"ทริปทันใจ" เที่ยวพม่า 2วัน1คืน (ขอพรปุ๊บ ได้ปั๊บ บินปุ๊บเลย 5555)

ตามชื่อกระทู้ที่ตั้งเลยครับ
“ทริปทันใจ” คือทริปแก้บนนั่นเองครับผม
หากใครได้ติดตามกระทู้เก่าผมจะทราบว่าเมื่อช่วงเดือนก่อนผมกำลังขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งตอนนี้ผ่านแล้ว
ก็เพราะขอพรไว้กับเทพทันใจนั่นแหละครับผม นั่นคือจุดกำเนิดทริปแสวงบุญในครั้งนี้นั่นเองครับ

ปล.ข้อมูลในกระทู้นี้ไม่ถูกต้อง 100% เนื่องจากเราไม่ได้ศึกษาข้อมูลในสถานที่ต่าง ๆ ก่อนเดินทาง ข้อมูลที่เอามาแบ่งปันเป็นข้อมูลที่ได้จากไกด์ชาวพม่า โดยการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ฟุดฟิชฟอฟาย บวกกับภาษามือ 55555

ต้องรู้ก่อนไปพม่า
1.    ประเทศพม่าไม่ค่อยสะอาดเท่าไหร่ สถานที่สะอาดที่สุดคือ สนามบิน โรงแรมและห้างสรรพสินค้า
2.    ประชาชนนุ่งสะโหร่งและผ้าถุงเกือบทั้งหมด
3.    ประชาชนพม่าชอบกินหมากและยิ้มลงพื้นเป็นเรื่องปกติ
4.    สถานที่ที่ไม่มีหมาจะถือว่าโชคดี เพราะไม่ต้องระวังอึมัน
5.    เข้าวัดต้องถอดรองเท้าและถุงเท้าตั้งแต่ทางขึ้นหน้าวัด
6.    ถ้าฝนตกจะเลอะมาก ทั้งน้ำหมากทั้งขี้ดินจะไหลรวมๆกันและเราต้องถอดรองเท้า 555555
7.    ไม่ควรสวมผ้าใบไป ควรใส่รองเท้าแตะไป
8.    พกเงินไว้ 3 สกุลเลยทั้ง ไทย ดอลล่า จ๊าต
9.    ถ้าป้ายแสดงราคาจ๊าต ให้จ่ายจ๊าต เพราะถ้าเราจะจ่ายสกุลอื่น เค้าจะมีเรตอัตราแลกเปลี่ยนที่แพง
10.    ถ้าป้ายแสดงราคาดอลล่า ให้จ่ายดอลล่า เช่นเดียวกันกับข้อข้างบน
11.    ถ้าซื้อของตามร้านค้าแล้วเค้าบอก 1 ชิ้น 500 จ๊าตค่ะ หรือเป็นเงิน 10 บาท ก็ลองเข้าเว็ปอัตราแลกเปลี่ยนดูจ่ายอะไรถูกกว่า
12.    ค่าเงินที่เล็กที่สุดคือ 50 จ๊าด
13.    ถ้าซื้อของแล้วเจอเศษ อย่างเช่น 21,255 จ๊าต ให้จ่าย 21,300 เค้าจะไม่ทอน ไม่ต้องตกใจ 55555  
14.    เค้าบีบเตรรถยนต์กันเป็นว่าเล่น เตรียมปวดหูได้เลย จอดเฉยๆก็บีบ ไม่รู้เพื่ออะไร



Part 1 : เตรียมตัว (มั่นหน้าโชว์รูปไปอีก 5555)



ผมเดินทางไปพม่าในครั้งนี้ด้วยสายการบิน เมียนมาร์ แอร์เวย์ อินเตอร์เนชั่ลแนล เป็นสายการบินประจำชาติของพม่าเลย
ตั๋วใบนี้ ผมทำการจองล่วงหน้าประมาณ 2 สัปดาห์ครับ ราคาตั๋วไป-กลับอยู่ที่ คนละ 3,885 ครับผม
ทริปนี้ไปกับเพื่ออีก 1 คน ราคาตั๋วก็ 7,770 บาทครับ
เป็นสายการบิน Full Service ครับ มีอาหารเสิร์ฟ 1 มื้อและโหลดฟรี 20 kg. ขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิครับ
ถ้าเทียบราคากับ Low Cost ของบ้านเรา ณ. ตอนที่ผมจองห่างกันประมาณ 500 ครับ ถ้าเทียบแล้วก็ถือว่าเป็นค่ารถไปดอนเมืองแล้วกันครับ 5555 เพราะบ้านผมอยู่แถวสุวรรณภูมินี่เอง

กำหนดการเดินทางของผม
เครื่องออก 10.40 (เวลาไทย) จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึง ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง 11.25
(เวลาพม่าช้ากว่าไทย 30 นาทีครับ)

การเช็คอิน เช็คอินด้วยพนักงานของการบินไทยครับผม
ไม่มีการเช็คอินออนไลน์ ทำให้ผมต้องเดินทางไปแต่เช้า เพื่อเลือกที่นั่งที่ดีที่สุดด้วยตนเอง 5555
เคาเตอร์เปิดก่อน 3 ชั่วโมงครับ ดังนั้นบิน 10.40 เคาเตอร์จึงเปิด 07.40 แต่ผมไปถึง 06.30 เพราะกลัวคนเยอะและเผื่อเวลาไว้
ก็เป็นอย่างที่คิดครับ ผมได้เช็คอินคนแรก 555555 คนแรกแบบไม่มีใครมาต่อแถวเลยครับผม

หลังจากได้ตั๋วเรียบร้อย เราก็ทำการลงมาแลกเงินที่ชั้น B  ตรงทางเข้าแอร์พอทลิ้งครับ
เราใช้บริการของ Superrich ครับผม
เราแลกจากเงินไทย --> ไปเป็น ดอลล่าครับ (เดี๋ยวไปแลกดอลล่าเป็นจ๊าตที่ประเทศเค้า)
แลกทั้งหมด 20,000 บาท ได้มา 600 ดอลล่าครับ เรตตอนที่ไปอยู่ที่ 33.30 ครับผม
เค้าจะถามเราเลยครับว่า เราต้องการเอาไปใช้ที่ประเทศไหน
พอเราบอก พม่า เค้าก็จะจัดแบงก์ใหม่กริ๊บให้เราเลยครับ เพราะที่พม่าไม่รับแลกแบงก์เก่านะครับผม

ข้อสังเกตที่เค้าจะไม่รับแลก คือ
1.    แบงก์ที่มีรอยขีดของดินสอหรือปากกา
2.    แบงก์ที่ไม่มีตราแสตมป์
3.     แบงก์ที่มีรอยพับ

คำแนะนำ ให้เราพกทั้งเงิน บาทไทย เงินดอลล่าและเงินจ๊าตไว้ เนื่องจากบางที่รับเงินหลายสกุลเงิน เราก้ไปนั่งบวกลบคูณหารเอา สกุลเงินไหนถูกสุด 555555 ก็จ่ายไปซะ

ดังนั้น เมื่อได้เงินมาแล้ว ใส่ซองใส่กระเป๋าสะพายหลังให้เรียบร้อยเลยครับ 555555
หลังจากที่แลกเงินหาอะไรทานแล้วก็ไปรอขึ้นเครื่องได้เลยครับผม เห็นไหมละครับการที่ผมมาไวมันเป็นผลดีจริงๆ นะครับ
เพราะว่าได้เดินช็อปปิ้งในดิวตี้ฟรีเป็นชั่วโมง

ตอนนี้ดิวตี้ฟรีมีโปรแรงด้วยนะครับ 5555
1.    สมัครบัตรคิงพาวเวอร์ เติมเงิน 3,000 บาทได้รับส่วนลด 400 (อันนี้ไม่แน่ใจจำนวนเงิน)
2.    สมัครบัตรคิงพาวเวอร์ เติมเงิน 6,000 บาทได้รับส่วนลด 1,000 (อันนี้แน่ใจเพราะสมัครมาแล้ว)

เติมเงินไป 6,000 บาท ได้ส่วนลด 1,000 แถมคูปองเงินสด 200 ลด on top ในบัตร 10% อะไรจะคุ้มขนาดนี้ เลยจัดน้ำหอมมา 2 ขวดเลย 555555 ยังเหลืองเงินในบัตรมาซื้อขนมขากลับได้ด้วยแหละ


Part 2 : ออกเดินทาง

เมื่อได้เวลาขึ้นเครื่องพนักงานก็จะเรียกขึ้นเครื่องตามแถวเหมือนปกติทั่วไป พนักงานก็ยังเป็นพนักงานของการบินไทยเหมือนเดิมครับ

ภายนอกเครื่องดูเล็กไปหน่อย คล้ายๆของนกแอร์บ้านเรา แต่ภายในถือว่าใช้ได้ครับ ยังคงดูใหม่และสะอาดอยู่ ที่นั่งเป็นแบบ 3 ที่นั่ง 2 ฝั่ง แน่นอน เนื่องจากไปเร็วจึงได้ที่นั่งริมหน้าต่าง 55555


เมื่อขึ้นเครื่องพร้อม ก็ออกเดินทาง เครื่องบินไต่ระดับได้ ก็เริ่มเสิร์ฟ อาหารเลย พอเสิร์ฟครบก็เริ่มเก็บเลย เนื่องจากเราเดินทางกันแค่ 1 ชั่วโมง แปบเดียวก็ถึงแล้ว 55555

โฉมหน้าอาหารของเรา  เป็นยำวุ้นเส้น กาแฟ (อันนี้เลือกเองนะครับ) ของหวานเป็นวุ้นกะทิครับ



Part 2 : มิงกะลาบา

หลังจากกินอาหารเสร็จ เครื่องก็เตรียมลงจอดเลยครับ มันไวมาก
ตอนขึ้นเครื่องเราจะได้เอกสาร 2 ใบ ไว้กรอกสำหรับเข้าประเทศ
ใบที่ 1 เป็นใบขาเข้าปกติ เหมือนเรากรอกเวลาเข้าประเทศ
ใบที่ 2 เป็นใบแสดงสิ่งของต้องสำแดง (อันนี้ งงมาก ไม่ได้กรอกด้วย 55555)

หลังจากลงจากเครื่อง เราก็ไปรอผ่าน ตม. กัน ตอนนั้นใจเต้นตุ๊บๆ เพราะหน้าตา ตม. แต่ละช่องหน้าตาดุมาก และสิ่งที่กงวลคือ สำเนียงอังกฤษของคนพม่าจะเป็นยังไง 555555
แต่ความเป็นจริง ....... สบายมาก ยื่นพาสปอร์ตและเอกสารใบที่ 1 (ใบกรอกขาเข้า) เค้าก็คีย์ๆปั๊มๆ เรอ 1 ที แล้วยื่นกลับมาให้บอกเวลคัม 5555555 มันง่ายอย่างงั้นเลย แถมเรออีก 1 ทีเป็นการแสดงการต้อนรับหรอเนี่ย ตอนนั้นเราขำออกมาเลย 5555
หลังจากผ่านกระบวนการตรงนั้นเราก็มารอรับกระเป๋า เนื่องจากสนามบินเค้าเล็ก กระเป่าจึงมาหมุนรอทุกคนอยู่ที่จุดรับกระเป๋าเรียบร้อยแล้ว 555555 พอหิ้วกระเป๋า จะเจอทางออก จะมีเครื่องสแกนกระเป๋า น่าจะเป็นกรมศุลกากรของเค้า เราก็เตรียมเอกสารใบที่ 2 ไว้ให้เค้า (ใบสำแดงของต้องห้าม) อันนี้เรากรอกแต่ชื่อเรา 5555 เราไม่รู้จะกรอกอะไร เราก็ยื่นให้แล้วเดิน ชิลๆ ออกมาก็รอดแฮะ 55555

หลังจากออกมาแล้วก็จะเจอไกด์มารอต้อนรับ มิงกะลาบา ดังลั่น 555555
ลืมบอกไป ทริปนี้เราจ้างไกด์ส่วนตัว (เพื่อนแนะนำมา) ซึ่งเป็นคนขับรถด้วย สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและภาษามือล้วย ๆ ค่าบริการวันละ 50 ดอลล่า สำหรับเราถือว่าคุ้มมาก เพราะระบบขนส่งของเค้าไม่ง่ายสำหรับนักท่องเที่ยวเอาซะเลย ต้องพึ่งแท็กซี่ท่าเดียว มีหวังโดนแท็กซี่ฟันค่าโดยสารอีกไม่ว่า
หลังจากออกมาเจอกันแล้ว เราเลยให้เค้าพาไปแลกเงินและซื้อซิมการ์ด

นี่คือโฉมหน้าไกด์ของเราในทริปนี้
เป็นทั้งไกด์ส่วนตัว คนขับรถส่วนตัว คนถือของ คนต่อราคาช่างกล้อง 5555 เป็นให้เราหมด


เคาเตอร์แลกเงินมีอยู่สัก 3 เคาเตอร์แต่เรตเท่ากันหมด เราแลกทั้งหมด 500 ดอลล่า ได้มาเกือบ 8 แสนจ๊าต
เก็บไว้ 100 ดอลล่าเป็นค่าคนขับรถ (วันละ 50 ดอลล่า 2 วัน นั่นเอง)

สำหรับซิมการ์ดให้เลือกของ Ooreddo เพราะว่าน่าจะถูกที่สุด สัญญาณดีที่สุด
จะมีโปรสำหรับนักท่องเที่ยวให้เลือก
ของเราเลือกโปร 2 MB Free 1 MB ราคา 4,500 จ๊าต ก็ประมาณ 100 กว่าบาทไทยนั่นเอง

พอขึ้นรถปุ๊บ เราก็ทำการตกลงกับไกด์ว่า จะขอหาอะไรกินก่อน แล้วเที่ยวไปเรื่อยๆ สัก 6 โมงเย็นจะเข้าที่พัก ไกด์เลยจัดตารางมาให้

ไปลุยกันนนนนนนนนเลย อมยิ้ม36



1.    Feel Myanmar
ร้านอาหารพม่า ราคาถูกมาก อร่อยมาก (อร่อยในแบบของเค้านะ)
เราสั่งไป 5 อย่าง มาเสริฟประมาณ 9 อย่าง ตอนแรกตกใจมาก แบบโดนยัดเยียดแล้วไง เห็นเป็นนักท่องเที่ยวละมั้ง สรุปคือ ฟรีจ้า แถมจ้า น้ำพริกปลาร้า เซ็ตชาร้อนพม่า น้ำซุป เซ็ตขนมหวานสบายใจไปอีกกกกก สำหรับข้าวเป็นรีฟิลนะ คือสั่ง 3 จานจะมาเสิร์ฟ 3 จานแล้วจะมาเติมให้เป็นจานเล็กๆ อีก


2.    วัดพระนอน คนพม่าเรียกว่า Sleeping Bhuda
น่าเสียดายมาก เนื่องจากเรามาตอนเค้ากำลังปรับปรุงอยู่ แต่ขนาดปิดปรับปรุงยังสวยงามมากเลย


3.    ดอกไม้ไหว้พระ
ดอกไม้ไหว้พระเค้าไม่ใช้กล้วยไม้แบบบ้านเรานะ เค้าจะมีใบไม้ ดอกคัทเตอร์ และกุหลาบ กำละ 1,000-1,500 จ๊าด ก็ประมาณ 20 –25บาท
อีกแบบจะเป็นพวงๆ ร้อย ดอกสีขาวๆ หอมมาก ชอบมากเลยเพราะมันหอมกลบกลิ่นหมากพลูของชาวพม่าได้หมดเลยทีเดียว 5555 ราคาพวงละ 500 จ๊าต ประมาณ 10 บาท บ้านเรา

4.    พระประจำวันเกิด
ของพม่าจะมีปางไม่เหมือนกับของไทยนะ ในแต่ละวัดที่นั่นก็ยังไม่เหมือนกันเลย เราก็เลือกตามวันที่เขียนไว้เอา วิธีคือ เค้าจะมีขันให้เราตักน้ำไปสรงที่พระพุทธรูปเลย ไม่ได้ให้ใส่เหรียญแบบบ้านเรา

5.    เจดีย์โบตาทาวน์ หรือ เทพทันใจ
มาถึงสถานที่สำคัญที่ทำให้เราเดินทางมาพม่าในครั้งนี้แล้ว ก่อนเข้าสักการะเทพทันใจ ไกด์พาเราไปดู เส้นผมของพระพุทธเจ้าก่อน สวยมากเลย การออกแบบและการแกะสลักต่าง ๆ ที่สำคัญใช้ไม้เกือบทั้งหมดเลยด้วย


การขอพรเทพทันใจ
ให้เราเอาแบงก์มา 2 ใบ (ของเราใช้แบงก์จ๊าตและแบงก์บาท)
แบงก์ใบแรก (จ๊าต) เอาม้วนไว้ แล้วเอาแบงก์ใบที่สอง (บาท) ม้วนสอดไว้ข้างบน แล้วเอาทั้ง 2 แบงก์ใส่ในมือของเทพทันใจ เอาหน้าผากไปโดยมือท่านแล้วขอพอ เมื่อเสร็จให้เอาแบงก์บาทออมาเก็บไว้บูชา


ยังมีความเชื่ออีกอย่างนึงคือ ถ้าเราเจ็บปวดตรงไหน ให้เราไปลูบขอพรตามลำตัวของท่าน เราจึงเห็นคนขอพรแล้วเดินไปลูบตามขาหรือหลังของท่านตลอดเวลา




แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่