แรงแห่งการด่าและสาปแช่ง
มีเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งชื่อบอย อยู่ทางจังหวัดนครราชสีมา โดนเพื่อนคนหนึ่งทำสิ่งไม่ดีให้ แล้วเกิดความไม่พอใจ ในใจของเขาเต็มไปด้วย ความโกรธ อาฆาต พยาบาท เกลียด และชัง สุมไฟอยู่ในใจของเขา เขาเลยไปด่าและสาปแช่งให้เขาเป็นไปต่างๆ นาๆ พอกาลเวลาผ่านไปเพื่อนของเขาได้สำนึกผิดในสิ่งที่ทำลงไป แต่บอยยังมีอกุศลฝังอยู่ในจิตใจ แม้กาลเวลาล่วงเลยไป แต่จิตใจของเขาก็ยังเต็มไปด้วยแรงแห่งอกุศล แต่ด้วยกุศลของบอยที่ชักนำพาบอยมาเจอปราชญ์ ปราชญ์ท่านจึงแนะนำให้บอยลดอกุศลเหล่านี้ บอยจึงได้ทำตามคำชี้แนะ พูดบอกว่าจะอโหสิกรรมให้แก่เขาคนนั้น แต่ทว่าใจของบอยยังไม่สำนึกผิด ได้แต่ปากบอกเท่านั้น แต่ด้านในจิตใจยังฝังลึกสุมอยู่ในใจอยู่ จึงทำให้สิ่งที่ตนเองไปด่าเขา สาปแช่งเขาก็จะย้อนกลับมาทำร้ายตัวของบอยเอง
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เปรียบเสมือนกับเราส่งจดหมายไปยังปลายทาง หากปลายทางไม่มีผู้รับ ไม่มีที่อยู่ จดหมายฉบับนั้นก็จะตีตั๋วกลับมายังผู้ส่งจดหมายคืน ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราไปด่านหรือสาปแช่งใครไว้ ถ้าคู่กรณีไม่ผิดหรือได้ทำผิดจริงแต่สำนึกผิดแล้ว เรายังไม่ให้อภัยเขา สิ่งที่เราด่าสาปแช่งเขาก็จะล่องลอยกลับมาหาเราทันที
แต่ถ้าคู่กรณีของเราไม่สำนึกผิดในสิ่งที่ทำ สิ่งที่ด่านหรือสาปแช่งนั้นก็จะโดนไปเต็มๆ เพราะผู้ถูกกระทำย่อมมีสิทธิ์โต้ตอบได้เสมอ นี่คือกรรมของธรรม ถ้าหากไม่ตัดวงจรอุบาทว์นี้ด้วยการอโหสิกรรมแก่กันปล่อยคืนสิ่งที่เป็นอกุศลคืนสู่ธรรมละก็ ก็จะเป็นการสร้างเวรกรรมต่อกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเรียกว่า วัฏฏะ (สร้างกิเลส เกิดกรรม รับวิบาก)
ฉะนั้น หากเราเคยด่าใคร สาปแช่งใคร เราควรถอนสิ่งที่พูดนั้นเสีย การที่เราจะถอนคำพูดนั้น เราจะต้องบอกว่า "เออ...บัดนี้ฉันได้สำนึกแล้วว่าสิ่งที่สาปแช่งไปไม่ดี ขอถอนคำสาปแช่งทั้งหมด" อย่างนี้ถือว่าไม่ผิด แต่เราควรให้เกียรติเจ้ากรรมหน่อยหนึ่ง สมมติว่าเราเป็นเจ้ากรรมผู้ถูกกระทำ เราก็จะรู้สึกไม่พอใจ เพราะอะไร เพราะว่ามันช่างง่ายจังเลย ทำเราเจ็บแสบ แต่มาพูดแค่นี้ก็จะให้หาย
ด้วยเหตุนี้ เราควรไปขอขมาต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ คือ ต่อหน้าพระพุทธรูป องค์เทพ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นพยานจึงจะดีกว่า เจ้ากรรมนายเวรที่ไม่เกรงกลัวเราก็จะเกรงใจบารมีของผู้หลักผู้ใหญ่ ไม่เอาความหรือเปลี่ยนจากหนักจะได้กลายเป็นเบา เพราะผู้หลักผู้ใหญ่เขาจะทำการเคลียร์แก้ไขให้เราเอง เพียงแต่ว่าเราต้องตั้งฐานจิตสำนึกผิดจริงๆ ที่ออกมาจากใจ ไม่ใช่ออกมาจากปากเพียงอย่างเดียว
---------------------------
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แรงแห่งการด่าและสาปแช่ง
มีเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งชื่อบอย อยู่ทางจังหวัดนครราชสีมา โดนเพื่อนคนหนึ่งทำสิ่งไม่ดีให้ แล้วเกิดความไม่พอใจ ในใจของเขาเต็มไปด้วย ความโกรธ อาฆาต พยาบาท เกลียด และชัง สุมไฟอยู่ในใจของเขา เขาเลยไปด่าและสาปแช่งให้เขาเป็นไปต่างๆ นาๆ พอกาลเวลาผ่านไปเพื่อนของเขาได้สำนึกผิดในสิ่งที่ทำลงไป แต่บอยยังมีอกุศลฝังอยู่ในจิตใจ แม้กาลเวลาล่วงเลยไป แต่จิตใจของเขาก็ยังเต็มไปด้วยแรงแห่งอกุศล แต่ด้วยกุศลของบอยที่ชักนำพาบอยมาเจอปราชญ์ ปราชญ์ท่านจึงแนะนำให้บอยลดอกุศลเหล่านี้ บอยจึงได้ทำตามคำชี้แนะ พูดบอกว่าจะอโหสิกรรมให้แก่เขาคนนั้น แต่ทว่าใจของบอยยังไม่สำนึกผิด ได้แต่ปากบอกเท่านั้น แต่ด้านในจิตใจยังฝังลึกสุมอยู่ในใจอยู่ จึงทำให้สิ่งที่ตนเองไปด่าเขา สาปแช่งเขาก็จะย้อนกลับมาทำร้ายตัวของบอยเอง
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เปรียบเสมือนกับเราส่งจดหมายไปยังปลายทาง หากปลายทางไม่มีผู้รับ ไม่มีที่อยู่ จดหมายฉบับนั้นก็จะตีตั๋วกลับมายังผู้ส่งจดหมายคืน ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราไปด่านหรือสาปแช่งใครไว้ ถ้าคู่กรณีไม่ผิดหรือได้ทำผิดจริงแต่สำนึกผิดแล้ว เรายังไม่ให้อภัยเขา สิ่งที่เราด่าสาปแช่งเขาก็จะล่องลอยกลับมาหาเราทันที
แต่ถ้าคู่กรณีของเราไม่สำนึกผิดในสิ่งที่ทำ สิ่งที่ด่านหรือสาปแช่งนั้นก็จะโดนไปเต็มๆ เพราะผู้ถูกกระทำย่อมมีสิทธิ์โต้ตอบได้เสมอ นี่คือกรรมของธรรม ถ้าหากไม่ตัดวงจรอุบาทว์นี้ด้วยการอโหสิกรรมแก่กันปล่อยคืนสิ่งที่เป็นอกุศลคืนสู่ธรรมละก็ ก็จะเป็นการสร้างเวรกรรมต่อกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเรียกว่า วัฏฏะ (สร้างกิเลส เกิดกรรม รับวิบาก)
ฉะนั้น หากเราเคยด่าใคร สาปแช่งใคร เราควรถอนสิ่งที่พูดนั้นเสีย การที่เราจะถอนคำพูดนั้น เราจะต้องบอกว่า "เออ...บัดนี้ฉันได้สำนึกแล้วว่าสิ่งที่สาปแช่งไปไม่ดี ขอถอนคำสาปแช่งทั้งหมด" อย่างนี้ถือว่าไม่ผิด แต่เราควรให้เกียรติเจ้ากรรมหน่อยหนึ่ง สมมติว่าเราเป็นเจ้ากรรมผู้ถูกกระทำ เราก็จะรู้สึกไม่พอใจ เพราะอะไร เพราะว่ามันช่างง่ายจังเลย ทำเราเจ็บแสบ แต่มาพูดแค่นี้ก็จะให้หาย
ด้วยเหตุนี้ เราควรไปขอขมาต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ คือ ต่อหน้าพระพุทธรูป องค์เทพ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นพยานจึงจะดีกว่า เจ้ากรรมนายเวรที่ไม่เกรงกลัวเราก็จะเกรงใจบารมีของผู้หลักผู้ใหญ่ ไม่เอาความหรือเปลี่ยนจากหนักจะได้กลายเป็นเบา เพราะผู้หลักผู้ใหญ่เขาจะทำการเคลียร์แก้ไขให้เราเอง เพียงแต่ว่าเราต้องตั้งฐานจิตสำนึกผิดจริงๆ ที่ออกมาจากใจ ไม่ใช่ออกมาจากปากเพียงอย่างเดียว
---------------------------
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์