านซะเลย
จะได้ไม่ต้องตอบแทนบุญคุณกันอีกตลอดไป
ต่อมา ไม่นาน หน่อยก็ได้งานที่อำเภอรอบนอกใกล้กับบ้านภริยา
เป็นบริษัทขายรถเครื่อง(รถจักรยานยนต์)ผ่อนส่งในท้องถิ่น
หน่อยเลยขอลาออกจากการทำงานหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
เรื่องนี้ทำให้เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์โกรธมาก
เพราะต้องหาคนทำงานใหม่กับขาดรถยนต์ใช้งาน
พยายามคะยั้นคะยอให้หน่อยทำงานต่อ
แต่หน่อยบอกว่า "
ที่ใหม่เงินเดือนดีกว่าและใกล้บ้านภริยา "
เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เลยบอก "
ได้ แล้วจะได้เห็นดีกัน "
หน่อยทำงานได้เพียงสัปดาห์
เจ้าของบริษัทรถเครื่องผ่อนส่ง
ก็เดินมาหาแล้วบอกว่า
"
พรุ่งนี้ ไม่ต้องมาทำงานแล้วนะ "
"
ทำไม่ครับพี่ ผมทำอะไรผิด " หน่อย
"
ผมโทรศัพท์ไปถามเจ้าของหนังสือพิมพ์
เจ้านายเก่าของคุณ บอกว่าคุณทิ้งงาน
และยักยอกเงินค่าส่งเอกสารทางไปรษณีย์
แม้ว่าเงินไม่มากนัก แต่ผมรับไม่ได้ " เจ้าของบริษัท
"
ผมไม่ได้ทำ ผมใช้รถยนต์ส่วนตัวรับส่งแก
และส่งหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ให้แกตลอดในตอนนั้น
และผมไม่ได้ยุ่งเรื่องเงินเลย " หน่อยตอบ
"
ผมไม่ทราบ แต่ผมในฐานะนักธุรกิจ
ผมขอเชื่อเจ้าของด้วยกัน มากกว่าเชื่อลูกจ้าง
เดี๋ยวฝ่ายบัญชีจะจ่ายค่าแรงคิดเป็นรายวันให้
และพรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงานแล้วนะ
ขอให้คุณโชคดีกับงานใหม่นะ " เจ้าของบริษัทตอบ
หน่อยจึงไปหาเจ้าของหนังสือพิมพ์ถึงที่บ้าน
ก็ได้รับคำตอบว่า
"
ผมบอกไปจริง
ผมอยากให้คุณกลับมาทำงานกับผม
และถ้าคุณไปทำงานที่อื่นอีก
ผมก็จะบอกแบบนี้อีกเช่นกัน "
เรื่องนี้เลยจบลง แบบหน่อยต้องตกงาน
และหางานใหม่ไม่ได้อีกในแถวบ้านภริยา
เพราะกลายเป็นข่าวดังคนรู้กันทั้งอำเภอรอบนอก
ทำให้พ่อตาแม่ยายขัดใจมากกับเรื่องนี้
เห็นแกว่างงานแล้วทำท่าจะเครียด
ในช่วงนั้น รถตู้สายท้องถิ่นระหว่างอำเภอ
มีรายได้จากการวิ่งรถตู้ดีมาก รวมทั้งรายเหมา
พ่อตาแม่ยายเลยไปดาวน์รถตู้ให้หน่อยหนึ่งคัน
แล้วจ่ายค่าวิน(ค่าเข้าร่วมในสายวิ่งระหว่างอำเภอ หนึ่งแสนบาท)
ทำให้หน่อยกลายมาเป็นคนขับรถตู้จนทุกวันนี้
รายได้ก็แทบไม่พอค่าผ่อน ค่าซ่อม แต่อย่างใด
ดีที่พ่อตาแม่ยายสนับสนุนจึงพออยู่ได้
หลายปีต่อมา
มีเรื่องเหลือเชื่ออยู่เรื่องหนึ่ง
เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
ที่ตอนนี้มีรายได้หลัก ๆ
ในช่วงท้าย ๆ ก่อนปิดกิจการคือ
การตีพิมพ์รับสมัครงานในท้องถิ่น
การประกาศทวงหนี้ของธนาคารท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของนิติบุคคลท้องถิ่น
ที่ต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 15 วันตามกฎหมาย
เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
จะลงสมัครสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัด
ได้โทรศัพท์มาหาหน่อย แล้วบอกว่า
"
เราเลิกแล้วต่อกันนะ
ผมจะลงสมัครสว.
ยังไงก็เลือกผมด้วยนะ "
หน่อยได้แต่ด่าแม่และสาปส่ง
ซึ่งก็ทำได้แค่นั้นเอง
เพราะมากกว่านั้นคงไม่ได้แล้ว
เรื่องราวชะตาชีวิตคนขับรถรับจ้าง
ที่ผมพอจำได้และจดจำเรื่องราวได้
ชีวิตคนเราไม่แน่
บางอย่างคนเตือนแล้วยังดื้อรั้น
ก็จะพบจุดจบไม่งดงามแน่
การใช้ชีวิตแบบไม่ระมัดระวัง
เมื่อเลือกทางเดินชีวิตแล้ว
ก็ต้องดิ้นรนกันจนถึงที่สุด
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะลืมเลือนหายไปเหมือนทิวทัศน์ข้างทาง
ที่แปรเปลี่ยนไปตามเส้นทางที่วิ่งผ่านกาลเวลา
คนขับรถรับจ้างที่พบพาน
ตอนที่ผมเดินทางกลับจากประชุมประจำปีของหน่วยงานที่กรุงเทพฯ
ขณะที่เดินทางออกจากบ้านพี่สาวแถวท่าพระจันทร์
เพื่อเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีสามเสน
ซึ่งมีผู้โดยสารพลุกพล่านน้อยกว่าสถานีรถไฟหัวลำโพง
กอปรกับจะทำเวลาในการเดินทางได้ดีกว่าไม่ต้องผ่านเข้าเมือง
ผมได้เรียกรถแท็กซี่คันหนึ่งยังเป็นวัยรุ่นมาก
แท็กซี่คันนั้นได้จอดรับผมเมื่อผมบอกว่าจะไปที่สามเสน
ก็ตกลงรับผมขึ้นบนรถแท็กซี่ไปยังเป้าหมาย
ระหว่างทางได้พูดคุยสัพเพเหระไปตามเรื่อง
ลักษณะท่าทางก็ดูออกว่ายังขับรถยนต์ไม่คล่องมากนัก
แกก็ยอมรับว่าเพิ่งจะหัดขับไม่นานนัก
เพราะเพิ่งจบปริญญาตรีรัฐศาสตร์จากรามคำแหง
ยังหางานทำไม่ได้และอยากสอบปลัดอำเภอ
แต่ในยุคนั้นปลัดอำเภอต้องรอ
ราวสองสามปีจึงจะเปิดสอบสักครั้ง
ซึ่งแกคงต้องรออีกราวสองปี
แกเลยอยากแบ่งเบาภาระพ่อแม่ไปก่อน
หลังจากพูดคุยไปมาสักพัก
เลยบอกว่าไม่ลองลงนิติศาตร์ดูก่อนหรือ
เพราะเทียบโอนหน่วยกิตจะใช้เวลาเรียนน้อยลงด้วย
ช่วงรอสอบปลัดอำเภอจะได้ทบทวนทางอ้อมด้วย
เผื่อทำงานเป็นปลัดอำเภอจะได้ใช้วิชากฎหมายเป็นทางผ่าน
แกก็บอกว่า ดีเหมือนกัน กำลังเคว้งคว้างอยู่
ว่าจะเรียนต่อหรือหางานทำแทนการขับรถแท็กซี่
แต่การขับรถก็มีเวลาว่างส่วนหนึ่ง
ในการทบทวนวิชาจากครูตู้ครูเทปในยุคนั้น
ซึ่งมีการขายชีทและเทปบรรยายกันมากในยุคก่อน
แม้ว่าจะมีการห้ามอัดเทปออกขาย
แต่ก็ยังมีการลักลอบอยู่เหมือนกัน
หลังจากรถแท๊กซี่ถึงสถานีรถไฟสามเสนแล้ว
แกก็ยกมือไหว้ขอบคุณผม
และผมก็อวยพรให้แกโชคดีให้สอบปลัดอำเภอให้ได้
ถ้าสอบปลัดได้ ก็พยายามเรียนนิติศาสตร์แล้วจบเนติบัณฑิตให้ได้
เผื่อไปสอบเป็นอัยการหรือผู้พิพากษา
ชีวิตจะได้ไปโลดไปได้อีกไกล
เพราะอายุก็ยังน้อยอยู่คงไปได้อีกไกล
อีกครั้งหนึ่ง
ตอนขึ้นรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ
จะไปธุระที่แถวสุขุมวิทเพื่อไปหาเพื่อน
ขณะที่ดูป้ายชื่อนามสกุลคนขับรถแท็กซี่หลังเบาะที่นั่ง
เห็นนามสกุลคนขับรถแท็กซี่
ก็จำได้ว่าเพื่อนสนิทคนหนึ่งนามสกุลดังกล่าว
เพื่อนเป็นคนสุราษฏร์ธานี
เพื่อนเล่าเองว่า พ่อแกเป็นสหายพรรคคอมมิวนิสต์
มีอาชีพเป็นทนายความดังที่สุราษฎร์ธานี
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ก็เดินทางเข้าป่าไปร่วมกับสหายในป่า
และค่อยกลับมาทำงานในเมือง
เป็นฝ่ายจัดตั้งสนับสนุนในเมือง
แต่ในที่สุดถูกล้อมปราบยิงตายคาที่
พร้อมกับเงินสดราวสองแสนบาทที่จะนำไปให้สหาย
ก็ถูกตำรวจยึดไปแต่ไม่ลงบัญชีไว้ว่าพบที่ศพคนตาย
ที่รู้ว่า เงินสดหายไปสองแสนบาท
เพราะมีการถอนเงินสดจากธนาคารในวันตาย
และเงินในบัญชีธนาคารก็ถูกถอนไปเป็นจำนวนดังกล่าว
ครอบครัวเพื่อนทราบข่าวจากวงในและสหายที่หลบหนีไปได้
หลังจากนั้น ครอบครัวเพื่อนก็ขายบ้านและที่ดิน
ย้ายมาที่กรุงเทพฯ โดยยังพอมีเงินเก็บก้อนหนึ่ง
ที่ได้จากการขายบ้านและที่ดิน
ส่วนแม่เพื่อนก็รับจ้างซักผ้า/เย็บผ้าเป็นรายได้เสริม
เพราะต้องส่งพี่ชาย เพื่อนและน้องชายเรียนระดับมหาวิทยาลัย
ผมเคยไปบ้านเพื่อนที่กรุงเทพฯ ก็เพียงครั้งเดียว
แต่นานมากแล้วเพราะค่อนข้างไกล
แต่ตอนเรียนค่อนข้างสนิทกันพอสมควร
เพราะอยู่ในกลุ่มเดียวกันในตอนวัยรุ่น
หลังจากจบการศึกษาก็แยกย้ายกันไป
ทราบข่าวว่าเพื่อนจะไปสอบเป็นผู้พิพากษา
ส่วนผมก็กลับมาหางานทำที่บ้านเกิด
เลยขาดการติดต่อไปเลยเช่นกัน
เพราะยุคนั้น โทรศัพท์เป็นอะไรที่หายากมาก
หลังจากสอบถามคนขับรถแท็กซี่ว่า
" เป็นอะไรกับหน่อยครับ เห็นใช้นามสกุลนี้ "
" อ๋อ เป็นพี่ชายแกเอง รู้จักหน่อยเหรอ " คนขับรถถาม
" ครับ ไม่เจอนานแล้ว ผมสนิทกับแกมากตอนเรียน
ตอนนี้แกไปทำงานที่ไหนแล้วครับ " ผมถาม
" ไปเป็นผู้พิพากษาที่เชียงใหม่
แกพาแม่ไปอยู่ด้วย
ส่วนผมยังทำงานที่กรุงเทพฯ " คนขับรถตอบ
" อ้าว ได้ข่าวว่าพี่จบปริญญาตรีสองใบไม่ใช่หรือ
เพราะจำได้หน่อยเคยบอกผมนานแล้วครับ " ผมถาม
" ใช่ แต่ชีวิตก็เป็นเช่นนี้แหละ
เพราะผมทะลึ่งมีเมียสองเอง
และมีลูกอีกสองคน
เมียคนแรกหย่าไปแล้ว
หลังจากผมมีคนที่สอง
ตอนนี้ผมอยู่กับเมียคนที่สอง
แต่ก็ต้องส่งเสียลูกทั้งสองคน
ผมเคยไปทำงานบริษัทก็ไม่พอกิน
ครั้นจะสอบเข้ารับราชการ
ก็ไม่รู้ว่าจะโดนบรรจุลงที่ไหน
ลูกเมียก็อยู่ที่นี่
คงลำบากน่าดูแหละ
เพราะไม่มีสมบัติพ่อแม่หลงเหลืออยู่
คนเราเลือกชีวิตแล้ว ก็ต้องสู้ต่อไป
น้องอย่าผิดพลาดแบบพี่ก็แล้วกัน
ริอ่านมีเมียสองคน ก็เลยเกิดปัญหา
และไม่คิดหาเมียมาช่วยทำมาหากิน
เลยลำบากจนทุกวันนี้
พี่ก็อายเหมือนกันเวลาเจอเพื่อนเก่า
แต่ทำยังไงได้ เลือกชีวิตแบบนี้แล้ว
รายได้ก็พออยู่พอกิน
เพราะพี่พอพูดอังกฤษได้
มักจะมีลูกค้าประจำเป็นคนต่างชาติ
เหมาไปต่างจังหวัดบ่อย ๆ
ช่วงนี้ลูกค้ายังไม่เข้ามา
พี่เลยออกรอบหารายได้ไปใช้จ่ายก่อน "
หลังจากผมถึงที่หมายแล้ว
ผมก็ยกมือไหว้แกพร้อมกับจ่ายค่ารถแท็กซี่
แกบอกไม่อยากรับเงินของเพื่อนน้องชาย
แต่ผมบอกฝากให้หลานแก็แล้วกัน
เพราะไม่เจอเพื่อนตั้งนานแล้ว
คนขับรถตู้ประจำทางอีกคนหนึ่งชื่อ หน่อย
ที่รู้จักเพราะ หน่อยเป็นญาติทางฝ่ายภริยา
ในช่วงแรกที่หน่อยจบใหม่ ๆ ก็หางานทำ
โดยได้ทำงานกับหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ท้องถิ่น
ซึ่งมักจะทำสกู๊ปข่าวประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวคิดการพัฒนาชนบทและข่าวสัพเพเหระทั่ว ๆ ไป
มีรายได้หลักจากการประกาศรับสมัครงานของหน่วยงานธุรกิจ
แต่จริง ๆ เป็นการโฆษณาแฝงของหน่วยงานธุรกิจ
เพื่อให้มีคนทราบว่ามีธุรกิจนี้อยู่
และค่าลงโฆษณาจะถูกกว่าลงหน้าหลัก ๆ ในยุคนั้น
ยิ่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในยุคนั้น
ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างด้าว
หน่วยงานธุรกิจชอบลงหน้านี้มากกว่า
รับสมัครงาน แต่ไม่เคยรับพนักงานจริง ๆ แต่อย่างใด
เป็นแต่การ PR(ประชาสัมพันธ์) แฝงที่มีต้นทุนต่ำเท่านั้น
และรายได้หลักของหนังสือพิมพ์นี้
อีกส่วนก็มาจากค่าสมาชิกเป็นรายปี
ทำให้มีรายได้หลักในการจัดพิมพ์จำหน่าย
หน่อย มีภริยาที่รับราชการครูที่อำเภอรอบนอก
อยู่ไกลจากที่ทำงานราว 60 กว่ากิโลเมตร
ทางพ่อตาแม่ยายหน่อยจัดว่ามีฐานะพอสมควร
ก็เลยออกรถยนต์ให้คันหนึ่งโดยผ่อนในชื่อภริยา
เพื่อให้หน่อยไว้ใช้ไปกลับในวันที่เลิกงานเร็ว
ไม่ต้องค้างหรือพักนอนที่บ้านน้องชายหน่อย
และไว้รับส่งพ่อตาแม่ยายและภริยาเวลาไปธุระต่าง ๆ
โดยทางพ่อตาแม่ยายก็ช่วยผ่อนรถยนต์ให้ด้วย
รวมทั้งยุคนั้น รถยนต์เป็นอะไรที่แพงด้วย
ด้วยความหน้าใหญ่ใจโตและเห่อกับมีรถยนต์ใหม่
หน่อยเลยเที่ยวนำรถยนต์คันนี้รับส่งเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
พาเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ไปติดต่องาน
หรือพาเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ไปขอค่าโฆษณา
นัยว่าดูดีมีสกุล มีหลักมีฐานพอเพียงกับธุรกิจหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับนี้
หรือพาทีมนักข่าวไปสัมภาษณ์ลูกค้ามาลงในบทความ
หรือตามแต่เจ้าของหนังสือพิมพ์จะไหว้วานไปทำธุระต่าง ๆ
บางครั้ง หน่อยก็ต้องขับไปต่างจังหวัดไปติดต่อหาลูกค้ากับเรื่องงาน
และร่วมสำรวจเส้นทางกับทีมงาน
เพื่อจัดแข่งแรลลี่หารายได้เข้าสำนักพิมพ์รายสัปดาห์
ซึ่งในยุคนั้นนิยมขับรถแรลลี่แบบเชิงท่องเที่ยว
เรียกว่า หน่อยแยกไม่ออกว่างานส่วนตัวหรือเป็นงานของธุรกิจ
จริง ๆ เรื่องนี้ ทางพ่อตาแม่ยายและพี่เมียของหน่อย
ตลอดจนพี่สาวหน่อย ก็เคยเตือนแล้วในเรื่องนี้
ว่าไม่สมควรนำรถยนต์ส่วนตัวไปให้บริการเจ้าของธุรกิจ
ที่ไม่ยอมซื้อรถยนต์ส่วนตัวมาใช้งานเลย
กับเจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์มักจะเที่ยวอาศัย
หรือไหว้วานกับหยิบยืมรถยนต์จากเพื่อนฝูงเป็นประจำ
การทำแบบนี้ จะทำให้เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์จะมีนิสัยเสียในระยะยาว
ถ้าเกิดหน่อยลาออกอาจจะมีปัญหาได้
เพราะสถานะหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ก็แค่พอเลี้ยงตัวได้
เพียงแต่มีบทบาทและชื่อเสียงในท้องถิ่น
ที่พอจะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ/เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเกรงใจ
กลัวจะลงข่าวโจมตีในบางเรื่อง
ในยุคที่ยังไม่มี Internet และ Social Media
แต่หน่อยก็ไม่ยอมเชื่อและดื้อรั้น
เพราะคิดว่าคงไม่เป็นไรในเรื่องนี้
ถือว่าช่วยเจ้าของธุรกิจที่เริ่มตั้งตัวใหม่ ๆ
คนดี ๆ กัน เขาคงจะดีตอบ
แต่ในโลกนี้ พุทธทาสภิกขุ ท่านเคยเทศน์ว่า
ความดีก็คือดี แต่การทำความดีกับผู้อื่น
ผู้อื่นก็ไม่มีหน้าที่หรือภาระที่จะมาตอบแทนแต่อย่างไร
หรือแบบโกวเล้งเคยเขียนไว้
ในนวนิยายกำลังภายในเรื่องหนึ่งว่า
บุญคุณท่านเหลือล้นมาก
จนข้าไม่รู้จะตอบแทนบุญคุณอย่างไร
จึงจะหมดสิ้นบุญคุณที่ท่านมีต่อข้าได้
ข้าจึงขอเนรคุณท่านซะเลย
จะได้ไม่ต้องตอบแทนบุญคุณกันอีกตลอดไป
ต่อมา ไม่นาน หน่อยก็ได้งานที่อำเภอรอบนอกใกล้กับบ้านภริยา
เป็นบริษัทขายรถเครื่อง(รถจักรยานยนต์)ผ่อนส่งในท้องถิ่น
หน่อยเลยขอลาออกจากการทำงานหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
เรื่องนี้ทำให้เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์โกรธมาก
เพราะต้องหาคนทำงานใหม่กับขาดรถยนต์ใช้งาน
พยายามคะยั้นคะยอให้หน่อยทำงานต่อ
แต่หน่อยบอกว่า " ที่ใหม่เงินเดือนดีกว่าและใกล้บ้านภริยา "
เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เลยบอก " ได้ แล้วจะได้เห็นดีกัน "
หน่อยทำงานได้เพียงสัปดาห์
เจ้าของบริษัทรถเครื่องผ่อนส่ง
ก็เดินมาหาแล้วบอกว่า
" พรุ่งนี้ ไม่ต้องมาทำงานแล้วนะ "
" ทำไม่ครับพี่ ผมทำอะไรผิด " หน่อย
" ผมโทรศัพท์ไปถามเจ้าของหนังสือพิมพ์
เจ้านายเก่าของคุณ บอกว่าคุณทิ้งงาน
และยักยอกเงินค่าส่งเอกสารทางไปรษณีย์
แม้ว่าเงินไม่มากนัก แต่ผมรับไม่ได้ " เจ้าของบริษัท
" ผมไม่ได้ทำ ผมใช้รถยนต์ส่วนตัวรับส่งแก
และส่งหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ให้แกตลอดในตอนนั้น
และผมไม่ได้ยุ่งเรื่องเงินเลย " หน่อยตอบ
" ผมไม่ทราบ แต่ผมในฐานะนักธุรกิจ
ผมขอเชื่อเจ้าของด้วยกัน มากกว่าเชื่อลูกจ้าง
เดี๋ยวฝ่ายบัญชีจะจ่ายค่าแรงคิดเป็นรายวันให้
และพรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงานแล้วนะ
ขอให้คุณโชคดีกับงานใหม่นะ " เจ้าของบริษัทตอบ
หน่อยจึงไปหาเจ้าของหนังสือพิมพ์ถึงที่บ้าน
ก็ได้รับคำตอบว่า
" ผมบอกไปจริง
ผมอยากให้คุณกลับมาทำงานกับผม
และถ้าคุณไปทำงานที่อื่นอีก
ผมก็จะบอกแบบนี้อีกเช่นกัน "
เรื่องนี้เลยจบลง แบบหน่อยต้องตกงาน
และหางานใหม่ไม่ได้อีกในแถวบ้านภริยา
เพราะกลายเป็นข่าวดังคนรู้กันทั้งอำเภอรอบนอก
ทำให้พ่อตาแม่ยายขัดใจมากกับเรื่องนี้
เห็นแกว่างงานแล้วทำท่าจะเครียด
ในช่วงนั้น รถตู้สายท้องถิ่นระหว่างอำเภอ
มีรายได้จากการวิ่งรถตู้ดีมาก รวมทั้งรายเหมา
พ่อตาแม่ยายเลยไปดาวน์รถตู้ให้หน่อยหนึ่งคัน
แล้วจ่ายค่าวิน(ค่าเข้าร่วมในสายวิ่งระหว่างอำเภอ หนึ่งแสนบาท)
ทำให้หน่อยกลายมาเป็นคนขับรถตู้จนทุกวันนี้
รายได้ก็แทบไม่พอค่าผ่อน ค่าซ่อม แต่อย่างใด
ดีที่พ่อตาแม่ยายสนับสนุนจึงพออยู่ได้
หลายปีต่อมา
มีเรื่องเหลือเชื่ออยู่เรื่องหนึ่ง
เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
ที่ตอนนี้มีรายได้หลัก ๆ
ในช่วงท้าย ๆ ก่อนปิดกิจการคือ
การตีพิมพ์รับสมัครงานในท้องถิ่น
การประกาศทวงหนี้ของธนาคารท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของนิติบุคคลท้องถิ่น
ที่ต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 15 วันตามกฎหมาย
เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
จะลงสมัครสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัด
ได้โทรศัพท์มาหาหน่อย แล้วบอกว่า
" เราเลิกแล้วต่อกันนะ
ผมจะลงสมัครสว.
ยังไงก็เลือกผมด้วยนะ "
หน่อยได้แต่ด่าแม่และสาปส่ง
ซึ่งก็ทำได้แค่นั้นเอง
เพราะมากกว่านั้นคงไม่ได้แล้ว
เรื่องราวชะตาชีวิตคนขับรถรับจ้าง
ที่ผมพอจำได้และจดจำเรื่องราวได้
ชีวิตคนเราไม่แน่
บางอย่างคนเตือนแล้วยังดื้อรั้น
ก็จะพบจุดจบไม่งดงามแน่
การใช้ชีวิตแบบไม่ระมัดระวัง
เมื่อเลือกทางเดินชีวิตแล้ว
ก็ต้องดิ้นรนกันจนถึงที่สุด
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะลืมเลือนหายไปเหมือนทิวทัศน์ข้างทาง
ที่แปรเปลี่ยนไปตามเส้นทางที่วิ่งผ่านกาลเวลา