ระหว่างตระเวณเที่ยวย่านห่างไกลชุมชนในคอสตาริกา มีเหตุต้องฉุกคิดถึงชีวิต “เสื่อผืนหมอนใบ” ของชาวจีนที่เคยเข้ามาทำหลักปักฐานในไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนประสบความสำเร็จ มีลูกหลานเป็นมหาเศรษฐี เป็นเจ้าขุนมูลนาย เป็นนายกรัฐมนตรี หรือแม้กระทั่งพระมหากษัตรย์ก็เคยมี ซึ่งคนไทยเองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านั่นเป็นเพราะความขยันทำมาหากินของคนจีนเป็นหลัก
ในขณะเดียวกันคนสยามเจ้าของประเทศส่วนใหญ่ยังคงต้องแบกแอกทางสังคมคือความเป็น “ไพร่” ไว้บนบ่าแล้วส่งต่อให้ลูกหลานสืบมาหลายชั่วอายุคน โอกาสที่จะหลุดหรือปลดเกษียณจากความเป็นไพร่ก็ต่อเมื่อถึงอายุ70 เวลาและโอกาสในการสร้างหลักปักฐานในดินแดนที่ตนถือกำเหนิด หรือภาครัฐหยิบยื่นโอกาสให้แทบจะเรียกได้ว่าเป็น Mission Impossible!! วิถีชีวิตของเจ้าของประเทศจึงวนๆ เวียนๆ อยู่กับการที่ต้องรับใช้เจ้ามูลนาย ถูกเกณฑ์ไปสงคราม ปลูกข้าวเก็บเข้าฉางหลวง อาจจะมีเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ก็ยังคงวนๆ เวียนๆ อยู่ในสถานะไพร่ คือจาก ไพร่สม เป็นไพร่งาน หรือเมื่อเจ้ามูลนายตายไปก็ถูกโอนไปเป็นไพร่หลวงหรือไม่ก็ขายตัวเป็น “ทาส”
อีกทางหนึ่ง...ดินแดนสยามคือแหล่งเสี่ยงโชคและเป็นบ่อทองของชาวต่างชาติ แม้การหอบ “เสื่อผืนและหมอนใบ” เข้ามาในสยาม เป็นภาพที่ทึ่งและน่าเวทนาในมโนทัศน์ของคนไทย และตราบใดที่เรา(คนไทย)ลืมที่จะส่องไฟแห่ง “มโนทัศน์” ไปยังกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ถูกเรียกว่าไพร่ ตราบนั้นภาพการก่อร่างสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบ จะยังคงเป็นภาพเคลื่อนไหวในมโนทัศน์ของคนไทยอย่างน่าทึ่ง น่าสงสาร และเน่าเอาเยี่ยงอย่าง
“สถานะทางสังคม” คือประตูที่จะนำพาคนๆ หนึ่งไปสู่ความสำเร็จ สถานะไพร่เป็นเสมือนประตูที่ถูกลั่นดาลอย่างแน่นหนาและเกินกำลังที่เขาจะผลักเปิดเพื่อก้าวไปสู่สถานะที่ดีกว่า ความเป็น “ชาวต่างชาติ” ตั้งแต่สมัยอยุธยาลงจนถึงยุคก่อนการเลิกทาสจึงดูมีค่าและสูงส่งกว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศแม้จะมีเพียงเสื่อผืนหมอนใบ หรือไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ที่สำคัญ....สถานะของพวกเขาอนุญาตให้ไต่เต้าและกินบรรดาศักดิ์ในอยุธยาได้หากรับราชการ อยุธยาและยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงเป็น “ขุมทอง” ของนักขุดทองชาวต่างชาติ แต่เป็นอะไรสำหรับเจ้าของประเทศส่วนใหญ่นั้นก็วิเคราะห์กันเอาเอง
การเป็นอยู่ของชาวต่างชาติอย่างคนจีน ภาระผิดชอบต่อสังคมก็มีเพียงเสียอากร “ผูกปี้” ให้กับรัฐ (ในสมัยร.๒ รายได้จากตรงนี้มีถึง 2แสนกว่าบาท!!) คนจีนหรือชาติอื่นๆ จะมีอิสระที่จะหางานทำและไม่ต้องสังกัดมูลนายใดๆ แตกต่างจากคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องสังกัดมูลนายไปเกือบตลอดชีพ
จะเห็นว่าการค้าขายสมัยก่อนอยู่ในมือเจ้าขุนมูลนายและชาวจีน โดยเฉพาะการแต่งสำเภาไปค้าขายกับต่างชาติ ลูกเรือ ไต้ก๋ง ฯลฯ จะเป็นคนจีนทั้งหมด (ยกเว้นสำเภาหลวงที่ส่งบรรณาการ) และเมื่อมีการเรียกเก็บภาษีสินค้าพื้นเมืองจากชาวบ้าน คนทีเข้าประมูลผูกเก็บภาษีอากรเข้ารัฐก็คือเป็นคนจีน คนจีนส่วนหนึ่งจึงกลายเป็น “นายอากร” เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านแล้วหักค่าเหนื่อยส่วนหนึ่งก่อนจะส่งเข้ารัฐ สินค้าบางอย่างไม่อยู่ในบัญชีเก็บภาษีเช่น หมาก กุ้งแห้ง กะปิ ปีกนกกระเต็น ฯลฯ คนจีนก็จะนำสิ้นค้านั้นมาผูกเป็นภาษียื่นต่อรัฐให้อนุมัติเก็บภาษี ชาวบ้าน(คนไทย)ที่เคยอาศัยสิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องเลี้ยงชีพก็ต้องมาเสียภาษีให้กับนายอากร ตัวอย่าง มีชาวจีนเห็นชาวบ้านแถวภาคใต้เก็บไข่เต่าตนุมากินและขายเป็นจำนวนมาก ชาวจีนกลุ่มนั้นก็ทำเรื่องผูกเก็บภาษีไข่ตนุยื่นเรื่องให้รัฐอนุมัติ ต่อมาภาครัฐอนุมัติให้เก็บภาษีไข่ตนุให้กับคนจีนสองคน คนหนึ่งเป็นนายอาการคอยเก็บภาษีฝั่งตะวันออก อีกคนเก็บภาษีฝั่งตะวันตก และที่สำคัญ....เมื่อได้รับการแต่งตั้งป็นนายอากรเก็บภาษีชาวบ้านแล้ว ก็ต้องมีการแต่งตั้ง “บรรดาศักดิ์” เป็นธรรมเนียม ชาวจีนสองคนนั้นก็ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ขุน” (ผมจำชื่อไม่ได้ว่าเรียกว่าอะไร ขุนทะเลหรือขุนสมุทร อะไรทำนองนี้แหละ) จากตัวอย่างตรงนี้ จะเห็นว่า “สถานะที่เป็นไทไม่ใช่ไพร่” แม้จะมีเพียงเสื่อผืนหมอนใบ ก็สามารถไต่เต้าเป็นเจ้าคนนายคน เป็นเจ้าขุนมูลนายได้ไม่ยาก
บางคน ไม่จำเป็นต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาขุดทองที่เมืองไทย อย่างกรณีนายโฟลด์ที่ประเทศอังกฤษ นายโฟลด์พูดไทยไม่ได้ ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับไทย อาศัยแค่ว่าเคยอยู่พม่ามาก่อน เมื่อคณะทูตสยามไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษในสมัยร.๔ รัฐบาลอังกฤษได้จ้างนายโฟลด์มาทำหน้าที่ต้อนรับคณะทูตที่มี “หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว กระต่าย)” เป็นล่าม นายโฟลด์ได้รับค่าจ้างจากรัฐบาลอังกฤษไม่พอ ยังบุญหล่นทับ...ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบรรดาศักดิ์ขั้น “หลวง” ที่ “หลวงสยามานุเคราะห์” จากการทำหน้าที่ต้อนรับคณะทูต ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลไทยในกรุงร่างกุ้งอีกต่างหาก คนไทยที่เกิดในไทย ทำมาหากิน ปลูกข้าวส่งฉางหลวง ถูกเกณฑ์ไปสงครามมาตลอดชีวิต ย่ำเท้าไปมาอยู่แค่ “ไพร่สม ไพร่ส่วย ไพร่หลวง” เท่านั้นเอง
....”เสื่อผืนหมอนใบ” มีค่ากว่า “ชีวิตทิ่เกิดมาแล้วติดลบ”..../วัชรานนท์
ในขณะเดียวกันคนสยามเจ้าของประเทศส่วนใหญ่ยังคงต้องแบกแอกทางสังคมคือความเป็น “ไพร่” ไว้บนบ่าแล้วส่งต่อให้ลูกหลานสืบมาหลายชั่วอายุคน โอกาสที่จะหลุดหรือปลดเกษียณจากความเป็นไพร่ก็ต่อเมื่อถึงอายุ70 เวลาและโอกาสในการสร้างหลักปักฐานในดินแดนที่ตนถือกำเหนิด หรือภาครัฐหยิบยื่นโอกาสให้แทบจะเรียกได้ว่าเป็น Mission Impossible!! วิถีชีวิตของเจ้าของประเทศจึงวนๆ เวียนๆ อยู่กับการที่ต้องรับใช้เจ้ามูลนาย ถูกเกณฑ์ไปสงคราม ปลูกข้าวเก็บเข้าฉางหลวง อาจจะมีเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ก็ยังคงวนๆ เวียนๆ อยู่ในสถานะไพร่ คือจาก ไพร่สม เป็นไพร่งาน หรือเมื่อเจ้ามูลนายตายไปก็ถูกโอนไปเป็นไพร่หลวงหรือไม่ก็ขายตัวเป็น “ทาส”
อีกทางหนึ่ง...ดินแดนสยามคือแหล่งเสี่ยงโชคและเป็นบ่อทองของชาวต่างชาติ แม้การหอบ “เสื่อผืนและหมอนใบ” เข้ามาในสยาม เป็นภาพที่ทึ่งและน่าเวทนาในมโนทัศน์ของคนไทย และตราบใดที่เรา(คนไทย)ลืมที่จะส่องไฟแห่ง “มโนทัศน์” ไปยังกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ถูกเรียกว่าไพร่ ตราบนั้นภาพการก่อร่างสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบ จะยังคงเป็นภาพเคลื่อนไหวในมโนทัศน์ของคนไทยอย่างน่าทึ่ง น่าสงสาร และเน่าเอาเยี่ยงอย่าง
“สถานะทางสังคม” คือประตูที่จะนำพาคนๆ หนึ่งไปสู่ความสำเร็จ สถานะไพร่เป็นเสมือนประตูที่ถูกลั่นดาลอย่างแน่นหนาและเกินกำลังที่เขาจะผลักเปิดเพื่อก้าวไปสู่สถานะที่ดีกว่า ความเป็น “ชาวต่างชาติ” ตั้งแต่สมัยอยุธยาลงจนถึงยุคก่อนการเลิกทาสจึงดูมีค่าและสูงส่งกว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศแม้จะมีเพียงเสื่อผืนหมอนใบ หรือไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ที่สำคัญ....สถานะของพวกเขาอนุญาตให้ไต่เต้าและกินบรรดาศักดิ์ในอยุธยาได้หากรับราชการ อยุธยาและยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงเป็น “ขุมทอง” ของนักขุดทองชาวต่างชาติ แต่เป็นอะไรสำหรับเจ้าของประเทศส่วนใหญ่นั้นก็วิเคราะห์กันเอาเอง
การเป็นอยู่ของชาวต่างชาติอย่างคนจีน ภาระผิดชอบต่อสังคมก็มีเพียงเสียอากร “ผูกปี้” ให้กับรัฐ (ในสมัยร.๒ รายได้จากตรงนี้มีถึง 2แสนกว่าบาท!!) คนจีนหรือชาติอื่นๆ จะมีอิสระที่จะหางานทำและไม่ต้องสังกัดมูลนายใดๆ แตกต่างจากคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องสังกัดมูลนายไปเกือบตลอดชีพ
จะเห็นว่าการค้าขายสมัยก่อนอยู่ในมือเจ้าขุนมูลนายและชาวจีน โดยเฉพาะการแต่งสำเภาไปค้าขายกับต่างชาติ ลูกเรือ ไต้ก๋ง ฯลฯ จะเป็นคนจีนทั้งหมด (ยกเว้นสำเภาหลวงที่ส่งบรรณาการ) และเมื่อมีการเรียกเก็บภาษีสินค้าพื้นเมืองจากชาวบ้าน คนทีเข้าประมูลผูกเก็บภาษีอากรเข้ารัฐก็คือเป็นคนจีน คนจีนส่วนหนึ่งจึงกลายเป็น “นายอากร” เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านแล้วหักค่าเหนื่อยส่วนหนึ่งก่อนจะส่งเข้ารัฐ สินค้าบางอย่างไม่อยู่ในบัญชีเก็บภาษีเช่น หมาก กุ้งแห้ง กะปิ ปีกนกกระเต็น ฯลฯ คนจีนก็จะนำสิ้นค้านั้นมาผูกเป็นภาษียื่นต่อรัฐให้อนุมัติเก็บภาษี ชาวบ้าน(คนไทย)ที่เคยอาศัยสิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องเลี้ยงชีพก็ต้องมาเสียภาษีให้กับนายอากร ตัวอย่าง มีชาวจีนเห็นชาวบ้านแถวภาคใต้เก็บไข่เต่าตนุมากินและขายเป็นจำนวนมาก ชาวจีนกลุ่มนั้นก็ทำเรื่องผูกเก็บภาษีไข่ตนุยื่นเรื่องให้รัฐอนุมัติ ต่อมาภาครัฐอนุมัติให้เก็บภาษีไข่ตนุให้กับคนจีนสองคน คนหนึ่งเป็นนายอาการคอยเก็บภาษีฝั่งตะวันออก อีกคนเก็บภาษีฝั่งตะวันตก และที่สำคัญ....เมื่อได้รับการแต่งตั้งป็นนายอากรเก็บภาษีชาวบ้านแล้ว ก็ต้องมีการแต่งตั้ง “บรรดาศักดิ์” เป็นธรรมเนียม ชาวจีนสองคนนั้นก็ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ขุน” (ผมจำชื่อไม่ได้ว่าเรียกว่าอะไร ขุนทะเลหรือขุนสมุทร อะไรทำนองนี้แหละ) จากตัวอย่างตรงนี้ จะเห็นว่า “สถานะที่เป็นไทไม่ใช่ไพร่” แม้จะมีเพียงเสื่อผืนหมอนใบ ก็สามารถไต่เต้าเป็นเจ้าคนนายคน เป็นเจ้าขุนมูลนายได้ไม่ยาก
บางคน ไม่จำเป็นต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาขุดทองที่เมืองไทย อย่างกรณีนายโฟลด์ที่ประเทศอังกฤษ นายโฟลด์พูดไทยไม่ได้ ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับไทย อาศัยแค่ว่าเคยอยู่พม่ามาก่อน เมื่อคณะทูตสยามไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษในสมัยร.๔ รัฐบาลอังกฤษได้จ้างนายโฟลด์มาทำหน้าที่ต้อนรับคณะทูตที่มี “หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว กระต่าย)” เป็นล่าม นายโฟลด์ได้รับค่าจ้างจากรัฐบาลอังกฤษไม่พอ ยังบุญหล่นทับ...ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบรรดาศักดิ์ขั้น “หลวง” ที่ “หลวงสยามานุเคราะห์” จากการทำหน้าที่ต้อนรับคณะทูต ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลไทยในกรุงร่างกุ้งอีกต่างหาก คนไทยที่เกิดในไทย ทำมาหากิน ปลูกข้าวส่งฉางหลวง ถูกเกณฑ์ไปสงครามมาตลอดชีวิต ย่ำเท้าไปมาอยู่แค่ “ไพร่สม ไพร่ส่วย ไพร่หลวง” เท่านั้นเอง