การทำพิธีกรรม บังเกิดอานุภาพศักดิ์สิทธิ์
การทำพิธีกรรม หมายถึง การทำอย่างเป็นทางการ การทำตามแบบแผน การทำพิธีกรรมนั้นจะมีด้วยกัน ๓ ฝ่าย คือ เจ้าพิธี ผู้ทำพิธี สิ่งแวดล้อม
๑. เจ้าพิธี คือ บุคคลที่เป็นสื่อกลางให้ผู้ทำพิธีได้แก้ไข ตามเจตนารณ์ หรือให้เกิดสันติ สิ่งที่ทำให้เจ้าพิธีเกิดสัมฤทธิ์ผลต้องประกอบด้วยองค์คุณ ๔ ประการ
๑.๑ การตั้งฐานจิต คือ ผู้ที่เป็นเจ้าพิธีมีความสำคัญมากเพราะเป็นสื่อระหว่างผู้ทำพิธี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเจ้ากรรมนายเวร ฯลฯ ผู้ทำพิธีจะต้องตั้งฐานจิตให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และจะต้องไม่มีอะไรแอบแฝง เช่น ไม่ทำพิธีเพราะเห็นแก่ลาภ ยศ สรรเสริญ อยากได้เขามาเป็นสามีภรรยาหรือข้าทาสบริวาร หรือแม้แต่การอวด เราต้องตั้งฐานจิตเพื่อเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล และกันสิ่งที่ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ทำพิธี ให้เป็นไปตามวาระแห่งเหตุปัจจัยนั้นๆ ในการตั้งฐานจิต เราควรกำหนดจิตเราให้เป็นไปดังต่อไปนี้
๑) เราจะช่วยเหลือทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ผู้ถูกกระทำและเจ้ากรรมนายเวร ให้เกิดสันติทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้าเราช่วยเหลือแต่ผู้ถูกกระทำแล้วไม่ช่วยเหลือเจ้ากรรมนายเวร แสดงว่าเราเกิดความอคติ เพราะอดีตเขาต้องเคยมีวิบากกรรมกันมาก่อน ผู้ถูกกระทำอาจจะเคยทำสิ่งที่ไม่ดีกับเจ้ากรรมนายเวรมาก่อนก็ได้ เวรกรรมเลยมาตอบสนอง ฉะนั้น เราต้องให้ความสำคัญทั้งสองฝ่ายเสมอกัน จึงจะสามารถแก้ไขกรรมได้ เมื่อเราสามารถแก้ไขกรรมได้ กรรมย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง
๒) ไม่มีความอคติ ๔ ประการคือ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะไม่ชอบ ลำเอียงเพราะกลัว และลำเอียงเพราะหลง
๓) ไม่ทำเพราะอวดดี อวดเก่ง อหังการ และอุปโลกน์ตนเอง
๔) ไม่ทำเพราะมีจุดประสงค์แอบแฝง
๕) ทำเพื่อเอื้อ เกื้อ กัน
๖) ไหว้ครู เจ้าพิธีจะต้องทำการไหว้ครูก่อนเป็นการเคารพ กตัญญู และระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ฝึกฝนเรามา
๗) ด้านบารมี เจ้าพิธีหากบารมียังไม่ถึงจะต้องตั้งฐานจิตอาศัยบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พุทธคุณ เทพคุณ พระโพธิสัตว์คุณ ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือกรณีนั้นในแต่ละบุคคล อาทิ
ด้านบารมีพุทธคุณ เช่น พระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมรังสี) หลวงปู่ศุข หลวงพ่อเงิน เป็นต้น
ด้านบารมีเทพ เช่น พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี และพระพิฆเณศ เป็นต้น
ด้านบารมีพระโพธิสัตว์ เช่น พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (ตี้จั่งอ๊วง) เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
๑.๒ ความรู้ คือ การทำพิธีกรรมนั้นเจ้าพิธีจะต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนทำ มีความรู้ความเข้าใจในพิธีกรรมนั้นๆ แบ่งลักษณะดังนี้
๑) หลักการ คือ จะต้องเข้าใจในหลักการทำพิธีกรรมนั้นๆ รู้ทั้งศาสตร์และศิลป์
๒) มีจิตวิทยาในการจูง นำ พา ส่งผู้ทำพิธี
๓) คุณธรรม คือ รู้หลักธรรม องค์ธรรม และธรรมชาติแห่งความเป็นไปของสรรพสิ่งต่างๆตามวาระแห่งภูมินั้นๆ
๑.๓ ทักษะความชำนาญ คือ เจ้าพิธีเมื่อทำพิธีกรรมสำเร็จแล้วต้องกลับมาตรวจสอบตนเองว่าได้ทำไปอย่างถูกต้อง สมควรหรือไม่ ตรวจสอบด้วยหลัก ๕ ประการ ได้นี้ ๑) ทำหรือยัง ๒) ทำเท่าใด แค่ไหน ๓) ทำครบไหม ๔) ผลของการได้ทำ ๕) สรุปเหตุและผลที่ได้ทำ
เมื่อเราทำและตรวจสอบอยู่บ่อยๆ ทักษะย่อมเกิด ความเชี่ยวชาญย่อมมี และยิ่งทำไปเรื่อยๆ ตรวจสอบบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำ ความชำนาญย่อมเกิด
วิธีทำคือ วันนี้เราได้ทำพิธีให้แก่บุคคลใด แล้วเราจดบันทึกไว้ถึงเหตุการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังจากทำ ผลที่ตามมาเป็นเช่นไร แล้วเราทำยังไงในการแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ เป็นต้น
๑.๔ ปัญญา คือ การรู้จักใช้ปัญญาในการพิเคราะห์ พิจารณาหาแนวทางแก้ไขกรรมของผู้ทำพิธี โดยใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาโดยแยบคาย แยบยล อย่างละเอียดถี่ถ้วน รอบครอบ ครบทุกด้าน เข้าใจพิจารณากรรม ๕ และการพิจารณาวิบาก ๗ ในการแก้ไขกรรมจะต้องเข้าในหลักเบญจแห่งการก่อเกิด
๒. ผู้ทำพิธี คือ ผู้ที่เข้าทำพิธี เจ้าตัวที่เกิดปัญหา จะต้องปฏิบัติตนดังนี้
๒.๑ การตั้งฐานจิต คือ การตั้งฐานจิตในการแก้ไขกรรมของตนเอง ดังนี้
๑) สำนึกผิด เราต้องยอมรับว่าเราเคยทำผิดพลาดในอดีตมา เพราะว่าวันนี้เกิดผล ในอดีตยอมมีเหตุมาก่อนแน่นอน เช่นเดียวกับผลมะม่วง วันนี้เกิดผลออกมาให้เรากิน ในอดีตต้องมีเหตุคือเราได้ปลูกมันไว้ก่อนแล้วมาบัดนี้จึงออกลูกเป็นผลให้เราเก็บเกี่ยว การสำนึกผิดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราไม่สำนึกผิดการทำพิธีกรรมก็เป็นการสูญเปล่า เหมือนกับเราเอามีดไปฟันคนอื่น แต่เราไม่สำนึกว่าเราได้ทำผิด แล้วคนที่โดนเอามีฟัดจะยกโทษให้เราไหม? ถ้าเขายกโทษให้เราเราก็คงไม่เป็นเช่นนี้
๒) ยอมรับ คือ เราต้องยอมรับชะตากรรมของเรา ยอมรับว่าเราเคยทำผิดจริง ได้เคยล่วงเกินอะไรใครไว้แล้วจริงๆ
๓) ขอขมากรรม คือ ตั้งจิตขอขมาต่อเจ้ากรรมนายเวรที่เราได้ล่วงเกินเขาทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
๔) อโหสิกรรม คือ เราก็ต้องตั้งจิตตั้งใจให้อภัย ไม่ถือสาเจ้ากรรมเขา และอโหสิกรรมต่อกัน
๒.๒ ศรัทธา คือ ต้องมีความเชื่อมั่นว่าทำพิธีกรรมแล้วจะต้องสำเร็จผลจริงๆ
๒.๓ การปฏิบัติให้ครบถ้วน คือ เมื่อเจ้าพิธีสั่งให้ทำสิ่งใดต้องปฏิบัติให้ครบ อย่าขาด อย่าเกิน บางครั้งเราอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น สิ่งเหล่านี้เจ้าพิธีท่านต้องมีเหตุผลแน่นอนจึงให้ทำเช่นนั้น เพราะบางครั้งก็ยากที่จะอธิบายให้ผู้ทำพิธีเข้าใจได้ เหมือนกับหมอท่านสั่งจ่ายยาให้คนป่วย ถ้าอธิบายสรรพคุณของยาว่าจะไปทำปฏิกิริยาในสารเคมีร่างกายของเราอย่างไรคงต้องใช้เวลานาน คนป่วยอาจจะตายก่อนที่ยาตัวนี้จะไปรักษาได้
๒.๔ ให้ความสำคัญ คือ เราต้องให้ความสำคัญในการทำพิธีกรรม ให้ความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทำพิธี เจ้ากรรม สถานที่ และพิธีกรรม มีความกระตือรือร้น สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
๓. สิ่งแวดล้อม คือ สถานที่ สภาพแวดล้อม อากาศ สีแสง เสียง และอื่นๆ ที่อยู่ในระหว่างการทำพิธี แยกออกเป็นด้านดังนี้
๓.๑ สถานที่สัปปายะ คือ สถานที่มีความเหมาะสม ไม่มีคนพุ่งพ่านเกินไป สามารถทำให้ผู้ทำพิธีมีสมาธิต่อการทำพิธี
๓.๒ ผู้เข้าร่วม คือ พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อน หรือผู้เข้าร่วมอนุโมทนา สามารถเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ทำพิธีมีจิตใจที่มุ่งมั่นหรือเสื่อมถอยได้ ฉะนั้น เจ้าพิธีต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย หากผู้เข้าร่วมมีศรัทธาต่อพิธีกรรมก็ควรให้อยู่ร่วมพิธีได้ แต่หากขาดศรัทธาหรืออาจจะก่อกวนในพิธีได้เราควรมีกุศโลบายในการแยกผู้ทำพิธีกับผู้เข้าร่วมให้อยู่กันคนละที่ได้ สิ่งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ตายตัว และพิจารณาถึงว่าเมื่อเขาทำพิธีกับเราแล้วสภาพแวดล้อมทางบ้านเขาเป็นอย่างไรเรามีวิธีแก้ไขสถานการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าหรือไม่ เรียกว่า ฉีดวัคซีนก่อน เมื่อเขาประสบกับสิ่งที่จะทำให้ความศรัทธาและความเชื่อมั่นอ่อน เราก็ควรจะชี้แนะ แนะนำเขาก่อนว่าควรทำตัวเช่นใด
๓.๓ องค์ประกอบของพิธีนั้น คือ ผู้ทำพิธีจะต้องประกอบพิธีให้ครบถ้วนตามพิธีกรรมนั้นๆ ตามครูบาอาจารย์สั่งสอน ห้ามขาด ห้ามเกิน และบางเหตุการณ์ก็อาจจะพลิกแพลงได้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยสภาพแวดล้อมนั้นๆ ที่เอื้ออำนวย และบางครั้งอาจจะหยวนได้ แต่ไม่ใช่การหยวนเพราะตามใจเราหรือตามใจผู้ทำพิธี แต่เป็นเพราะอยู่ในคราวขับขัน สิ่งนี้ต้องพิจารณาวิบาก ๗
๓.๔ กาลเวลาและเหตุการณ์ที่เอื้อ คือ เราต้องดูด้วยว่าจะทำพิธีเวลาไหน ตอนเช้า บ่าย หรือกลางคืน ขึ้นอยู่กับเวลาทั้งสองฝ่ายมีความเหมาะเจาะกันตรงไหน เวลาใดที่เอื้อให้จิตใจของผู้ทำพิธีมีจิตมั่นคงและศรัทธาเชื่อมั่น และเหตุการณ์ที่เป็นอยู่เป็นเช่นใด ถ้าอยู่ในเหตุการณ์ที่ล่อแหลมจะเป็นอันตรายต่อผู้ทำพิธีต้องรีบทำในบัดเดี๋ยวนั้น แต่ถ้าหากว่าผู้ทำพิธียังมีความศรัทธาไม่เพียงพอก็ควรเลื่อนการทำพิธีออกไป แล้วเราชักจูงให้ผู้ทำพิธีเกิดความศรัทธาแล้วจึงทำพิธีจึงจะเกิดสัมฤทธิ์ผล
---------------------------
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
การทำพิธีกรรม บังเกิดอานุภาพศักดิ์สิทธิ์
การทำพิธีกรรม บังเกิดอานุภาพศักดิ์สิทธิ์
การทำพิธีกรรม หมายถึง การทำอย่างเป็นทางการ การทำตามแบบแผน การทำพิธีกรรมนั้นจะมีด้วยกัน ๓ ฝ่าย คือ เจ้าพิธี ผู้ทำพิธี สิ่งแวดล้อม
๑. เจ้าพิธี คือ บุคคลที่เป็นสื่อกลางให้ผู้ทำพิธีได้แก้ไข ตามเจตนารณ์ หรือให้เกิดสันติ สิ่งที่ทำให้เจ้าพิธีเกิดสัมฤทธิ์ผลต้องประกอบด้วยองค์คุณ ๔ ประการ
๑.๑ การตั้งฐานจิต คือ ผู้ที่เป็นเจ้าพิธีมีความสำคัญมากเพราะเป็นสื่อระหว่างผู้ทำพิธี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเจ้ากรรมนายเวร ฯลฯ ผู้ทำพิธีจะต้องตั้งฐานจิตให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และจะต้องไม่มีอะไรแอบแฝง เช่น ไม่ทำพิธีเพราะเห็นแก่ลาภ ยศ สรรเสริญ อยากได้เขามาเป็นสามีภรรยาหรือข้าทาสบริวาร หรือแม้แต่การอวด เราต้องตั้งฐานจิตเพื่อเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล และกันสิ่งที่ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ทำพิธี ให้เป็นไปตามวาระแห่งเหตุปัจจัยนั้นๆ ในการตั้งฐานจิต เราควรกำหนดจิตเราให้เป็นไปดังต่อไปนี้
๑) เราจะช่วยเหลือทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ผู้ถูกกระทำและเจ้ากรรมนายเวร ให้เกิดสันติทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้าเราช่วยเหลือแต่ผู้ถูกกระทำแล้วไม่ช่วยเหลือเจ้ากรรมนายเวร แสดงว่าเราเกิดความอคติ เพราะอดีตเขาต้องเคยมีวิบากกรรมกันมาก่อน ผู้ถูกกระทำอาจจะเคยทำสิ่งที่ไม่ดีกับเจ้ากรรมนายเวรมาก่อนก็ได้ เวรกรรมเลยมาตอบสนอง ฉะนั้น เราต้องให้ความสำคัญทั้งสองฝ่ายเสมอกัน จึงจะสามารถแก้ไขกรรมได้ เมื่อเราสามารถแก้ไขกรรมได้ กรรมย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง
๒) ไม่มีความอคติ ๔ ประการคือ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะไม่ชอบ ลำเอียงเพราะกลัว และลำเอียงเพราะหลง
๓) ไม่ทำเพราะอวดดี อวดเก่ง อหังการ และอุปโลกน์ตนเอง
๔) ไม่ทำเพราะมีจุดประสงค์แอบแฝง
๕) ทำเพื่อเอื้อ เกื้อ กัน
๖) ไหว้ครู เจ้าพิธีจะต้องทำการไหว้ครูก่อนเป็นการเคารพ กตัญญู และระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ฝึกฝนเรามา
๗) ด้านบารมี เจ้าพิธีหากบารมียังไม่ถึงจะต้องตั้งฐานจิตอาศัยบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พุทธคุณ เทพคุณ พระโพธิสัตว์คุณ ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือกรณีนั้นในแต่ละบุคคล อาทิ
ด้านบารมีพุทธคุณ เช่น พระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมรังสี) หลวงปู่ศุข หลวงพ่อเงิน เป็นต้น
ด้านบารมีเทพ เช่น พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี และพระพิฆเณศ เป็นต้น
ด้านบารมีพระโพธิสัตว์ เช่น พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (ตี้จั่งอ๊วง) เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
๑.๒ ความรู้ คือ การทำพิธีกรรมนั้นเจ้าพิธีจะต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนทำ มีความรู้ความเข้าใจในพิธีกรรมนั้นๆ แบ่งลักษณะดังนี้
๑) หลักการ คือ จะต้องเข้าใจในหลักการทำพิธีกรรมนั้นๆ รู้ทั้งศาสตร์และศิลป์
๒) มีจิตวิทยาในการจูง นำ พา ส่งผู้ทำพิธี
๓) คุณธรรม คือ รู้หลักธรรม องค์ธรรม และธรรมชาติแห่งความเป็นไปของสรรพสิ่งต่างๆตามวาระแห่งภูมินั้นๆ
๑.๓ ทักษะความชำนาญ คือ เจ้าพิธีเมื่อทำพิธีกรรมสำเร็จแล้วต้องกลับมาตรวจสอบตนเองว่าได้ทำไปอย่างถูกต้อง สมควรหรือไม่ ตรวจสอบด้วยหลัก ๕ ประการ ได้นี้ ๑) ทำหรือยัง ๒) ทำเท่าใด แค่ไหน ๓) ทำครบไหม ๔) ผลของการได้ทำ ๕) สรุปเหตุและผลที่ได้ทำ
เมื่อเราทำและตรวจสอบอยู่บ่อยๆ ทักษะย่อมเกิด ความเชี่ยวชาญย่อมมี และยิ่งทำไปเรื่อยๆ ตรวจสอบบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำ ความชำนาญย่อมเกิด
วิธีทำคือ วันนี้เราได้ทำพิธีให้แก่บุคคลใด แล้วเราจดบันทึกไว้ถึงเหตุการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังจากทำ ผลที่ตามมาเป็นเช่นไร แล้วเราทำยังไงในการแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ เป็นต้น
๑.๔ ปัญญา คือ การรู้จักใช้ปัญญาในการพิเคราะห์ พิจารณาหาแนวทางแก้ไขกรรมของผู้ทำพิธี โดยใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาโดยแยบคาย แยบยล อย่างละเอียดถี่ถ้วน รอบครอบ ครบทุกด้าน เข้าใจพิจารณากรรม ๕ และการพิจารณาวิบาก ๗ ในการแก้ไขกรรมจะต้องเข้าในหลักเบญจแห่งการก่อเกิด
๒. ผู้ทำพิธี คือ ผู้ที่เข้าทำพิธี เจ้าตัวที่เกิดปัญหา จะต้องปฏิบัติตนดังนี้
๒.๑ การตั้งฐานจิต คือ การตั้งฐานจิตในการแก้ไขกรรมของตนเอง ดังนี้
๑) สำนึกผิด เราต้องยอมรับว่าเราเคยทำผิดพลาดในอดีตมา เพราะว่าวันนี้เกิดผล ในอดีตยอมมีเหตุมาก่อนแน่นอน เช่นเดียวกับผลมะม่วง วันนี้เกิดผลออกมาให้เรากิน ในอดีตต้องมีเหตุคือเราได้ปลูกมันไว้ก่อนแล้วมาบัดนี้จึงออกลูกเป็นผลให้เราเก็บเกี่ยว การสำนึกผิดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราไม่สำนึกผิดการทำพิธีกรรมก็เป็นการสูญเปล่า เหมือนกับเราเอามีดไปฟันคนอื่น แต่เราไม่สำนึกว่าเราได้ทำผิด แล้วคนที่โดนเอามีฟัดจะยกโทษให้เราไหม? ถ้าเขายกโทษให้เราเราก็คงไม่เป็นเช่นนี้
๒) ยอมรับ คือ เราต้องยอมรับชะตากรรมของเรา ยอมรับว่าเราเคยทำผิดจริง ได้เคยล่วงเกินอะไรใครไว้แล้วจริงๆ
๓) ขอขมากรรม คือ ตั้งจิตขอขมาต่อเจ้ากรรมนายเวรที่เราได้ล่วงเกินเขาทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
๔) อโหสิกรรม คือ เราก็ต้องตั้งจิตตั้งใจให้อภัย ไม่ถือสาเจ้ากรรมเขา และอโหสิกรรมต่อกัน
๒.๒ ศรัทธา คือ ต้องมีความเชื่อมั่นว่าทำพิธีกรรมแล้วจะต้องสำเร็จผลจริงๆ
๒.๓ การปฏิบัติให้ครบถ้วน คือ เมื่อเจ้าพิธีสั่งให้ทำสิ่งใดต้องปฏิบัติให้ครบ อย่าขาด อย่าเกิน บางครั้งเราอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น สิ่งเหล่านี้เจ้าพิธีท่านต้องมีเหตุผลแน่นอนจึงให้ทำเช่นนั้น เพราะบางครั้งก็ยากที่จะอธิบายให้ผู้ทำพิธีเข้าใจได้ เหมือนกับหมอท่านสั่งจ่ายยาให้คนป่วย ถ้าอธิบายสรรพคุณของยาว่าจะไปทำปฏิกิริยาในสารเคมีร่างกายของเราอย่างไรคงต้องใช้เวลานาน คนป่วยอาจจะตายก่อนที่ยาตัวนี้จะไปรักษาได้
๒.๔ ให้ความสำคัญ คือ เราต้องให้ความสำคัญในการทำพิธีกรรม ให้ความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทำพิธี เจ้ากรรม สถานที่ และพิธีกรรม มีความกระตือรือร้น สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
๓. สิ่งแวดล้อม คือ สถานที่ สภาพแวดล้อม อากาศ สีแสง เสียง และอื่นๆ ที่อยู่ในระหว่างการทำพิธี แยกออกเป็นด้านดังนี้
๓.๑ สถานที่สัปปายะ คือ สถานที่มีความเหมาะสม ไม่มีคนพุ่งพ่านเกินไป สามารถทำให้ผู้ทำพิธีมีสมาธิต่อการทำพิธี
๓.๒ ผู้เข้าร่วม คือ พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อน หรือผู้เข้าร่วมอนุโมทนา สามารถเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ทำพิธีมีจิตใจที่มุ่งมั่นหรือเสื่อมถอยได้ ฉะนั้น เจ้าพิธีต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย หากผู้เข้าร่วมมีศรัทธาต่อพิธีกรรมก็ควรให้อยู่ร่วมพิธีได้ แต่หากขาดศรัทธาหรืออาจจะก่อกวนในพิธีได้เราควรมีกุศโลบายในการแยกผู้ทำพิธีกับผู้เข้าร่วมให้อยู่กันคนละที่ได้ สิ่งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ตายตัว และพิจารณาถึงว่าเมื่อเขาทำพิธีกับเราแล้วสภาพแวดล้อมทางบ้านเขาเป็นอย่างไรเรามีวิธีแก้ไขสถานการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าหรือไม่ เรียกว่า ฉีดวัคซีนก่อน เมื่อเขาประสบกับสิ่งที่จะทำให้ความศรัทธาและความเชื่อมั่นอ่อน เราก็ควรจะชี้แนะ แนะนำเขาก่อนว่าควรทำตัวเช่นใด
๓.๓ องค์ประกอบของพิธีนั้น คือ ผู้ทำพิธีจะต้องประกอบพิธีให้ครบถ้วนตามพิธีกรรมนั้นๆ ตามครูบาอาจารย์สั่งสอน ห้ามขาด ห้ามเกิน และบางเหตุการณ์ก็อาจจะพลิกแพลงได้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยสภาพแวดล้อมนั้นๆ ที่เอื้ออำนวย และบางครั้งอาจจะหยวนได้ แต่ไม่ใช่การหยวนเพราะตามใจเราหรือตามใจผู้ทำพิธี แต่เป็นเพราะอยู่ในคราวขับขัน สิ่งนี้ต้องพิจารณาวิบาก ๗
๓.๔ กาลเวลาและเหตุการณ์ที่เอื้อ คือ เราต้องดูด้วยว่าจะทำพิธีเวลาไหน ตอนเช้า บ่าย หรือกลางคืน ขึ้นอยู่กับเวลาทั้งสองฝ่ายมีความเหมาะเจาะกันตรงไหน เวลาใดที่เอื้อให้จิตใจของผู้ทำพิธีมีจิตมั่นคงและศรัทธาเชื่อมั่น และเหตุการณ์ที่เป็นอยู่เป็นเช่นใด ถ้าอยู่ในเหตุการณ์ที่ล่อแหลมจะเป็นอันตรายต่อผู้ทำพิธีต้องรีบทำในบัดเดี๋ยวนั้น แต่ถ้าหากว่าผู้ทำพิธียังมีความศรัทธาไม่เพียงพอก็ควรเลื่อนการทำพิธีออกไป แล้วเราชักจูงให้ผู้ทำพิธีเกิดความศรัทธาแล้วจึงทำพิธีจึงจะเกิดสัมฤทธิ์ผล
---------------------------
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์