ตกลงว่า ปัจจุบันมีสถานะเป็นยังไงบ้างครับ
เคยอ่านกระทู้เก่าๆแล้วก็มีความเห็นแตกต่างกันเต็มไปหมด
บางคนก็ยก พรบ ขึ้นมาอธิบาย ว่าทำงานสายวิทยาศาสตร์เดี๋ยวนี้ต้องมีใบประกอบ ไม่งั้นผิดกฏหมาย
บางคนก็เห็นต่าง เรื่องวิชาชีพเฉพาะ ไม่เฉพาะ อะไรมากมาย
สรุปว่าตอนนี้ถ้าผมจะทำงานเป็นนักเคมีต่อไป และทำงานในวงการนี้มาเกินสิบปีแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องตามย้อนไปสอบใบดังกล่าวหรือเปล่าครับ
ถึงจะไม่เป็น “นักเคมีเถื่อน” ?? แบบ ไม่มีใบนี้ เข้าห้องแล็บทำงานปุ๊บจะผิดกฏหมาย??
———-
อ้างอิง:
ทำงานเกี่ยวกับสารอันตรายต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=855
ลักษณะงาน :
1.
งานวิเคราะห์ตรวจสอบ ได้แก่ การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ การศึกษาค้นคว้าการวิจัยข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์หรือประกอบการตรวจสอบวินิจฉัย ในสาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย
2. งานออกแบบและการควบคุม ได้แก่ การออกแบบและการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายพร้อมทั้งการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสม ให้ถูกต้องและปลอดภัย
3. งานอำนวยการ ได้แก่ การดูแลการจัดการสารเคมีอันตรายตามข้อ 1 และ 2
4. งานให้คำปรึกษา ได้แก่ การให้คำแนะนำ การให้ข้อมูล การตรวจวินิจฉัย และการรับรองการจัดการสารเคมีอันตรายตาม ข้อ 1 2 และ 3
ประเภทงาน:
1.
การผลิต การใช้ การแปรรูป การบรรจุ การเก็บรักษา การบำบัด การขจัด หรือการปลดปล่อยสารเคมีอันตราย
2.
การวิเคราะห์ การวิจัย การทดสอบ และการตรวจสอบสารเคมีอันตราย
3. การนำ เข้า การส่งออก การขนส่ง การขนถ่ายและการจัดการสารเคมีอันตรายและผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนผสม
4. การตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยทางเคมีของห้องปฏิบัติการ ยานพาหนะและบรรจุภัณฑ์
ดังนั้นผู้ที่รับผิดชอบงานตามลักษณะและประเภทข้างต้นต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมจึงจะประกอบการได้ สำหรับผู้ที่ประกอบการโดยไม่มีใบอนุญาตมีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
——————-
สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
www.cstp.or.th
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์??
เคยอ่านกระทู้เก่าๆแล้วก็มีความเห็นแตกต่างกันเต็มไปหมด
บางคนก็ยก พรบ ขึ้นมาอธิบาย ว่าทำงานสายวิทยาศาสตร์เดี๋ยวนี้ต้องมีใบประกอบ ไม่งั้นผิดกฏหมาย
บางคนก็เห็นต่าง เรื่องวิชาชีพเฉพาะ ไม่เฉพาะ อะไรมากมาย
สรุปว่าตอนนี้ถ้าผมจะทำงานเป็นนักเคมีต่อไป และทำงานในวงการนี้มาเกินสิบปีแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องตามย้อนไปสอบใบดังกล่าวหรือเปล่าครับ
ถึงจะไม่เป็น “นักเคมีเถื่อน” ?? แบบ ไม่มีใบนี้ เข้าห้องแล็บทำงานปุ๊บจะผิดกฏหมาย??
———-
อ้างอิง:
ทำงานเกี่ยวกับสารอันตรายต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=855
ลักษณะงาน :
1.งานวิเคราะห์ตรวจสอบ ได้แก่ การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ การศึกษาค้นคว้าการวิจัยข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์หรือประกอบการตรวจสอบวินิจฉัย ในสาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย
2. งานออกแบบและการควบคุม ได้แก่ การออกแบบและการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายพร้อมทั้งการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสม ให้ถูกต้องและปลอดภัย
3. งานอำนวยการ ได้แก่ การดูแลการจัดการสารเคมีอันตรายตามข้อ 1 และ 2
4. งานให้คำปรึกษา ได้แก่ การให้คำแนะนำ การให้ข้อมูล การตรวจวินิจฉัย และการรับรองการจัดการสารเคมีอันตรายตาม ข้อ 1 2 และ 3
ประเภทงาน:
1. การผลิต การใช้ การแปรรูป การบรรจุ การเก็บรักษา การบำบัด การขจัด หรือการปลดปล่อยสารเคมีอันตราย
2. การวิเคราะห์ การวิจัย การทดสอบ และการตรวจสอบสารเคมีอันตราย
3. การนำ เข้า การส่งออก การขนส่ง การขนถ่ายและการจัดการสารเคมีอันตรายและผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนผสม
4. การตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยทางเคมีของห้องปฏิบัติการ ยานพาหนะและบรรจุภัณฑ์
ดังนั้นผู้ที่รับผิดชอบงานตามลักษณะและประเภทข้างต้นต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมจึงจะประกอบการได้ สำหรับผู้ที่ประกอบการโดยไม่มีใบอนุญาตมีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
——————-
สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
www.cstp.or.th