ตอนที่ 1
http://ppantip.com/topic/33657392/
ตอนที่ 2
http://ppantip.com/topic/33665166/
ตอนที่ 3
http://ppantip.com/topic/33674170/
ตอนที่ 4
http://ppantip.com/topic/33683393/
ตอนที่ 5
http://ppantip.com/topic/33691647/
จะพยายามอัพเดททั้งในเว็บพันทิปและในเพจ
https://www.facebook.com/threekingdomhappyfamily
อย่างสม่ำเสมอวันเว้นวันนะครับผม แต่ถ้ามีล่าช้าประการใดบ้างต้องขออภัยด้วยนะครับ
ตอนนี้ก็เกินครึ่งทางแล้วนะครับผม สังเกตได้ว่า ตัวละครหลักและเหตุการณ์หลัก ๆ ในสามก๊กที่เรารู้จักกัน ส่วนมากยังเป็นแค่ครึ่งแรกของประวัติศาสตร์ในยุคนี้เท่านั้นเอง ว่าแล้วก็มาดูกันต่อเลยครับว่าครึ่งหลังของยุคสามก๊กนี้เป็นอย่างไรบ้าง
ตอนที่ 6 ปี ค.ศ. 231-240
อวสานขงเบ้ง ลกซุนบุกวุยก๊กครั้งสุดท้าย สุมาอี้รุกแดนเหนือปราบกบฎกองซุนเอี๋ยน
ค.ศ. 231
- ขงเบ้งนำทัพเคลื่อนพลอีกครั้งเพื่อปะทะกับทัพวุยก๊กที่เขากิสาน และในประวัติศาสตร์ถือเป็นการรบกันระหว่างขงเบ้งและสุมาอี้เป็นครั้งแรก เนื่องจากแม่ทัพใหญ่ฝ่ายวุยก๊กคือสุมาอี้ ซึ่งต้องทำหน้าที่แทนจอมทัพโจจิ๋นที่เพิ่งป่วยจนเสียชีวิตก่อนหน้านี้ไปด้วย โดยในวรรณกรรมได้เพิ่มบทให้โจจิ๋นตรอมใจตายด้วยสาส์นเหยียดหยามจากขงเบ้งหลังจากพ่ายแพ้
- ในการเคลื่อนพลครั้งนี้ ขงเบ้งได้มีการประดิษฐ์ “โคยนต์” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเกวียนลำเลียงเสบียงรูปแบบพิสดารซึ่งสามารถบรรทุกของได้มากและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว เพื่อแก้ปัญหาการส่งเสบียงจากฮันต๋งมายังแนวรบที่มีระยะทางห่างไกล
- แต่แล้วก็เกิดปัญหาอีกเมื่อขุนนางอาวุโสชื่อ ลิเงียม ซึ่งขงเบ้งมอบหมายให้คอยดูแลการจัดส่งเสบียง ทำการบกพร่องต่อหน้าที่จัดเตรียมล่าช้า ทำให้ฝ่ายขงเบ้งประสบปัญหาเสบียงขาดอีกครั้ง และทำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนมีรับสั่งให้ขงเบ้งถอยทัพกลับในที่สุด
- การถอยทัพครั้งนี้ ขงเบ้งได้จัดกำลังวางกับดักสังหารขุนพลเตียวคับ ของฝ่ายวุยก๊กได้สำเร็จ จุดนี้ประวัติศาสตร์กับวรรณกรรมระบุไว้ตรงกันข้าม ในวรรณกรรมระบุว่าเตียวคับดึงดันยกทัพตามขงเบ้งเองโดยไม่ฟังคำเตือนของสุมาอี้ แต่ในประวัติศาสตร์ระบุว่าสุมาอี้เป็นฝ่ายสั่งให้เตียวคับตามขงเบ้งไป จึงถือว่าการตายของเตียวคับเป็นความผิดพลาดของสุมาอี้ แต่ก็มีการวิเคราะห์ว่าเป็นความตั้งใจของสุมาอี้เองด้วย
- ในวรรณกรรมได้แต่งให้การรบในช่วงนี้ขงเบ้งยกทัพมาบุกถึงสองครั้ง โดยให้ครั้งแรกต้องถอยทัพเพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหลงกลข่าวลือของวุยก๊กว่าขงเบ้งจะก่อกบฎจึงเรียกทัพกลับ ส่วนครั้งที่สองก็ถอยทัพกลับเพราะความบกพร่องของลิเงียม
ค.ศ. 232
- ขงเบ้งงดเว้นการทำศึกต่อเนื่องชั่วคราวเพื่อสะสางระบบการจัดการในเมืองหลวง และพัฒนาโคยนต์ให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ในการรบให้มีศักยภาพมากกว่าเดิม กล่าวกันว่าแนวคิดในการประดิษฐ์นี้ขงเบ้งได้คำแนะนำจากอุ๋ยซี ภรรยาของเขามาค่อนข้างมาก
- พระเจ้าซุนกวนวางแผนส่งคนขึ้นเรือไปเกลี้ยกล่อม กองซุนเอี๋ยน ที่อยู่แคว้นเลียวตั๋งทางเหนือของวุยก๊ก เพื่อให้แปรพักตร์แล้วเคลื่อนทัพโจมตีวุยก๊กจากตอนบน ท่ามกลางเสียงคัดค้านของยีหวนขุนนางอาวุโส แต่พระเจ้าซุนกวนไม่รับฟังอีกทั้งยังสั่งเนรเทศยีหวนไปเสียอีก ผลปรากฏว่าคนที่ส่งไปยังเลียวตั๋งนั้นถูกฆ่าตายตามที่ยีหวนคัดค้านไว้จริง พระเจ้าซุนกวนสำนึกผิดจึงอภัยโทษให้ยีหวน แต่ก็สายไป เพราะยีหวนป่วยจนเสียชีวิตในถิ่นทุรกันดารนั้นเสียแล้ว
ค.ศ. 233
- พระเจ้าซุนกวนยังคงไม่ลดละความพยายามในการผูกสัมพันธ์กับแคว้นเลียวตั๋ง ในครั้งนี้ฝ่ายกองซุนเอี๋ยนตอบรับของบรรณาการจากง่อก๊กอย่างดี พระเจ้าซุนกวนจึงสั่งให้จัดเตรียมกำลังพลส่งไปเสริมทัพของกองซุนเอี๋ยนให้ร่วมมือบุกวุยก๊ก ท่ามกลางเสียงคัดค้านของเตียวเจียวขุนนางอาวุโสเพราะเชื่อว่าคนอย่างกองซุนเอี๋ยนไว้ใจไม่ได้ แต่สุดท้ายกองทหารและยุทโธปกรณ์จำนวนมากก็ถูกส่งไป
- ทันทีที่ฝ่ายเลียวตั๋งได้รับยุทธปัจจัยจากง่อก๊กแล้ว ก็ประกาศแปรพักตร์ต่อง่อก๊กทันทีแล้วยึดปัจจัยทั้งหมดไปเป็นของตน และยังสั่งฆ่าแม่ทัพที่ซุนกวนส่งไปคอยดูแลอีกด้วย เมื่อทราบข่าว พระเจ้าซุนกวนก็พิโรธหนักคิดจะยกทัพไปตีแคว้นเลียวตั๋งด้วยพระองค์เอง แต่ขุนนางทั้งปวงก็ปรามพระองค์ไว้ได้ สุดท้ายพระเจ้าซุนกวนก็สำนึกผิด และไปกล่าวขอโทษแก่เตียวเจียวถึงบ้านเลยทีเดียว
- ช่วงเวลานี้ เหตุการณ์ในง่อก๊กนั้นไม่ค่อยถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมสักเท่าไหร่ แต่ภาพรวมก็คือ พระเจ้าซุนกวนนั้นเมื่อเข้าสู่วัยชราแล้วก็เริ่มเอาแต่ใจเป็นหลัก และขาดความเป็นธรรมในการบริหาร จนมีเหตุขัดแย้งกับเตียวเจียวและลกซุนอีกหลายครั้ง
- เฉินโซ่วหรือตันซิ่ว ผู้เขียนประวัติศาสตร์สามก๊ก เกิดในปีนี้ บิดาของเขาเป็นอาลักษณ์ที่ทำงานให้กับขงเบ้ง
ค.ศ. 234
- หลังจากพักรบกันมา 3 ปี ขงเบ้งก็เตรียมกองทัพบุกวุยก๊กอีกเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการเตรียมทัพที่สมบูรณ์แบบที่สุดในทุก ๆ ด้าน แล้วนำกำลังพลไปจัดแนวรบที่ทุ่งอู่จ้าง อันเป็นชัยภูมิตะเข็บชายแดนที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง และมีการปะทะกับฝ่ายวุยก๊กบ้างประปราย แต่ขงเบ้งก็ไม่อาจฝ่าแนวรับของสุมาอี้ได้ การตรึงกำลังเช่นนี้กินเวลาหลายเดือน จนกระทั่งขงเบ้งเริ่มล้มป่วยลงจากการทำงานหนัก
- ในช่วงก่อนออกรบ ฝ่ายจ๊กก๊กได้มีการส่งสาส์นไปยังง่อก๊กเพื่อนัดแนะให้ร่วมมือการเคลื่อนทัพโจมตีวุยก๊กพร้อมกัน ซึ่งพระเจ้าซุนกวนได้ตอบรับคำขอนี้อย่างดี และให้ลกซุนรับหน้าที่แม่ทัพใหญ่เช่นเคย กรีทาทัพบุกพร้อมกันสามทิศทางเลยทีเดียว ได้แก่ ซงหยง หับป๋า และหยางโจว โดยหากทำสำเร็จแปลว่าสามารถชิงเอาดินแดนของวุยก๊กมาได้ถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว
- แต่ฝ่ายวุยก๊กนั้น พระเจ้าโจยอยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสามารถ ในฐานะเป็นฝ่ายตั้งรับ พระองค์ได้ฉวยโอกาสที่ง่อก๊กมีประสบการณ์สงครามเชิงรุกน้อย เข้าตอบโต้ช่วงที่มีการป้องกันหละหลวม และพึ่งพาการสืบข่าวอ่านแผนการของลกซุนอย่างแยบยล ในที่สุดแล้ว การบุกของฝ่ายง่อก๊กก็จบลงที่ความล้มเหลว การผสมผสานการบุกกับจ๊กก๊กจึงไม่เป็นผล
- ฝ่ายขงเบ้งนั้นป่วยหนักติดต่อกันหลายเดือน ในที่สุดก็เสียชีวิตด้วยความผิดหวังที่ไม่สามารถรุกคืบดินแดนของวุยก๊กได้เลย
- ภายหลังจากสิ้นขงเบ้งแล้ว ทัพจ๊กก๊กก็แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย ระหว่างเอียวหงีกับอุยเอี๋ยน ฝ่ายเอียวหงีต้องการให้ถอยทัพกลับฮันต๋ง แต่ฝ่ายอุยเอี๋ยนดึงดันทำการรบต่อ ทัพจ๊กก๊กเลยจำเป็นต้องรบพุ่งกันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจ แต่สุดท้ายแล้วเอียวหงีก็สั่งให้ม้าต้ายลอบสังหารอุยเอี๋ยนได้สำเร็จ แล้วจึงถอยทัพกลับ
- ในวรรณกรรมได้มีการแต่งเรื่องราวส่วนนี้เพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเพิ่มฉากให้สุมาอี้ต้องพลาดท่าเสียทีแก่ขงเบ้งหลายครั้ง จนมีครั้งหนึ่งที่เกือบตายเพราะถูกล้อมเผาทัพ แต่มีฝนตกลงมาช่วยชีวิตไว้ได้ รวมถึงการวางแผนสร้างหุ่นปลอมหลอกสุมาอี้ขณะถอยทัพกลับ และการวางแผนล่วงหน้าให้ม้าต้ายสังหารอุยเอี๋ยน ทั้งหมดนี้ล้วนไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์
ค.ศ. 235
- สุมาอี้ยกทัพกลับเมืองหลวงวุยก๊กในฐานะผู้ชนะ และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมุหนายกที่เป็นตำแหน่งสูงสุดในสายบริหารของชาติ เป็นรองแค่เพียงฮ่องเต้เท่านั้น
- ฝ่ายทัพจ๊กก๊กเมื่อกลับสู่เสฉวนแล้ว พินัยกรรมของขงเบ้งได้ถูกเผยว่า เขาได้แต่งตั้งทายาททางการเมืองไว้สองคนคือ เจียวอ้วน และ บิฮุย ขุนนางเก่าแก่ในเสฉวน ในขณะที่เอียวหงีคนสนิทนั้นไม่ได้รับการเลื่อนยศใด ๆ ซึ่งถือว่าผิดความคาดหมายของเอียวหงีมาก
- เอียวหงีน้อยเนื้อต่ำใจที่ไม่ก้าวหน้าจึงก่อคดีหมิ่นเบื้องสูงจนถูกเนรเทศ และสุดท้ายก็ต้องฆ่าตัวตายด้วยความอับอาย
- เจียวอ้วนที่ขึ้นเป็นสมุหนายกต่อจากขงเบ้งนั้นก็จัดแจงบริหารบ้านเมืองในจ๊กก๊กเสียใหม่ งดเว้นนโยบายศึกสงคราม เน้นพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการปกครองเป็นหลักเพื่อสร้างความมั่นคงให้แผ่นดิน แล้วมอบหมายให้เกียงอุย ขุนพลเอกของขงเบ้งนั้นเป็นผู้นำทางทหารคอยตรึงกำลังที่แนวหน้าของชายแดนที่สำคัญเพื่อป้องกันการรุกรานของศัตรูสืบไป
ค.ศ. 236
- เตียวเจียว ขุนนางอาวุโสของง่อก๊กเสียชีวิตในปีนี้ ด้วยวัยถึง 80 ปี คนผู้นี้ซุนกวนให้ความเคารพนับถือมากแม้ว่าจะไม่ลงรอยกันหลายครั้ง แต่การจากไปของเตียวเจียว ทำให้ซุนกวนขาดบุคคลที่สามารถทัดทานในเรื่องต่าง ๆ ไปเสียแล้ว
- สุมาเอี๋ยน บุตรชายของสุมาเจียว (บุตรชายคนรองของสุมาอี้) ผู้ที่ภายภาคหน้าจะรวมสามก๊กเป็นหนึ่ง เกิดในปีนี้
ค.ศ. 237
- กองซุนเอี๋ยนแห่งแคว้นเลียวตั๋งที่แสดงพฤติกรรมเป็นนกสองหัวย้ายข้างไปมาก็ออกลายอีกครั้ง ด้วยการประกาศแข็งเมืองเป็นอิสระต่อวุยก๊ก สุมาอี้จึงรับหน้าที่ยกทัพไปปราบปราม ซึ่งการเดินทางสู่แคว้นเลียวตั๋งนั้นห่างไกลและทุรกันดาร รวมทั้งมีภูมิอากาศอันโหดร้าย การรบครั้งนี้จึงใช้เวลานานนับปี และอาจจะเป็นการรบที่ยากลำบากเสียยิ่งกว่าการรบกับจ๊กก๊กซึ่งมีแค่การตั้งรับอย่างเดียวเสียอีก
- พระเจ้าโจยอยมอบหมายให้ โจซอง ขุนนางอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรของโจจิ๋น อดีตนายพลใหญ่ที่เสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน รับหน้าที่ดูแลภาพรวมของวุยก๊กในระหว่างที่สุมาอี้กำลังติดพันทำศึกอยู่แทน ช่วงนี้พระเจ้าโจยอยเริ่มหลงระเริงในลาภยศ สั่งเกณฑ์สตรีจำนวนมากเข้าวังเพื่อเป็นนางสนมของตน รวมถึงปลดมเหสีเก่าของตนแล้วแต่งตั้งมเหสีองค์ใหม่ขึ้นแทน มีข้าราชบริพารจำนวนมากถูกประหารชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้
ค.ศ. 238
- ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเวลานั้นเป็นยุคสมัยของอาณาจักรยามะไต ได้ส่งบรรณาการมายังวุยก๊กเพื่อแสดงสัมพันธไมตรี และถือเป็นเครื่องยืนยันว่าในสายตาประเทศญี่ปุ่นนั้น ราชวงศ์วุยก๊กถือเป็นผู้ครองแผ่นดินจีนอย่างเป็นทางการ
- สุมาอี้ยกทัพถึงแคว้นเลียวตั๋งในช่วงครึ่งแรกของปี แล้วทำการเปิดศึกอย่างยืดเยื้อไปจนเกือบถึงสิ้นปี เนื่องด้วยภูมิอากาศแปรปรวนทั้งฝนและพายุหิมะ จึงไม่อาจหักหาญพิชิตศัตรูได้ง่ายนัก จนสุดท้ายสุมาอี้ซึ่งมีกำลังพลมากกว่า และอดทนมากกว่า ก็ตรึงกำลังกดดันจนกองซุนเอี๋ยนต้องถอยทัพหนีและถูกปิดล้อมสังหารได้ในที่สุด
- พระเจ้าโจยอยประชวรหนัก เมื่อสุมาอี้ทำศึกได้ชัยชนะเสร็จ ก็ทราบข่าวจึงเร่งเดินทัพกลับเมืองหลวง
- บุนเอี๋ยง ขุนศึกผู้เก่งกล้าและภายหลังได้เป็นกำลังสำคัญของจิ้นก๊ก เกิดในปีนี้
ค.ศ. 239
- พระเจ้าโจยอยที่ประชวรหนักก็มอบหมายกิจการบ้านเมืองต่อให้แก่สุมาอี้และโจซอง รวมทั้งแต่งตั้งโจฮองราชโอรสให้เป็นรัชทายาทสืบบัลลังก์ต่อไป แล้วจึงสิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 35 ชันษาเท่านั้น
ค.ศ. 240
- วุยก๊กเพิ่งเข้าสู่การผลัดเปลี่ยนฮ่องเต้ โดยพระเจ้าโจฮองนั้นเพิ่งมีพระชนมายุเพียง 8 ชันษาเท่านั้น สุมาอี้และโจซอง รวมทั้งขุนนางคนสนิท จึงต้องวางนโยบายเน้นการสร้างความมั่นคงให้แก่บ้านเมืองเป็นหลัก นับตั้งแต่ช่วงนี้ วุยก๊กจึงงดเว้นนโยบายยกทัพรุกรานต่างแดนเป็นการชั่วคราว
- นอกจากนี้ วุยก๊กยังได้เป็นพันธมิตรกับอาณาจักรหนึ่งซึ่งเคยให้ความร่วมมือในการรบกับกองซุนเอี๋ยนมาก่อน นั่นก็คือประเทศเกาหลีในปัจจุบัน โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่าอาณาจักรโคกูรยอ ปกครองโดยกษัตริย์ดงเชยอน อีกด้วย
- ส่วนฝ่ายง่อก๊กนั้น พระเจ้าซุนกวนนับวันเมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้น ก็ยิ่งกระทำการบ้าอำนาจ มีการสั่งเนรเทศบุตรชายของจิวยี่ด้วยข้อหาเล็กน้อยจนต้องป่วยตายในถิ่นทุรกันดาร นอกจากนี้พระเจ้าซุนกวนยังดูแลพระญาติด้วยความลำเอียงโดยเฉพาะทายาทที่เกิดจากสนมคนใหม่ ๆ อีกทั้งยังโปรดปรานจูกัดเก๊ก บุตรชายของจูกัดกิ๋นด้วยการมอบตำแหน่งสูง ๆ ให้ ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อไปยังภายภาคหน้าอีกด้วย
ติดตามต่อตอน 7 นะครับ
https://www.facebook.com/threekingdomhappyfamily
เปิด Timeline 100 ปี สงครามสามก๊ก ตอนที่ 6 (ค.ศ.231-240)
ตอนที่ 2 http://ppantip.com/topic/33665166/
ตอนที่ 3 http://ppantip.com/topic/33674170/
ตอนที่ 4 http://ppantip.com/topic/33683393/
ตอนที่ 5 http://ppantip.com/topic/33691647/
จะพยายามอัพเดททั้งในเว็บพันทิปและในเพจ https://www.facebook.com/threekingdomhappyfamily
อย่างสม่ำเสมอวันเว้นวันนะครับผม แต่ถ้ามีล่าช้าประการใดบ้างต้องขออภัยด้วยนะครับ
ตอนนี้ก็เกินครึ่งทางแล้วนะครับผม สังเกตได้ว่า ตัวละครหลักและเหตุการณ์หลัก ๆ ในสามก๊กที่เรารู้จักกัน ส่วนมากยังเป็นแค่ครึ่งแรกของประวัติศาสตร์ในยุคนี้เท่านั้นเอง ว่าแล้วก็มาดูกันต่อเลยครับว่าครึ่งหลังของยุคสามก๊กนี้เป็นอย่างไรบ้าง
ตอนที่ 6 ปี ค.ศ. 231-240
อวสานขงเบ้ง ลกซุนบุกวุยก๊กครั้งสุดท้าย สุมาอี้รุกแดนเหนือปราบกบฎกองซุนเอี๋ยน
ค.ศ. 231
- ขงเบ้งนำทัพเคลื่อนพลอีกครั้งเพื่อปะทะกับทัพวุยก๊กที่เขากิสาน และในประวัติศาสตร์ถือเป็นการรบกันระหว่างขงเบ้งและสุมาอี้เป็นครั้งแรก เนื่องจากแม่ทัพใหญ่ฝ่ายวุยก๊กคือสุมาอี้ ซึ่งต้องทำหน้าที่แทนจอมทัพโจจิ๋นที่เพิ่งป่วยจนเสียชีวิตก่อนหน้านี้ไปด้วย โดยในวรรณกรรมได้เพิ่มบทให้โจจิ๋นตรอมใจตายด้วยสาส์นเหยียดหยามจากขงเบ้งหลังจากพ่ายแพ้
- ในการเคลื่อนพลครั้งนี้ ขงเบ้งได้มีการประดิษฐ์ “โคยนต์” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเกวียนลำเลียงเสบียงรูปแบบพิสดารซึ่งสามารถบรรทุกของได้มากและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว เพื่อแก้ปัญหาการส่งเสบียงจากฮันต๋งมายังแนวรบที่มีระยะทางห่างไกล
- แต่แล้วก็เกิดปัญหาอีกเมื่อขุนนางอาวุโสชื่อ ลิเงียม ซึ่งขงเบ้งมอบหมายให้คอยดูแลการจัดส่งเสบียง ทำการบกพร่องต่อหน้าที่จัดเตรียมล่าช้า ทำให้ฝ่ายขงเบ้งประสบปัญหาเสบียงขาดอีกครั้ง และทำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนมีรับสั่งให้ขงเบ้งถอยทัพกลับในที่สุด
- การถอยทัพครั้งนี้ ขงเบ้งได้จัดกำลังวางกับดักสังหารขุนพลเตียวคับ ของฝ่ายวุยก๊กได้สำเร็จ จุดนี้ประวัติศาสตร์กับวรรณกรรมระบุไว้ตรงกันข้าม ในวรรณกรรมระบุว่าเตียวคับดึงดันยกทัพตามขงเบ้งเองโดยไม่ฟังคำเตือนของสุมาอี้ แต่ในประวัติศาสตร์ระบุว่าสุมาอี้เป็นฝ่ายสั่งให้เตียวคับตามขงเบ้งไป จึงถือว่าการตายของเตียวคับเป็นความผิดพลาดของสุมาอี้ แต่ก็มีการวิเคราะห์ว่าเป็นความตั้งใจของสุมาอี้เองด้วย
- ในวรรณกรรมได้แต่งให้การรบในช่วงนี้ขงเบ้งยกทัพมาบุกถึงสองครั้ง โดยให้ครั้งแรกต้องถอยทัพเพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหลงกลข่าวลือของวุยก๊กว่าขงเบ้งจะก่อกบฎจึงเรียกทัพกลับ ส่วนครั้งที่สองก็ถอยทัพกลับเพราะความบกพร่องของลิเงียม
ค.ศ. 232
- ขงเบ้งงดเว้นการทำศึกต่อเนื่องชั่วคราวเพื่อสะสางระบบการจัดการในเมืองหลวง และพัฒนาโคยนต์ให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ในการรบให้มีศักยภาพมากกว่าเดิม กล่าวกันว่าแนวคิดในการประดิษฐ์นี้ขงเบ้งได้คำแนะนำจากอุ๋ยซี ภรรยาของเขามาค่อนข้างมาก
- พระเจ้าซุนกวนวางแผนส่งคนขึ้นเรือไปเกลี้ยกล่อม กองซุนเอี๋ยน ที่อยู่แคว้นเลียวตั๋งทางเหนือของวุยก๊ก เพื่อให้แปรพักตร์แล้วเคลื่อนทัพโจมตีวุยก๊กจากตอนบน ท่ามกลางเสียงคัดค้านของยีหวนขุนนางอาวุโส แต่พระเจ้าซุนกวนไม่รับฟังอีกทั้งยังสั่งเนรเทศยีหวนไปเสียอีก ผลปรากฏว่าคนที่ส่งไปยังเลียวตั๋งนั้นถูกฆ่าตายตามที่ยีหวนคัดค้านไว้จริง พระเจ้าซุนกวนสำนึกผิดจึงอภัยโทษให้ยีหวน แต่ก็สายไป เพราะยีหวนป่วยจนเสียชีวิตในถิ่นทุรกันดารนั้นเสียแล้ว
ค.ศ. 233
- พระเจ้าซุนกวนยังคงไม่ลดละความพยายามในการผูกสัมพันธ์กับแคว้นเลียวตั๋ง ในครั้งนี้ฝ่ายกองซุนเอี๋ยนตอบรับของบรรณาการจากง่อก๊กอย่างดี พระเจ้าซุนกวนจึงสั่งให้จัดเตรียมกำลังพลส่งไปเสริมทัพของกองซุนเอี๋ยนให้ร่วมมือบุกวุยก๊ก ท่ามกลางเสียงคัดค้านของเตียวเจียวขุนนางอาวุโสเพราะเชื่อว่าคนอย่างกองซุนเอี๋ยนไว้ใจไม่ได้ แต่สุดท้ายกองทหารและยุทโธปกรณ์จำนวนมากก็ถูกส่งไป
- ทันทีที่ฝ่ายเลียวตั๋งได้รับยุทธปัจจัยจากง่อก๊กแล้ว ก็ประกาศแปรพักตร์ต่อง่อก๊กทันทีแล้วยึดปัจจัยทั้งหมดไปเป็นของตน และยังสั่งฆ่าแม่ทัพที่ซุนกวนส่งไปคอยดูแลอีกด้วย เมื่อทราบข่าว พระเจ้าซุนกวนก็พิโรธหนักคิดจะยกทัพไปตีแคว้นเลียวตั๋งด้วยพระองค์เอง แต่ขุนนางทั้งปวงก็ปรามพระองค์ไว้ได้ สุดท้ายพระเจ้าซุนกวนก็สำนึกผิด และไปกล่าวขอโทษแก่เตียวเจียวถึงบ้านเลยทีเดียว
- ช่วงเวลานี้ เหตุการณ์ในง่อก๊กนั้นไม่ค่อยถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมสักเท่าไหร่ แต่ภาพรวมก็คือ พระเจ้าซุนกวนนั้นเมื่อเข้าสู่วัยชราแล้วก็เริ่มเอาแต่ใจเป็นหลัก และขาดความเป็นธรรมในการบริหาร จนมีเหตุขัดแย้งกับเตียวเจียวและลกซุนอีกหลายครั้ง
- เฉินโซ่วหรือตันซิ่ว ผู้เขียนประวัติศาสตร์สามก๊ก เกิดในปีนี้ บิดาของเขาเป็นอาลักษณ์ที่ทำงานให้กับขงเบ้ง
ค.ศ. 234
- หลังจากพักรบกันมา 3 ปี ขงเบ้งก็เตรียมกองทัพบุกวุยก๊กอีกเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการเตรียมทัพที่สมบูรณ์แบบที่สุดในทุก ๆ ด้าน แล้วนำกำลังพลไปจัดแนวรบที่ทุ่งอู่จ้าง อันเป็นชัยภูมิตะเข็บชายแดนที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง และมีการปะทะกับฝ่ายวุยก๊กบ้างประปราย แต่ขงเบ้งก็ไม่อาจฝ่าแนวรับของสุมาอี้ได้ การตรึงกำลังเช่นนี้กินเวลาหลายเดือน จนกระทั่งขงเบ้งเริ่มล้มป่วยลงจากการทำงานหนัก
- ในช่วงก่อนออกรบ ฝ่ายจ๊กก๊กได้มีการส่งสาส์นไปยังง่อก๊กเพื่อนัดแนะให้ร่วมมือการเคลื่อนทัพโจมตีวุยก๊กพร้อมกัน ซึ่งพระเจ้าซุนกวนได้ตอบรับคำขอนี้อย่างดี และให้ลกซุนรับหน้าที่แม่ทัพใหญ่เช่นเคย กรีทาทัพบุกพร้อมกันสามทิศทางเลยทีเดียว ได้แก่ ซงหยง หับป๋า และหยางโจว โดยหากทำสำเร็จแปลว่าสามารถชิงเอาดินแดนของวุยก๊กมาได้ถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว
- แต่ฝ่ายวุยก๊กนั้น พระเจ้าโจยอยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสามารถ ในฐานะเป็นฝ่ายตั้งรับ พระองค์ได้ฉวยโอกาสที่ง่อก๊กมีประสบการณ์สงครามเชิงรุกน้อย เข้าตอบโต้ช่วงที่มีการป้องกันหละหลวม และพึ่งพาการสืบข่าวอ่านแผนการของลกซุนอย่างแยบยล ในที่สุดแล้ว การบุกของฝ่ายง่อก๊กก็จบลงที่ความล้มเหลว การผสมผสานการบุกกับจ๊กก๊กจึงไม่เป็นผล
- ฝ่ายขงเบ้งนั้นป่วยหนักติดต่อกันหลายเดือน ในที่สุดก็เสียชีวิตด้วยความผิดหวังที่ไม่สามารถรุกคืบดินแดนของวุยก๊กได้เลย
- ภายหลังจากสิ้นขงเบ้งแล้ว ทัพจ๊กก๊กก็แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย ระหว่างเอียวหงีกับอุยเอี๋ยน ฝ่ายเอียวหงีต้องการให้ถอยทัพกลับฮันต๋ง แต่ฝ่ายอุยเอี๋ยนดึงดันทำการรบต่อ ทัพจ๊กก๊กเลยจำเป็นต้องรบพุ่งกันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจ แต่สุดท้ายแล้วเอียวหงีก็สั่งให้ม้าต้ายลอบสังหารอุยเอี๋ยนได้สำเร็จ แล้วจึงถอยทัพกลับ
- ในวรรณกรรมได้มีการแต่งเรื่องราวส่วนนี้เพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเพิ่มฉากให้สุมาอี้ต้องพลาดท่าเสียทีแก่ขงเบ้งหลายครั้ง จนมีครั้งหนึ่งที่เกือบตายเพราะถูกล้อมเผาทัพ แต่มีฝนตกลงมาช่วยชีวิตไว้ได้ รวมถึงการวางแผนสร้างหุ่นปลอมหลอกสุมาอี้ขณะถอยทัพกลับ และการวางแผนล่วงหน้าให้ม้าต้ายสังหารอุยเอี๋ยน ทั้งหมดนี้ล้วนไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์
ค.ศ. 235
- สุมาอี้ยกทัพกลับเมืองหลวงวุยก๊กในฐานะผู้ชนะ และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมุหนายกที่เป็นตำแหน่งสูงสุดในสายบริหารของชาติ เป็นรองแค่เพียงฮ่องเต้เท่านั้น
- ฝ่ายทัพจ๊กก๊กเมื่อกลับสู่เสฉวนแล้ว พินัยกรรมของขงเบ้งได้ถูกเผยว่า เขาได้แต่งตั้งทายาททางการเมืองไว้สองคนคือ เจียวอ้วน และ บิฮุย ขุนนางเก่าแก่ในเสฉวน ในขณะที่เอียวหงีคนสนิทนั้นไม่ได้รับการเลื่อนยศใด ๆ ซึ่งถือว่าผิดความคาดหมายของเอียวหงีมาก
- เอียวหงีน้อยเนื้อต่ำใจที่ไม่ก้าวหน้าจึงก่อคดีหมิ่นเบื้องสูงจนถูกเนรเทศ และสุดท้ายก็ต้องฆ่าตัวตายด้วยความอับอาย
- เจียวอ้วนที่ขึ้นเป็นสมุหนายกต่อจากขงเบ้งนั้นก็จัดแจงบริหารบ้านเมืองในจ๊กก๊กเสียใหม่ งดเว้นนโยบายศึกสงคราม เน้นพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการปกครองเป็นหลักเพื่อสร้างความมั่นคงให้แผ่นดิน แล้วมอบหมายให้เกียงอุย ขุนพลเอกของขงเบ้งนั้นเป็นผู้นำทางทหารคอยตรึงกำลังที่แนวหน้าของชายแดนที่สำคัญเพื่อป้องกันการรุกรานของศัตรูสืบไป
ค.ศ. 236
- เตียวเจียว ขุนนางอาวุโสของง่อก๊กเสียชีวิตในปีนี้ ด้วยวัยถึง 80 ปี คนผู้นี้ซุนกวนให้ความเคารพนับถือมากแม้ว่าจะไม่ลงรอยกันหลายครั้ง แต่การจากไปของเตียวเจียว ทำให้ซุนกวนขาดบุคคลที่สามารถทัดทานในเรื่องต่าง ๆ ไปเสียแล้ว
- สุมาเอี๋ยน บุตรชายของสุมาเจียว (บุตรชายคนรองของสุมาอี้) ผู้ที่ภายภาคหน้าจะรวมสามก๊กเป็นหนึ่ง เกิดในปีนี้
ค.ศ. 237
- กองซุนเอี๋ยนแห่งแคว้นเลียวตั๋งที่แสดงพฤติกรรมเป็นนกสองหัวย้ายข้างไปมาก็ออกลายอีกครั้ง ด้วยการประกาศแข็งเมืองเป็นอิสระต่อวุยก๊ก สุมาอี้จึงรับหน้าที่ยกทัพไปปราบปราม ซึ่งการเดินทางสู่แคว้นเลียวตั๋งนั้นห่างไกลและทุรกันดาร รวมทั้งมีภูมิอากาศอันโหดร้าย การรบครั้งนี้จึงใช้เวลานานนับปี และอาจจะเป็นการรบที่ยากลำบากเสียยิ่งกว่าการรบกับจ๊กก๊กซึ่งมีแค่การตั้งรับอย่างเดียวเสียอีก
- พระเจ้าโจยอยมอบหมายให้ โจซอง ขุนนางอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรของโจจิ๋น อดีตนายพลใหญ่ที่เสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน รับหน้าที่ดูแลภาพรวมของวุยก๊กในระหว่างที่สุมาอี้กำลังติดพันทำศึกอยู่แทน ช่วงนี้พระเจ้าโจยอยเริ่มหลงระเริงในลาภยศ สั่งเกณฑ์สตรีจำนวนมากเข้าวังเพื่อเป็นนางสนมของตน รวมถึงปลดมเหสีเก่าของตนแล้วแต่งตั้งมเหสีองค์ใหม่ขึ้นแทน มีข้าราชบริพารจำนวนมากถูกประหารชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้
ค.ศ. 238
- ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเวลานั้นเป็นยุคสมัยของอาณาจักรยามะไต ได้ส่งบรรณาการมายังวุยก๊กเพื่อแสดงสัมพันธไมตรี และถือเป็นเครื่องยืนยันว่าในสายตาประเทศญี่ปุ่นนั้น ราชวงศ์วุยก๊กถือเป็นผู้ครองแผ่นดินจีนอย่างเป็นทางการ
- สุมาอี้ยกทัพถึงแคว้นเลียวตั๋งในช่วงครึ่งแรกของปี แล้วทำการเปิดศึกอย่างยืดเยื้อไปจนเกือบถึงสิ้นปี เนื่องด้วยภูมิอากาศแปรปรวนทั้งฝนและพายุหิมะ จึงไม่อาจหักหาญพิชิตศัตรูได้ง่ายนัก จนสุดท้ายสุมาอี้ซึ่งมีกำลังพลมากกว่า และอดทนมากกว่า ก็ตรึงกำลังกดดันจนกองซุนเอี๋ยนต้องถอยทัพหนีและถูกปิดล้อมสังหารได้ในที่สุด
- พระเจ้าโจยอยประชวรหนัก เมื่อสุมาอี้ทำศึกได้ชัยชนะเสร็จ ก็ทราบข่าวจึงเร่งเดินทัพกลับเมืองหลวง
- บุนเอี๋ยง ขุนศึกผู้เก่งกล้าและภายหลังได้เป็นกำลังสำคัญของจิ้นก๊ก เกิดในปีนี้
ค.ศ. 239
- พระเจ้าโจยอยที่ประชวรหนักก็มอบหมายกิจการบ้านเมืองต่อให้แก่สุมาอี้และโจซอง รวมทั้งแต่งตั้งโจฮองราชโอรสให้เป็นรัชทายาทสืบบัลลังก์ต่อไป แล้วจึงสิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 35 ชันษาเท่านั้น
ค.ศ. 240
- วุยก๊กเพิ่งเข้าสู่การผลัดเปลี่ยนฮ่องเต้ โดยพระเจ้าโจฮองนั้นเพิ่งมีพระชนมายุเพียง 8 ชันษาเท่านั้น สุมาอี้และโจซอง รวมทั้งขุนนางคนสนิท จึงต้องวางนโยบายเน้นการสร้างความมั่นคงให้แก่บ้านเมืองเป็นหลัก นับตั้งแต่ช่วงนี้ วุยก๊กจึงงดเว้นนโยบายยกทัพรุกรานต่างแดนเป็นการชั่วคราว
- นอกจากนี้ วุยก๊กยังได้เป็นพันธมิตรกับอาณาจักรหนึ่งซึ่งเคยให้ความร่วมมือในการรบกับกองซุนเอี๋ยนมาก่อน นั่นก็คือประเทศเกาหลีในปัจจุบัน โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่าอาณาจักรโคกูรยอ ปกครองโดยกษัตริย์ดงเชยอน อีกด้วย
- ส่วนฝ่ายง่อก๊กนั้น พระเจ้าซุนกวนนับวันเมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้น ก็ยิ่งกระทำการบ้าอำนาจ มีการสั่งเนรเทศบุตรชายของจิวยี่ด้วยข้อหาเล็กน้อยจนต้องป่วยตายในถิ่นทุรกันดาร นอกจากนี้พระเจ้าซุนกวนยังดูแลพระญาติด้วยความลำเอียงโดยเฉพาะทายาทที่เกิดจากสนมคนใหม่ ๆ อีกทั้งยังโปรดปรานจูกัดเก๊ก บุตรชายของจูกัดกิ๋นด้วยการมอบตำแหน่งสูง ๆ ให้ ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อไปยังภายภาคหน้าอีกด้วย
ติดตามต่อตอน 7 นะครับ
https://www.facebook.com/threekingdomhappyfamily