ผมว่า เมืองไทย ไม่มีกฏหมายควบคุมร้านค้า
ผมเห็นร้านค้า ร้านขายของชำของชาวบ้าน ค่อยๆ ตายไปกับวิถีชีวิตแบบใหม่
เมื่อห้างใหญ่ๆ ลงมาเล่นร้าน mini mart ขยายเป็นวงกว้างตามแหล่งชุมชนต่างๆ
ร้านขายของชำ ที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน ตามต่างจังหวัด ลามไปถึงอำเภอ ค่อยๆ ตายไป
เมื่อห้างดังต่างๆ ขยายธุรกิจ มินิมาร์ท เปิด 24 ชั่วโมง
มีน้องคนหนึ่งที่รู้จัก ซื้อ เฟรนด์ชายน์ มินิมาร์ท สีฟ้า ช่วง 2 ปีแรกไม่มีคู่แข่ง
ก็มีกำไรทุกๆ ปี มีเงินจ่ายพนักงาน ชีวิตก็น่าจะดี
ต่อมา มีร้านมินิมาร์ท ชื่อดัง มาเปิดตรงข้าม ทำให้การค้าเริ่มขายไม่ออก
และเริ่มขาดทุน จนอยู่ต่อไม่ไหว ต้องคืนลิขสิทธิ์ร้าน ถูกฟ้องค่าเสียหายเพราะอยู่ไม่ครบสัญญา
เคยคุยกับคนที่เคยไปทำธุรกิจ เปิดร้านอาหารไทยที่ประเทศอังกฤษ
เขาบอกว่า กฏหมายอังกฤษ จะคุ้มครอง เจ้าแรกที่เปิดในแต่ละแหล่ง
ถ้าเราเปิดร้านอาหาร กิจการรุ่งเรือง กำลังไปได้ดี
ถ้ามีร้านค้า ที่ขายสินค้าเหมือนกันมาเปิด ใกล้ๆ แล้วทำให้ร้านแรกเจ๊ง
ร้านแรกที่เปิด มีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากร้านที่สองมาเปิดใหม่ได้
ประเทศไทย น่าจะมีกฏหมายควบคุมร้านค้า ลักษณะแบบนี้
ดังเราจะเห็น ร้านอาหาร ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านส้มตำ ร้านอาหารอิสาน
พอร้านแรกเปิด ขายดี ร้านที่สอง ที่สาม ก็ตามมา
มีวงเล็บ (เจ้าเก่า) (เจ้าเดิม) (เจ้าเก่ากว่า) เปิดกันมาแข่งขันแบบไร้การควบคุม
สมัยก่อน แถวๆ หัวลำโพง จะมีบริษัททัวร์อยู่บริษัทเดียว
ต่อๆ มา ทำอิท่าไหนไม่รู้ บริษัททัวร์เปิดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จากหนึ่งเป็นสอง
และ มีอยู่ช่วงหนึ่งนับได้น่าจะเกิน 20 บริษัท และ ทุกวันนี้ ก็ล้มหายตายจากเหลืออยู่ประมาณ 5-10 บริษัท
จริงอยู่ การแข่งขัน ประชาชนผู้บริโภคได้ประโยชน์
แต่ ธุรกิจรากหญ้า ธุรกิจที่เขาทำก่อนเดือดร้อน
กฏหมายไทย น่าเอาอย่างอังกฤษ คือ ถ้ามีร้านค้าอยู่ก่อนแล้ว
ห้ามเปิดร้านค้าธุรกิจเหมือนกัน ในระยะ 1-2 กิโลเมตร
ถ้าเหิดเหมือนกัน ร้านแรกเจ๊ง มีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากร้านที่สองได้
อะไร ประมาณนี้ ครับ
ความคิดผมดีหรือไม่ อย่างไร ลองมาเถียงกันดูครับ
:: จะดี หรือ ไม่ ถ้าประเทศไทยมีกฏหมายควบคุมร้านค้า ที่เปิดใกล้กัน
ผมเห็นร้านค้า ร้านขายของชำของชาวบ้าน ค่อยๆ ตายไปกับวิถีชีวิตแบบใหม่
เมื่อห้างใหญ่ๆ ลงมาเล่นร้าน mini mart ขยายเป็นวงกว้างตามแหล่งชุมชนต่างๆ
ร้านขายของชำ ที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน ตามต่างจังหวัด ลามไปถึงอำเภอ ค่อยๆ ตายไป
เมื่อห้างดังต่างๆ ขยายธุรกิจ มินิมาร์ท เปิด 24 ชั่วโมง
มีน้องคนหนึ่งที่รู้จัก ซื้อ เฟรนด์ชายน์ มินิมาร์ท สีฟ้า ช่วง 2 ปีแรกไม่มีคู่แข่ง
ก็มีกำไรทุกๆ ปี มีเงินจ่ายพนักงาน ชีวิตก็น่าจะดี
ต่อมา มีร้านมินิมาร์ท ชื่อดัง มาเปิดตรงข้าม ทำให้การค้าเริ่มขายไม่ออก
และเริ่มขาดทุน จนอยู่ต่อไม่ไหว ต้องคืนลิขสิทธิ์ร้าน ถูกฟ้องค่าเสียหายเพราะอยู่ไม่ครบสัญญา
เคยคุยกับคนที่เคยไปทำธุรกิจ เปิดร้านอาหารไทยที่ประเทศอังกฤษ
เขาบอกว่า กฏหมายอังกฤษ จะคุ้มครอง เจ้าแรกที่เปิดในแต่ละแหล่ง
ถ้าเราเปิดร้านอาหาร กิจการรุ่งเรือง กำลังไปได้ดี
ถ้ามีร้านค้า ที่ขายสินค้าเหมือนกันมาเปิด ใกล้ๆ แล้วทำให้ร้านแรกเจ๊ง
ร้านแรกที่เปิด มีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากร้านที่สองมาเปิดใหม่ได้
ประเทศไทย น่าจะมีกฏหมายควบคุมร้านค้า ลักษณะแบบนี้
ดังเราจะเห็น ร้านอาหาร ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านส้มตำ ร้านอาหารอิสาน
พอร้านแรกเปิด ขายดี ร้านที่สอง ที่สาม ก็ตามมา
มีวงเล็บ (เจ้าเก่า) (เจ้าเดิม) (เจ้าเก่ากว่า) เปิดกันมาแข่งขันแบบไร้การควบคุม
สมัยก่อน แถวๆ หัวลำโพง จะมีบริษัททัวร์อยู่บริษัทเดียว
ต่อๆ มา ทำอิท่าไหนไม่รู้ บริษัททัวร์เปิดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จากหนึ่งเป็นสอง
และ มีอยู่ช่วงหนึ่งนับได้น่าจะเกิน 20 บริษัท และ ทุกวันนี้ ก็ล้มหายตายจากเหลืออยู่ประมาณ 5-10 บริษัท
จริงอยู่ การแข่งขัน ประชาชนผู้บริโภคได้ประโยชน์
แต่ ธุรกิจรากหญ้า ธุรกิจที่เขาทำก่อนเดือดร้อน
กฏหมายไทย น่าเอาอย่างอังกฤษ คือ ถ้ามีร้านค้าอยู่ก่อนแล้ว
ห้ามเปิดร้านค้าธุรกิจเหมือนกัน ในระยะ 1-2 กิโลเมตร
ถ้าเหิดเหมือนกัน ร้านแรกเจ๊ง มีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากร้านที่สองได้
อะไร ประมาณนี้ ครับ
ความคิดผมดีหรือไม่ อย่างไร ลองมาเถียงกันดูครับ