คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
รุกเพื่อรับคือ ถ้าประเทศหยุดการทำศึกไปนานๆประเทศก็จะอ่อนแอลง จึงต้องทำให้การออกรบเป็นเรื่องปกติ ให้ทุกคนเคยชิน ถ้ารับอยู่เฉยๆก็เหมือนรอวันโดนตีแตก พวกทหารก็จะอ่อนแอ ต่างจากฝั่งวุยที่ทหารจะมีประสบการณ์มากกว่า เพราะต้องคอยออกรบกับชนเผ่าต่างๆอยู่ค่อนข้างเยอะ พอเห็นเราอยู่นิ่ง เค้าก็อาจจะมาบุกตี ฝ่ายเราพอหยุดสู้ไปนานๆก็อ่อนแอพอรบกันก็สู้ไม่ได้ และการคอยโจมตีอยู่เรื่อยๆ อาจมีโอกาสโชคดีที่ภายในฝั่งศัตรูเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น อาจจะเกิดการกบฏขึ้น หรือภายในมีปัญหาแตกเป็นหลายฝ่าย แล้วถ้าจังหวะมันพอดีกันกับที่เราบุกไปพอดีก็อาจจะพลิกสถานการณ์ได้ และถ้าเกิดง่อก๊กเล่นด้วยก็จะยิ่งเปลี่ยนสถานการณ์ได้มากขึ้น ซึ่งการกบฏในวุยก็มีอยู่จริงถึงสามครั้งใหญ่ๆ แต่จังหวะมันไม่ตรงกับที่จ๊กบุกไป
แสดงความคิดเห็น
รุกเพื่อรับเป็นอย่างไรครับ และจ๊กก๊กตอนช่วงปลายบ้านเมืองจัดว่ายังดีอยู่ไหมครับ
อ่านจาก https://www.samkok911.com/2013/06/Jiang-Wei-Strategy.html ยุทธศาสตร์ของเกียงอุย ในเว็บของ สามก๊กวิทยา โดย สามก๊กวิทยา เมื่อ มิถุนายน 16, 2556
ซึ่งทั้งขงเบ้ง และเกียงอุยต่างก็บุกวุยก๊ก อาจเพื่อหวังฟลุ๊ต และเป็นการตั้งรับแบบหนึ่งด้วย แต่สภาพจ๊กก๊กก็ยังจัดว่าดีอยู่นะ อยากถามว่าจ๊กก๊กตอนช่วงปลายยังจัดว่าดีอยู่ไหม ที่ยอมแพ้ง่ายๆ เพราะเบื่อหน่ายต่อศึกที่ไม่ชนะทั้งทีใช่รึเปล่าครับ
อีกคำถามครับ
ที่จ๊กก๊กยังสามารถส่งทหารไปสู้วุยก๊กหลายครั้ง แต่ไม่ส่งผลต่อจ๊กก๊กเท่าไหร่(ใช่รึเปล่า)เป็นเพราะการบริหาร จัดการที่ดี รวมถึงการรบแบบเซฟชีวิตทหารใช่ไหมครับ ทั้งขงเบ้ง และเกียงอุย
แล้วกลยุทธ์ หรืออะไรของซุนวูที่เห็นบางกระทู้ว่า แบ่งกองทัพเป็นสามส่วนพลัดกันเข้าตีเพื่อให้อีกฝ่ายหมดแรง หรือไม่มีเวลาคิดกลศึกครับ