“ไม้มีค่าตัดได้” กฎหมายที่หลายคนรอคอย
ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้ต้นไม้ยืนต้นมีค่าเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ชิงชัน แดง เต็ง รัง ตะเคียน สะเดา นางพญาเสือโคร่ง ฯลฯ
ล่าสุด ได้อนุมัติร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน และเป็นกฎหมายที่หลายคนรอคอยโดยเฉพาะผู้ที่ปลูกไม้หวงห้ามในที่ดินของตนแต่ไม่สามารถทำไม้เพื่อใช้ประโยชน์ได้ นั่นคือ ร่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ซึ่งรัฐบาลตั้งใจจะปลดล็อคข้อจำกัดของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484
แล้ว พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 เขาว่าอย่างไร??
มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 กำหนดให้ ไม้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจบางชนิด ได้แก่
“ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ซิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย”
ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตามในราชอาณาจักร ถือเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราจะทำไม้ (เช่น ตัด ฟัน กาน โค่น ลิดเลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลาก) หรือนำไม้ออกจากพื้นที่ จะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งขั้นตอนนั้นค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้เจ้าของต้นไม้เสียโอกาสใช้ประโยชน์จากต้นไม้หรือไม่สามารถนำไปเป็นอาชีพได้
แต่วันนี้รัฐบาลแก้กฎหมายใหม่โดยกเลิกมาตรา 7 ดังกล่าว แล้วเขียนใหม่ว่า
“ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินมีกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม” จึงทำให้...การทำไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป
ประโยชน์ที่เกิดขึ้น คืออะไร?
เมื่อกฎหมายประกาศใช้แล้ว ประชาชนสามารถปลูกต้นไม้ยืนต้นมีค่าในที่ดินของตนเอง เพื่อทำป่าเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ตนเอง หรือส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ และที่สำคัญจะช่วยให้การตัดไม้ทำลายป่าตามธรรมชาติลดลงไปด้วยเพราะคนมีทางเลือกอื่น ดังนั้น ประเทศไทยจะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ไม้ยืนต้นมีค่าที่จะนำไปซื้อขายแปรรูปนั้น เป็นไม้มีค่าถูกกฎหมายที่อยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์จริง หลังจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ประกาศใช้แล้ว
กรมป่าไม้จะไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้มีความสมบูรณ์ต่อไป
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=486499508482527&id=154553218343826
รัฐบาลปลดล็อคกฏหมายคาใจชาวบ้านไม้มีค่าตัดได้แล้ว กฏหมายที่หลายคนรอคอย
“ไม้มีค่าตัดได้” กฎหมายที่หลายคนรอคอย
ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้ต้นไม้ยืนต้นมีค่าเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ชิงชัน แดง เต็ง รัง ตะเคียน สะเดา นางพญาเสือโคร่ง ฯลฯ
ล่าสุด ได้อนุมัติร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน และเป็นกฎหมายที่หลายคนรอคอยโดยเฉพาะผู้ที่ปลูกไม้หวงห้ามในที่ดินของตนแต่ไม่สามารถทำไม้เพื่อใช้ประโยชน์ได้ นั่นคือ ร่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ซึ่งรัฐบาลตั้งใจจะปลดล็อคข้อจำกัดของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484
แล้ว พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 เขาว่าอย่างไร??
มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 กำหนดให้ ไม้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจบางชนิด ได้แก่
“ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ซิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย”
ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตามในราชอาณาจักร ถือเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราจะทำไม้ (เช่น ตัด ฟัน กาน โค่น ลิดเลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลาก) หรือนำไม้ออกจากพื้นที่ จะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งขั้นตอนนั้นค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้เจ้าของต้นไม้เสียโอกาสใช้ประโยชน์จากต้นไม้หรือไม่สามารถนำไปเป็นอาชีพได้
แต่วันนี้รัฐบาลแก้กฎหมายใหม่โดยกเลิกมาตรา 7 ดังกล่าว แล้วเขียนใหม่ว่า
“ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินมีกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม” จึงทำให้...การทำไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป
ประโยชน์ที่เกิดขึ้น คืออะไร?
เมื่อกฎหมายประกาศใช้แล้ว ประชาชนสามารถปลูกต้นไม้ยืนต้นมีค่าในที่ดินของตนเอง เพื่อทำป่าเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ตนเอง หรือส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ และที่สำคัญจะช่วยให้การตัดไม้ทำลายป่าตามธรรมชาติลดลงไปด้วยเพราะคนมีทางเลือกอื่น ดังนั้น ประเทศไทยจะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ไม้ยืนต้นมีค่าที่จะนำไปซื้อขายแปรรูปนั้น เป็นไม้มีค่าถูกกฎหมายที่อยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์จริง หลังจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ประกาศใช้แล้ว
กรมป่าไม้จะไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้มีความสมบูรณ์ต่อไป
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=486499508482527&id=154553218343826