ต้องบอกเลยว่าในทุกวันนี้ปัญหาแอพฯ ปลอมเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่จัดการไม่หายพอๆ กับปัญหาข่าวปลอมเลย ประกอบกับว่าในปัจจุบันนี้มีแอพฯ จำนวนมากให้เราเลือกดาวน์โหลดมาใช้งานกันอย่างง่ายๆ
ซึ่งแอพฯ ปลอมเหล่านี้จะมาพร้อมกับจุดประสงค์ร้ายตามความตั้งใจของแฮคเกอร์ที่พัฒนามันขึ้นมา บางแอพฯ เมื่อลงแล้วจะส่งโฆษณามาให้เราดูรัวๆ เพื่อให้เงินเข้ากระเป๋าคนทำแอพฯ บางแอพฯ ก็แฝงมัลแวร์จับตาดูทุกกิจกรรมที่เราทำผ่านมือถือ บางแอพฯ ก็แอบขโมยข้อมูลส่วนตัว และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วเราจะระวังแอพฯ เหล่านี้ได้ยังไง วันนี้เรามีเทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้เราดาวน์โหลดแอพฯ ที่ต้องการได้ถูกต้อง ไม่ผิดเป้าหมายมาฝาก จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
1. ดาวน์โหลดแอพฯ จากเจ้าของระบบเท่านั้น
แหล่งดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการของ iOS คือ App Store ส่วน Android จะเป็น Google Play เราควรดาวน์โหลดแอพฯ จาก 2 แหล่งนี้เท่านั้น การติดตั้งแอพฯ จากแหล่งอื่น ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม หมายถึงความเสี่ยงที่เราต้องแลกมา อาจจะได้ไฟล์แอพฯ ปลอมมา หรือไฟล์แอพฯ ของจริง แต่มีการแก้ไขแอบใส่โทรจันซ่อนเอาไว้ก็เป็นได้
2. ลองเช็คผลการค้นหาดูก่อน
หลายคนเวลาที่อยากจะโหลดแอพฯ ที่ต้องการก็มักจะใช้วิธีพิมพ์ชื่อในช่องค้นหา เมื่อผลลัพธ์ออกมาแล้ว ถ้ามีไอคอนเหมือนกันตั้งแต่ 2 แอพฯ หรือมากกว่า แสดงว่าต้องมีแอพฯ ใดเป็นของปลอมแน่นอน ลองเสียเวลาตรวจสอบสักนิดให้มั่นใจก่อนกดดาวน์โหลดจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแอพฯ ปลอมเหล่านี้
3. อ่านคำบรรยายแอพฯ
การเช็คคำบรรยายสรรพคุณแอพฯ เป็นสิ่งที่ช่วยได้เยอะเหมือนกัน เพราะบางครั้งแฮคเกอร์จะใช้ Bot ช่วยเขียนขึ้นมา จึงทำให้ภาษาที่ใช้ไม่เหมือนคนจริง มีการใช้คำผิด ก็ให้สันนิษฐานว่าเป็นแอพฯ ปลอมเอาไว้ก่อน ในทางตรงข้ามแอพฯจริงส่วนใหญ่นั้น ทางผู้พัฒนาจะให้ความสำคัญ เพราะมันเป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อดึงดูดให้คนโหลดแอพฯ การใช้ภาษาจะถูกต้องและเข้าใจง่าย
4. เช็คชื่อแอพฯ และชื่อนักพัฒนา
ในกรณีที่ไอคอนแอพฯ เหมือนกันทุกอย่างสิ่งต่อไปให้เช็คคือ ชื่อแอพฯ และชื่อนักพัฒนา ดูว่าแอพฯ ที่คุณต้องการโหลดสะกดชื่อถูกหรือเปล่า เช็คให้แน่นอนก่อนกดดาวน์โหลด และถ้าหากชื่อผู้พัฒาแอพฯ ไม่คุ้น ก็ให้เราเช็คแอพฯ อื่นๆ ที่นักพัฒนารายนี้ทำขึ้น ในกรณีที่ใช้งานผ่านหน้าเว็บให้กดที่ชื่อผู้พัฒนาเราก็จะเห็นรายชื่อแอพฯ ทั้งหมดที่เค้าเคยทำออกมา
5. ดูคะแนนการรีวิว
การเข้าไปอ่านรีวิวของแอพฯ เป็นอีกหนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่า แอพฯ นี้เป็นของจริงหรือเปล่า เพราะหากเป็นแอพฯ ปลอม มักจะมีคนเข้าไป “ด่า” เพียบเลยแหละ
6. ดูแอพฯ ที่เป็นยอดนิยม มีดาวน์โหลดเยอะ
จำนวนครั้งที่ดาวน์โหลดก็เป็นตัวเลขสำคัญที่บ่งบอกได้ถึงความน่าเชื่อถือ ระหว่างแอพฯ ที่มียอดดาวน์โหลดสูงถึง 1,000,000 ครั้งกับ 100 ครั้ง คุณจะเลือกเชื่อใจแอพฯ ไหนดี แต่วิธีนี้ใช้ได้แค่บน Android เท่านั้น เนื่องจาก Apple ปฏิเสธที่จะแสดงยอดดาวน์โหลด
7. Screenshots ต้องคมชัด
แอพฯ ปลอมส่วนใหญ่ มักจะเอารูปที่ขโมยมาจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในแอพฯ ด้วยตนเอง คุณภาพของภาพประกอบในแอพฯ ปลอมมักจะไม่คมชัดเท่าไหร่ ต่างจากแอพฯ แท้ ที่ส่วนใหญ่จะพยายามทำให้ภาพคมชัด สวยงามที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นหากแอพฯ ไหน ภาพดูเบลอๆ พิกเซลไม่ละเอียด ให้สงสัยว่าปลอมไว้ก่อนเลย
8. เข้าไปดูเว็บไซต์ของผู้พัฒนา
หากเราเจอแอพฯ น่าสนใจ แต่มาจากผู้พัฒนาที่เราไม่รู้จัก ลองเอาชื่อผู้พัฒนาไป Google ดู ส่วนใหญ่ก็จะเจอรายละเอียดอยู่แล้ว หรือกดตรงลิงค์เว็บไซต์ผู้พัฒนาที่อยู่ใน App Store/Google Play โดยตรงเลยก็ได้
เครดิต
https://tips.thaiware.com/1063.html
8 เทคนิคที่คุณต้องรู้ก่อนจะดาวน์โหลดแอพฯ ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อแอพฯ ปลอม!
ซึ่งแอพฯ ปลอมเหล่านี้จะมาพร้อมกับจุดประสงค์ร้ายตามความตั้งใจของแฮคเกอร์ที่พัฒนามันขึ้นมา บางแอพฯ เมื่อลงแล้วจะส่งโฆษณามาให้เราดูรัวๆ เพื่อให้เงินเข้ากระเป๋าคนทำแอพฯ บางแอพฯ ก็แฝงมัลแวร์จับตาดูทุกกิจกรรมที่เราทำผ่านมือถือ บางแอพฯ ก็แอบขโมยข้อมูลส่วนตัว และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วเราจะระวังแอพฯ เหล่านี้ได้ยังไง วันนี้เรามีเทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้เราดาวน์โหลดแอพฯ ที่ต้องการได้ถูกต้อง ไม่ผิดเป้าหมายมาฝาก จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
1. ดาวน์โหลดแอพฯ จากเจ้าของระบบเท่านั้น
แหล่งดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการของ iOS คือ App Store ส่วน Android จะเป็น Google Play เราควรดาวน์โหลดแอพฯ จาก 2 แหล่งนี้เท่านั้น การติดตั้งแอพฯ จากแหล่งอื่น ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม หมายถึงความเสี่ยงที่เราต้องแลกมา อาจจะได้ไฟล์แอพฯ ปลอมมา หรือไฟล์แอพฯ ของจริง แต่มีการแก้ไขแอบใส่โทรจันซ่อนเอาไว้ก็เป็นได้
2. ลองเช็คผลการค้นหาดูก่อน
หลายคนเวลาที่อยากจะโหลดแอพฯ ที่ต้องการก็มักจะใช้วิธีพิมพ์ชื่อในช่องค้นหา เมื่อผลลัพธ์ออกมาแล้ว ถ้ามีไอคอนเหมือนกันตั้งแต่ 2 แอพฯ หรือมากกว่า แสดงว่าต้องมีแอพฯ ใดเป็นของปลอมแน่นอน ลองเสียเวลาตรวจสอบสักนิดให้มั่นใจก่อนกดดาวน์โหลดจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแอพฯ ปลอมเหล่านี้
3. อ่านคำบรรยายแอพฯ
การเช็คคำบรรยายสรรพคุณแอพฯ เป็นสิ่งที่ช่วยได้เยอะเหมือนกัน เพราะบางครั้งแฮคเกอร์จะใช้ Bot ช่วยเขียนขึ้นมา จึงทำให้ภาษาที่ใช้ไม่เหมือนคนจริง มีการใช้คำผิด ก็ให้สันนิษฐานว่าเป็นแอพฯ ปลอมเอาไว้ก่อน ในทางตรงข้ามแอพฯจริงส่วนใหญ่นั้น ทางผู้พัฒนาจะให้ความสำคัญ เพราะมันเป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อดึงดูดให้คนโหลดแอพฯ การใช้ภาษาจะถูกต้องและเข้าใจง่าย
4. เช็คชื่อแอพฯ และชื่อนักพัฒนา
ในกรณีที่ไอคอนแอพฯ เหมือนกันทุกอย่างสิ่งต่อไปให้เช็คคือ ชื่อแอพฯ และชื่อนักพัฒนา ดูว่าแอพฯ ที่คุณต้องการโหลดสะกดชื่อถูกหรือเปล่า เช็คให้แน่นอนก่อนกดดาวน์โหลด และถ้าหากชื่อผู้พัฒาแอพฯ ไม่คุ้น ก็ให้เราเช็คแอพฯ อื่นๆ ที่นักพัฒนารายนี้ทำขึ้น ในกรณีที่ใช้งานผ่านหน้าเว็บให้กดที่ชื่อผู้พัฒนาเราก็จะเห็นรายชื่อแอพฯ ทั้งหมดที่เค้าเคยทำออกมา
5. ดูคะแนนการรีวิว
การเข้าไปอ่านรีวิวของแอพฯ เป็นอีกหนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่า แอพฯ นี้เป็นของจริงหรือเปล่า เพราะหากเป็นแอพฯ ปลอม มักจะมีคนเข้าไป “ด่า” เพียบเลยแหละ
6. ดูแอพฯ ที่เป็นยอดนิยม มีดาวน์โหลดเยอะ
จำนวนครั้งที่ดาวน์โหลดก็เป็นตัวเลขสำคัญที่บ่งบอกได้ถึงความน่าเชื่อถือ ระหว่างแอพฯ ที่มียอดดาวน์โหลดสูงถึง 1,000,000 ครั้งกับ 100 ครั้ง คุณจะเลือกเชื่อใจแอพฯ ไหนดี แต่วิธีนี้ใช้ได้แค่บน Android เท่านั้น เนื่องจาก Apple ปฏิเสธที่จะแสดงยอดดาวน์โหลด
7. Screenshots ต้องคมชัด
แอพฯ ปลอมส่วนใหญ่ มักจะเอารูปที่ขโมยมาจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในแอพฯ ด้วยตนเอง คุณภาพของภาพประกอบในแอพฯ ปลอมมักจะไม่คมชัดเท่าไหร่ ต่างจากแอพฯ แท้ ที่ส่วนใหญ่จะพยายามทำให้ภาพคมชัด สวยงามที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นหากแอพฯ ไหน ภาพดูเบลอๆ พิกเซลไม่ละเอียด ให้สงสัยว่าปลอมไว้ก่อนเลย
8. เข้าไปดูเว็บไซต์ของผู้พัฒนา
หากเราเจอแอพฯ น่าสนใจ แต่มาจากผู้พัฒนาที่เราไม่รู้จัก ลองเอาชื่อผู้พัฒนาไป Google ดู ส่วนใหญ่ก็จะเจอรายละเอียดอยู่แล้ว หรือกดตรงลิงค์เว็บไซต์ผู้พัฒนาที่อยู่ใน App Store/Google Play โดยตรงเลยก็ได้
เครดิต https://tips.thaiware.com/1063.html