คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ถ้าทำเล็กๆก็น่าจะใช้ gas turbine กับ gasifier เผาเชื้อเพลิง ราคาแต่ละตัวไม่เบาเลย แล้วไหนจะระบบจัดการไอเสียอีก
- Wet scrubber, Bag filter ก็กรองได้ไม่เยอะ
-ESP ดีมาก แต่เล็กๆไม่น่าจะมี แต่ราคาแพงลิบ
ผมไม่เคยจับโปรเจ็คเล็กกว่า 9.9MW นะ แต่ผมเคยเห็นราคาบ้าง ถ้า scale ระดับหมู่บ้านขนาดนั้นเชื้อเพลิงแข็งไม่คุ้มครับ ทั้งระบบทำงานหลัก ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบเซฟตี้
แล้วที่สำคัญ คุณจะ operate มันยังไง balance ไฟฟ้าที่ผลิต กับไฟฟ้าที่คนใช้
//////////////////////////////////////////////////////////
ว่างพอดีผมอธิบายให้คร่าวๆแล้วกัน
ที่ จขกท ถาม "How ... ? เขาจะทำกันยังไง เผาแบบไหน ปั่นไฟยังไง ? ทำให้ชาวบ้านต้องออกมาค้านหัวชนฝา เหมือนพวกแบ่งสีขั้วการเมือง"
แบ่งะบบหลักๆตามเชื้อเพลิงก่อนครับ
- เชื้อเพลิงแข็ง //พวกถ่านหิน ชีวมวลอย่างไม้สับ กากอ้อย
ทั่วไปทำกัน 2 แบบ อธิบายแบบชาวบ้านๆเลยละกัน ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะ
1 เผาเชื้อเพลิงเอาความร้อนไปต้มน้ำ ให้เดือดชนิดที่ว่าเป็นไอน้ำแห้ง คือไม่มีเศษละอองน้ำที่เป็นของเหลงลอยติดไปด้วยเลย เดือดมากๆ
โดยต้มน้ำที่อุปกรณ์ "บอยเลอร์" ซึ่งทั่วไปจะมีเตาเผาติดในชุดมาเลย หรือจะเผาแยกแล้วเอาพัดลมพาความร้อนเข้าไปก็ได้ แล้วไอน้ำนั้นถูกส่งต่อไปปั่น "กังหันไอน้ำ" ที่ต่อกับ generator ผลิตไฟฟ้า
แล้วไอเสียที่ใช้ในการเผาไหม้ก็ต้องไปผ่านระบบกรองก่อนส่งออกปลายปล่อง ซึ่งจะมีการควบคุมมลพิษจากการวัดเขม่าที่ปล่องด้วย ผมจำเกณฑ์ไม่ได้แต่ที่โดยทั่วไปที่เจอก็ประมาณ 80ppm ไม่แน่ใจว่าเช็คกำมะกัน กับ CO ด้วยไหม ประเด็นสิ่งแวดล้อมผมไม่ชัวร์
ผมให้ราคาคร่าวละกัน 10MW เนี่ย บอยเลอร์บริษัทกลางๆก็ 30-45ล้าน, ไม่รวมชุดกังหันปั่นอีกไม่ต่ำกว่า 20ล้าน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ, Wet scrubber ลดเขม่าไอเสียหลักล้าน แต่ถ้ากรองดีๆเลยก็ ESP 5ล้าน+ ไม่รวมงานเดินท่อ งานระบบควมคุม ระบบบำบัดน้ำ กรองน้ำ เยอะครับ
plant นึกที่พอทราบก็ ขายกัน 300-500ล้าน
2. อีกแบบคือ เผาเชื้อเพลิงแข็งเป็นแก๊สร้อน แล้วเอาแก็สร้อนไปปั่นกังหันเลย
อาจจะคิดว่ามันง่ายกว่าแต่ กังหันก็เสี่ยงพังกว่าการใช้ไอน้ำ เพราะว่าถ้ามีเศษเขม่าจากการเผาไหม้ติดไป ลอยไปตีกับใบกังหันก็เสี่ยงต่อการชำรุด ซึ่งไม่ดีแน่ๆ หลักการคร่าวๆคือ จะเผาเชื้อเพลิงแข็งใน gasifier แต่ทั่วไป พูดง่ายๆคือเหมือนจะเผา 2 รอบ คือเผารอบแรกให้ได้ก๊าซ CO แล้วไปเผาซ้ำเติมอากาศอีกครั่งให้เป็น CO2 แล้วก็กรองพวกเขม่าพวกน้ำมันดินที่ติดมากับก๊าซไปด้วย แล้วนำก๊าซนั่นไปปั่นกังหันก๊าซต่อไป
ถ้าระบบเล็ก รูปแบบนี่จะใช้งบน้อยกว่า คุ้มทุนกว่า แต่จะไปหนักพวกระบบกรองก๊าซอะไรพวกนั้น
พวกราคาผมทราบเลยแบบนี่ คือที่ทราบว่ามีใช้กันก็ plant ชุมชนต่ำกว่า 1MW กับพวกที่ใช้ก๊าซธรรมชาติของสเกลใหญ่ไปเลยของ กฟผ
**ที่ถามว่า "ทำให้ชาวบ้านต้องออกมาค้านหัวชนฝา เหมือนพวกแบ่งสีขั้วการเมือง" อันนี่ผมไม่ทราบเหมือนกัน
คือย่างโรงที่ทำมาตรฐาน เขม่าอะไรก็ไม่ได้เยอะนะครับ อาจจะมีบ้างที่ในช่วงรันระบบเริ่มทำงาน ทดสอบระบบที่เห็นเขม่าเยอะเป็นบางช่วง แต่ปกติไม่ได้เยอะขนาดนั้น แต่ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้กว้างขวางไปเห็นมันทุกโรงนะ อันนี้จากที่ผมเคยเห็น
ซึ่งดีไม่ดีคนขายของในกรุงเทพที่เจอไอเสียรถผมว่ายังเสี่ยงกว่าเลย
***ความเห็น*** ผมว่านะคุณจะไปทำโรงไฟฟ้าหมู่บ้านนั่นนี้ มันก็ดีครับความคิด แต่ปัญหาที่หลายๆโรงเจอกันอยู่คือเชื่อเพลิงป้อนจะพอได้แค่ไหน วันนึงเผากันเป็นไม้ตันๆ ขนาดโรงเล็กแล้วต้องเผาทุกวัน คุณจะไปหามาจากไหน เทียบหยาบๆ โรง 1MW ใช้ไม้ 5ตันต่อวัน
วันนี่อาจจะพอ เดือนนี้อาจจะพอ แต่ปีหน้าละ ปีถัดไปละ ปลูกกันทันหรอครับ
สุดท้ายประเทศหนีไม่พ้นถ่านหินหรอกครับยังไงก็ต้องทำ กำลังผลิตมันต่างกันเยอะ จะเอาชีวมวลแบบให้พอใช้กัน คุณหาเชื้อเพลิงไม่พอหรอก ทุกวันนี้ยังตึงๆกันอยู่เลย
ปล อาจจะเขียนมึนๆหน่อยนะครับ ตื่นมาอ่านเจอ เดียวว่างจะมาแก้ให้
ปล2 เคยอ่านเจอในวารสารพลังงานเล่มนึง รุ้สึกจะที่ลำปาง ลำพูน อะไรโซนนั่นเหมือนจะมีคนเคยทำนะโรงไฟฟ้าชุมชนใช้ gasifier แต่ในชุมชนเค้าทำตะเกียบไม้ขนาดใหญ่ แล้วเขาเอาเศษไม้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
- Wet scrubber, Bag filter ก็กรองได้ไม่เยอะ
-ESP ดีมาก แต่เล็กๆไม่น่าจะมี แต่ราคาแพงลิบ
ผมไม่เคยจับโปรเจ็คเล็กกว่า 9.9MW นะ แต่ผมเคยเห็นราคาบ้าง ถ้า scale ระดับหมู่บ้านขนาดนั้นเชื้อเพลิงแข็งไม่คุ้มครับ ทั้งระบบทำงานหลัก ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบเซฟตี้
แล้วที่สำคัญ คุณจะ operate มันยังไง balance ไฟฟ้าที่ผลิต กับไฟฟ้าที่คนใช้
//////////////////////////////////////////////////////////
ว่างพอดีผมอธิบายให้คร่าวๆแล้วกัน
ที่ จขกท ถาม "How ... ? เขาจะทำกันยังไง เผาแบบไหน ปั่นไฟยังไง ? ทำให้ชาวบ้านต้องออกมาค้านหัวชนฝา เหมือนพวกแบ่งสีขั้วการเมือง"
แบ่งะบบหลักๆตามเชื้อเพลิงก่อนครับ
- เชื้อเพลิงแข็ง //พวกถ่านหิน ชีวมวลอย่างไม้สับ กากอ้อย
ทั่วไปทำกัน 2 แบบ อธิบายแบบชาวบ้านๆเลยละกัน ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะ
1 เผาเชื้อเพลิงเอาความร้อนไปต้มน้ำ ให้เดือดชนิดที่ว่าเป็นไอน้ำแห้ง คือไม่มีเศษละอองน้ำที่เป็นของเหลงลอยติดไปด้วยเลย เดือดมากๆ
โดยต้มน้ำที่อุปกรณ์ "บอยเลอร์" ซึ่งทั่วไปจะมีเตาเผาติดในชุดมาเลย หรือจะเผาแยกแล้วเอาพัดลมพาความร้อนเข้าไปก็ได้ แล้วไอน้ำนั้นถูกส่งต่อไปปั่น "กังหันไอน้ำ" ที่ต่อกับ generator ผลิตไฟฟ้า
แล้วไอเสียที่ใช้ในการเผาไหม้ก็ต้องไปผ่านระบบกรองก่อนส่งออกปลายปล่อง ซึ่งจะมีการควบคุมมลพิษจากการวัดเขม่าที่ปล่องด้วย ผมจำเกณฑ์ไม่ได้แต่ที่โดยทั่วไปที่เจอก็ประมาณ 80ppm ไม่แน่ใจว่าเช็คกำมะกัน กับ CO ด้วยไหม ประเด็นสิ่งแวดล้อมผมไม่ชัวร์
ผมให้ราคาคร่าวละกัน 10MW เนี่ย บอยเลอร์บริษัทกลางๆก็ 30-45ล้าน, ไม่รวมชุดกังหันปั่นอีกไม่ต่ำกว่า 20ล้าน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ, Wet scrubber ลดเขม่าไอเสียหลักล้าน แต่ถ้ากรองดีๆเลยก็ ESP 5ล้าน+ ไม่รวมงานเดินท่อ งานระบบควมคุม ระบบบำบัดน้ำ กรองน้ำ เยอะครับ
plant นึกที่พอทราบก็ ขายกัน 300-500ล้าน
2. อีกแบบคือ เผาเชื้อเพลิงแข็งเป็นแก๊สร้อน แล้วเอาแก็สร้อนไปปั่นกังหันเลย
อาจจะคิดว่ามันง่ายกว่าแต่ กังหันก็เสี่ยงพังกว่าการใช้ไอน้ำ เพราะว่าถ้ามีเศษเขม่าจากการเผาไหม้ติดไป ลอยไปตีกับใบกังหันก็เสี่ยงต่อการชำรุด ซึ่งไม่ดีแน่ๆ หลักการคร่าวๆคือ จะเผาเชื้อเพลิงแข็งใน gasifier แต่ทั่วไป พูดง่ายๆคือเหมือนจะเผา 2 รอบ คือเผารอบแรกให้ได้ก๊าซ CO แล้วไปเผาซ้ำเติมอากาศอีกครั่งให้เป็น CO2 แล้วก็กรองพวกเขม่าพวกน้ำมันดินที่ติดมากับก๊าซไปด้วย แล้วนำก๊าซนั่นไปปั่นกังหันก๊าซต่อไป
ถ้าระบบเล็ก รูปแบบนี่จะใช้งบน้อยกว่า คุ้มทุนกว่า แต่จะไปหนักพวกระบบกรองก๊าซอะไรพวกนั้น
พวกราคาผมทราบเลยแบบนี่ คือที่ทราบว่ามีใช้กันก็ plant ชุมชนต่ำกว่า 1MW กับพวกที่ใช้ก๊าซธรรมชาติของสเกลใหญ่ไปเลยของ กฟผ
**ที่ถามว่า "ทำให้ชาวบ้านต้องออกมาค้านหัวชนฝา เหมือนพวกแบ่งสีขั้วการเมือง" อันนี่ผมไม่ทราบเหมือนกัน
คือย่างโรงที่ทำมาตรฐาน เขม่าอะไรก็ไม่ได้เยอะนะครับ อาจจะมีบ้างที่ในช่วงรันระบบเริ่มทำงาน ทดสอบระบบที่เห็นเขม่าเยอะเป็นบางช่วง แต่ปกติไม่ได้เยอะขนาดนั้น แต่ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้กว้างขวางไปเห็นมันทุกโรงนะ อันนี้จากที่ผมเคยเห็น
ซึ่งดีไม่ดีคนขายของในกรุงเทพที่เจอไอเสียรถผมว่ายังเสี่ยงกว่าเลย
***ความเห็น*** ผมว่านะคุณจะไปทำโรงไฟฟ้าหมู่บ้านนั่นนี้ มันก็ดีครับความคิด แต่ปัญหาที่หลายๆโรงเจอกันอยู่คือเชื่อเพลิงป้อนจะพอได้แค่ไหน วันนึงเผากันเป็นไม้ตันๆ ขนาดโรงเล็กแล้วต้องเผาทุกวัน คุณจะไปหามาจากไหน เทียบหยาบๆ โรง 1MW ใช้ไม้ 5ตันต่อวัน
วันนี่อาจจะพอ เดือนนี้อาจจะพอ แต่ปีหน้าละ ปีถัดไปละ ปลูกกันทันหรอครับ
สุดท้ายประเทศหนีไม่พ้นถ่านหินหรอกครับยังไงก็ต้องทำ กำลังผลิตมันต่างกันเยอะ จะเอาชีวมวลแบบให้พอใช้กัน คุณหาเชื้อเพลิงไม่พอหรอก ทุกวันนี้ยังตึงๆกันอยู่เลย
ปล อาจจะเขียนมึนๆหน่อยนะครับ ตื่นมาอ่านเจอ เดียวว่างจะมาแก้ให้
ปล2 เคยอ่านเจอในวารสารพลังงานเล่มนึง รุ้สึกจะที่ลำปาง ลำพูน อะไรโซนนั่นเหมือนจะมีคนเคยทำนะโรงไฟฟ้าชุมชนใช้ gasifier แต่ในชุมชนเค้าทำตะเกียบไม้ขนาดใหญ่ แล้วเขาเอาเศษไม้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
แสดงความคิดเห็น
ประปาหมู่บ้านก็มีแล้ว แล้วถ้าจะทำไฟฟ้าหมู่บ้านล่ะครับ .. จะเป็นไปได้ไหม ?
ชาวบ้านออกมาชุมนุมต่อต้าน ไม่ให้สร้าง อ้างว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพคนในพื้นที่
ผมก็สงสัยนะ โดยหลักการแล้วมันดี คนค้านก็ค้านแบบหัวชนฝา อ้างจังหวัดโน้นนี้ ให้ข้อคิดได้น่ากลัวมาก
ทำไมผู้รับผิดชอบโครงการ ไม่มีการประชาสัมพันธ์แบบโปร่งใสไปเลย
How ... ? เขาจะทำกันยังไง เผาแบบไหน ปั่นไฟยังไง ? ทำให้ชาวบ้านต้องออกมาค้านหัวชนฝา เหมือนพวกแบ่งสีขั้วการเมือง
เราก็อยากรู้เหมือนกันว่า ที่มันจะเกิดมลพิษ มันจะเกิดอีท่าไหน เพราะหลักการของเตาชีวมวล มันเผาไหม้ได้เปลวไฟสีฟ้าด้วยซ้ำ
วกกลับเข้าประเด็น .. จากเหตุการณ์นี้ ชาวบ้านได้ค้านอย่างใส่อารมณ์ว่า ที่ไหนจะเอา ก็เอาไปเลย ... ผมก็ชักสนใจสิ
ประปาหมู่บ้านก็มีแล้ว แล้วถ้าโรงงานไฟฟ้าหมู่บ้านล่ะ จะทำกันได้ไหม ? จริงอยู่ เรื่องไฟฟ้า มันอาจะต้องถึงระดับวิศวกรมาควบคุมความปลอดภัย
แล้วถ้าเราทำไฟฟ้าแบบไม่อันตรายล่ะ จะเป็นไปได้ไหม ? เอาแค่ระบบส่องสว่าง LED ตอนกลางคืนก็ได้
มันน่าจะบูรณาการเข้ากับกระบวนการแยกขยะในชุมชน ซึ่งต้องมีขยะส่วนที่เหลือ ที่ต้องกำจัดด้วยการเผาอยู่แล้วส่วนหนึ่ง
หรือจะใช้พืชที่ปลูกในท้องถิ่น เพื่อการนี้โดยเฉพาะก็ได้
=================================================
ท่านผู้มีความรู้เรื่องไฟฟ้า ช่วยร่างโครงการแบบย่อมๆ หน่อยได้ไหมครับ มันพอจะเป็นไปได้แค่ไหน ?
สมมติว่า ทำแบบวิสาหกิจชุมชน แยกเสาแยกสายไฟจากระบบของการไฟฟ้าไปเลย หรือจะทำแบบ ปั่นไฟใช้กันเองในครัวเรือนก็ได้